ข้อมูลผู้ประเมิน
ข้อมูลทั่วไป
ชื่อ - สกุล นางปรียาวรรณ พิพัฒน์ณัฐพงศ์
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ชำนาญการ
กลุ่มสาระการเรียนรู้ ภาษาต่างประเทศ
โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ หอวัง นนทบุรี
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา นนทบุรี
สอนรายวิชา ภาษาอังกฤษ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และ
ภาษาอังกฤษอ่าน - เขียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
ส่วนที่ 1 ข้อตกลงในการพัฒนางานตามมาตรฐานตำแหน่ง
1. ภาระงาน
1.1 ชั่วโมงสอนตามตารางสอน (คลิกเพื่อดูรายละเอียด)
→ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 รวมทั้งหมด จำนวน 19 ชั่วโมง 10 นาที/สัปดาห์ ←
» กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ
รายวิชา ภาษาอังกฤษ (อ21102) จำนวน 8 ชั่วโมง 20 นาที/สัปดาห์
รายวิชา ภาษาอังกฤษอ่าน - เขียน (อ31202) จำนวน 6 ชั่วโมง 40 นาที/สัปดาห์
» กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
รายวิชา ส่งเสริมวิชาการ จำนวน 50 นาที/สัปดาห์
รายวิชา ลูกเสือ-เนตรนารี จำนวน 50 นาที/สัปดาห์
→ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 รวมทั้งหมด จำนวน 20 ชั่วโมง 50 นาที/สัปดาห์ ←
» กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ
รายวิชา ภาษาอังกฤษ (อ21101) จำนวน 6 ชั่วโมง 40 นาที/สัปดาห์
รายวิชา ภาษาอังกฤษอ่าน – เขียน (อ31201) จำนวน 6 ชั่วโมง 40 นาที/สัปดาห์
» กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
รายวิชา ส่งเสริมวิชาการ จำนวน 50 นาที/สัปดาห์
รายวิชา ลูกเสือ-เนตรนารี จำนวน 50 นาที/สัปดาห์
→ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 รวมทั้งหมด จำนวน 15 ชั่วโมง/สัปดาห์ ←
» กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ
รายวิชา ภาษาอังกฤษ (อ21102) จำนวน 6 ชั่วโมง 40 นาที/สัปดาห์
รายวิชา ภาษาอังกฤษอ่าน – เขียน (อ31202) จำนวน 6 ชั่วโมง 40 นาที/สัปดาห์
» กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
รายวิชา ส่งเสริมวิชาการ จำนวน 50 นาที/สัปดาห์
รายวิชา ลูกเสือ-เนตรนารี จำนวน 50 นาที/สัปดาห์
→ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 รวมทั้งหมด จำนวน 13 ชั่วโมง 20 นาที/สัปดาห์
» กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ
รายวิชา ภาษาอังกฤษ (อ21101) จำนวน 10 ชั่วโมง/สัปดาห์
รายวิชา ภาษาอังกฤษรอบรู้ (อ31207) จำนวน 2 ชั่วโมง 30 นาที/สัปดาห์
รายวิชา ภาษาและวัฒนธรรม (อ31224) จำนวน 50 นาที/สัปดาห์
» กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
รายวิชา ส่งเสริมวิชาการ จำนวน 50 นาที/สัปดาห์
รายวิชา ลูกเสือ-เนตรนารี จำนวน 50 นาที/สัปดาห์
→ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 รวมทั้งหมด จำนวน 16 ชั่วโมง/สัปดาห์
» กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ
รายวิชา ภาษาอังกฤษ (อ21102) จำนวน 10 ชั่วโมง/สัปดาห์
รายวิชา ภาษาอังกฤษรอบรู้ (อ31208) จำนวน 2 ชั่วโมง 30 นาที/สัปดาห์
รายวิชา ภาษาและวัฒนธรรม (อ31226) จำนวน 50 นาที/สัปดาห์
» กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
รายวิชา ส่งเสริมวิชาการ จำนวน 50 นาที/สัปดาห์
รายวิชา ลูกเสือ-เนตรนารี จำนวน 50 นาที/สัปดาห์
→ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567 รวมทั้งหมด จำนวน 11 ชั่วโมง 40 นาที/สัปดาห์
» กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ
รายวิชา ภาษาอังกฤษ (อ21101) จำนวน 8 ชั่วโมง 30 นาที/สัปดาห์
รายวิชา ภาษาอังกฤษอ่าน - เขียน (อ22201) จำนวน 3 ชั่วโมง 30 นาที/สัปดาห์
» กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
รายวิชา ส่งเสริมวิชาการ จำนวน 50 นาที/สัปดาห์
รายวิชา ลูกเสือ-เนตรนารี จำนวน 50 นาที/สัปดาห์
1.2 งานส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ (คลิกเพื่อดูรายละเอียด)
→ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 รวมทั้งหมด จำนวน 4 ชั่วโมง 30 นาที/สัปดาห์ ←
» การมีส่วนร่วมในชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ จำนวน 1 ชั่วโมง 40 นาที/สัปดาห์
» งานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน จำนวน 50 นาที/สัปดาห์
» งานตรวจการบ้าน/งานที่ปรึกษา/งานโฮมรูม จำนวน 2 ชั่วโมง/สัปดาห์
→ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 รวมทั้งหมด จำนวน 4 ชั่วโมง 30 นาที/สัปดาห์ ←
» การมีส่วนร่วมในชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ จำนวน 1 ชั่วโมง 40 นาที/สัปดาห์
» งานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน จำนวน 50 นาที/สัปดาห์
» งานตรวจการบ้าน/งานที่ปรึกษา/งานโฮมรูม จำนวน 2 ชั่วโมง/สัปดาห์
→ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 รวมทั้งหมด จำนวน 4 ชั่วโมง 40 นาที/สัปดาห์ ←
» การมีส่วนร่วมในชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ จำนวน 1 ชั่วโมง 40 นาที/สัปดาห์
» งานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์
» งานตรวจการบ้าน/งานที่ปรึกษา/งานโฮมรูม จำนวน 2 ชั่วโมง/สัปดาห์
→ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 รวมทั้งหมด จำนวน 4 ชั่วโมง 40 นาที/สัปดาห์ ←
» การมีส่วนร่วมในชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ จำนวน 1 ชั่วโมง 40 นาที/สัปดาห์
» งานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์
» งานตรวจการบ้าน/งานที่ปรึกษา/งานโฮมรูม จำนวน 2 ชั่วโมง/สัปดาห์
→ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 รวมทั้งหมด จำนวน 7 ชั่วโมง 10 นาที/สัปดาห์ ←
» การมีส่วนร่วมในชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ จำนวน 1 ชั่วโมง 40 นาที/สัปดาห์
» โฮมรูม (Homeroom) จำนวน 2 ชั่วโมง 30 นาที/สัปดาห์
» งานตรวจการบ้าน/งานที่ปรึกษา จำนวน 2 ชั่วโมง/สัปดาห์
» งานดูแลช่วยเหลือนักเรียน/งานเยี่ยมบ้าน จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์
→ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567 รวมทั้งหมด จำนวน 7 ชั่วโมง 10 นาที/สัปดาห์ ←
» การมีส่วนร่วมในชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ จำนวน 1 ชั่วโมง 40 นาที/สัปดาห์
» โฮมรูม (Homeroom) จำนวน 2 ชั่วโมง 30 นาที/สัปดาห์
» งานตรวจการบ้าน/งานที่ปรึกษา จำนวน 2 ชั่วโมง/สัปดาห์
» งานดูแลช่วยเหลือนักเรียน/งานเยี่ยมบ้าน จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์
1.3 งานพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษา (คลิกเพื่อดูรายละเอียด)
→ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 รวมทั้งหมด จำนวน 20 ชั่วโมง/สัปดาห์ ←
» หัวหน้างานนิเทศภายใน จำนวน 6 ชั่วโมง/สัปดาห์
» หัวหน้างานแผนงานวิชาการ จำนวน 10 ชั่วโมง/สัปดาห์
» แผนงาน Intensive English Program (IEP) จำนวน 5 ชั่วโมง/สัปดาห์
» หัวหน้าวิชาการระดับชั้น จำนวน 6 ชั่วโมง/สัปดาห์
» งานสำนักงานวิชาการ จำนวน 5 ชั่วโมง/สัปดาห์
» รองหัวหน้างานกำกับติดตามนิสิต นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพ จำนวน 6 ชั่วโมง/สัปดาห์
→ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 รวมทั้งหมด จำนวน 15 ชั่วโมง/สัปดาห์ ←
» หัวหน้างานนิเทศภายใน จำนวน 6 ชั่วโมง/สัปดาห์
» แผนงานวิชาการ จำนวน 5 ชั่วโมง/สัปดาห์
» แผนงาน Intensive English Program (IEP) จำนวน 5 ชั่วโมง/สัปดาห์
» หัวหน้าวิชาการระดับชั้น จำนวน 6 ชั่วโมง/สัปดาห์
» งานสำนักงานวิชาการ จำนวน 5 ชั่วโมง/สัปดาห์
» งานกำกับติดตามนิสิต นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพ จำนวน 5 ชั่วโมง/สัปดาห์
→ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 รวมทั้งหมด จำนวน 15 ชั่วโมง/สัปดาห์ ←
» หัวหน้างานนิเทศภายใน จำนวน 6 ชั่วโมง/สัปดาห์
» แผนงานวิชาการ จำนวน 5 ชั่วโมง/สัปดาห์
» แผนงาน Intensive English Program (IEP) จำนวน 5 ชั่วโมง/สัปดาห์
» หัวหน้าวิชาการระดับชั้น จำนวน 4 ชั่วโมง/สัปดาห์
» งานสำนักงานวิชาการ จำนวน 5 ชั่วโมง/สัปดาห์
» งานกำกับติดตามนิสิต นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพ จำนวน 5 ชั่วโมง/สัปดาห์
→ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 รวมทั้งหมด จำนวน 20 ชั่วโมง/สัปดาห์ ←
» รองหัวหน้างานนิเทศภายใน จำนวน 8 ชั่วโมง/สัปดาห์
» แผนงานห้องเรียนพิเศษ จำนวน 5 ชั่วโมง/สัปดาห์
» วิชาการระดับชั้น ม.1 จำนวน 5 ชั่วโมง/สัปดาห์
» งานสำนักงานวิชาการ จำนวน 5 ชั่วโมง/สัปดาห์
» งานกำกับติดตามนิสิต นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพ จำนวน 5 ชั่วโมง/สัปดาห์
→ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 รวมทั้งหมด จำนวน 32 ชั่วโมง/สัปดาห์ ←
» รองหัวหน้างานนิเทศภายใน จำนวน 6 ชั่วโมง/สัปดาห์
» รองหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ จำนวน 6 ชั่วโมง/สัปดาห์
» แผนงาน IEP/EP จำนวน 5 ชั่วโมง/สัปดาห์
» วิชาการระดับชั้น ม.1 จำนวน 5 ชั่วโมง/สัปดาห์
» งานสำนักงานวิชาการ จำนวน 5 ชั่วโมง/สัปดาห์
» งานกำกับติดตามนิสิต นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพ จำนวน 5 ชั่วโมง/สัปดาห์
→ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567 รวมทั้งหมด จำนวน 27 ชั่วโมง/สัปดาห์ ←
» หัวหน้างานนิเทศภายใน จำนวน 6 ชั่วโมง/สัปดาห์
» รองหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ จำนวน 6 ชั่วโมง/สัปดาห์
» แผนงาน IEP/EP จำนวน 5 ชั่วโมง/สัปดาห์
