ประเพณีการเลี้ยงผีปู่ย่า

ประเพณีการเลี้ยงผีปู่ย่า

การนับถือผีของมนุษย์ในแต่ละสังคมมีสืบเนื่องกันมาตั้งแต่อดีต เหตุการณ์หลายอย่างที่เกิดขึ้นและมีผลกระทบ ต่อความเป็นอยู่ของผู้คนเช่น การเจ็บไข้ได้ป่วยโดยไม่ทราบ สาเหตุ รักษาแล้ว ไม่ดีขึ้นหรือโชคไม่ดี การดำเนินชีวิตมีปัญหาอุปสรรค ครอบครัวไม่สงบสุขมีการทะเลาะ เบาะแว้งกัน เป็นต้นสิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อหาสาเหตุไม่ได้ คนมักคิดว่าสิ่งที่ทำให้เกิดเหตุการณ์ ที่ไม่พึงปรารถนานั้นต้องเป็นสิ่งที่มีอำนาจ อยู่เหนือมนุษย์และธรรมชาติ ซึ่งส่วนใหญ่ จะคิดว่าเป็นการกระทำของภูตผี ปีศาจ แม้ในปัจจุบัน บ้านเมืองมีความ เจริญมากขึ้นคนในสังคมได้รับ การศึกษา อย่างทั่วถึง แต่ความเชื่อ ในเรื่องภูตผี ปีศาจ ยังคงสืบทอดกันมาปัจจุบันแม้ความเชื่อเรื่องผี จะเริ่มลดลงในบางท้องถิ่น แต่ในบางแห่ง วิถีการ ดำเนินชีวิตก็ยังคงมีส่วนที่เกี่ยวข้องกับภูตผี ปีศาจ โดยคนเฒ่า คนแก่ในครอบครัวจะเป็นผู้สืบทอดความ เชื่อนั้นมายังลูกหลานการเซ่นสังเวยผีหรือที่ในภาษาพื้นบ้านเรียกว่า “การเลี้ยงผี” จึงมีการปฏิบัติกันอยู่ เช่น การเลี้ยงผีปู่ย่า การเลี้ยง ผีเรือน การเลี้ยงผีเจ้าบ้าน การเลี้ยงผีมด เป็นต้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งการเลี้ยงผีปู่ย่านั้นยังนิยม ปฏิบัติสืบทอดกันตามหมู่บ้านต่าง ๆ มากกว่าผีอื่น ๆ

ผีปู่ย่า เป็นผีหรือวิญญาณของบรรพบุรุษที่ได้รับการยกย่องนับถือจากชาวบ้านว่ามีความเก่งกล้าสามารถเป็นที่เกรงขาม แก่ภูตผี ปีศาจ ทั่ว ๆ ไป ผีปู่ย่าจะช่วยรักษาบ้านเรือนและปกป้องลูกหลานที่นับถือ ให้อยู่อย่างปลอดภัย จากการคุกคามทำร้ายของภูตผีอื่นๆ ตลอดจนคอยช่วยเหลือให้ผ่านพ้นจากปัญหาอุปสรรค ความทุกข์ใจที่แผ้วพานเข้ามาในชีวิต ได้โดยง่ายในหมู่บ้านแต่ละแห่งผู้คนในแต่ละครอบครัว อาจมีการนับถือผีคนละตน การนับถือผีส่วนใหญ่จะนับถือผีฝ่ายมารดา มีประชาชนสักการบูชาอยู่เป็นประจำแต่ถ้าผีนั้นเป็นผีไม่ดี ขายลูกหลานซึ่งหมายถึง ไม่ปกป้องคุ้มครอง หรือ ทำให้เจ็บป่วยหรือกินลูก หลานทำให้เกิดเรื่องเดือดร้อนต้องให้ลูกหลานเซ่น สังเวยเสมอ ลูกหลานผู้นับถือก็จะบอกกล่าว ขอลาออกจากการสังกัดผีตนนั้นโดยจะต้องได้ “ ซื้อออก ” แล้วไปขอเป็นลูกหลาน ของผีตนใหม่ ที่ให้ความปกป้องคุ้มครองได้ดีกว่าโดยไป บอกกล่าวและขอ “ ซื้อเข้า ” การซื้อออกทำได้โดย ตัวแทน ของครอบครัวซึ่งอาจเป็นคนแก่คนเฒ่า นำกรวยดอกไม้ธูป และเงินจำนวนหนึ่ง อาจจะเป็น 12 บาท หรือ 36 บาท แล้วแต่ผีจะกำหนด ไปบอกกล่าวเมื่อมีการลงผีหรือเข้าทรง โดยขอออก หลังจากนั้นถ้ามีพิธีกรรมที่เกี่ยวกับผีตนนั้น ก็ไม่ต้องมาร่วมพิธีถือว่าไม่ใช่ลูกหลานผีตนนั้นแล้ว ส่วนการซื้อเข้าก็ทำในลักษณะเดียวกัน แต่เป็นการบอกกล่าวขอเข้าเป็นเมื่อใดก็ร่วมจ่ายเงินซื้อสิ่งของเครื่องเซ่น และถ้ามีเวลาก็ไปร่วมพิธีกรรมที่สิงสถิตของผีปู่ย่าจะอยู่ที่ “ หอ ” ซึ่งสร้างลักษณะคล้ายบ้านชั้นเดียว ยกพื้นสูงมีฝารอบ 3 ทิศ ไม่มีการแบ่งเป็นห้อง ลูกหลานสามารถขึ้นไปนั่งทำพิธีได้ โดยบนหอจะมีแท่นสำหรับวางขันตั้ง ซึ่งเป็นขัน สำหรับบูชาผีปู่ย่า หอผีปู่ย่านี้จะอยู่ในหมู่บ้านไม่ไกล จากบ้านลูกหลานมากนัก ซึ่งถ้าเป็นเวลาปกติไม่มีการลงผี ก็จะไม่มีใครไปยุ่งเกี่ยวกับหอผีนี้ เวลาในการทำพิธีเลี้ยงผีปู่ย่าแต่ละตนอาจกำหนด แตกต่างกันไป แต้ถ้าเป็นผีกลุ่มเดียวกัน เป็นผีพี่น้องหรือเป็นเพื่อนรักชอบพอกันจะมาทำพิธีร่วมกัน ซึ่งส่วนใหญ่จะทำพิธีเลี้ยงผีปู่ย่าปีละ 1 ครั้ง ในช่วงสงกรานต์หรือที่ทางภาคเหนือเรียกว่า ปีใหม่ แต่บางตนจะมีพิธีการเลี้ยงหลายครั้งเช่น ก่อนเข้าพรรษา หลังออกพรรษา หรือ เมื่อมีการบนบานบอกกล่าว แล้วเป็นไปตามที่ขอก็จะมีการเลี้ยงเหมือนการเลี้ยงแก้บน การเลี้ยงในช่วงปีใหม่จะมีพิธีการดำหัวผีปู่ย่าควบคู่กันไปด้วย เป็นการขออภัยในสิ่งที่ลูกหลานได้ล่วงล้ำก้ำเกิน และขอความคุ้มครองจากผีปู่ย่าพิธีนี้จะเริ่มขึ้นโดยคนทรงหรือที่ ชาวบ้านเรียกว่า “ ม้าขี่ ” ของผีปู่ย่า เปลี่ยนเครื่องแต่งกายสำหรับลงผี อาจ ใส่เสื้อผ้าขาวทั้งหมดแล้วห่มสไบขาว เป็นต้น ผีแต่ละตนจะมีอาวุธประจำกายซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นดาบ คนทรงจะยกขันตั้งเชิญผีปู่ย่า มาเข้าร่างทรง ซึ่งเมื่อผีเข้า ร่างทรงแล้วจะมีการรับเครื่องเซ่นสังเวย โดยใช้ดาบชี้ ไปยังอาหารแต่ละอย่าง แล้วมีการฟ้อนรำของผีลูกหลานบอกกล่าวทำการดำหัวปู่ย่าโดยนำน้ำส้มป่อยมะกรูดเผาขอรับพรจากผีปู่ย่าหลังจาก นั้น ผีจะทักทายลูกหลานที่มาร่วมพิธี