2.2.2. ลักษณะภายใน

ลักษณะภายในของไส้เดือน

ไส้เดือนสามารถกินอาหารได้ 1/2 ของน้ําหนักตัวต่อวันกินส่วนอ่อนของพืช การย่อย อาหารใช้ทั้งน้ำย่อยของลําไส้ตัวไส้เดือน และจากจุลินทรีย์ในลําไส้ไส้เดือนมีทางเดินอาหารแบบ สมบูรณ์คือ มีปากและทวารทางเดินอาหารของไส้เดือนมีรูปร่างเป็นหลอดตรงเชื่อมต่อจากปาก ในช่องแรกยาวไปจนถึงทวาร ซึ่งประกอบด้วยอวัยวะดังนี้

1. ระบบย่อยอาหาร ทางเดินอาหารของไส้เดือน มีรูปร่างเป็นหลอดตรงธรรมดาที่ เชื่อมต่อจากปากในช่องแรกยาวไปจนถึงทวาร ซึ่งประกอบด้วยอวัยวะดังนี้ - ปาก (Mouth) อยู่ใต้ริมฝีปากบน เป็นทางเข้าของอาหาร นําไปสู่ช่องปากซึ่งจะ เป็นบริเวณที่มีต่อมน้ำลายผลิตสารหล่อลื่นอาหารที่กินเข้าไป ช่องปากจะอยู่ในปล้องที่ 1-3 - คอหอย (Pharynx) เป็นอวัยวะต่อจากช่องปาก ประกอบด้วยต่อมต่าง ๆ ในคอ หอยเป็นแหล่งสร้างน้ำเมือก มีลักษณะคล้ายปั๊มเพื่อคอยดูดอาหารเข้าช่องปาก - หลอดอาหาร (Esophagus) ไส้เดือนมีหลอดอาหารต่อจากคอหอยเป็นหลอดแคบ ๆ ซึ่งมีลักษณะเป็นผนังบาง ๆ สําหรับพักอาหาร ซึ่งเป็นกล้ามเนื้อที่แข็งแรง และทําหน้าที่บด อาหารให้ละเอียดเพื่อส่งต่อไปยังลําไส้ - ลําไส้ (Intestine) มีลักษณะเป็นท่อตรงที่เริ่มจากปล้องที่ 14 ไปถึงทวารหนัก ผนัง ลําไส้ของไส้เดือนค่อนข้างบางและผนังลําไส้ด้านบนจะพับเข้าไปข้างในช่องทางเดินอาหารทําให้มี พื้นที่ในการย่อยและดูดซึมอาหารได้มากขึ้น

2. ระบบขับถ่าย อวัยวะขับถ่ายของเสียหลักในไส้เดือน คือ เนฟริเดีย (Nephridia) ซึ่งเป็นอวัยวะที่ทําหน้าที่แยกของเสียต่าง ๆ ออกจากของเหลวในช่องลําตัวของไส้เดือนโดยมีรู เปิดจากภายในซีโลมไปที่เนฟรีเดียม (nephridium) ซึ่งเป็นช่องเปิดของลําตัวสู่ภายนอกยาว ตลอดตามช่องภายในลําตัว สามารถสังเกตได้ชัด

3. ระบบแลกเปลี่ยนก๊าซ ไส้เดือนมีการแลกเปลี่ยนก๊าซออกซิเจนและ คาร์บอนไดออกไซด์ผ่านทางผิวหนังโดยวิธีการแพร่ ไส้เดือนจะขับเมือก และของเหลวที่ออกมาจาก รูขับถ่ายของเสียเป็นตัวทําละลายออกซิเจนจากอากาศแล้วซึมผ่านผิวเข้าไปในหลอดเลือดละลายอยู่ ในน้ำเลือด ขณะเดียวกันก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เซลล์ขจัดออกมาจะถูกลําเลียงโดยระบบ หมุนเวียนเลือดและปล่อยออกนอกร่างกายทางผิวหนังเช่นกัน