» งานสำนักงานวิชาการ (แผนงานวิชาการ) จำนวน 5 ชั่วโมง/สัปดาห์
» งานกำกับติดตามนิสิต นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพ จำนวน 5 ชั่วโมง/สัปดาห์
1.4 งานตอบสนองนโยบายและจุดเน้นรัฐบาล สพฐ. หรือ กระทรวงศึกษาธิการ (คลิกเพื่อดูรายละเอียด)
→ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 รวมทั้งหมด จำนวน 15 ชั่วโมง/สัปดาห์ ←
» โรงเรียนสุจริต จำนวน 6 ชั่วโมง/ปี
» ห้องเรียนคุณภาพ จำนวน 6 ชั่วโมง/ปี
» ห้องเรียนสีขาว จำนวน 6 ชั่วโมง/ปี
→ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 รวมทั้งหมด จำนวน 15 ชั่วโมง/สัปดาห์ ←
» โรงเรียนสุจริต จำนวน 6 ชั่วโมง/ปี
» ห้องเรียนคุณภาพ จำนวน 6 ชั่วโมง/ปี
» ห้องเรียนสีขาว จำนวน 6 ชั่วโมง/ปี
→ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 รวมทั้งหมด จำนวน 3 ชั่วโมง/ปี ←
» โรงเรียนสุจริต
» โครงการห้องเรียนคุณภาพ
» โครงการสถานศึกษาปลอดภัย
» โครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติด
→ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567 รวมทั้งหมด จำนวน 3 ชั่วโมง/ปี ←
» โรงเรียนสุจริต
» โครงการห้องเรียนคุณภาพ
» โครงการสถานศึกษาปลอดภัย
» โครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติด
2. งานที่จะปฏิบัติตามมาตรฐานตำแหน่งครู
ส่วนที่ 2 ข้อตกลงในการพัฒนางานที่เป็นประเด็นท้าทายในการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน
ปีการศึกษา 2567
ประเด็นที่ท้าทายในการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน ของผู้จัดทำข้อตกลง ซึ่งปัจจุบันดำรงตำแหน่งครูวิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ ต้องแสดงให้เห็นถึงระดับการปฏิบัติที่คาดหวังของวิทยฐานะ ชำนาญการพิเศษ คือ การริเริ่ม พัฒนา การจัดการเรียนรู้และการพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นหรือมีการพัฒนามากขึ้น
(ทั้งนี้ ประเด็นท้าทายอาจจะแสดงให้เห็นถึงระดับการปฏิบัติที่คาดหวังที่สูงกว่าได้)
ประเด็นท้าทาย เรื่อง การพัฒนาผู้เรียนในวิชาภาษาอังกฤษ เรื่อง Present Simple Tense โดยใช้กระบวนการ 5Fs Active Learning สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
1. สภาพปัญหาการจัดการเรียนรู้และคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน (คลิกเพื่อดูรายละเอียด)
ภาษาอังกฤษ ถือได้ว่าเป็นภาษาต่างประเทศที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย เป็นภาษากลางที่ใช้สื่อความหมายไปเกือบทั่วโลก ดังนั้น ความจำเป็นที่จะส่งเสริมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ภาษาอังกฤษ นอกจากจะให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ภาษาเพื่อความรู้แล้ว การใช้ภาษาเป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสารกับผู้อื่น เป็นเครื่องมือในการแสวงหาความรู้แล้วยังมีความจำเป็นในการใช้ภาษาในชีวิตประจำวันและการงานอาชีพอีกด้วย อย่างไรก็ตาม การเรียนการสอนภาษาอังกฤษ ก็ยังไม่เกิดผลสัมฤทธิ์เท่าที่ควร ดังจะเห็นได้จากผลการประเมินด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ ในหลายๆ ปีการศึกษา ที่ผ่านมาของนักเรียน มัธยมศึกษาปีที่ 3 และมัธยมศึกษาปีที่ 6 ไม่ว่าจะเป็นผลสอบ O-NET หรือ GAT พบว่ามีคะแนนผลสัมฤทธิ์อยู่ในระดับต่ำ และเมื่อเปรียบเทียบกับวิชาอื่นๆ พบว่า คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษแทบจะอยู่ในระดับต่ำกว่าวิชาอื่นๆ ประกอบกับกระทรวงศึกษาธิการได้ตระหนักถึงความสำคัญของวิชาภาษาอังกฤษ จะเห็นได้จากการกำหนดให้มีการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษสำหรับการศึกษาขั้นพื้นฐานตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึง มัธยมศึกษาปีที่ 6 ไว้ในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2551 และได้กำหนดนโยบายเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ โดยส่งเสริมการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ที่ส่งเสริมคุณลักษณะที่จำเป็นสำหรับผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 มีเป้าหมายในการพัฒนาผู้เรียนทุกคนให้มีพัฒนาการเหมาะสมตามวัย โดยให้ความสำคัญของการจัดการเรียนรู้โดยกระบวนการ Active Learning
จากเหตุผลดังกล่าวข้างต้น เพื่อพัฒนาความสามารถในการเรียนวิชาภาษาอังกฤษของผู้เรียน ในฐานะครูผู้สอนเห็นว่า การเรียนการสอนเรื่อง Present Simple Tense ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุก 5Fs Active Learning ที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง ฝึกการปฏิบัติได้ คิดเป็น ทำเป็น รักการอ่าน ศึกษา ค้นคว้าและสามารถสร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง จะสามารถแก้ปัญหาการเรียนภาษาอังกฤษของผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพและส่งผลให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้นอีกด้วย
