การทำน้ำพริก

      น้ำพริก มีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา โดยคำว่า "น้ำพริก" มีความหมายมาจากการปรุงด้วยการนำสมุนไพร พริก กระเทียม หัวหอม เครื่องเทศกลิ่นแรง มาโขก บด รวมกัน เพื่อใช้สำหรับจิ้ม โดยมี ดอกแค มะเขือยาว แตงกวา ถั่วฝักยาว มะเขือม่วง ถั่วพู สัตว์น้ำต่าง ๆ เช่น ปลา กุ้ง

คนในสมัยก่อนนิยมรับประทานสัตว์น้ำมากกว่าสัตว์บก จึงอาจคิดค้นน้ำพริกขึ้นเพื่อเพิ่มรสชาติ และดับกลิ่นคาวต่าง ๆ น้ำพริกถูกใช้เป็นส่วนประกอบของอาหารต่าง ๆ หรือใช้ในการรับประทานเป็นกับข้าวก็ได้ และยังได้รับความนิยมมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

  สำหรับน้ำพริกแบบทีใช้เป็นเครื่องปรุงส่วนผสมนั้น เกิดขึ้นเพราะอาหารไทยจำพวกแกง จำเป็นที่จะต้องมีส่วนประกอบ หรือกรรมวิธีการทำที่ค่อนข้างซับซ้อน ผู้ปรุงจึงคิดทำน้ำพริกขึ้นเพื่อรวบรวมส่วนผสมต่าง ๆ นั้นเข้าด้วยกัน เป็นการลดขั้นตอนการปรุงลง และยังสามารถทำเก็บไว้ได้ในจำนวนมาก  ในปัจจุบันได้มีการนำน้ำพริกชนิดต่าง ๆ มาดัดแปลงเป็นอาหารหลากหลายประเภท รวมถึงนำมาผัดกับข้าว เช่น ข้าวผัดน้ำพริกนรก ข้าวผัดน้ำพริกปลาทู เป็นต้น

โครงสร้างหลักสูตร

2.  ทักษะในการประกอบอาชีพการทำน้ำพริกแกง                    จำนวน   30  ชั่วโมง

2.1  การเตรียมวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการทำน้ำพริกแกง    

2.2 การทำน้ำพริกแกง                            

- แกงเผ็ด

- แกงเขียวหวาน

- แกงคั่ว

- แกงมัสมั่น

- แกงฉู่ฉี่

- แกงส้ม

- แกงเลียง

- แกงกระหรี่

- การบรรจุภัณฑ์

– การวางแผนตลาด


การจัดกระบวนการเรียนรู้

                    1.   ศึกษาข้อมูลจากเอกสาร

                    2.   เรียนรู้ปฏิบัติจริงจากสถานประกอบกา         

สื่อการเรียนรู้

1.  ศึกษาจากเอกสาร / ใบความรู้

2.  ศึกษาจากแหล่งเรียนรู้ในชุมชน / วิทยากร / ภูมิปัญญาท้องถิ่น

การวัดและประเมินผล

1.  การประเมินความรู้ภาคทฤษฎีระหว่างเรียนและจบหลักสูตร

การประเมินผลระหว่างเรียนจากการปฏิบัติงานที่มีคุณภาพเพียงพอ สามารถสร้างรายได้ให้กับตนเอง  ความสำเร็จของการปฏิบัติและจบหลักสูตร 



เรียบเรียงโดย  นายสุทธิพงษ์   มูลกันทา