โซนที่3 มหายุคแห่งชีวิตตอนกลาง Mesozoic : ชีวิตตอนกลาง

มหายุคแห่งชีวิตดึกดำบรรพ์ PALEOZOIC ERA

ขอต้อนรับเข้าสู่ยุคแห่งการเปลี่ยนแปลง ยุคที่เริ่มมีสัตว์บนบก วิวัฒนาการที่น่าทึ่งของสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก และเลื้อยคลานเริ่มจะครองโลก

มหายุคพาลีโอโซอิก มีอายุเมื่อ 570 – 230 ล้านปีมาแล้ว เป็นช่วงที่มีการเกิดทวีป และแอ่งสะสมอะตอมขนาดใหญ่ การทับถมของตะกอนทำให้เกิดหินชั้น ที่มีความหนามาก การไหวตัวของเปลือกโลก เกือบทุกบริเวณทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางธรณีวิทยา อากาศอบอุ่นและคงที่ตลอด เป็นช่วงที่มีสิ่งมีชีวิตโบราณพวกอาร์โทโพดา(Arthopoda) เกิดขึ้น เช่น ไทรโลไบต์ ซึ่งเป็นสัตว์ที่มีรูปร่างเป็นปล้อง คล้ายแมงดาทะเล อาศัยอยู่ในทะเล และวิวัฒนาการแยกออกเป็นหลายพันธุ์ ตอนกลางมหายุคเริ่มมีสัตว์ที่มีลักษณะคล้ายปลาและพวกสัตว์เลื้อยคลานเริ่มเกิดขึ้น ในมหายุคนี้แบ่งย่อยเป็น 6 ยุค ยุคแคมเบรียน ยุคออร์โดวิเชียน ยุคไซลูเรียน ยุคดีโวเนียน ยุคคาร์บอนิเฟอรัส และยุคเพอร์เมียน ยุคต่างๆ เหล่านี้มีลักษณะเฉพาะทางธรณีวิทยา รวมทั้งวิวัฒนาการของสัตว์และพืชต่างๆ ที่โดดเด่นในแต่ละยุค

แต่ในช่วงปลายมหายุคพาลีโอโซอิก เกิดความหนาวเย็นและแห้งแล้งมาก พืชและสัตว์ในหนองบึง ไม่สามารถรอดชีวิตจากสภาพแวดล้อมเช่นนี้ได้ ไม้ยืนต้นหลายขนาด และเฟิร์นเมล็ดถูกไม้สนเข้าแทนที่ ไทรโลไบต์ที่อาศัยในทะเลซึ่งเป็นสัตว์ที่มีมากมายในมหายุคนี้สูญพันธุ์ไป สัตว์เลื้อยคลานปรับตัวได้ดีขึ้นและวิวัฒนาการตัวเองต่อไป

วิวัฒนาการของสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก

ในยุคดีโวเนียน ซึ่งอยู่ในมหายุคพาลีโอโซอิก สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกเริ่มปรากฏขึ้น โดยมีวิวัฒนาการมาจากปลากระดูกแข็งประเภท ครอสซอปเตอริกิอี ซึ่งเรียกชื่อตามการงอกขากรรไกรแท้ และเริ่มพัฒนาปอดและครีบแข็ง เพื่อที่จะสามารถหายใจและเดินบนพื้นแข็งมีกระแสน้ำไหลผ่าน

สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกนั้นต้องกลับไปสู่น้ำเพื่อผสมพันธุ์และวางไข่ที่แตกง่าย ตัวอ่อนเจริญเติบโตอยู่ในน้ำก่อนที่จะกลับขึ้นมาบนบกในวัยที่เจริญเติบโตเต็มที่แล้ว

ต่อมาในยุคคาร์บอนิเฟอรัส สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกเจริญถึงจุดสุดยอด วิวัฒนาการต่อมาจนกลายเป็น สัตว์เลื้อยคลาน ซึ่งเป็นสัตว์ที่มีกระดูกสันหลังพวกแรกที่จำเป็นต้องอยู่ในน้ำอีกต่อไป เพราะลักษณะของไข่ที่มีปล้องเป็นข้าวเหนียว ทำให้สามารถไข่ไว้ได้ทุกที่ ตัวอ่อนสามารถอยู่บนบกได้ทันทีที่ฟักออกจากไข่ มันจึงกลายเป็นบรรพบุรุษของสัตว์มีกระดูกสันหลังบนบกในยุคถัดมา