2. วิธีการดำเนินการให้บรรลุผล (คลิกเพื่อดูรายละเอียด)
2.1 วิเคราะห์หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2561) และหลักสูตรสถานศึกษา ในเรื่องของมาตรฐานการเรียนรู้ และตัวชี้วัดของเนื้อหารายวิชาภาษาอังกฤษพื้นฐานของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
2.2 ออกแบบหน่วยการเรียนรู้ที่เน้นการจัดการเรียนรู้เชิงรุก Active Learning โดยใช้รูปแบบ 5Fs step Model
2.3 จัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุก Active Learning โดยใช้รูปแบบ 5Fs step Model กับนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยปรับบริบทให้เหมาะสมกับห้องเรียน ให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติจริง โดยผ่านกิจกรรมต่างๆ เพื่อให้นักเรียนมีความรู้และมีความสามารถในการเรียนเรื่อง Present Simple Tense ผ่านรูปแบบ 5Fs step Model ดังนี้
1. Feel Free สร้างความพร้อมให้กับผู้เรียน พร้อมที่จะรับความรู้ใหม่ ในขั้นนี้เป็นขั้นของการจัดการเรียนการสอน เพื่อนำเข้าสู่บทเรียนด้วยกิจกรรมต่างๆ เมื่อผู้เรียนเกิดความอยากรู้อยากเรียน จึงเข้าสู่กระบวนการ Active Learning
2. Fun ใช้กิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุกตามรูปแบบ 5Fs Active Learning ด้วยกระบวนการที่หลากหลาย โดยพยายามจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในการเรียนรู้ ส่งเสริมให้ผู้เรียนสร้างสรรค์ความรู้ใหม่ๆและสนับสนุนให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างสนุกสนานและเพลิดเพลิน
3. Flexible ยืดหยุ่นตามบริบทตามสถานการณ์และความถนัดของผู้เรียน โดยผู้สอนเป็นผู้กระตุ้นให้ผู้เรียนกล้าคิด กล้าแสดงออก ส่งเสริมให้ผู้เรียนคิดเป็นและคิดวิเคราะห์ได้ เพื่อให้ผู้เรียน เรียนรู้อย่างมีความสุข โดยข้อมูลที่ได้มาจากการวิเคราะห์ผู้เรียนรายบุคคล และแบบคุณลักษณะที่พึงประสงค์ โดยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ตามธรรมชาติของวิชา
4. Friendly วัดผลและประเมินผลแบบกัลยาณมิตร และนำมาสู่การวิเคราะห์ผู้เรียนรายบุคคล โดยเสริมแรงเชิงบวกให้กับผู้เรียนอยู่เสมอ โดยให้อิสระทางความคิดแก่ผู้เรียน
5. Fullfill ซ่อมเสริมในส่วนที่เป็นจุดอ่อน เสริมสร้างส่วนที่เป็นจุดแข็งให้กับผู้เรียน ให้อิสระทางด้านความคิดของผู้เรียน นำมาซึ่งการพัฒนาผู้เรียนอย่างยั่งยืน ภายใต้หลักการที่ว่า No one left behind และใช้การเน้นย้ำ ซ้ำทวน โดยให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง เพื่อให้เกิด Long Term Memory
2.4 ใช้กระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ( PLC ) โดยครูในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ และเข้าไปสังเกตการจัดการเรียนรู้ ช่วยกันตรวจสอบความถูกต้องในเนื้อหา การจัดกิจกรรม และสังเกตพฤติกรรม และแบบฝึกหัด พร้อมทั้งเสนอแนะและสะท้อนผลการจัดกิจกรรมเพื่อนำมาปรับปรุง แก้ไขให้ผู้เรียนมีความสามารถในการเรียนภาษาอังกฤษ เรื่อง Present Simple Tense มากขึ้น
2.5 ครูผู้สอนนำกิจกรรมมาปรับปรุง แก้ไขตามคำแนะนำของคณะครูในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ จากกระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ( PLC )
2.6 วิเคราะห์ผู้เรียนรายบุคคล และดำเนินการวิจัยในชั้นเรียนเพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาผู้เรียน
3. ผลลัพธ์การพัฒนาที่คาดหวัง (คลิกเพื่อดูรายละเอียด)
⇒ 3.1 เชิงปริมาณ
• 3.1.1 ผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวนทั้งหมด 40 คน ได้รับการพัฒนาการเรียนภาษาอังกฤษเรื่อง Present Simple Tense โดยใช้การจัดการเรียนรู้เชิงรุก Active Learning รูปแบบ 5Fs step Model ดังนี้
.3.1.1.1 แบบทดสอบหลังเรียน เรื่อง Present Simple Tense ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 65 คิดเป็นร้อยละ 70 ของผู้เรียนทั้งหมด
.3.1.1.2 แบบฝึกทักษะ เรื่อง Present Simple Tense ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 65 คิดเป็นร้อยละ 70 ของผู้เรียนทั้งหมด
.3.1.1.3 ชิ้นงาน เรื่อง Present Simple Tense ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 65 คิดเป็นร้อยละ 70 ของผู้เรียนทั้งหมด
.3.1.1.4 ผู้เรียนที่ไม่ผ่านเกณฑ์ได้รับการซ่อมเสริม และปรับปรุงผลการเรียนให้ดีขึ้น คิดเป็นร้อยละ 70 ของผู้เรียนที่ไม่ผ่านเกณฑ์
• 3.1.2 ครูผู้สอนสามารถออกแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุก Active Learning รูปแบบ 5Fs step Model
.3.1.3 ครูผู้สอนสามารถนำกระบวนการ PLC มาใช้พัฒนาการเรียนการสอนวิชาภาษาอังกฤษ เรื่อง Present Simple Tense ควบคู่กับการจัดการเรียนรู้เชิงรุก Active Learning
⇒ 3.2 เชิงคุณภาพ
