โซนที่ 5 หรือโซน E มหายุคแห่งชีวิตปัจจุบัน CENOZOIC ERA

โซน E มหายุคแห่งชีวิตปัจจุบัน CENOZOIC ERA

มหายุคซีโนโซอิก เริ่มต้นขึ้นของชีวิตใหม่

เมื่อ 65 ล้านปีก่อน ภายหลังการสูญพันธุ์ของไดโนเสาร์ เป็นช่วงต้นของมหายุค “ซีโนโซอิก” ทวีปต่างๆ มีการเลื่อนตัวแยกจากกัน โดยเฉพาะออสเตรียถูกตัดขาดจากทวีปอื่นๆ พร้อมๆ กับสภาวะอากาศเปลี่ยนแปลง โลกมีความชื้นเพิ่มขึ้นทำให้สภาพแวดล้อมเปลี่ยนไปเป็นป่าชื้นเขตร้อน เต็มไปด้วย พื้นใบขนาดใหญ่ ซึ่งเอื้อประโยชน์ต่อพืชดอกไม้พัฒนามาจากเฟิร์นได้แพร่พันธุ์ออกไปอย่างหลากหลาย ในยุคสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมมีโอกาสพัฒนารูปแบบให้มีขนาดใหญ่โตขึ้น และขยายพันธุ์ไปอย่างรวดเร็วและสัตว์ปีกอย่างนก ก็มีวิวัฒนาการมาจากไดโนเสาร์ ซึ่งเป็นสัตว์เลื้อยคลานชนิดหนึ่งจากการค้นพบซากดึกดำบรรพ์ของอาร์คีออปเทริกซ์ ทำให้เห็นถึงวิวัฒนาการของไดโนเสาร์ที่เปลี่ยนไป จนในที่สุดนกก็สามารถพัฒนาการบินขึ้นมาได้

สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม และไม้ดอกแพร่กระจายไปทั่ว เริ่มเกิดนกและปลาที่มีลักษณะคล้ายปัจจุบัน มหายุคซีโนโซอิก แบ่งออกเป็น 2 ยุค

1.ยุคเทอร์เซียรี

2.ยุคควอเทอร์นารี

วิวัฒนาการของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม

สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมระยะแรกมีลักษณะคล้ายหนู ขุดรูเป็นโพรงอยู่อาศัย ออกหากินยามค่ำมืดมีวิวัฒนาการเพื่อดำรงอยู่แบบแฝงเร้นกับพวกหมู่สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมมีพัฒนาการและปริมาณเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ในสมัยพาลีโอซีน ช่วงเริ่มต้นยุคเทอร์เซียรี ได้เกิดสายพันธุ์ใหม่ๆขึ้นมากมายกลายเป็นสัตว์กินพืช และกินเนื้อ โดยรับอิทธิพลจากการเปลี่ยนตำแหน่งของทวีป ประกอบกับไม่ต้องหลบซ่อนเพื่อหนีการล่าของไดโนเสาร์ก็เป็นได้ แต่สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมบางชนิดก็ยังคงสภาพเป็นสัตว์กลางคืนอยู่

สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมระยะแรกขนาดใหญ่ มีขนาดเล็กกว่าแมว คือน้ำหนักตัวประมาณ 2 กิโลกรัมเท่านั้น นอกจากนี้ยังมีสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่บินได้อย่าง ค้างคาวเกิดขึ้นด้วย

วิวัฒนาการของมนุษย์

มนุษย์เริ่มมีวิวัฒนาการขึ้นในยุคควอเทอร์นารี สมัยไพลสโตซีน ในขณะนั้นมนุษย์มีลักษณะคล้าย กอริลล่าเรียกว่ามนุษย์ออสตราโลพิเทคัส มีมันสมองประมาณ 600 ลูกบาศก์เซนติเมตรเท่านั้น ลักษณะของฟันกรามทั้งสองข้างเกือบขนานกัน ดั้งจมูกแบนราบ เดินหลังค่อมและตามลำตัวมีขนมาก เริ่มรู้จักใช้กิ่งไม้และหินกรวดเป็นเครื่องมือช่วยในการหาอาหาร จากนั้นก็มีพัฒนาการขึ้นเรื่อยๆ รูปร่างเริ่มยืดตรง มีดั้งจมูกโด่งขึ้น รู้จักดัดแปลงเครื่องมือและใช้ไฟในการยังชีพ แต่เมื่อธารน้ำแข็งเกิดการสลายตัว ระดับน้ำทะเลมีการเปลี่ยนแปลงทำให้เกิดการอพยพย้ายถิ่น กระจัดกระจายไปตามส่วนต่างๆ ของโลกเมื่อ 5,000 ปีก่อนคริสต์ศักราชมานี้ มนุษย์เริ่มมีพัฒนาการขึ้นอีกขั้น รู้จักคิด เขียน จดบันทึก สามารถเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ เพื่อเพิ่มศักยภาพให้เผ่ามนุษย์เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน

วิวัฒนาการอย่างต่อเนื่องทั้งหมดนี้ใช้เวลากว่า 250,000 ปี จากมนุษย์ออสตราโลพิเทคัส ในยุคบุกเบิกเก่าแก่ที่สุด มาเป็นมนุษย์ปัจจุบันที่มีความคล่องตัว มีมันสมอง 1,660 ลูกบาศก์เซนติเมตร รู้จักคิดค้นประดิษฐ์สิ่งใหม่ ๆ อยู่ตลอดเวลา

