มะหลอดผลไม้พื้นบ้านสร้างรายได้

ชื่ออาชีพท้องถิ่น : มะหลอดผลไม้พื้นบ้านสร้างรายได้

ประวัติ ข้อมูลของผู้ประกอบอาชีพ

ดูร้อนเดือนมีนาคม 1 ปีมีครั้ง  ทำความรู้จัก "บักหลอด" หมากหลอด (ภาคอีสาน) , บะหลอด, มะหลอด, สลอดเถา (ภาคเหนือ), ส้มหลอด (ภาคใต้) ผลไม้ท้องถิ่นชนิดหนึ่ง พบได้ตามแถบทางภาคอีสานตอนบน ภาคเหนือ ภาคใต้   โดยจะพบได้มากทางภาคเหนือ และภาคอีสาน ตามบ้านเรือนในชนบท หรือ ตามทุ่งนาและตามป่าดิบชื้น  ป่าเบญจพรรณ รวมถึงตามเนินเขา ที่ระดับความสูง 200-1,600 เมตร จากระดับน้ำทะเล 

ช่วงนี้ฤดูร้อน ฤดูกาลของ "มะหลอด" จะเริ่มขึ้นแล้ว ผลิดอกออกผลสุกงอมเต็มต้นกันเลย แต่จะหาซื้อตามตลาดทั่วไปคงเป็นไปได้ยาก เพราะเป็นผลไม้เฉพาะถิ่นที่เกิดตามสภาพภูมิอากาศที่เหมาะสมเท่านั้น ซึ่งต้องถามซื้อจากชาวบ้านในืพื้นที่  ซึ่งในอำเภอทุ่งหัวช้างมักจะมีชาวบ้านในพื้นที่นำออกมาขายตามตลาดนัด  หรือ นำมาขายตามสถานที่ราชการเพื่อเป็นการสร้างรายได้เสริมให้กับคนในพื้นที่

ที่อยู่  ที่ตั้ง  (พิกัด) ของผู้ประกอบการ

กระบวนการ  ขั้นตอนการผลิตหรือองค์ความรู้

       มะหลอด มะหลอด ชื่อวิทยาศาสตร์ Elaeagnus latifolia L. จัดอยู่ในวงศ์มะหลอด (ELAEAGNACEAE) สมุนไพรมะหลอด มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า สลอดเถา หมากหลอด หรือ บะหลอด บ่าหลอด (ภาษาคำเมือง), ควยรอก (ตราด), ส้มหลอด (ภาคใต้) เป็นต้น สมุนไพรมะหลอด เป็นพืชพื้นเมืองของไทยที่พบได้มากทางภาคเหนือ ตามป่า ตามทุ่งนา หรือตามบ้านเรือนชนบท และสามารถพบได้ทั่วไปตามชายป่าชื้น ป่าเบญจพรรณ และมักขึ้นทั่วไปตามเนินเขาในที่ร่มที่ระดับ 200-1,600 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล

       ลักษณะของมะหลอด ต้นมะหลอด เป็นไม้เถาเนื้อแข็ง ลำต้น และกิ่งมีเกล็ดสีเทาหรือสีเงิน  

ใบมะหลอด เป็นใบเดี่ยวเรียงสลับกัน ลักษณะของใบเป็นรูปรีหรือรูปรีแกมหอก ปลายใบแหลม โคนใบสอบ ขอบใบเรียบ แผ่นใบด้านบนมีสีเขียวอมน้ำเงินเกลี้ยง ส่วนด้านล้างมีเกล็ดเล็ก ๆ สีน้ำตาลทั่วไป กว้างประมาณ 3.5-4.5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 6-12 เซนติเมตร และก้านใบยาวประมาณ 0.8-1.2 เซนติเมตร 

     ดอกมะหลอด จะออกดอกเป็นกระจุกตามง่ามใบ ยาวประมาณ 1-2 เซนติเมตร ดอกเป็นดอกแบบสมบูรณ์เพศหรือมีดอกเพศเมียปะปนรวมอยู่ด้วย ลักษณะของกลีบดอกจะเชื่อมติดกันเป็นหลอดคล้ายสันเหลี่ยม มีความยาวประมาณ 0.5 เซนติเมตร ที่ปลายแยกเป็น 5 กลีบ มีเกสรตัวผู้ 5 อัน ติดอยู่กับหลอดท่อดอก 

     ผลมะหลอด มีลักษณะมีหลายรูปทรง เช่น ผลรูปรี รูปไข่ รูปกรวย รูปลูกแพร์ และรูปทรงกระบอก ยาวประมาณ 1-2 เซนติเมตร ลักษณะโดยรวมจะคล้าย ๆ กับมะเขือเทศราชินี ผิวเปลือกจะสากเล็กน้อย มีจุดสีขาวสีเงินบนผล ผลอ่อนมีสีเขียว เมื่อผลสุกแล้วจะมีสีแดงเข้ม หรือแดง หรือส้มแดง หรือสีเหลือง มีรสเปรี้ยว ฝาดจนถึงหวาน ใช้รับประทานเป็นผลไม้ได้ และในผลมีเมล็ดสีน้ำตาลเหลือง ลักษณะเมล็ดหัวท้ายแหลมยาวรี ตัวเมล็ดเป็นพู (ร่อง) โดยเมล็ดหนึ่งจะมี 8 พู