ไทรโลไบต์

ไทรโลไบต์ สัตว์ดึกดำบรรพ์ผู้คลอบครองโลกใต้ทะเลโบราณ

ในมหายุคพาลีโอโซอิก ในช่วงยุคแคมเบรียน เมื่อราว 570 – 500 ล้านปีมาแล้ว ไทรโลไบต์ เป็นสิ่งมีชีวิตที่เด่นในยุคแคมเบรียน วิวัฒนาการเริ่มต้นจากสารประกอบอินทรีย์พัฒนาเป็นสัตว์เซลลฺเดียวในปลายมหายุคพรีแคมเบรียน แล้วพัฒนาต่อมาเป็นหลายเซลล์ ไปจนถึงสิ่งมีชีวิตที่เรียกว่า “ไทรโลไบต์”

ไทรโลไบต์อาศัยอยู่ในทะเลมีร่างกายแบ่งออกเป็น 3 ปล้อง ลักษณะคล้ายแมงดาทะเล มีเปลือกอยู่ภายนอก ขาที่เรียวยาวและมีจำนวนมากมายของมันทำให้สามารถคลืบคลานไปบนเลนพื้นทะเลได้ ร่างกาย ที่เป็นปล้องก็ช่วยให้มันม้วนตัวเป็นลูกกลมแน่นเหมือนแมลงกลมๆ เพื่อป้องกันตัวเองจากอันตรายต่าง ๆ

ไทรโลไบต์วิวัฒนาการจนทำให้มีลักษณะที่แตกต่างออกไปเรื่อยๆ ทั้งขนาด รูปร่าง จนกระทั่งถึง ยุคเพอร์เมียน ซึ่งเป็นยุคสุดท้ายในมหายุคพาลีโอโซอิก เกิดการเปลี่ยนแปลงทางภูมิอากาศอย่างรุนแรงเกิดความหนาวเย็นและแห้งแล้งจัด ไซโลไบต์ที่อาศัยอยู่ในทะเลไม่สามารถดำรงชีวิตรอดอยู่ได้ จึงสูญพันธุ์ไปในที่สุด

ฟิวซูลินิด

ฟิวซูลินิด สิ่งมีชีวิตตัวจิ๋วใต้ท้องทะเล

ในท้องทะเลที่ใสสะอาดๆ ไม่ห่างจากชายฝั่งของยุคเพอร์เมียนมากนัก เราจะพบฟิวซูลินิด โปรโตซัวขนาดเล็กเซลล์เดียวอาศัยอยู่ พวกมันมีโครงสร้างเป็นเปลือกแข็งคล้ายเมล็ดข้าวสารจึงมีชื่อเรียกในภาษาไทยว่า “คดข้าวสาร” อีกชื่อหนึ่ง มีขนาดเท่าเมล็ดงาไปจนถึงขนาดเมล็ดเท่าถั่วลิสงภายในแบ่งเป็น ช่องๆ ฟิวซูลินิดมีวิวัฒนาการอย่างรวดเร็ว ทำให้จำแนกออกได้หลายร้อยชนิด

ซากดึกดำบรรพ์ของฟิวซูลินิด มีความสำคัญในเรื่องการเป็นตัวบอกอายุของยุคคาร์บอนิเฟอรัส และยุคเพอร์เมียน รวมทั้งสภาพแวดล้อมของทะเลและความสะอาดใสของน้ำทะเล

เมื่อสิ้นสุดยุคเพอร์เมียน เกิดธารน้ำแข็งปกคลุมทั่วโลก น้ำทะเลเย็นจัด ทำให้ฟิวซูลินิดสูญพันธุ์ไปพร้อมๆ กับสิ่งมีชีวิตอีกหลายชนิดที่ไม่สามารถดำรงชีวิตรอดได้

การขึ้นบกของพืช

สิ่งมีชีวิตในยุคแรกเริ่มประกอบด้วยเซลล์เพียงเซลล์เดียวขนาดเล็ก ซึ่งได้แก่พวกสาหร่ายสีเขียว แกมน้ำเงิน ซึ่งใช้สารคลอโรฟิลล์ในการปรุงอาหาร หลายล้านปีต่อมาได้วิวัฒนาการตัวเองขึ้นมาบนบก โดยพัฒนาให้มีระบบลำเลียงน้ำจากรากไปยังส่วนต่าง ๆ ของลำต้นและพื้นผิวที่ขรุขระ เพื่อลดการสูญเสียน้ำ ซึ่งในยุคแรกจะเป็นพืชไร้ดอกทั้งสิ้

ที่มา : www.rscience.go.th เขียนโดย : ว่าที่ ร.ต.อัศวิน อินตา