โซน D มหายุคแห่งชีวิตตอนกลาง MESOZOIC ERA

มหายุคมีโซโซอิก มีอายุระหว่าง 230 – 65 ล้านปีมาแล้ว ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ยุค คือ ยุคไทรแอสซิก ยุคจูแรสซิก ยุคครีเทเชียส โดยทั่วไปแล้วสภาพภูมิประเทศในมหายุคนี้มีการเกิดทวีปและทะเลใหม่ซึ่งมี ผลมาจากการยกตัวของทวีป มีการกำเนิดแหล่งแร่และน้ำมัน ส่วนสภาพภูมิประเทศจะอบอุ่นเหมาะกับ การดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตต่างๆ สิ่งมีชีวิตในมหายุคมีโซโซอิก มีการพัฒนาการเพิ่มขึ้น ในทะเลมีแอมโมไนต์ และสัตว์เลื้อยคลานในทะเลเกิดขึ้น ส่วนบนบก สัตว์มีกระดูกสันหลังเพิ่มปริมาณมากมาย ทำให้เกิดวิวัฒนาการที่สำคัญ คือ การกำเนิดไดโนเสาร์ ซึ่งได้กลายเป็นสัตว์ครองโลกของมหายุคนี้ นอกจากนี้ยังเริ่มมี นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ดอกไม้ และแมลงใหม่ๆ เกิดขึ้น จะสังเกตได้ว่าการเพิ่มปริมาณของดอกไม้ มีผลโดยตรงกับการเพิ่มจำนวนของแมลงซึ่งช่วยในการผสมพันธุ์ในตอนปลายมหายุค เกิดการเปลี่ยนแปลงเป็นยุคน้ำแข็ง ทำให้สิ่งมีชีวิตส่วนมากไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ โดยเฉพาะแอมโนไนต์ สัตว์เลื้อยคลานทะเล และไดโนเสาร์ ที่เคยเป็นสัตว์ครองโลกก็สูญพันธุ์ไปจนหมด

วิวัฒนาการของสัตว์เลื้อยคลาน

เรามารู้จักกับสัตว์ต้นตระกูลของไดโนเสาร์ ไม่น่าเชื่อที่สัตว์เลื้อยคลานจะสามารถวิวัฒนาการจนกลายเป็นสัตว์ขนาดใหญ่ที่สุดในโลกได้

ในยุคคาร์บอนิเฟอรัสของมหายุคพาลีโอโซอิก เกิดสัตว์ชนิดใหม่ขึ้นคือ สัตว์เลื้อยคลาน ซึ่งมีวิวัฒนาการมาจากสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกกลุ่มหนึ่ง จนเข้าสู่ยุคทีโซโซอิกสัตว์เลื้อยคลานกลายเป็นสัตว์บก ที่มีชีวิตรอดมาได้เป็นอย่างดี และวิวัฒนาการไปหลายพันธุ์หลายลักษณะ

ข้อได้เปรียบของสัตว์เลื้อยคลานที่มาสามารถอาศัยอยู่บนบกได้ดี อยู่ที่ลักษณะของไข่ ซึ่งมีเปลือกแข็งทำให้วางไข่บนบกได้ ในขณะที่ไข่ของสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกจะนุ่มและต้องวางไข่ในน้ำ จึงถูกสัตว์อื่นกินมากกว่า นอกจากนี้สัตว์เลื้อยคลานยังมีขากรรไกรที่แข็งแรง และมีความสามารถในการเคลื่อนไหวไปมาได้ดีกว่า จึงทำให้สัตว์เลื้อยคลานที่มีวิวัฒนาการกลายเป็นสัตว์ที่โลกรู้จักกันดีในนาม “ไดโนเสาร์”ซึ่งนอกจากไดโนเสาร์แล้วยังมีสัตว์เลื้อยคลานประเภทอื่นๆ อีกที่อาศัยอยู่บนยุคนี้

วิวัฒนาการของพืชดอก

หลังจากพืชไร้ดอกได้วิวัฒนาการขึ้นมาบนโลก โดยพัฒนาให้ระบบลำเลียงน้ำจากรากไปยังส่วนต่างๆ ของลำต้น และต้องมีผิวขรุขระเพื่อลดการสูญเสียน้ำ นอกจากนี้ยังมีลำต้นที่แข็งแรง เพื่อให้สามารถตั้งตรงได้ เช่นพืชจำพวกเฟิน และ มอส ที่มีขนาดสูงใหญ่กว่า 2 เมตร ต่อมาในช่วงปลายยุคดีโวเนียน ก็มีวิวัฒนาการเกิดพืชจำพวกที่งอกด้วยเมล็ดขึ้น ซึ่งรวมไปถึงพวก สน ปาล์ม

