จิตอาสาสืบสานวัฒนธรรมด้านงานใบตอง 

การทำ“สวยดอก” หรือ “กรวยดอกไม้


จิตอาสาสืบสานวัฒนธรรมด้านงานใบตอง การทำ“สวยดอก” หรือ “กรวยดอกไม้”

        กรวยดอกไม้หรือที่ชาวล้านนาเรียก “สวยดอก” เป็นหนึ่งในเครื่องสักการะบูชาของชาวล้านนาที่ในปัจจุบันน้อยคนนักจะรู้ถึงคุณค่าและความสำคัญ และหากขาดการอนุรักษ์หรือเผยแพร่สวยดอกอาจหายไปจากวิถีแห่งวัฒนธรรมของคนล้านนา ถึงแม้ว่าสวยดอกจะเป็นเพียงส่วนประกอบเล็กน้อยของพิธีกรรมหรือส่วนหนึ่งของเครื่องสักการะบูชา แต่สิ่งนี้คือเอกลักษณ์ของล้านนาที่ถ่ายทอดและสั่งสมมาจากภูมิปัญญาของบรรพบุรุษที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์หวงแหนและเผยแพร่ให้เป็นที่แพร่หลาย ในการทำสวยดอก (กรวยดอกไม้) การทำควัก (กระทง) การทำบายศรี  และอื่นๆ ซึ่งสิ่งต่างๆ เหล่านี้เป็นงานใบตองที่ใช้ประกอบในพิธีกรรมของล้านนาและเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของล้านนา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง“สวยดอก” หรือ “กรวยดอกไม้” ซึ่งเป็นหนึ่งในงานใบตองที่เป็นเอกลักษณ์ของล้านนาซึ่งใช้เฉพาะในล้านนาและใช้ในพิธีกรรมต่างๆ ของล้านนาในทุกประเพณี  เกิดจากการใช้ใบตองหรือกระดาษม้วนขดเป็นกรวย เพื่อใส่ดอกไม้ ธูป เทียน เพื่อเกิดความเป็นระเบียบเรียบร้อยและสะดวกในการนำไปไหว้หรือคารวะบูชา ที่มาของ “สวยดอก” หรือ “กรวยดอกไม้”เกิดจากการหลอมรวมทางวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆในอดีตที่มาอยู่รวมกันในล้านนาทำให้เกิดการถ่ายทอดหรือแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมซึ่งกันและกัน และนำไปสู่การสร้างเอกลักษณ์ที่เกี่ยวกับวิถีแห่งวัฒนธรรม กอปรกับชาวล้านนามีความเลื่อมใสศรัทธาในพุทธศาสนาทำให้มีความเชื่อว่าดอกไม้คือของหอมที่ใช้สำหรับบูชาเป็นเครื่องแสดงถึงความเคารพสักการะ จึงใช้ดอกไม้เป็นเครื่องสักการะบูชาแทบทุกพิธีกรรม ทั้งในประเพณี 12 เดือนและประเพณีครั้งคราว เช่น การทำบุญ การนิมนต์พระ การเลี้ยงผีหรืองานศพ โดยเฉพาะงานศพมีการระบุถึงการใช้สวยดอกว่า ผู้ตายจะต้องพนมมือและถือสวยดอกไว้เพื่อนำดอกไม้ไปไหว้พระเกศแก้วจุฬามณีบนสรวงสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ สวยดอกจึงต้องทำอย่างประณีตบรรจงเพราะชาวล้านนามีความเชื่อว่าสิ่งของที่นำไปเป็นเครื่องสักการะบูชาจะต้องทำอย่างประณีตงดงาม  โครงงานจิตอาสาสืบสานวัฒนธรรมด้านงานใบตอง จึงมุ่งเน้นที่จะสืบสานวัฒนธรรมด้านงานใบตอง การทำ“สวยดอก” หรือ “กรวยดอกไม้” ที่ค่อยๆเลือนหายไป จึงจำเป็นต้องสืบสานและอนุรักษ์วัฒนธรรมของล้านนา “สวยดอก” หรือ “กรวยดอกไม้” จึงเปรียบเสมือนมรดกทางวัฒนธรรมของล้านนาที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์และสืบสานวัฒนธรรมการประดิษฐ์ “สวยดอก” หรือ “กรวยดอกไม้” จากใบตองให้คงอยู่ในชุมชนล้านนาต่อไป 