4. ระบบหมุนเวียนเลือด ไส้เดือนจะมีระบบไหลเวียนเลือดแบบปิด เส้นเลือดแดงและ เส้นเลือดดําไม่มีการแบ่งแยกที่ชัดเจนประกอบด้วยเส้นเลือดหลักอยู่ 3 เส้น คือเส้นเลือดกลาง หลัง เส้นเลือดใต้ลําไส้และเส้นเลือดด้านท้องต่อกับด้านข้างของเส้นประสาท เส้นเลือดทั้งสามเส้น ทอดตัวไปตลอดความยาวของลําตัวเพื่อกระจายเลือดไปทั่วร่างกายโดยตรง มีหัวใจเทียม (Pseudo heart) อยู่ 5 คู่ หัวใจเทียมเกิดจากเส้นเลือดด้านข้างเชื่อมระหว่างเลือดกลางหลังกับเส้นเลือดใต้ ลําไส้ในช่วง 13 ปล้องแรก ซึ่งเป็นตัวช่วยให้การปั๊มและส่งเลือดไปเลี้ยงร่างกายของไส้เดือน

5. ระบบประสาท ไส้เดือนมีความไวต่อการรับความรู้สึก (sensitive) ต่อสารเคมีแสง การสัมผัส และสภาพแวดล้อม เส้นประสาทรับความรู้สึกของไส้เดือนอยู่ด้านท้อง (ventral nerve cord) จะอยู่ติดกับกระเพาะ 6. ระบบสืบพันธุ์ไส้เดือนเป็นสัตว์ที่มีทั้งรังไข่และอัณฑะอยู่ในตัวเดียวกัน โดยทั่วไป จะไม่ผสมในตัวเองเนื่องจากตําแหน่งของอวัยวะสืบพันธุ์ทั้งสองเพศไม่สัมพันธ์กัน และมีการสร้าง เซลล์สืบพันธุ์ไม่พร้อมกัน ไส้เดือนดินจึงต้องมีการแลกเปลี่ยนสเปิร์มซึ่งกันและกัน อวัยวะสืบพันธุ์เพศผู้ประกอบด้วย - อัณฑะ ลักษณะเป็นก้อนสีขาวขนาดเล็กยื่นออกมาจากผนังของปล้อง - ปากกรวยรองรับสเปิร์ม เป็นช่องรับสเปิร์มจากอัณฑะ - ท่อนําสเปิร์ม เป็นท่อรับสเปิร์มจากปากกรวยไปยังช่องสืบพันธุ์เพศผู้ - ต่อมพรอสเตท เป็นต่อมสีขาวขนาดใหญ่มีรูปร่างเป็นก้อนแตก แขนงคล้ายกิ่งไม้ 1 คู่ ทําหน้าที่สร้างของเหลวหล่อเลี้ยงสเปิร์ม - ช่องสืบพันธุ์เพศผู้ มี 1 คู่อยู่ตรงด้านท้องปล้องที่ 18 - ถุงเก็บสเปิร์ม มี 2 คู่ เป็นถุงขนาดใหญ่อยู่ในปล้องที่ 11 และ 12 ทําหน้าที่เก็บและพัฒนาสเปิร์มที่สร้างจากอัณฑะ อวัยวะสืบพันธุ์เพศเมีย ประกอบด้วย - รังไข่ ทําหน้าที่สร้างไข่ 1 คู่ติดอยู่กับเยื่อกั้นของปล้องที่ 12/13 ใน Pheretima ไข่จะเรียงตัวกันเป็นแถวอยู่ในพูรังไข่ - ปากกรวยรองรับไข่ ทําหน้าที่รองรับไข่ที่เจริญเต็มที่แล้วจากถุงไข่ - ท่อนําไข่ ท่อนําไข่เป็นท่อที่ต่อจากปากกรวยรองรับไข่ในปล้องที่ 13 เปิดออกไป ยังรูตัวเมีย ตรงกึ่งกลางด้านท้องของปล้องที่ 14