จนกระทั่งถึงยุคครีเทเชียส พืชไร้ดอกบางชนิดก็ได้วิวัฒนาการกลายเป็นพืชมีดอกขึ้น การค้นพบซอสซิลที่ชื่อ Archaefructus ในประเทศจีนทำให้ยอมรับกันว่าเป็นพืชที่ดอกมากที่สุด การวิวัฒนาการของพืชจนมีดอกเกิดขึ้น เพื่อที่พืชจะได้สามารถขยายพันธุ์ได้มากขึ้น โดยอาศัยแมลงในการผสมพันธุ์ทำให้แมลงมีจำนวนมากขึ้น เนื่องจากมีแหล่งอาหารคือพืชดอกเพิ่มขึ้น นับว่าเป็นการความสัมพันธ์เกื้อกูลกันตามธรรมชาติ

ไดโนเสาร์

ไดโนเสาร์ (Dinosaur) มาจากภาษากรีก ไดโน (Deinos) แปลว่าน่ากลัวมาก และเสารัส (Sauros) แปลว่า สัตว์เลื้อยคลาน เมื่อรวมกันหมายความว่า สัตว์เลื้อยคลานที่ร้ายกาจน่ากลัว ไดโนเสาร์ปรากฏขึ้นครั้งแรกบนโลกในยุคไทรแอสซิก พวกมันพัฒนาการมาจากสัตว์เลื้อยคลานขนาดเล็กในกลุ่มที่เรียกว่าธีโคดอนท์ ที่มีกะโหลก สะโพก และขา ซึ่งแตกต่างจากสัตว์เลื้อยคลานประเภทอื่น โดยเฉพาะขาที่งอกออกมาใต้ลำตัวทำให้เดินและวิ่งได้คล่องกว่าสัตว์เลื้อยคลานประเภทที่มีขางอกด้านข้าง

เราสามารถแบ่งไดโนเสาร์ออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ โดยจำแนกตามลักษณะของกระดูกสะโพกดังนี้ กลุ่มแรกคือ ซอริสเชีย ที่มีสะโพกเหมือนกับสัตว์เลื้อยคลานประเภทอื่น ๆ ส่วนอีกกลุ่มคือ ออร์นิธิสเชีย ซึ่งกระดูกสะโพก คล้ายนก และ ไม่มีฟันหน้าด้านล่าง

ยุคจูแรสซิก เป็นยุคที่ไดโนเสาร์ยิ่งใหญ่เหนือสัตว์อื่นบนโลก พวกมันวิวัฒนาการออกไหลายพันธุ์ หลายจนาดและแพร่ขยายไปทั่วโลก จนกระทั่งปลายยุคครีเทเชียสไดโนเสาร์ก็สูญพันธุ์ไป

ไดโนเสาร์เรามักคิดถึงสัตว์ขนาดใหญ่โตมโหฬาร แต่ความจริงไดโนเสาร์บางชนิดมีขนาดเล็กมาก มันมีขนาดเล็กกว่าหรือเท่ากับไก่ เช่น คอมพซอกเนธัส ซึ่งมีความยาว 60 เซนติเมตร น้ำหนักเพียง 3 กิโลกรัมเท่านั้น ด้วยความตัวเล็กของมันจึงทำให้พวกมันรวดเร็วว่องไวในการจับเหยื่อ และรอดพ้นจากการถูกไดโนเสาร์กินเนื้อที่โตกว่าจับกิน

สัตว์เลื้อยคลานที่บินได้

สัตว์เลื้อยคลานที่ครอบครองน่านฟ้า ในยุคไดโนเสาร์ คือ เทอโรซอว์ พวงมันมีปีกเป็นแผ่นหนัง ที่กางออกระหว่างลำตัวและขาหน้า ซึ่งจะใช้นิ้วที่งอกยาวออกมาช่วยในการยึดแผ่นหนังซึ่งเป็นเสมือนปีกเอาไว้ นอกจากนี้ยังมีปากเรียวแหลมคมเพื่อใช้ในการจับเหยื่อขณะที่กำลังบิน

