2.2 สายพันธุ์และลักษณะของไส้เดือน

สายพันธุ์ที่ 1 ยูดริลัส ยูจีนิแอ (Eudrilus eugeniae)

ชื่อสามัญ African Night Crawler

เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมในไทย ตัวใหญ่คัดแยกง่าย ขยายพันธุ์เร็ว กินเก่ง

ลักษณะโดยทั่วไป

– ลำตัวมีขนาด 130-250 x 5-8 มิลลิเมตร

– ลำตัวมีสีน้ำตาลแดงปนเทา

– สืบพันธุ์โดยอาศัยเพศ

– จับคู่ผสมพันธุ์ใต้ดิน

– สร้างถุงไข่ได้โดยเฉลี่ยประมาณ 162-188 ถุง/ตัว/ปี

– ใช้เวลาในการฟักเป็นตัวประมาณ 13-27 วัน โดยเฉลี่ยฟัก 2 ตัว/ถุงไข่

– ใช้เวลาในการเติบโตเต็มวัย 6-10 เดือน

– อาศัยอยู่บริเวณผิวดิน กินเศษซากอินทรียวัตถุที่เน่าสลายเป็นอาหาร

– มีอายุยืนยาว 4-5 ปี

ไส้เดือนดินสายพันธุ์นี้เป็นไส้เดือนดินสีแดงที่มีขนาดค่อนข้างใหญ่ เจริญเติบโตและแพร่พันธุ์ได้รวดเร็วมาก โดยทั่วไปรู้จักกันในชื่อของ แอฟริกัน ไนท์ ครอเลอร์ (African night crawler) สามารถเคลื่อนที่ได้รวดเร็ว มีการเลี้ยงไส้เดือนดินสายพันธุ์นี้กันอย่างกว้างขวาง ไส้เดือนดินสายพันธุ์นี้นอกจากนำมาใช้ในกระบวนการผลิตปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดินแล้วยังมีความเหมาะสมมากในการนำมาผลิตเป็นโปรตีนเสริมสำหรับใช้เลี้ยงสัตว์ เนื่องจากมีขนาดใหญ่และมีอัตราการแพร่พันธุ์ได้สูงมาก แต่มีข้อเสียตรงที่ไส้เดือนดินสายพันธุ์นี้ทนทานต่อช่วงอุณหภูมิที่ไม่เหมาะสมได้ต่ำ เลี้ยงยาก และเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ยากด้วย เนื่องจากไส้เดือนดินสายพันธุ์นี้มีถิ่นกำเนิดในเขตร้อน ซึ่งจะชอบอุณหภูมิที่ค่อนข้างสูง โดยจะเจริญเติบโตได้ไม่ดีในอุณหภูมิที่ต่ำกว่า 10 องศาเซลเซียส และจะตายในอุณหภูมิที่ต่ำกว่า 10 องศาเซลเซียส การเลี้ยงไส้เดือนสายพันธุ์นี้ในประเทศเขตหนาวจะถูกจำกัดการเลี้ยงเฉพาะภายในโรงเรือนที่มีการควบคุมอุณหภูมิในช่วงฤดูหนาวเท่านั้นถึงจะเลี้ยงได้ดี สำหรับการเลี้ยงภายนอกโรงเรือน จะเหมาะสมเฉพาะกับพื้นที่เขตร้อน หรือ กึ่งร้อนเท่านั้น สำหรับในด้านกานำมาใช้จัดการขยะพบว่า ไส้เดือนสายพันธุ์นี้มีความสามารถในการย่อยสลายขยะในปริมาณมากได้อย่างรวดเร็ว

ยูดริลัส ยูจีนิแอ (Eudrilus eugeniae)

สายพันธุ์ที่ 2 อายซิเนีย ฟูทิดา (Eisenia foetida)

ชื่อสามัญ The Tiger worm, Manure worm, Compost worm

ตัวเล็กคัดแยกยาก เป็นไส้เดือนชอบอากาศเย็น ถึง หนาว ราคาแพง

The Tiger worm (ไส้เดือนไทเกอร์)

เป็นไส้เดือนดินสีแดงที่มีลำตัวกลม ขนาดเล็ก ลำตัวมีสีแดงสด เห็นปล้องแต่ละปล้องแบ่งอย่างชัดเจน สามารถแพร่ขยายพันธุ์ได้รวมเร็วและมีกลิ่นตัวที่รุนแรง มีลักษณะโดยทั่วไปดังนี้

– ลำตัวมีขนาด 35-130 x 3-5 มิลลิเมตร

– ลำตัวมีสีแดง ร่างระหว่างปล้องและบริเวณปลายหางมีสีเหลือง

– มีอายุยืนยาว 4-5 ปี แต่มักจะอยู่ได้ 1-2 ปี เมื่อเลี้ยงในบ่อ

– สืบพันธุ์โดยอาศัยเพศ

– สร้างถุงไข่โดยเฉลี่ยประมาณ 150-198 ถุง/ตัว/ปี

– สร้างไข่ได้ประมาณ 900 ฟอง/ตัว/ปี

– ใช้เวลาในการฟักเป็นตัวประมาณ 32-40 วัน (ขึ้นอยู่กับฤดูกาล) โดยเฉลี่ยฟัก 3 ตัว/ถุงไข่