ลูกหลานคนใดมีเรื่องเดือดร้อน ที่จะขอความ ช่วยเหลือก็บอกได้ในตอนนี้ คนที่จะมาขอเข้าร่วมผี ก็จะบอกกล่าวแก่ผีปู่ย่าที่มาเข้าทรงให้รับเป็นลูกหลานหลังจากการดำหัวในช่วงปีใหม่ อาจมีการเลี้ยงผีปู่ย่าในวันอื่น ๆ เช่น บางแห่งกำหนดเลี้ยงใน วันขึ้น 11 ค่ำ เดือน 9 ของ ทุกปี หรือวันออก 3 ค่ำเดือน 6 หรือแล้วแต่จะกำหนดตาม ความต้องการของผีที่มาเข้าทรงโดยจัดเตรียมสิ่งของนำไปประกอบพิธีได้แก่ หัวหมู ไก่ต้ม ข้าวสุก ผลไม้ เหล้าขาวธูป 8 ดอก ดอกไม้ โดยมีขั้นตอนการทำพิธี เช่นเดียวกับการทำในช่วงปีใหม่ แต่ไม่มีการดำหัว บางครั้งการเลี้ยงผี อาจไม่จำเป็นต้องมีการเข้าทรง โดยอาจเป็นการแก้บนของลูกหลานซึ่งทำได้โดยการจัดเตรียมสิ่งของเครื่องเซ่น ไปถวายยังหอผีปู่ย่า นำไม้ไผ่ยาวที่อยู่บนหอมาวัดวาและ ทำ เลี้ยงผีปู่ย่าเป็นประเพณีพื้นบ้านที่มีคุณค่ากับสังคม พิธีกรรมหนึ่งซึ่งก่อให้เกิดการรู้จักคุ้นเคยกันในหมู่ญาติมิตรเป็นพิธีรวมญาติ พี่น้องให้มารู้จักกันในโอกาสที่มีการเลี้ยงผีแต่ละครอบครัวที่เข้าผีเดียวกันจะมาทำพิธีร่วมกันและถือเป็น ญาติพี่น้องทำให้ความขัดแย้งของคนในท้องถิ่นมีน้อยลงเนื่องจากถ้าถือผีเดียวกันแต่มีเรื่องทะเลาะกัน ผีปู่ย่าจะไม่พอใจ อาจดลบัลดาลให้ได้รับโชคร้าย นอกจากนี้ชาวบ้านยังเชื่อว่าจะได้รับความคุ้มครองป้องกัน และ ช่วยเหลือจากผีปู่ย่า ทำให้มีที่พึ่งทางใจสำหรับผู้ที่มีปัญหาต่างๆ แก้ปัญหาไม่ได้ การที่ได้บอกกล่าวขอความช่วยเหลือจากผีปู่ย่า จะช่วยลดภาวะความตึงเครียดทางจิตใจซึ่งส่งผล ให้สุขภาพจิตดีมีกำลังใจในการที่จะเผชิญปัญหา และต่อสู้ชีวิตต่อไปผีปู่ย่าจึงเสมือนจิตแพทย์ในปัจจุบันนี้ปัจจุบันความเชื่อในเรื่องผีลดลงถือว่าเป็นเรื่องที่ไร้สาระ และเสียเวลา คนรุ่นใหม่ไม่ค่อยให้ความสำคัญกับประเพณีการเลี้ยงผีปู่ย่า โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้ที่อยู่ในเมือง ซึ่งมีความเจริญทางด้านวัตถุมาก การเลี้ยงผีปู่ย่าใหญ่จึงยังมีในหมู่บ้านชนบทห่างไกล มีความเชื่อในเรื่องผี ยังมีอยู่มาก ซึ่งเป็นที่น่าเสียดายว่าภูมิปัญญาของคนโบราณที่ใช้ในการแก้ปัญหาของคน ในท้องถิ่นโดยออกมาในรูปแบบของการเลี้ยงผีปู่ย่า คงสูญสิ้นไปกับกาลเวลา และความเจริญ ทางด้านวัตถุถ้าไม่มีการอนุรักษ์ไว้