มะหลอด จะมีอยู่ด้วยกัน 3 รส โดยทุกรสจะมีรสฝาดรวมอยู่ด้วย ซึ่งได้แก่ มะหลอดส้มจะมีรสเปรี้ยว สีผล  ออกส้มใส, มะหลอดหวาน มีสีค่อนข้างแดงเข้ม หารับประทานได้ยาก, และมะหลอดก๋ำปอ มีรสไม่เปรี้ยวและ     ไม่หวานมาก อย่างไรก็ตามก่อนนำมารับประทานต้องทำให้นิ่มก่อนด้วยวิธีการนวดหรือคลึง เพราะจะช่วยลดความฝาดลงไปได้เยอะ แถมยังช่วยแยกเมล็ดออกมาได้ง่ายขึ้นอีกด้วย มะหลอด เป็นผลไม้ที่บางคนคงไม่รู้จักหรือไม่เคยได้ยิน เพราะเท่าที่ทราบก็คือผลไม้ชนิดนี้เป็นผลไม้ของทางภาคเหนือ โดยจะออกดอกออกผลในช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนกุมภาพันธ์ เมื่อยามที่ผลมันสุก ต้นจะดูสวยงามเต็มไปด้วยผลที่มีสีแดงสด สีส้ม สีเหลือง      สีเขียว คละเคล้ากันไป เห็นแล้วน่ารับประทาน แต่น่าเสียดายที่ผลไม้ชนิดนี้ยังไม่นิยมปลูกกันอย่างแพร่หลาย ทำให้มีผลผลิตจำหน่ายเข้าสู่ตลาดน้อยมาก และมักพบเห็นวางจำหน่ายตามตลาดในจังหวัดรอบนอกตามชนบท ทำให้ไม่เป็นที่รู้จักเหมือนผลไม้ชนิดอื่น และยังไม่มีการส่งเสริมการปลูกอย่างจริงจัง ซึ่งในปัจจุบันค่อนข้างจะหาได้ยากขึ้นทุกที

สรรพคุณของมะหลอด 

ประโยชน์ของมะหลอด 


วิธีการกินมะหลอด

1. หากใครต้องการกินแบบหวานฉ่ำไม่ติดรสเปรี้ยว ให้เลือกลูกมะหลอดที่สุกงอม ก่อนนำมารับประทานต้องทำให้นิ่มก่อนด้วยวิธีการนวดหรือคลึง เพราะจะช่วยลดความฝาดลงไปได้เยอะ แถมยังช่วยแยกเมล็ดออกมาได้ง่ายขึ้นอีกด้วย 

2. กินมะหลอดด้วยการจิ้มพริกเกลือ น้ำปลาหวาน หรือทำน้ำจิ้มแห้ง น้ำจิ้มน้ำ ตามสะดวกได้เลย แนะนำน้ำจิ้มน้ำ ส่วนผสม พริกป่น ข้าวคั่ว หอมแดงซอย น้ำปลา น้ำปลาร้า น้ำตาล ผงปรุงรส ผงนัวตามชอบ ผสมให้รวมกัน แล้วฝานมะหลอดลงแช่น้ำจิ้มแล้วตักกินฟินๆได้เลย


วิธีการกินบักหลอด

1. หากใครต้องการกินแบบหวานฉ่ำไม่ติดรสเปรี้ยว ให้เลือกลูกบักหลอดที่สุกงอม ก่อนนำมารับประทานต้องทำให้นิ่มก่อนด้วยวิธีการนวดหรือคลึง เพราะจะช่วยลดความฝาดลงไปได้เยอะ แถมยังช่วยแยกเมล็ดออกมาได้ง่ายขึ้นอีกด้วย 

2. กินบักหลอดด้วยการจิ้มพริกเกลือ น้ำปลาหวาน หรือทำน้ำจิ้มแห้ง น้ำจิ้มน้ำ ตามสะดวกได้เลย แนะนำน้ำจิ้มน้ำ ส่วนผสม พริกป่น ข้าวคั่ว หอมแดงซอย น้ำปลา น้ำปลาร้า น้ำตาล ผงปรุงรส ผงนัวตามชอบ ผสมให้รวมกัน แล้วฝานบักหลอดลงแช่น้ำจิ้มแล้วตักกินฟินๆได้เลย


สื่อประกอบ 

ผู้ให้ข้อมูล  ผู้เขียนหรือผู้เรียบเรียงเนื้อหา

ผู้ห้ข้อมูล : เว็บไซต์เมดไทย (Medthai) 

ผู้เขียน / ผู้เรียบเรียงเนื้อหา : นางสาวสุจิตรา  ศรีชำนาญ

ภาพถ่ายโดย : 1. www.thaikasetsart.com, www.postjung.com, www.bloggang.com

                   2. นางสาวสุจิตรา  ศรีชำนาญ