• 3.2.1 ผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ได้รับการพัฒนาและแก้ปัญหาด้านการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ เรื่อง Present Simple Tense โดยใช้การจัดการเรียนรู้เชิงรุก Active Learning รูปแบบ 5Fs step Model มีเจตคติที่ดีต่อการเรียนและมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษดีขึ้น
• 3.2.2 ครูผู้สอนสามารถออกแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุก Active Learning รูปแบบ 5Fs step Model ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
. 3.2.3 ครูผู้สอนสามารถนำกระบวนการ PLC มาใช้พัฒนาการเรียนการสอนวิชาภาษาอังกฤษ ควบคู่กับการจัดการเรียนรู้เชิงรุก Active Learning ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ส่วนที่ 2 ข้อตกลงในการพัฒนางานที่เป็นประเด็นท้าทายในการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน
ปีการศึกษา 2566
ประเด็นที่ท้าทายในการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน ของผู้จัดทำข้อตกลง ซึ่งปัจจุบัน ดำรงตำแหน่งครูวิทยฐานะครูชำนาญการต้องแสดงให้เห็นถึงระดับ การปฏิบัติที่คาดหวังของวิทยฐานะครูชำนาญการ คือ การแก้ไขปัญหา การจัดการเรียนรู้และพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียนให้เกิด การเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นหรือมีการพัฒนามากขึ้น
ทั้งนี้ ผู้จัดทำข้อตกลงขอเสนอประเด็นท้าทายที่แสดงให้เห็นถึงระดับการปฏิบัติที่คาดหวังที่สูงกว่า ตำแหน่ง ครูวิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ คือ ริเริ่มพัฒนา
ประเด็นท้าทาย เรื่อง การประยุกต์ใช้เกมจากเว็บไซต์ blooket.com เพื่อพัฒนาการเรียนไวยากรณ์ เรื่อง Present Simple Tense ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ หอวัง นนทบุรี
ริเริ่มพัฒนาทักษะไวยากรณ์ เรื่อง การประยุกต์ใช้เกมจากเว็บไซต์ blooket.com เพื่อพัฒนาการเรียนไวยากรณ์ เรื่อง Present Simple Tense ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ หอวัง นนทบุรี เพื่อทดสอบความรู้ ความเข้าใจ และประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการพัฒนาด้านการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ โดยผู้ศึกษาได้จัดทำการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน รวมทั้งการคิดวิเคราะห์ผลคะแนน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ในรายวิชาภาษาอังกฤษ รหัสวิชา อ21101 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ หอวัง นนทบุรี
1. สภาพปัญหาการจัดการเรียนรู้และคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน (คลิกเพื่อดูรายละเอียด)
การจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ การเขียนเป็นอีกทักษะที่สำคัญของผู้เรียน ซึ่งเป็นทักษะที่ส่งผลต่อการเรียนรู้ภาษาอังกฤษได้อย่างมีประสิทธิภาพของผู้เรียน พบว่า ผู้เรียนส่วนใหญ่ไม่เข้าใจในเนื้อหาที่เรียน ครูผู้สอนจึงได้โดยเริ่มต้นจากการใช้ประโยคง่ายๆ คือ Present simple tense ซึ่งมีความจำเป็นมากในการเรียนภาษาอังกฤษ เพราะเป็นประโยคเริ่มต้นของการฝึกใช้ภาษาอังกฤษ และยังตรงตามหลักสูตรในสาระที่ 1 ภาษาเพื่อการสื่อสาร มาตรฐาน ต 1.2 มีทักษะการสื่อสารทางภาษาในการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร แสดงความรู้สึก และความคิดเห็นอย่างมีประสิทธิภาพจากการจัดการเรียนการสอน ดังนั้น เพื่อเป็นการแก้ปัญหาดังกล่าว ผู้สอนจึงมีแนวคิดที่จะนำแบบฝึกทักษะ Present simple tense มาใช้กับผู้เรียนและออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ให้น่าสนใจมากยิ่งขึ้น
2. วิธีการดำเนินการให้บรรลุผล (คลิกเพื่อดูรายละเอียด)
จากการที่ผู้จัดทำข้อตกลงได้เสนอประเด็นท้าทาย การพัฒนาทักษะไวยากรณ์ เรื่อง การประยุกต์ใช้เกมจากเว็บไซต์ blooket.com เพื่อพัฒนาการเรียนไวยากรณ์ เรื่อง Present Simple Tense ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ หอวัง นนทบุรี เพื่อทดสอบความรู้ ความเข้าใจ และประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการพัฒนาด้านการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ โดยผู้ศึกษาได้จัดทำการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน รวมทั้งการคิดวิเคราะห์ผลคะแนนโดยวิธีการดำเนินการตามประเด็นท้าทายดังกล่าวให้บรรลุผลตามข้อตกลงในการพัฒนางานที่เป็นประเด็นท้าทายในการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียนในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ผู้จัดทำข้อตกลงได้ดำเนินการตามกระบวนการคุณภาพ PDCA ดังนี้
1. ศึกษามาตรฐานและตัวชี้วัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับการพัฒนาทักษะไวยากรณ์ภาษาอังกฤษโดยใช้เกม ตามมาตรฐานการเรียนรู้แกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560)
2. ออกแบบการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ โดยจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้รายหน่วยการเรียนรู้ แผนการจัดการเรียนรู้รายคาบ ตลอดจนสร้าง/พัฒนาสื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยีในการจัดการเรียนรู้ และสร้าง/พัฒนาเครื่องมือการวัดและประเมินผลเพื่อการริเริ่มพัฒนาผู้เรียนที่ขาดทักษะ การประยุกต์ใช้เกมจากเว็บไซต์ blooket.com เพื่อพัฒนาการเรียนไวยากรณ์ เรื่อง Present Simple Tense ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ หอวัง นนทบุรี เพื่อทดสอบความรู้ ความเข้าใจ และประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการพัฒนาด้านการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ โดยผู้ศึกษาได้จัดทำการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน รวมทั้งการคิดวิเคราะห์ผลคะแนน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ในรายวิชาภาษาอังกฤษ รหัสวิชา อ21101
3. จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วยการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) ของกลุ่มสาระภาษาต่างประเทศ เพื่อร่วมกันตรวจสอบความถูกต้องเชิงเนื้อหาและจุดประสงค์ การเรียนรู้ ในด้านเนื้อหา ด้านกิจกรรมการเรียนรู้ ด้านสื่อการเรียนรู้ที่เป็นนวัตกรรม และเครื่องมือการวัดและประเมินผล พร้อมทั้งนำข้อเสนอแนะจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้มาพัฒนาและปรับปรุงให้เกิดความสมบูรณ์ก่อนนำไปใช้
4. จัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแผนการจัดการเรียนรู้ที่ออกแบบไว้ ในรายวิชาภาษาอังกฤษ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ดำเนินการแก้ไขปัญหาการประยุกต์ใช้เกมจากเว็บไซต์ blooket.com เพื่อพัฒนาการเรียนไวยากรณ์ เรื่อง Present Simple Tense ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ หอวัง นนทบุรี เพื่อทดสอบความรู้ ความเข้าใจ และประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการพัฒนาด้านการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ โดยผู้ศึกษาได้จัดทำการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน รวมทั้งการคิดวิเคราะห์ผลคะแนนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ในรายวิชาภาษาอังกฤษ รหัสวิชา อ21101 ในรูปแบบ Onsite / Online / On Air / On Demand / On Hand โดยปรับกิจกรรมให้เหมาะสมกับผลที่ได้จากการวิเคราะห์ผู้เรียนเป็นรายบุคคล ตลอดจนบริบทของโรงเรียนและเปิดชั้นเรียนให้สมาชิกในกลุ่ม PLC ได้เข้าร่วมสังเกตการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ร่วมกันแล้วสะท้อนผลการจัดการเรียนรู้ของครู
5. วัดและประเมินผลการเรียนรู้หลังจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแผนการจัดการเรียนรู้ที่ออกแบบไว้ โดยจัดทำสารสนเทศข้อมูล ให้ข้อมูลสะท้อนกลับ เพื่อให้นักเรียนปรับปรุงการเรียนรู้ของตนเองให้นักเรียนพัฒนาการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
6. บันทึกผลการเรียนรู้ สรุปผลการวัดและประเมินการเรียนรู้ของผู้เรียน นำผลการประเมินไปใช้ในการปรับปรุงการจัดการเรียนรู้และพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของนักเรียนในภาคเรียน/ปีการศึกษาต่อไป
7.รายงานผลการดำเนินการตามข้อตกลงในการพัฒนางานที่เป็นประเด็นท้าทายในการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 เสนอต่อผู้อำนวยการสถานศึกษา
3. ผลลัพธ์การพัฒนาที่คาดหวัง (คลิกเพื่อดูรายละเอียด)
⇒ 3.1 เชิงปริมาณ
• 3.1.1 ผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ร้อยละ 80 ที่เรียนวิชาภาษาอังกฤษมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง Present simple tense ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 75
• 3.1.2 ผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ร้อยละ 80 ที่เรียนวิชาภาษาอังกฤษมีเจตคติต่อวิชาภาษาอังกฤษอยู่ในระดับดีขึ้นไป
⇒ 3.2 เชิงคุณภาพ
• 3.2.1 นวัตกรรมเรื่อง การประยุกต์ใช้เกมจากเว็บไซต์ blooket.com เพื่อพัฒนาการเรียนไวยากรณ์ เรื่อง Present Simple Tense ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ หอวัง นนทบุรี
• 3.2.2 ผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนวิชาภาษาอังกฤษมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่สูงขึ้นและมีเจตคติที่ดีต่อวิชาที่เรียน
ปีการศึกษา 2565