วิวัฒนาการของมนุษย์ จัดแบ่งตามลำดับออกเป็น 5 ยุค คือ

1. Australopithecus

2. Homo habilis

3. Homo erectus

4. Homo sapiens neanderthal

5. Homo sapiens sapiens

ช้างแมมมอธ

แมมมอธ หรือไซโกโลโฟดอน เป็นช้างโบราณในตระกูลสัตว์เลี้ยงด้วยนม ที่อาศัยทางขั้วโลกเหนือท่ามกลางอากาศหนาวเย็นในยุคน้ำแข็ง ด้วยเหตุนี้มันจึงมีขนอ่อนนุ่มสีน้ำตาลแดงยาวถึง 80 เซนติเมตรเพื่อปกคลุมสร้างความอบอุ่นให้ร่างกาย ส่วนงายาวแปลกตา รูปตัวซี ก็มีประโยชน์อย่างมากในการขุดหาหญ้าและมอส อาหารอันโอชะภายใต้พื้นหิมะหนา ใช้งวงม้านดึงอาหารเพื่อป้อนเข้าปากแทนมือเมื่อเปรียบเทียบกับช้างในปัจจุบัน แมมมอธมีรูปร่างสูงกว่า บริเวณหลังหัวจะมนกว่าหู หูเล็กกว่า และถ้าสังเกตกันให้ดีๆ จะพบว่า มีหางสั้นกว่าด้วย

ส่วนสาเหตุที่แมมมอธสูญพันธุ์นั้นสันนิษฐานว่าเกิดจากการล่าของมนุษย์ที่กำลังขยายเผ่าพันธุ์และเกิดจากการที่โลกมีสภาพอากาศที่อบอุ่นขึ้น ทำให้ธารน้ำแข็งละลายเกิดการเปลี่ยนแปลงของภูมิประเทศ

ความเป็นมาทางด้านธรณีวิทยาของประเทศไทย

ประเทศไทยเกิดจากการเชื่อมต่อทางแผ่นดินของทวีป 2 ผืน ทวีปหนึ่งได้แผ่นดินอินโดจีนที่ประกอบด้วย ที่ราบสูงโคราช เขมร ลาว และเวียดนาม ส่วนอีกทวีป คือฉานไทย ติดต่อไปทางภาคตะวันตกของประเทศไทยจนถึงมาเลเซีย

ในพื้นที่หลายแห่งของประเทศ มีการค้นพบซากดึกดำบรรพ์สัตว์มีกระดูกสันหลัง ที่มีช่วงอายุใน ช่วงมหายุคมีโซโซอิกขึ้น เช่นจูแรสชิก ที่ภูเวียง ขอนแก่น, ครีเทเชียส ที่ห้วยยอด ตรัง, อีโอซีน ที่กระบี่, มโอซีน ที่ลี้ ลำพูน แม่เมาะ แม่ตีบ ลำปาง และไพลสโตซีน จากถ้ำทางภาคใต้ เหล่านี้ แสดงให้เห็นสภาพแวดล้อมในอดีต ช่วยบอกอายุของหินได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะทางอีสานของประเทศไทยว่ามีอายุยาวนา

ภูเวียงกอโซรัส สิรินธรเน Phuwiangosaurus sirindhornae

ภูเวียงกอโซรัส หมายถึง สัตว์เลื้อยคลานจากภูเวียง ภูเวียงกอโซรัส สิรินธรเน เป็นไดโนเสาร์ ซอโรพอตชนิดแรกที่พบในประเทศไทย จากชั้นหินหมวดเสาขัว ยุคครีเทเชียส ตอนต้น ประมาณ 130 ล้านปีมาแล้ว

ชื่อชนิด สิรินธรเน เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

- ลักษณะ มีคอยาวและหางยาว, เป็นสัตว์กินพืช มีความยาว 15-20 เมตร

- พบฟอสซิลครั้งแรกที่ภูเวียง จังหวัดขอนแก่น โดยคณะสำรวจไทย-ฝรั่งเศส ตั้งแต่ พ.ศ.2525

ช้างแมมมอธ (Mammoth) หรือแมมมอธขนยาว (Waolly Mammoth)

ช้างแมมมอธ เป็นช้างที่อาศัยอยู่ในยุคน้ำแข็ง เมื่อ 2,000 ปีก่อน แต่สูญพันธุ์ไปเพราะถูกมนุษย์ หินล่า และสูญพันธุ์ไปเมื่อประมาณ 10,000 ปีมาแล้ว มีขนยาวปกคลุมเพื่อป้องกันความหนาวเย็น มีงายาวและโค้ง การค้นพบซากแมมมอธสามารถนำมาศึกษาวิจัย เรื่องการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศโลก เพราะแมมมอธเคยผ่านช่วงเวลานั้นมา พ.ศ.2550 ได้มีการค้นพบซากลูกช้างสูง 130 เซนติเมตร และมีน้ำหนัก 50 กิโลกรัม ใกล้กับแม่น้ำยูริเม ในเขตปกครองตนเองยาบาล-เนเน็ต ทางตะวันออกเฉียงเหนือของไซบีเรีย โดยยูริ คูดี

การขุดค้นไดโนเสาร์ How to dig up a dinosaurs?

นักวิทยาศาสตร์ที่ศึกษากระดูกไดโนเสาร์ซากดึกดำบรรพ์ต่าง ๆ มีชื่อเรียกว่า นักบรรพชีวิน(Paleontologist) นักบรรพชีวินวิทยาต้องเป็นคนที่

- อดทน

- ช่างจดบันทึก

- ช่างจินตนาการ

ที่มา : www.rscience.go.th เขียนโดย : ว่าที่ ร.ต.อัศวิน อินตา