- สเปิร์มมาทีกา เป็นถุงเก็บสเปิร์มตัวอื่นที่ได้จากการจับคู่แลกเปลี่ยน เพื่อเก็บไว้ ผสมกับไข่ มีอยู่ 3 คู่

ภาพที่ 8 หัวใจเทียมของไส้เดือน ที่มา : http://coachnong.com/archives/636

7. ผนังร่างกายของไส้เดือน เป็นส่วนที่ห่อหุ้มอวัยวะภายในของไส้เดือนและมีช่อง เปิดสําหรับขับถ่ายของเสียออกจากร่างกายไส้เดือนและต่อมเมือกขับเพื่อช่วยให้ผิวหนังชุ่มชื้น และเคลื่อนที่ในดินได้สะดวก ผนังร่างกายของไส้เดือนประกอบด้วยชั้นต่าง ๆ ที่สําคัญดังนี้

- ชั้นคิวติเคิล (Cuticle) ในผนังชั้นนี้จะมีบริเวณที่บางที่สุด คือ บริเวณที่มีอวัยวะ รับความรู้สึก ซึ่งบริเวณนี้จะมีรอบบุ๋มของรูขนาดเล็กมากมาย และมีขนละเอียดออกมาจากรู ดังกล่าวทําหน้าที่เป็นเซลล์รับความรู้สึก

- ชั้นอิพิเดอร์มิส (Epidermis) ประกอบด้วย เซลล์ค้ำจุนซึ่งเป็นเซลล์โครงสร้าง หลักที่มีรูปร่างเป็นแท่ง มีเซลล์สร้างเมือกคือ ก็อบเลท เซลล์ (Goblet cell) สร้างเมือกและขับผ่าน ไปสู่ผิวคิวติเคิลเพื่อป้องกันไม่ให้น้ำระเหยออกจากตัว ทําให้ลําตัวชุ่มชื้นและเคลื่อนไหวในดินได้ สะดวก ออกซิเจนละลายในบริเวณผนังลําตัวได้ดีมีเซลล์ต่อมไข่ขาว (Albumin cell) ที่สร้าง โปรตีนให้แก่เซลล์ไข่ กลุ่มเซลล์รับความรู้สึกรวมกันเป็นกลุ่มแทรกตัวอยู่ระหว่างเซลล์ค้ำจุนทําหน้าที่ตอบสนองต่อการกระตุ้นของการสัมผัสสิ่งต่าง ๆ

- ชั้นกล้ามเนื้อเส้นรอบวง (Circular muscle) เป็นชั้นกล้ามเนื้อ ที่อยู่ถัดจาก ชั้นอิพิเดอร์มิส ประกอบด้วยเส้นใยกล้ามเนื้อที่ขยายรอบ ๆ ในแนวขวางคล้ายวงกลม ลําตัวของ ไส้เดือน ยกเว้นบริเวณตําแหน่งร่องระหว่างปล้องจะไม่มีเส้นใยกล้ามเนื้อนี้อยู่ เส้นใยกล้ามเนื้อตาม เส้นรอบวงจะมีการจัดเรียงเส้นใยเป็นระเบียบกลายเป็น กลุ่มเส้นใย โดยเส้นใยแต่ละกลุ่มจะถูก ล้อมรอบด้วยแผ่นเนื้อเยื่อเชื่อมต่อรวมกลุ่มเส้นใยเป็นมัดกล้ามเนื้อ

- ชั้นกล้ามเนื้อตามยาว (Longitudinal muscle) อยู่ใต้ชั้นกล้ามเนื้อตามขวาง เข้ามาด้านใน มีความหนามากกว่ากล้ามเนื้อรอบวง เซลล์กล้ามเนื้อตามยาวเรียงตัวกันเป็น กลุ่ม ลักษณะคล้ายบล็อกอยู่รอบลําตัวและยาวต่อเนื่อง ตลอดลําตัว

ภาพที่ 9 โครงสร้างภายในของไส้เดือน ที่มา : http://www.biogang.net/blog_view.php?uid=46546&id=1378