การทอผ้าแบบกี่เอว

                กลุ่มผ้าทอลายกะเหรี่ยงโบราณเกิดขึ้นจากความต้องการให้ประชาชนมีอาชีพ มีรายได้ และเป็นการอนุรักษ์ลายผ้าโบราณให้คงอยู่ โดยในปี 2530 ศูนย์พัมนาและสงเคราะห์ชาวเขาจังหวัดลำพูน ได้ริเริ่มโครงการทอผ้ากี่เอวของชวนเผ่าปกาเกอะญอในชุมชนพระบาทห้วยต้ม ก่อนที่ปีถัดมา มูลนิธิโครงการหลวงจะเข้ามาส่งเสริมอีกแรง โดยร่วมมือกับศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคเหนือจัดตั้งโครงการส่งเสริมการปั่นด้ายลินิน แต่ไม่ประสบความสำเร็จ เนื่องจากวัสดุที่ใช้อยู่นอกพื้นที่

                 พอปี 2535 ศูนย์ส่งเสริมการเกษตรที่สูงจังหวัดลำพูน ได้รับงบประมาณประมาณ 20000 บาท จากกรมส่งเสริมการเกษตรและประเทศสาธารณรัฐเกาหลี เพื่อจัดตั้งกลุ่มทอผ้าพระบาทห้วยต้ม โดยใช้เป็นทุนหมุนเวียนภายในกลุ่ม มีสมาชิกทั้งหมด 20 คน แบ่งคณะกรรมการออกเป็น 2 ฝ่าย คือฝ่ายผลิตและฝ่ายการตลาด โดยฝ่ายผลิตมีหน้าที่ในการผลิตทุกขั้นตอน และฝ่ายการตลาดมีหน้าที่รับซื้อ จำหน่าย จัดหาตลาด วัตถุดิบ ตลอดจนการจัดทำบัญชี พอปี 2545 ทางกลุ่มได้ต่อยอดด้วยการริเริ่มโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ เพื่อรักษาภูมิปัญญาจากผู้เฒ่าผู้แก่ พร้อมกับนำมาประยุกต์ใช้กับเทคโนโลยี เพื่อให้สินค้าที่ออกมามีคุณภาพ และสอดคล้องกับวัฒนธรรมในแต่ละท้องถิ่น

                ต่อมาเมื่อปี 2548 ได้จดทะเบียนเป็นวิสาหกิจชุมชนตามนโยบายของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อให้เกิดการบูรณาการความรู้ ไม่ว่าจะเป็นกระบวนการสร้างสรรค์ และการพัฒนาภูมิปัญญาสากล และทำให้ชุมชนสามารถพึ่งตนเองได้ พร้อมกับสร้างความมั่นคงให้เกิดขึ้นกับสมาชิกในกลุ่ม พอปี 2549 ผลิตภัณฑ์ผ้าซิ่นกะเหรี่ยงลายโบราณชุมชนพระบาทห้วยต้มก็ได้รับการคัดสรรให้เป็นผลิตภัณฑ์ระดับห้าดาว ยิ่งเพิ่มพูนความนิยมให้มากยิ่งขึ้น   ปัจจุบันกลุ่มทอผ้าฯ มีสมาชิกเพิ่มเป็น 75 คน ผลิตได้ต่อเดือน 350-400 ชิ้น เฉลี่ยทุกคนมีรายได้ต่อเดือนประมาณ 2500 – 3000 บาท มีการประชุมเพื่อตั้งกฎ กติกาในการอยู่ร่วมกันอย่างชัดเจน พร้อมกับได้รับการคัดเลือกจากรมพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย ให้เป็นหมู่บ้านหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ อันดับที่ 16 ของภาคเหนือ และมีการจัดตั้งศูนย์วิจัยหัตถกรรมบ้านห้วยต้ม เพื่อเป็นสถานที่จัดแสดงและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของวิสาหกิจชุมชน ภายใต้สินค้า ‘ปากะญอ’ 

กลุ่มผู้ผลิต ผู้ประกอบการ  กลุ่มทอผ้าลายกะเหรี่ยงโบราณบ้านเด่นยางมูล

ที่อยู่  71  ม. 12 - ตำบลนาทราย อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน 08-9553-9038

ประธานกลุ่มผู้ผลิต ผู้ประกอบการ   นางสาวสายทอง เลิศเงินสกุล

แหล่งจำหน่ายผลิตภัณฑ์

๑. ฝากขายผ่านหน่วยราชการต่าง ๆ เช่น โครงการหลวงบ้านห้วยต้ม, ศูนย์ส่งเสริมเกษตรที่สูงผาลาด, ศูนย์พัฒนาสังคมและสวัสดิการ

๒. จำหน่ายภายในชุมชน

๓. ส่งขายที่กรุงเทพฯ ได้แก่ ร้านศรัญญาไหมไทย ร้านดรุณีผ้าฝ้ายและร้านทอเงินผ้าฝ้าย

๔. จำหน่ายตามงานต่าง ๆ ของหน่วยราชการและเอกชน

ที่มาของแหล่งข้อมูล http://www.thaihealth.or.th

ที่มาของแหล่งข้อมูล http://www.thaihealth.or.th

เรียบเรียงเนื้อหา โดย นางสาวอัจฉราพรรณ  ใจกลางดุก ครูกศน.ตำบลนาทราย

ภาพถ่าย/ภาพประกอบ โดย  นางสาวอัจฉราพรรณ  ใจกลางดุก ครูกศน.ตำบลนาทราย