– ใช้เวลาในการเติบโดเต็มวัย 3-6 เดือน (ขึ้นอยู่กับฤดูกาล)

– อาศัยอยู่บริเวณผิวดิน กินเศษซากอินทรียวัตถุที่เน่าสลายและมีอนุภาคขนาดเล็ก

ประเทศในแถบยุโรป อเมริกา และออสเตรเลีย นิยมนำไส้เดือนดินสายพันธุ์นี้ หรือ สายพันธุ์ที่ใกล้เคียงกันคือ สายพันธุ์ Eisenai Andrei (ไม่ขอกล่าวในที่นี้) มาใช้ในการกำจัดขยะอินทรีย์และกระบวนการผลิตปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดิน เป็นพันธุ์การค้าที่ได้รับความนิยมทั่วโลก มีหลายเหตุผลที่ทำให้ผู้ผลิตปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดินเลือกใช้สายพันธุ์นี้ คือ ไส้เดือนดินสายพันธุ์นี้มีอยู่ทั่วไปในบริเวณที่มีขยะอินทรีย์ โดยพวกมันจะขยายพันธุ์และเจริญเติบโตอยู่ในกองขยะอินทรีย์เหล่านั้น เป็นพันธุ์ที่มีความทนทานต่อช่วงอุณหภูมิกว้าง และสามารถดำรงชีวิตอยู่ในขยะอินทรีย์ที่มีความชื้นได้หลายระดับ โดยรวมแล้วเป็นไส้เดือนดินสายพันธุ์ที่มีความทนทานต่อสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมได้ดีมาก ทำให้เลี้ยงง่าย

อายซิเนีย ฟูทิดา (Eisenia foetida)

สายพันธุ์ที่ 3 ฟีเรททิมา พีกัวนา (Pheretima peguana)

ชื่อท้องถิ่น ขี้ตาแร่

ไส้ท้องถิ่นในไทยไทย มีมากทางภาคเหนือ กินเก่ง

ลักษณะโดยทั่วไป

– ลำตัวมีขนาด 130-200 x 5-6 มิลลิเมตร

– ลำตัวมีสีน้ำตาลแดงเข้ม

– อาศัยอยู่บริเวณผิวดิน ใต้กองมูลสัตว์ เศษหญ้า กินเศษซากอินทรียวัตถุที่เน่าเปื่อย และมูลสัตว์เป็นอาหาร

– สืบพันธุ์โดยอาศัยเพศ

– จับคู่ผสมพันธุ์บริเวณผิวดิน

– สามารถผลิตถุงไข่ได้ 24-40 ถุง/ตัว/ปี

– ใช้เวลาในการฟักเป็นตัวประมาณ 25-30 วัน โดยเฉลี่ยฟัก 10 ตัว/ถุงไข่

– ใช้เวลาเจริญเติบโตเต็มวัย 5-6 เดือน

– มีชีวิตยืนยาว 2-4 ปี

ไส้เดือนดินสายพันธุ์นี้เป็นไส้เดือนดินสีแดงที่พบได้ทั่วไปในทวีปเอเชีย รวมทั้งในประเทศไทย มีลำตัวกลมขนาดปานกลาง โดยมีขนาดใกล้เคียงกับไส้เดือนดินสายพันธุ์ แอฟริกัน ไนท์ ครอเลอร์ โดยพบในมูลวัวนม และใต้เศษหญ้าที่ตัดทิ้งในนาข้าว โดยอาศัยอยู่บริเวณผิวดิน ไม่ขุดรูอยู่ในดินที่ลึกเหมือนกับ ไส้เดือนพันธุ์สีเทา ที่อาศัยอยู่ในสวนผลไม้และอยู่ในชั้นดินที่ลึกลงไป ชาวบ้านแถบภาคเหนือเรียกว่า “ขี้ตาแร่” ชาวบ้านมักจะนำมาใช้เป็นเหยื่อตกปลา ลักษณะพิเศษของไส้เดือนดินสายพันธุ์นี้คือ จะมีความตื่นตัว (Active) สูงมาก เมื่อสัมผัสถูกตัวมันจะดิ้นอย่างรุนแรงและเคลื่อนที่หนีเร็วมาก นอกจากนี้ในการนำมาใช้กำจัดขยะอินทรีย์พบว่า ไส้เดือนสายพันธุ์นี้จะสามารพกินขยะอินทรีย์จำพวกเศษผัก ผลไม้ได้หมดอย่างรวดเร็ว หากนำมาเลี้ยงและฝึกให้กินขยะอินทรีย์เหล่านี้ นอกจากกินขยะอินทรีย์เก่งแล้ว ไส้เดือนดินสายพันธุ์นี้ยังมีอัตราการแพร่พันธุ์ได้สูงมากด้วย ดังนั้นในการนำไส้เดือนดินมาใช้กำจัดขยะในประเทศไทย ไส้เดือนดินสายพันธุ์ “ขี้ตาแร่” เป็นไส้เดือนสายพันธุ์ที่นับว่าเหมาะสมกับสภาพภูมิอากาศในประเทศไทยและหามาเลี้ยงได้ง่าย