ประเด็นที่ท้าทายในการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน ของผู้จัดทำข้อตกลง ซึ่งปัจจุบัน ดำรงตำแหน่งครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการ ต้องแสดงให้เห็นถึงระดับการปฏิบัติที่คาดหวังของวิทยฐานะครูชำนาญการ คือ การแก้ไขปัญหา การจัดการเรียนรู้และพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียนให้เกิด การเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นหรือมีการพัฒนามากขึ้น
ทั้งนี้ ผู้จัดทำข้อตกลงขอเสนอประเด็นท้าทายที่แสดงให้เห็นถึงระดับการปฏิบัติที่คาดหวังที่สูงกว่า ตำแหน่ง ครูวิทยฐานะครูชำนาญการ คือ การแก้ไขปัญหา
ประเด็นท้าทาย เรื่อง การประยุกต์ใช้เกมจากเว็บไซต์ blooket.com เพื่อช่วยนักเรียนจดจำคำศัพท์ภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ หอวัง นนทบุรี
1. สภาพปัญหาการจัดการเรียนรู้และคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน (คลิกเพื่อดูรายละเอียด)
จากการที่สอนภาษาอังกฤษชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 พบว่าแม้ว่านักเรียนจะท่องคำศัพท์บ่อยครั้งแต่ก็ไม่สามารถบอกความหมายของสิ่งที่อ่านได้อย่างถูกต้อง จากการเก็บข้อมูลผลการเรียนของโรงเรียนนวมินทราชินูทิศ หอวัง นนทบุรี นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ทั้งหมด 4 ห้องเรียน จำนวน 168 คน ในปีการศึกษา 2565 ภาคเรียน ที่ 1 พบว่ามีระดับผลการเรียนเฉลี่ย 2.73 และคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 69.84 เปรียบเทียบกับนักเรียนกลุ่มเดียวกัน ในปีการศึกษา 2565 ภาคเรียนที่ 2 พบว่ามีระดับผลการเรียนเฉลี่ย 2.56 และคะแนน เฉลี่ยร้อยละ 68.53 แสดงให้เห็นว่านักเรียนมีผลการเรียนที่ลดลงในภาคเรียนที่ 2 ผู้วิจัยมีข้อสังเกตว่า นักเรียนไม่สามารถจำคำศัพท์ได้ในระหว่างบทเรียน และการที่นักเรียนท่องศัพท์แบบแปลความหมายมาสอบนั้น อาจจะทำให้นักเรียนจดจำได้เพียงชั่วคราว ซึ่งทำให้เกิดปัญหาในการเรียนภาษาอังกฤษ หรือไม่สามารถใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารได้เลย ดังนั้นนักเรียนต้องเรียนรู้วิธีการใช้คำศัพท์ในประโยค นอกจากนั้นจากการสอบวัดความรู้คำศัพท์ของนักเรียนเกี่ยวกับคำศัพท์ที่นักเรียนควรรู้ของ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ หอวัง นนทบุรี พบว่า นักเรียนมีความสามารถในการใช้คำศัพท์ไม่เพียงพอต่อการนำไปใช้และอยู่ในระดับปานกลางไปจนถึงระดับต่ำกว่าเกณฑ์ ซึ่งตาม หลักสูตรการเรียนการสอนภาษาอังกฤษของผู้เรียนระดับมัธยมศึกษา รายวิชาภาษาอังกฤษของโรงเรียนเรียนนวมินทราชินูทิศ หอวัง นนทบุรี มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาการใช้ภาษาอังกฤษทั้ง 4 ทักษะ การจัดการเรียนการสอนจึงควรคลอบคลุมทั้ง 4 ทักษะ ได้แก่ ฟัง พูด อ่าน และเขียน ซึ่งทักษะสุดท้ายคือทักษะการเขียนเป็นทักษะที่ยากที่สุด และการเขียนสะกดคำเป็นองค์ประกอบพื้นฐานในการเขียน บุคคลผู้ที่มีความรู้ความสามารถด้านการเขียนก็จะสามารถสื่อสารได้ดีด้วยเช่นกัน และอีกทั้งจากผลการทดสอบ ทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา 2565 พบว่า คะแนนของนักเรียนทั่วประเทศในวิชา ภาษาอังกฤษ มีจำนวนผู้เข้าสอบ 704,692 คนมีค่าเฉลี่ย 36.34 คะแนน ซึ่งมีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดใน รายวิชาทั้งหมดจากวิชาภาษาไทย วิชาคณิตศาสตร์ และวิชาวิทยาศาสตร์ จากผลการทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติที่กล่าวมาแล้วข้างต้นจะเห็นได้ว่า นักเรียนมีข้อบกพร่องในด้านการใช้ภาษาอังกฤษ โดยเฉพาะในสาระที่ 1 ภาษาเพื่อการสื่อสาร นั่นรวมถึงความรู้ความสามารถด้านคำศัพท์ สรุปผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน O-NET ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา (2565: Website) ดังนั้น ครูผู้สอนจึงควรพัฒนาความรู้ด้านคำศัพท์ให้กับนักเรียนที่เรียนภาษาอังกฤษเป็น ภาษาต่างประเทศเพราะความรู้เรื่องคำศัพท์มีประโยชน์ต่อทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจการเรียน การสอนภาษาอังกฤษเน้นหลักไปที่ให้ผู้เรียนได้นำไปใช้ในชีวิตประจำวัน พร้อมทั้งเตรียมความพร้อม เพื่อก้าวเข้าสู่สังคมแห่งการแข่งขันในอนาคต และในบางครั้งการจัดการเรียนการสอนเกี่ยวกับคำศัพท์ในชั้นเรียนได้รับความสนใจน้อยลงและละเลยการสอนด้านคำศัพท์ก่อให้เกิดปัญหากับนักเรียนในหลายด้านทั้งนี้เพราะนักเรียนไม่รู้และไม่เข้าใจความหมายของคำศัพท์นั่นเอง
2. วิธีการดำเนินการให้บรรลุผล (คลิกเพื่อดูรายละเอียด)
จากการที่ผู้จัดทําข้อตกลงได้เสนอประเด็นท้าทาย เรื่อง การประยุกต์ใช้เกมจากเว็บไซต์ blooket.com เพื่อช่วยนักเรียนจดจําคําศัพท์ภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ หอวัง นนทบุรีโดยใช้กิจกรรมการประยุกต์ใช้เกมจากเว็บไซต์ blooket.com เพื่อทดสอบความรู้ความเข้าใจ และประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการพัฒนาด้านการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ โดยผู้ศึกษาได้จัดทำการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน รวมทั้งการคิดวิเคราะห์ผลคะแนนโดยวิธีการดําเนินการตามประเด็นท้าทายดังกล่าวให้บรรลุผลตามข้อตกลงในการพัฒนางานที่เป็นประเด็นท้าทายในการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียนในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565
