ดาบน้ำลี้ศิริเวียงชัย 

                 จากจุดเริ่มต้นเล็กๆของเหล็กโบราณกลุ่มพัฒนาผลิตภัณฑ์​สร้างสรรค์​จากโลหะกรรมโบราณ​แม่ลาน อำเภอลี้  จังหวัดลำพูนจากคำเล็กๆในวงสนทนา​ "โบราณคดีต้องกินได้" ระหว่างทีมงานฝ่ายปกครองอำเภอลี้​ และทีมนักโบราณคดี​ สำนัก​ศิลปากร​ที่​ 7​ เชียงใหม่​ ได้จุดประกายอะไรหลายๆอย่างในการนำองค์​ความรู้ทางวิชาการมาต่อยอดในการพัฒนาความเป็นอยู่ของชาวชุมชน

                ย้อนไปเมื่อ​ 2​ ปีที่แล้ว​ เมื่อทีมโบราณคดี​ เริ่มค้นพบแหล่งถลุงเหล็ก​โบราณ​จำนวนมาก​ในพื้นที่ตำบลแม่ลาน​ อำเภอลี้​ จังหวัด​ลำพูน​ ซึ่งมีอายุเก่าแก่อยู่ในช่วง​ 2,500​ -​ 2,200​ ปีมาแล้ว​ อยู่ในช่วงต้นยุคเหล็ก​ และถือเป็นแหล่งถลุงที่มีความเก่าแก่ที่สุด​ในประเทศ​ไทยเท่าที่เคยมีการค้นพบในปัจจุบัน

                  คำถามแรกที่เกิดขึ้นมา​ของพี่น้องประชาชนในพื้นที่​ คือ​ การถลุงเหล็ก​ มันคืออะไร  และสำคัญ​อย่างไร จึงเป็นที่มาของกิจกรรมสื่อความหมายเพื่อการเรียน​รู้​ "เมือง​ลี้ยุคโบราณกับการถลุงเหล็ก" ซึ่งได้สร้างการรับรู้ใหม่​และความเข้าใจให้แก่ประชาชนและเยาวชนในพื้นที่ 


  อำเภอลี้ได้ดีมากพอสมควร​จนเกิดการขับเคลื่อนต่อยอดเป็นงานทางวัฒนธรรม​ 108 ปีอำเภอลี้​ สร้างดาบน้ำลี้ศิริเวียงชัย​ดาบประจำอำเภอเล่มแรก​ที่สร้างจากสายแร่เหล็กที่พาดผ่านใต้แผ่นดินของตัวเอง
                  คำถามต่อมา​ คือ​ เมื่อเรารับรู้ความสำคัญและมีความเข้าใจแล้ว ความรู้ทางวิชาการจากการศึกษาจะสามารถนำมาพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนในพื้นที่ได้อย่างไรบ้างหลังจากการระดมความคิดจากหลายฝ่ายทั้งจากพระสงฆ์ผู้นำทางจิตวิญญาณ​ฝ่ายปกครองอำเภอลี้​ทีมนักโบราณคดี​ และปราชญ์ครูภูมิปัญญาจากบ้านน้ำพี้​ จึงได้คำตอบ​ว่า​ เราจะพัฒนาผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์​ทางวัฒนธรรม​กัน​
                การพัฒนาผลิตภัณฑ์​สร้างสรรค์​ ครั้งนี้​ เริ่มต้นจากการสังเคราะห์​ข้อมูลทางโบราณคดี​ และรื้อฟื้นภูมิปัญญาการทำเหล็กเมื่อกว่า​ 2,000​ ปีที่แล้ว​ กลับมาอีกครั้งหนึ่ง​ ตั้งแต่การเตรียมแร่​ การถลุงเหล็ก​ ตลอดจนไปถึงการตีขึ้นรูปเป็นผลิตภัณฑ์​ตามรูปแบบโบราณที่พบในพื้นที่อำเภอลี้​ ภายใต้แนวคิด​ เน้นการสร้างงาน​ Crafts ที่คุณค่าสูง​ ทุกขั้นตอนผ่านการใส่ใจ​ตามกรรมวิธีแบบโบราณ​ ไม่ให้ความสำคัญกับการสร้างงานเชิงประมาณจำนวนมหาศาล​
                ในวันที่ 8 ธันวาคม 2562 ถือเป็นวันเริ่มต้นเดินก้าวแรกของกลุ่มพัฒนาผลิตสร้าง​สรรค์​ฯ​ กระบวนการพัฒนาต่อยอดครั้งนี้​ เกิดขึ้นจากความร่วมมือจากทุกฝ่ายอย่างแท้จริง​ ทั้ง​ ท่านครูบานิกร ชยฺยเสโน, นายวิวัฒน์ จันทร์โอภาส นายอำเภอลี้, ฝ่ายปกครองอำเภอลี้, กลุ่มโบราณคดี​ สำนัก​ศิลปากร​ที่​ 7​ เชียงใหม่, ช่างประพจน์​ เรืองรัมย์​ ครูปราชญ์​ภูมิปัญญา​จากบ้านน้ำพี้,​ สภาวัฒนธรรม​อำเภอลี้​ และทีมงานกำนัน-ผู้ใหญ่​บ้าน​ตำ​บล​แม่ลาน​ รวมถึง ครูกศน.และนักศึกษาตำบลแม่ลานการเริ่มต้นก้าวเดินก้าวเล็กๆครั้งนี้​ จะนำไปสู่การพัฒนาวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนชาวแม่ลาน​ ต่อไปในอนาคต

         ในส่วนของกศน.ตำบลแม่ลาน จึงได้เล็งเห็นความสำคัญของสิ่งที่มีค่าในชุมชนจึงได้ทำการส่งเสริมให้เกิดอาชีพในการตีมีดโดยใช้วัตถุที่เกิดจากในพื้นที่ให้เกิดเป็นองค์ความรู้คุณค่าของกลุ่มพัฒนาผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์โลหะกรรมโบราณแม่ลาน มุ่งให้เกิดเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านอาชีพและประวัติศาสตร์สืบไป 

         พิกัดที่ตั้ง

ที่ตั้งของกลุ่มพัฒนาผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์โลหะกรรมโบราณแม่ลาน ได้อาคารของ อบต.แม่ลาน (หลังเก่า) เป็นที่ตั้งในการจัดนิทรรศการแสดงวัตถุการทำโลหะกรรม และ ยังมีสถานที่ในการสาธิตในการทำโลหะกรรมโบราณแม่ลาน

ข้อมูลเนื่อหา  โดย นายสุทธิพงษ์  มูลกันทา

เรียบเรียงเนื้อหาโดย  นายสุทธิพงษ์  มูลกันทา

ภาพถ่าย/ภาพประกอบ โดย นายสุทธิพงษ์  มูลกันพทา