"กรวยดอกไม้" หรือ "สวยดอก" ที่ชาวล้านนาใช้เป็นเครื่องสักการะบูชาของชาวล้านนา

นักศึกษาแกนนพจิตอาสา นำกรวยดอกไม้ เป็นเครื่องสักการะบูชาของชาวล้านนา

       จากการที่นักศึกษากศน.ตำบลนาทรายได้เข้ารับการอบรมหลักสูตรจิตอาสากศน. เรื่องประวัติศาสตร์ชาติไทย ความภูมิใจไทย และเทิดทูนสถานบันชาติ ศาสนาและพระมหากษัตริย์ มีความภาคภูมิใจในความเป็นไทยเข้าใจแนวทางการดำรงชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง การมีจิตสำนึกของการเป็นพลเมืองที่ดี การมีระเบียบวินัยการมีจิตสาธารณะคำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวมและยึดมั่นการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข 

สืบเนื่องมาจากสถาบันศาสนาเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของคนในชุมชนเป็นกลไกสำคัญในการควบคุมทางสังคมที่ทำให้เกิดความประพฤติและพฤติกรรมที่ถูกต้อง อีกทั้งยังช่วยสร้างความผูกพันระหว่างคนในชุมชนกับวัฒนธรรมเกิดการถ่ายทอดวัฒนธรรมแก่สังคมในชุมชนและกิจกรรมของประเพณีทางศาสนาจะมีพิธีกรรมต่างๆ เช่น การทำบุญตักบาตร การทำบุญในวันสำคัญทางศาสนาและประเพณีในท่องถิ่นรวมไปถึงงานมงคล การแต่งงาน การทำบุญขึ้นบ้านใหม่และงานอวมงคล  งานศพ ซึ่งได้มีการนำใบตองมาประดิษฐ์เป็น “กรวยดอกไม้” กรวยดอกไม้หรือที่ชาวล้านนาเรียก “สวยดอก” เป็นหนึ่งในเครื่องสักการะบูชาของชาวล้านนาที่ในปัจจุบันน้อยคนนักจะรู้ถึงคุณค่าและความสำคัญ และหากขาดการอนุรักษ์หรือเผยแพร่สวยดอกอาจหายไปจากวิถีแห่งวัฒนธรรมของคนล้านนา ถึงแม้ว่าสวยดอกจะเป็นเพียงส่วนประกอบเล็กน้อยของพิธีกรรมหรือส่วนหนึ่งของเครื่องสักการะบูชา แต่สิ่งนี้คือเอกลักษณ์ของล้านนาที่ถ่ายทอดและสั่งสมมาจากภูมิปัญญาของบรรพบุรุษที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์หวงแหนและเผยแพร่ให้เป็นที่แพร่หลาย ในการทำสวยดอก(กรวยดอกไม้) การทำควัก (กระทง) การทำบายศรี  และอื่นๆ ซึ่งสิ่งต่างๆ เหล่านี้เป็นงานใบตองที่ใช้ประกอบในพิธีกรรมของล้านนาและเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของล้านนา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง“สวยดอก” หรือ “กรวยดอกไม้” ซึ่งเป็นหนึ่งในงานใบตองที่เป็นเอกลักษณ์ของล้านนาซึ่งใช้เฉพาะในล้านนาและใช้ในพิธีกรรมต่างๆ ของล้านนาในทุกประเพณี