สัตว์เลื้อยคลานที่อยู่ในทะเล

ใต้ท้องทะเลของมหายุคมีโซโซอิก สัตว์เลื้อยคลานขนาดมหึมากำลังจับสัตว์น้ำกินอยู่มัน คือ เพลสซิโอซอร์ พวกมันมีคอที่ยาวมากแต่หัวขนาดเล็กมากเมื่อเทียบกับลำตัว เวลาว่ายน้ำมันจะใช้ครีบใหญ่ ทั้งสี่ช่วยพุ้ยน้ำ และยังช่วยให้ว่ายถอยหลังและกลับตัวได้อย่างคล่องแคล่ว

ทำไมไดโนเสาร์จึงสูญพันธุ์จากโลกไปหมด

การหายไปจากโลกอย่างกะทันหันของไดโนเสาร์ตอนปลายยุคครีเทเชียสนั้น มีการอธิบายด้วยทฤษฎี 2 ข้อดังนี้

ทฤษฎีแรก กล่าวถึงอุกกาบาตขนาดใหญ่ตกมาสู่โลก และเกิดการระเบิดอย่างรุนแรงส่งผลให้เกิดฝุ่นและไอน้ำจำนวนมากกระจายขึ้นสู่อากาศ บดบังแสงอาทิตย์เป็นเวลายาวนานโลกเย็นลง ทำให้ไดโนเสาร์ สูญพันธุ์ไป

ทฤษฎีที่สอง กล่าวถึงการเคลื่อนที่ของเปลือกโลกซึ่งเป็นอย่างช้า แต่สม่ำเสมอตลอดเวลาหลายล้านปีทวีปได้เคลื่อนที่ไปมาก รวมทั้งมีภูเขาไฟระเบิด และแผ่นดินไหวอย่างรุนแรง ทำให้สภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงไป

จนกระทั่งปลายยุคครีเทเชียสเกิดภูมิอากาศหนาวเย็นและแห้งแล้วทำให้ไดโนเสาร์สูญพันธุ์

การค้นพบไดโนเสาร์ครั้งแรก

ศาสตราจารย์ริชาร์ด โอเวน นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษเป็นผู้ขุดพบฟอสซิลไดโนเสาร์เป็นครั้งแรก ซึ่งเป็นฟอสซิลของอิกัวโนดอน โดยค้นพบในปี พ.ศ.2363 และ ไฮลีซอรัส ใน พ.ศ.2373 ในตอนแรกที่พบฟอสซิลเขาได้ทำการศึกษาอย่างละเอียด และพบว่าซากดึกดำบรรพ์เหล่านั้นมีลักษณะเหมือนสัตว์เลื้อยคลานขนาดใหญ่ แต่มีขางอกจากใต้ลำตัว แตกต่างจากสัตว์เลื้อยคลานชนิดอื่นที่มีขางอกด้านข้าง

ต่อมาใน พ.ศ.2384 ศาสตราจารย์ริชาร์ด โอเวน จึงได้ประกาศชื่อฟอสซิลสำคัญที่เข้าค้นพบนี้ว่าเป็นสัตว์ประเภทไดโนเสาร์ ในการประชุมของสมาคมวิทยาศาสตร์ก้าวหน้า ประเทศอังกฤษ ทำให้ไดโนเสาร์เป็นที่รู้จักและมีผู้สนใจศึกษาเรื่องไดโนเสาร์มากขึ้น

การเริ่มค้นหาไดโนเสาร์ในประเทศไทย

ใน พ.ศ.2519 นายสุธรรม แย้มนิยม จากโครงการสำตรวจแย่ยูเรเนียม กรมทรัพยากรธรณี เป็นผู้พบกระดูกไดโนเสาร์ท่อนหนึ่ง ในภูเวียง จังหวัดขอนแก่น ต่อมานักโบราณชีววิทยาชาวฝรั่งเศสได้ทำการวิจัยระบุว่าไดโนเสาร์ประเภทกินพืชยาว 15 เมตร นับว่าเป็นการค้นพบไดโนเสาร์เป็นครั้งแรกในประเทศไทย

ต่อมาใน พ.ศ.2523 มีการจัดตั้งคณะสำรวจโบราณชีววิทยาไทย-ฝรั่งเศส ออกสำรวจฟอสซิล ทั้งภาคอีสานและภาคเหนือ การค้นพบที่น่าตื่นเต้นคือ การค้นพบฟอสซิลไดโนเสาร์จำนวนมากบนภูเวียง จังหวัดขอนแก่น ทำให้ทราบถึงไดโนเสาร์พันธุ์ใหม่ที่เพิ่มถูกค้นพบในประเทศไทย