ที่มา : ศูนย์สารสนเทศไส้เดือนดินแม่โจ้ ภาควิชาทรัพยากรดินและสิ่งแวดล้อม คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้

http://www.moonjunfarm.com

ฟีเรททิมา พีกัวนา (Pheretima peguana)

ลักษณะรูปร่างของไส้เดือน

ไส้เดือนจัดอยู่ในไฟลั่ม แอนเนลิดา (Phylum : Annelida) ชั้นซีโตโพดา (Class : Chaetopoda) ตระกูล โอลิโกซีตา (Order : Oligochaeta) วงศ์แลมบริซิลี (Family : Lambricidae) โดยมีลักษณะโดยทั่วไป ไม่มีส่วนหัวที่ชัดเจน ไม่มีตา ไม่มีหนวด มีรูปร่างทรงกระบอกยาว ลําตัว แบ่งเป็นปล้องชัดเจนตั้งแต่หัวจรดท้าย หัวท้ายเรียวแหลม ผนังลําตัวชั้นนอกมีเซลล์ต่อมต่าง ๆ ที่ ทําหน้าที่สร้างน้ำเมือก ทําให้ผิวลําตัวชุ่มชื้น แต่ละปล้องจะมีเดือยเล็ก ๆ เรียงอยู่รอบปล้องใช้ใน การเกาะกับดินในการเคลื่อนที่และผสมพันธุ์

ภาพที่ 2 รูปร่างของไส้เดือน ที่มา : http://www.ความรู้รอบตัว.com

ไส้เดือนในปัจจุบันไส้เดือนมีอยู่ด้วยกันหลายชนิด แต่โดยทั่วไปไส้เดือนมีโครงสร้างที่มี ลักษณะเหมือนกัน คือ

1.เป็นสัตว์ที่มีลําตัวยาวลําตัวเป็นปล้องทั้งภายนอกและภายในร่างกายโดยมีเยื่อกั้น ระหว่างปล้อง

2.มีช่องลําตัวที่แท้จริงแบบ Schizocoelomate ซึ่งเป็นซีลอมที่เกิดจากเนื้อเยื่อชั้น กลางแยกออกเป็นช่องและช่องนี้ขยายตัวออกจนเป็นซีลอม

3.ผนังลําตัวชั้นนอกสุด ในผนังชั้นนี้จะมีบริเวณที่บางที่สุด คือ บริเวณที่มีอวัยวะรับ ความรู้สึก ซึ่งบริเวณนี้จะมีรอบบุ๋มของรูขนาดเล็กมากมาย และมีขนละเอียดออกมาจากรูทําหน้าที่ เป็นเซลล์รับความรู้สึก มีเซลล์ต่อมชนิดต่าง ๆ ที่ทําหน้าที่สร้างน้ำเมือกทําให้ผิวลําตัวชุ่มชื้น

4.มีขนแข็งสั้นที่เป็นสารจําพวกไคติน งอกออกมาในบริเวณรอบลําตัวของแต่ละปล้อง

5.มีระบบทางเดินอาหารที่สมบูรณ์คือมีปาก และ ทวารหนัก โดยมีลําไส้เป็นท่อตรง ยาวตลอดลําตัว

6.ระบบขับถ่ายประกอบด้วยอวัยวะที่เรียกว่า เนฟริเดีย ตั้งอยู่บริเวณด้านข้างของ ลําตัวปล้องละ 1 คู่

7.ระบบหมุนเวียนโลหิตเป็นแบบปิด

8.ระบบแลกเปลี่ยนก๊าซเป็นแบบการแพร่ผ่านผนังลําตัว

9.มีระบบประสาท ประกอบด้วย ปมประสาทสมองด้านหลังลําตัวในบริเวณส่วนหัว 1 คู่ เส้นประสาทรอบคอหอย 1 คู่และเส้นประสาทด้านท้องทอดตามความยาวของลําตัวอีก 1 คู่

10. มีอวัยวะรับสัมผัส ประกอบด้วย ปุ่มรับรส กลุ่มเซลล์รับแสง

11. เป็นสัตว์ที่มีสองเพศอยู่ในตัวเดียวกัน คือ ประกอบด้วย รังไข่และถุงอัณฑะ แต่จะ ไม่ผสมพันธ์ในตัวเอง