       การทำโครงงานในครั้งนี้จึงมุ่งเน้นที่จะสืบสานวัฒนธรรมด้านงานใบตอง การทำ“สวยดอก” หรือ                       “กรวยดอกไม้” ศึกษาค้นคว้าข้อมูลด้านต่างๆ ของสวยดอกล้านนา อาทิ ความเชื่อของการใช้“สวยดอก” หรือ “กรวยดอกไม้” ในการประกอบพิธีกรรม รูปแบบการประดิษฐ์สวยดอกแบบต่างๆ ตลอดจนเป็นส่วนหนึ่งของการค้นคว้าหาความรู้ในด้านศิลปวัฒนธรรมล้านนา ประเภทงานใบตองที่ใช้เป็นเครื่องสักการะบูชาในพิธีกรรมของล้านนา “สวยดอก” หรือ “กรวยดอกไม้” จึงเปรียบเสมือนมรดกทางวัฒนธรรมของล้านนาที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์

สวยดอกศรัทธาและความเชื่อตามวิถีชีวิตคนล้านนา

ความเชื่อในหมู่ชนชาวล้านนา ต่างมีความเลื่อมใสในสิ่งศักดิ์สิทธิ์และการนับถือพระพุทธศาสนานั้น ล้วนแต่มีความสำคัญในการดำเนินชีวิต และยึดเหนี่ยวจิตใจ ทำให้เกิดความศรัทธาในพระพุทธศาสนา ผู้คนก็ย่อมจะสรรหาหรือการสร้างเครื่องสักการะบูชาขึ้น เพื่อเป็นสื่อหรือสิ่งที่แสดงถึงสัญลักษณ์และตัวแทนของความศรัทธานั้น เครื่องสักการะถือว่าเป็นสื่อหรือสัญลักษณ์ที่แสดงออกในทางด้านการประดิษฐ์ชิ้นงานให้เห็นเป็นรูปธรรมล้วนแฝงไปด้วยความศรัทธา คติ ความคิดของผู้ที่มีความศรัทธาต่อสิ่งที่ทุกคนเคารพนับถือ เห็นได้ว่าเครื่องสักการะบางอย่างถูกสร้างขึ้นมาด้วยความประณีตและวิจิตรบรรจง รวมทั้งทำขึ้นจากของที่เกิดจากธรรมชาติและมีความบริสุทธิ์แต่ถึงอย่างไรก็ตาม การเคารพบูชาอย่างสูงสุดทั้งในทางพระพุทธศาสนาและพิธีกรรม ขึ้นอยู่กับสภาพภูมิประเทศหรือภูมิภาคของผู้ที่มีความเลื่อมใส ที่จะจัดสร้างหรือทำเครื่องสักการะบูชาขึ้น เพื่อให้มีความเหมาะสมกับ ความเชื่อทางวัฒนธรรมและพิธีกรรมในแต่ละภูมิภาคหรือท้องถิ่นนั้นๆ โดยในปัจจุบันสามารถพบเห็นได้น้อย นอกจากเมืองหรือชนบทที่ยังคงรักษาขนบธรรมเนียมวัฒนธรรมและความเจริญยังเข้ามาไม่มาก โดยเฉพาะดินแดนล้านนาซึ่งอยู่ทางภาคเหนือของประเทศไทย ที่ยังคงและดำรงรักษาวัฒนธรรม ศิลปะ ประเพณี ยังมีให้เห็นอยู่ในปัจจุบัน การบูชาด้วยดอกไม้ หรือเครื่องหอม นั้น มีความเกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนามาในดินแดนล้านนามาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ในปัจจุบันการบูชาด้วยดอกไม้และสวยดอกนั้นพบเห็นได้ในงานที่เกี่ยวข้องกับงานพิธีกรรมต่างๆ ของล้านนาอยู่ ทั้งใช้ในงานมงคลและงานอวมงคล

