ประเพณี ตานข้าวจี่ ข้าวหลาม

ประเพณี ตานข้าวจี่ ข้าวหลาม แล้วหลัวพระเจ้า

ประเพณีเดือน 4 เป็ง ขึ้น 15 ค่ำ เป็นความเชื่อของชาวบ้านมีมานาน ในเดือน 4 นี้อากาศหนาว พร้อมกับเป็นช่วงฤดูเก็บเกี่ยวข้าว ชาวบ้านพร้อมใจกันนำเอาหลัวให้พระสงฆ์ผิงไฟแก้หนาว และตานข้าวที่เกี่ยว ใหม่ๆ ทำเป็นแผ่นและปิ้งเรียกว่า ข้าวจี่ และใส่กระบอกไม้ไผ่เผาไฟเรียกว่า ข้าวหลาม เป็นการถวายเพื่อเป็นการบูชา จะได้โชคลาภหลัวในภาษาเหนือ คือ ฟืน ส่วน หิง คือการผิง พระเจ้าหมายถึง พระพุทธรูป ทานหลัวหิงพระเจ้า คือถวายฟืนจุดไฟให้พระพุทธรูปได้ผิงไฟแก้หนาว คนล้านนาถือว่าพระพุทธรูปเป็นตัวแทนของ พระพุทธเจ้า เป็นเหมือนกับมีชีวิตจิตใจ มีหนาวมีร้อน เมื่อฤดูหนาวมาถึง คิดว่าพระพุทธรูปคงหนาว จึงได้จุดไฟจุดฟืนให้พระพุทธรูปได้ผิงเพื่อแก้หนาว

ประเพณีนี้เคยทำในทุกพื้นที่ของล้านนา แต่ปัจจุบันเหลือเพียงไม่กี่แห่ง ส่วนมากจะเป็นวัดในชนบทห่างไกล ที่ยังสามารถหาฟืนได้ง่ายอยู่ จำนำฟืนมาจัดรวมกันไว้เป็นกองๆกองหนึ่งๆมีจำนวน80 ดุ้น เท่ากับอายุของพระเจ้า ถ้าฟืนมีจำนวนมากกว่าจัดเป็นอีกกอง หลังจากอาจารย์กล่าวคำขอสูมาเสร็จ ผู้สูงอายุก็จะไปจุดไฟหลัวพระเจ้า ซึ่งจัดเตรียมไว้ล่วงหน้า 1วันพระสงฆ์ให้พร และชาวบ้านกราบลาพระ ด้วยบท อะระหังสัมมาฯ เป็นอันเสร็จพิธี