“มารู้จักกับไดโนเสาร์พันธุ์ใหม่ที่ค้นพบในประเทศไทยกัน…”

ภูเวียงกอโซรัส สิรินธรเน Phuwiangosaurus sirindhornae

ภูเวียงกอโซรัส หมายถึง สัตว์เลื้อยคลานจากภูเวียง และ ชื่อชนิด สิรินธรเน เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พบฟอสซิลครั้งแรกที่ภูเวียง จังหวัดขอนแก่น โดยคณะสำรวจไทย-ฝรั่งเศส ตั้งแต่ พ.ศ.2525

ไดโนเสาร์ชนิดนี้เป็นสัตว์กินพืช มีความยาว 15-20 เมตร เดิน 4 เท้า มีคอยาวและหางยาว

สยามโมไทรันนัส อิสานเอนซิส Siamotyrannus isanensis

ชื่อของไดโนเสาร์ชนิดนี้มาจาก สยาม เป็นชื่อเดิมของประเทศไทย ไทรันนัส เป็นภาษากรีก ส่วนอิสานเอนซิส มาจากชื่อภาคอีสานซึ่งเป็นถิ่นที่พบ ไดโนเสาร์ชนิดนี้ค้นพบและวิจัย โดยคณะสำรวจโบราณชีววิทยาไทย-ฝรั่งเศส ระบุว่าเป็นไดโนเสาร์ที่เก่าแก่ และมีลักษณะโบราณที่สุดของ พวกในวงค์ไทรันโนซอริเด

สยามโมไทรันนัส อิสานเอสซิส เป็นไดโนเสาร์กินเนื้อ เดิน และวิ่งด้วย 2 ขา ขาหลังที่มีขนาดใหญ่โตแข็งแรง แต่มีขาหน้าสั้นมาก

สยามโมซอรัส สุธีธรนี Siamosurus suteethorni

สยามโมซอรัส หมายถึง สัตว์เลื้อยคลานจากสยาม และชื่อชนิด สุธีธรนี ตั้งให้เป็นเกียรติแก่ นายวราวุธ สุธีธร ซึ่งเป็นผู้ที่มีส่วนสำคัญในการค้นพบฟอสซิลชนิดนี้ ไดโนเสาร์ชนิดนี้ได้รับการค้นพบและวิจัยโดยคณะสำรวจโบราณชีววิทยาไทย-ฝรั่งเศส พบในแถบภาคอีสานของประเทศไทย

สยามโมโนซอรัส สุธีธรนี เป็นไดโนเสาร์กินเนื้อขนาดใหญ่ มีฟันเป็นแท่นกรวยแหลมยาว 6 เซนติเมตร มีสันเล็กๆ ยาวตลอดแนวฟัน ซึ่งแปลกกว่าฟันไดโนเสาร์กินกเนื้อทั่วๆ ไป ที่เป็นฟันแบนๆ ปลายแหลมโค้งงอ มีรอยหยักเป็นฟันเลื่อย แต่เนื่องจากพบเพียบจากฟอสซิลของฟัน จึงไม่ทราบลักษณะทั่วไปของไดโนเสาร์พันธุ์นี้

ซิตตะโกซอรัส สัตยารักษ์กี Prittacosaurrus satatyraki

ซิตตะโกซอรัส สัตยารักษ์กี เป็นฟอสซิลที่มีลักษณะใกล้เคียงกับซิตตะโกซอรัสที่เป็นไดโนเสาร์ ปากนกแก้วที่พบในจีน มองโกเลีย ไซบีเลีย แต่ชนิดใหม่ที่เพิ่มพบในไทย จึงให้ชื่อว่า สัตยารักษ์กี เพื่อเป็นเกียรติแก่นายนเรศ สัตยารักษ์ ซึ่งเป็นผู้ค้นพบ ไดโนเสาร์ชนิดนี้พบในประเทศไทยที่จังหวัดชัยภูมิ

ไดโนเสาร์ชนิดนี้เป็นไดโนเสาร์ปากนกแก้วที่กินพืชเป็นอาหาร มีขนาดลำตัวเล็ก ยาวประมาณ 1-1.5 เมตร

ที่มา : www.rscience.go.th เขียนโดย : ว่าที่ ร.ต.อัศวิน อินตา