สวยดอกในประเพณีล้านนา

ในประเพณี 12 เดือนของล้านนาเกือบทุกพิธีกรรมจะใช้สวยดอกแทบทั้งสิ้น สาเหตุเพราะชาวล้านนาเชื่อว่าดอกไม้ที่มีกลิ่นหอมหากถวายให้เทพยดาจะนำมาซึ่งความร่มเย็นจึงนำดอกไม้มาห่อในใบตอง เพื่ออยู่ทนทานและการใช้สวยดอกจะมีวิธีที่คล้ายกันคือใส่ในพานเครื่องสักการะ แต่มีบางพิธีที่ใช้สวยดอกในลักษณะอื่นเช่นพิธีสู่ขวัญควายจะใช้สวยดอกผูกติดเขาควายทั้ง 2 ข้างเป็นการเรียกขวัญและสำนึกในบุญคุณของควายที่ใช้ในการไถนาซึ่งบางครั้งอาจมีการลงโทษ ดังนั้นเมื่อเสร็จภารกิจไถนาจึงทำพิธีขอขมาและปลอบขวัญควาย  ส่วนประเพณีตัดสายผัวเมียหรือผ่าจ้านผี เป็นพิธีทางไสยศาสตร์ที่แยกระหว่างคนกับผีหรือผู้ตาย ถึงเครื่องประกอบพิธีกรรมผ่าจ้านว่า ประกอบไปด้วย กรวยดอกไม้ 2 กรวย ใส่ข้าวตอกดอกไม้ และใส่ธูป 3 ดอก เทียน 2 เล่ม สอดฝ้ายร้อยกรวยใบตองเข้าด้วยกันแล้ววางบนก้านกล้วย จากนั้นจึงประกอบพิธีกรรมและตัดด้ายที่ร้อยกรวย 2 อัน ให้ขาดจากกันเพื่อเป็นการตัดขาดจากการเป็นคนและผีโดยให้อยู่คนละโลกกัน

รูปแบบของสวยดอก “กรวยดอก”

สวยดอกแบ่งได้เป็น 2 ประเภทคือ

        1. สวยดอกแบบธรรมดา คือ สวยที่ใช้ใบตองหรือกระดาษม้วนเป็นทรงกรวย กลัดด้านข้างด้วยไม้กลัด ไม่ตกแต่งขอบสวย เป็นสวยแบบธรรมดา นิยมทาอันเล็กๆ ใส่ดอกไม้ข้างในที่เรียกว่า “สวยจิ้งหรีด” ใช้ในพิธีกรรมที่ใช้สวยจำนวนมาก เช่น การบูชาอินทขิล ซึ่งต้องใส่ดอกไม้จำนวนมาก ครบตามจำนวนที่บูชา

                              

2. สวยกาบ เป็นสวยที่ตกแต่งปากสวยด้วยการพับใบตองเป็นกาบรูปแบบต่าง ๆ เย็บด้วยไม้กลัดมีชื่อตามกาบของสวย ซึ่งเรียกชื่อต่างกันไปตามแต่ละหมู่บ้านหรือกลุ่มผู้ทำ รูปแบบที่ประดิษฐ์หรือความเชื่อที่เกิดจากการสันนิษฐาน ว่า มาจากปีนักษัตร หรือมาจากธรรมชาติ เช่น สัตว์ และดอกไม้ และจากแนวคิดของท้องถิ่น

“สวยดอก”หรือ “กรวยดอกไม้” เกิดจากการใช้ใบตองหรือกระดาษม้วนขดเป็นทรงเรียวแหลมบรรจุดอกไม้ข้างในและดอกไม้ที่ใส่จะเป็นดอกไม้ที่เลือกสรรแล้วว่าเป็นดอกไม้ที่ดีที่สุด สวย หอมหรือมีชื่อที่เป็นมงคลเพราะมีความเชื่อว่าดอกไม้ที่นำไปบูชาสิ่งศักดิ์สิทธ์จะต้องเป็นดอกไม้ที่ดีที่สุด สวยดอกไม้ของภาคเหนือมักใช้ในพิธีกรรมต่างๆโดยใช้เป็นเครื่องสักการะบูชาในเกือบทุกประเพณี

