ใจบ้าน  หรือสะดือเมือง พระพุทธบาทห้วยต้ม

            แต่เดิมชุมชนบ้านพระบาทห้วยต้มมีชื่อว่าบ้านห้วยข้าวต้ม ซึ่งยังไม่ได้มีการตั้งเป็นหมู่บ้านแต่เป็นเพียงอาศรมอารามที่มีหลวงปู่ครูบาวงศ์จำพรรษาอยู่ โดยก่อนหน้านี้หลวงปู่ฯ ได้เดินทางธุดงค์ไปตามหมู่บ้านของชาวเขาเผ่าปกาเกอะญอในแถบจังหวัดตาก จังหวัดแม่ฮ่องสอน จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดลำพูน ทำให้มีชาวปกาเกอะญอเคารพและเลื่อมใสติดตามท่านเป็นจำนวนมาก จนเมื่อครูบาชัยยะวงศาเริ่มมาจำพรรษาที่วัดพระพุทธบาทห้วยต้มก็ได้มีชาวเขาปกาเกอะญอติดตามท่านมาตั้งถิ่นฐาน ณ บ้านพระบาทห้วยต้มแห่งนี้และเริ่มกินมังสวิรัติตามครูบาชัยยะวงศาที่ได้ชี้ให้เห็นโทษของการกินเนื้อสัตว์และให้คำสอนแก่ชาวปกาเกอะญอ จนทำให้ชาวปกาเกอะญอในหมู่บ้านเลิกนับถือผีมานับถือพุทธศาสนาและมีศรัทธาอันแรงกล้าจวบจนถึงปัจจุบัน ทำให้หมู่บ้านพระบาทห้วยต้มเป็นอีกหนึ่งชุมชนที่มีความสงบเรียบง่าย มีวิถีชีวิตผูกพันกับพุทธศาสนาและหลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าและได้รับการแต่งตั้งให้เป็นหมู่บ้านอย่างเป็นทางการเมื่อปี พ.ศ. 2518  

จบ้าน หรือสะดือเมือง เป็นศูนย์กลางของหมู่บ้าน ซึ่งหลวงปู่ครูบาเจ้าชัยยะวงศาพัฒนาได้เป็นผู้นำชาวบ้านทั้งหมดในการก่อสร้าง ด้านในเป็นเจดีย์บรรจุก้อนหินที่ได้มาจากแม่น้ำสายหลักๆ มาบรรจุไว้ และจะมีการประกอบพิธีทำบุญสืบชะตาให้กับชุมชนฯ ช่วงเดือนเมษายนของทุกปี เนื่องจากการสร้างใจบ้านจะทำให้คนในหมู่บ้านเกิดความร่มเย็นเป็นสุข มีความมั่นคงทางวัฒนธรรม ไม่อพยพย้ายถิ่นฐาน ใจบ้านก็เปรียบเหมือนใจคน ถ้าบ้านไหนไม่มีใจบ้านก็จะทำให้คนขาดสติ ขาดความมั่นคง เหมือนใจคนไม่อยู่กับเนื้อกับตัว ก็จะเกิดความวุ่นวาย

สถานที่แห่งนี้มีความสำคัญและเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวบ้านปกาเกอะญอ นั่นคือ ใจบ้าน หรือสะดือเมือง หลวงปู่ครูบาวงศ์สร้างขึ้นเพื่อ เป็นจุดศูนย์กลางเป็นสิ่งยึดเหนี่ยวทางจิตใจของคนในชุมชนฯ ด้านในเป็นเจดีย์บรรจุก้อนหินที่ได้มาจากแม่น้ำสายหลักๆ มาบรรจุไว้ และจะมีการประกอบพิธีทำบุญสืบชะตาให้กับชุมชนฯ ช่วงเดือนเมษายนของทุกปี 

             การเดินทาง เส้นทางเข้าสู่ใจบ้าน จากตัวอำเภอลี้มุ่งสู่ถนนสาย 106 ทางไปอำเภอเถิน จังหวัดหวัดลำปาง ถึงสามแยกบริเวณหน้าสำนักงานขนส่งจังหวัดลำพูน สาขาลี้ จากนั้นเลี้ยวขวาบริเวณทางเข้ามีอนุสาวรีย์หลวงปู่ครูบาเจ้าชัยยะวงศาพัฒนาตั้งอยู่ เชื่อมต่อเส้นทางหมายเลข ลพ 4027 ระยะทางเข้าสู่ชุมชนพระบาทห้วยต้มประมาณ 5 กิโลเมตร อยู่ห่างจากศูนย์วิจัยหัตถกรรมบ้านห้วยต้ม ประมาณ 200 เมตร


ที่มาของแหล่งข้อมูล http://info.dla.go.th/public/travel

เรียบเรียงเนื้อหา โดย นางสาวอัจฉราพรรณ  ใจกลางดุก ครูกศน.ตำบลนาทราย

ภาพถ่าย/ภาพประกอบ โดย  นางสาวอัจฉราพรรณ  ใจกลางดุก ครูกศน.ตำบลนาทราย