3. ผลลัพธ์การพัฒนาที่คาดหวัง (คลิกเพื่อดูรายละเอียด)
⇒ 3.1 เชิงปริมาณ
• 3.1.1 นักเรียนระดับมัธยมศึกษาชั้น 1 จำนวน 4 ห้อง รวมจำนวนนักเรียนทั้งหมด 168 คน ที่เรียนในรายวิชาภาษาอังกฤษ รหัสวิชา อ21101 ได้รับการแก้ไขปัญหา เรื่อง จดจำคำศัพท์ภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ หอวัง นนทบุรีโดยใช้กิจกรรมการประยุกต์ใช้เกมจากเว็บไซต์ blooket.com เพื่อทดสอบความรู้ ความเข้าใจ และประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการพัฒนาด้านการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ โดยผู้ศึกษาได้จัดทำการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน รวมทั้งการคิดวิเคราะห์ผลคะแนน ส่งผลให้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ในระดับดี ร้อยละ 80 ขึ้นไป
• 3.1.2 นักเรียนระดับมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 1 จำนวน 4 ห้อง รวมจำนวนนักเรียนทั้งหมด 168 คน ที่เรียนในรายวิชาภาษาอังกฤษ รหัสวิชา อ21101 ได้รับการแก้ไขปัญหา เรื่อง จดจำคำศัพท์ภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ หอวัง นนทบุรี โดยใช้กิจกรรมการประยุกต์ใช้เกมจากเว็บไซต์ blooket.com เพื่อทดสอบความรู้ ความเข้าใจ และประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการพัฒนาด้านการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ โดยผู้ศึกษาได้จัดทำการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน รวมทั้งการคิดวิเคราะห์ผลคะแนนส่งผลให้ได้รับการแก้ปัญหาทักษะการอ่าน โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning โดยใช้กิจกรรมการประยุกต์ใช้เกมจากเว็บไซต์ blooket.com เพื่อทดสอบความรู้ ความเข้าใจ และประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการพัฒนาด้านการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ โดยผู้ศึกษาได้จัดทำการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน รวมทั้งการคิดวิเคราะห์ผลคะแนน ในรายวิชาภาษาอังกฤษ รหัสวิชา อ21101 ในระดับ ดี ร้อยละ 80 ขึ้นไป
⇒ 3.2 เชิงคุณภาพ
• 3.2.1 นักเรียนระดับมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 1 จำนวน 4 ห้อง รวมจำนวนนักเรียนทั้งหมด 168 คน ที่เรียนในรายวิชาภาษาอังกฤษ รหัสวิชา อ21101 มีความรู้ ทักษะ คุณลักษณะประจำวิชา คุณลักษณะอันพึงประสงค์และสมรรถนะที่สำคัญตามหลักสูตรสูงขึ้น
• 3.2.2 นักเรียนระดับมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 1 จำนวน 4 ห้อง รวมจำนวนนักเรียนทั้งหมด 168 คน ที่เรียนในรายวิชาภาษาอังกฤษ รหัสวิชา อ21101 ได้รับการแก้ไขปัญหา เรื่อง จดจำคำศัพท์ภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ หอวัง นนทบุรี โดยใช้กิจกรรมการประยุกต์ใช้เกมจากเว็บไซต์ blooket.com เพื่อทดสอบความรู้ ความเข้าใจ และประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการพัฒนาด้านการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ โดยผู้ศึกษาได้จัดทำการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน รวมทั้งการคิดวิเคราะห์ผลคะแนน
• 3.2.3 ได้แนวทางในการแก้ไขปัญหา เรื่องการส่งเสริมทักษะการจดจำคำศัพท์ภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ หอวัง นนทบุรี โดยใช้กิจกรรมการประยุกต์ใช้เกมจากเว็บไซต์ blooket.com เพื่อทดสอบความรู้ ความเข้าใจ และประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการพัฒนาด้านการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ โดยผู้ศึกษาได้จัดทำการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน รวมทั้งการคิดวิเคราะห์ผลคะแนนของนักเรียนมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 1 ในรายวิชาภาษาอังกฤษ รหัสวิชา อ21101 ที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการแก้ไขปัญหาผลลัพธ์การเรียนรู้ของนักเรียน ตลอดมีแรงบันดาลใจ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้
วีดิทัศน์ตามหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
แผนการจัดการเรียนรู้
วิดีโอนำเสนอผลงาน
ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567
ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566
ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566
ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565
ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565