ชาวล้านนามีนิสัยอ่อนโยนและนับถือพุทธศาสนา การนำดอกไม้ไปถวายพระได้ทำสืบทอดกันมาอย่างยาวนานโดยใช้ดอกไม้ผูกติดกับธูปเทียน จึงมีการคาดเดาว่าเพื่อความสะดวกและความสวยงามการใส่ดอกไม้ในกรวยจึงง่ายต่อการถือหรือนำไปวัด ในอดีตอาจมีการม้วนสวยธรรมดาไม่ตกแต่งมากมายนัก แต่พอเริ่มมีงานบุญมากขึ้นมีกลุ่มชาวบ้านมาชุมนุมมากขึ้น จึงคิดประดิษฐ์สวยดอกให้มีความงดงามโดยการเย็บกาบที่เลียนแบบมาจากธรรมชาติ เช่น ดอกไม้ หรือ สัตว์ หรืออาจนำมาจาก รูปแบบกระทงจากภาคกลางทำให้สวยดอกมีความหลากหลายรูปแบบ และได้สืบทอดจากหมู่บ้านหนึ่งสู่หมู่บ้านหนึ่งในการทำงานบุญต่างๆทำให้สวยดอกกลายเป็นหนึ่งในเครื่องสักการะบูชาของล้านนาตราบจนปัจจุบัน

จากการทำโครงงานจิตอาสาสืบสานวัฒนธรรมด้านงานใบตอง ในการทำสวยดอก หรือ กรวยดอกไม้ จากการสำรวจจำนวนกรวยดอกไม้ที่ทำมาจากใบตองและกรวยดอกไม้ที่ทำจากกระดาษได้เปรียบเทียบจำนวนกรวยดอกไม้ทั้ง 2 ประเภทจากการไปร่วมทำบุญตกบาตรทุกวันพระของคนในชุมชน ระยะเวลา  1 เดือน

จากการศึกษาหาความรู้ด้านรูปแบบต่างๆของสวยดอกจากหนังสือและตารา พบว่าสวยดอกแบ่งออกเป็น2 ประเภท คือ สวยแบบธรรมดาที่ใช้ใบตองม้วนเป็นกรวยเรียบง่ายไม่ตกแต่งโดยทำเป็นกรวยขนาดเล็กเรียกว่าสวยจิ้งหรีด สวยจิ้งหรีดใช้ในงานพิธีกรรมโดยใส่ในขันครูซึ่งส่วนใหญ่ใช้ในปริมาณมากเช่น 6 อันขึ้นไป และสวยดอกอีกชนิดคือสวยกาบเป็นสวยดอกที่ใช้ใบตองม้วนเป็นกรวยตกแต่งขอบด้วยการพับเป็นกาบหรือกลีบเย็บติดปากกรวยด้วยไม้กลัด การพับกาบละแบบมีรูปแบบต่างๆมากมายและมีชื่อต่างกันตามแต่ละท้องถิ่นหรือกลุ่มผู้ทำนั้นๆ

จากการทำโครงงานจิตอาสาสืบสานวัฒนธรรมด้านงานใบตอง การทำ“สวยดอก" หรือ“กรวยดอกไม้”เป็นกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ทั้งในด้านของผู้เรียน สถานศึกษา  และชุมชน  ดังนี้    

 ด้านผู้เรียน

 ด้านสถานศึกษา

          ด้านชุมชน

ภาพก่อนการทำโครงงานจิตอาสา

ภาพกรวยดอกไม้จากกระดาษถูกแทนที่กรวยดอกไม้จากใบตอง

ภาพหลังการขยายผล

การจัดทำโครงงานจิตอาสา

กรวยดอกไม้จากกระดาษเริ่มลดล

ภาพสวยดอก หรือ กรวยดอกไม้

 จากใบตอง

ที่มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นลังจากที่ได้ขยายผลการสืบสานวัฒนธรรมการทำกรวยดอกไม้ในชุมชน

เรียบเรียงเนื้อหา โดย นางสาวอัจฉราพรรณ  ใจกลางดุก ครูกศน.ตำบลนาทราย

ภาพถ่าย/ภาพประกอบ โดย  นางสาวอัจฉราพรรณ  ใจกลางดุก ครูกศน.ตำบลนาทราย