การสร้างองค์ความรู้สู่ชุมชน

การศึกษาตลอดชีวิต

เพื่อคงพัฒนาการทางกาย จิต สมองผู้สูงอายุ 

           ปัจจุบันโลกกำลังเผชิญกับสังคมสูงวัย (Aging Society) และคาดว่าภายในปี พ.ศ. 2583 จะเปลี่ยนเป็นสังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์ (Completely Aged Society) ซึ่งถือเป็น Mega Trend ที่นำมา ซึ่งผลกระทบต่อบริบททางเศรษฐกิจและสังคมโลกอย่างรุนแรง พบว่าเหตุผลหลักที่ทำให้โลกเข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างรวดเร็ว เนื่องจาก อัตราการเกิดที่ต่ำและประชากรอายุยืนยาว การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรดังกล่าว ส่งผลกระทบ ด้านลบต่อการขาดแคลนแรงงาน เพราะสัดส่วนประชากรวัยแรงงานลดลง ขณะที่อัตราการพึ่งพิงมีแนวโน้ม เพิ่มสูงขึ้น ทำให้ผลิตภาพลดลง ทำให้งบประมาณของรัฐบาลก็จะเพิ่มสูงขึ้นด้วย 

        การเตรียมความพร้อมของสังคมไทยเพื่อรองรับสังคมสูงอายุในทุกด้านจึงมีความสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การสร้างหลักประกันว่าผู้สูงอายุจะได้รับการส่งเสริม สนับสนุนในทุกด้าน ทั้งระบบประกันสุขภาพ หลักประกันทางสังคม เศรษฐกิจด้วยการส่งเสริมการออม การสร้างรายได้ให้ผู้สูงอายุ เพื่อลดการพึ่งพา 

                ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอลี้  จึงมีนโยบายจัดการศึกษาตลอดชีวิตเพื่อคงพัฒนาการทางกาย จิต สมองผู้สูงอายุ เพื่อคงพัฒนาการทางกาย จิต และสมอง ให้แก่ผู้สูงอายกลุ่มติดสังคม ในเขตพื้นที่อำเภอ โดย กศน.ตำบลแม่ลานก็ได้สนองนโยบายในการนำสู่การปฏิบัติ

วัตถุประสงค์ในการสร้างสรรค์ความรู้สู่ชุมในด้านการศึกษาตลอดชีวิตเพื่อคงพัฒนาการทางกาย จิต สมองผู้สูงอายุ 

         1. เพื่อให้ผู้สูงอายุมีความรู้ ความเข้าใจ และทักษะในการชะลอความเสื่อมภายในร่างกายของตน การคงสมรรถนะทางด้านความจํา การมีสุขภาพจิตที่ดี ห่างไกลจากภาวะซึมเศร้า เพื่อการมีสุขภาวะและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

2. เพื่อให้ผู้สูงอายุมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ของตน การเข้าถึงบริการภาครัฐ กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุ การสร้างปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับคนในครอบครัวและสังคม รวมถึงการสร้างเครือข่ายผู้สูงอายุ การถ่ายทอดภูมิปัญญา และการเป็นจิตอาสา

3. เพื่อเพื่อให้ผู้สูงอายุมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการวางแผนทางการเงิน การออมในรูปแบบต่างๆ การจ้างงานสําหรับผู้สูงอายุ และเห็นช่องทางในการประกอบอาชีพ หรือต่อยอดอาชีพเดิมเพิ่มรายได้

ผลลัพธ์การสร้างสรรค์ความรู้สู่ชุมในด้านการศึกษาตลอดชีวิตเพื่อคงพัฒนาการทางกาย จิต สมองผู้สูงอายุ 

          ผู้สูงอายุที่เข้าร่วมโครงการ ได้รับการส่งเสริมให้มีความรู้ ความเข้าใจ และทักษะในการชะลอความเสื่อมภายในร่างกายของตน การคงสมรรถนะทางด้านความจํา การมีสุขภาพจิตที่ดี ห่างไกลจากภาวะซึมเศร้า เพื่อการมีสุขภาวะและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น การสร้างปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับคนในครอบครัวและสังคม รวมถึงการสร้างเครือข่ายผู้สูงอายุ การถ่ายทอดภูมิปัญญา และการเป็นจิตอาสา การสร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการวางแผนทางการเงิน การออมในรูปแบบต่าง ๆ การจ้างงานสําหรับผู้สูงอายุ และเห็นช่องทางในการประกอบอาชีพ หรือต่อยอดอาชีพเดิมเพิ่มรายได้ 

ข้อมูลเนื่อหา  โดย นายสุทธิพงษ์  มูลกันทา

เรียบเรียงเนื้อหาโดย  นายสุทธิพงษ์  มูลกันทา

ภาพถ่าย/ภาพประกอบ โดย นายสุทธิพงษ์  มูลกันทา