ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดลำพูน (เกษตรที่สูง) สาขาทุ่งหัวช้าง

            ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดลำพูน (เกษตรที่สูง) สาขาทุ่งหัวช้าง มีเนื้อที่ประมาณ 45 ไร่  สถานที่ตั้ง ณ บ้านจริญญา ตำบลทุ่งหัวช้าง อำเภอทุ่งหัวช้าง อยู่ภายใต้การกำกับดูแล ของสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 6 จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นหน่วยราชการส่วนกลาง มีที่ตั้งสำนักงานในส่วนภูมิภาค ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดลำพูน (เกษตรที่สูง) ตำบลนาทราย อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน   โดยมีนางสาวเจนจิรา แก้วมาลัย รักษาราชการแทนผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตร จังหวัดลำพูน (เกษตรที่สูง) 

         การเข้าศึกษาดูงานสามารถประสาน นายสำราฐ ชูช่วย เจ้าพนักงานการเกษตร เบอร์โทรศัพท์ 0-5309-6065 (สำนักงาน) เปิดให้บริการวันจันทร์-วันศุกณ์ เว้นวันเสาร์ อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ 

  ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดลำพูน (เกษตรที่สูง) สาขาย่อยทุ่งหัวช้าง เป็นแหล่งเรียนรู้ในอำเภอทุ่งหัวช้าง มีฐานการเรียนรู้ภายในศูนย์ฯ จำนวน 7 ฐานการเรียนรู้ ได้แก่ 

 ฐานที่ 1 การขยายพันธุ์พืช  เรียนรู้การขยายพันธุ์พืช ได้แก่ ลำไย มะม่วง อะโวคาโด การขยายพันธุ์พืชจัดว่ามีความสำคัญในการปลูกพืช เพราะขั้นตอนแรกของการเพาะปลูกต้องมีต้นกล้าพืชเสียก่อน การเลือกวิธีการขยายพันธุ์พืชที่เหมาะสมจะทำให้สามารถผลิตต้นกล้าได้ตามปริมาณและคุณภาพที่ต้องการ ซึ่งเป็นผลไปถึงคุณภาพหรือปริมาณของผลผลิตของพืชนั้นๆ นอกจากนี้การขยายพันธุ์พืชยังมีความสำคัญในด้านการอนุรักษ์พันธุ์พืชที่หายากหรือใกล้จะสูญพันธุ์ 

ฐานที่ 2 การเลี้ยงแมลงเศรษฐกิจ  (จิ้งหรีด)   เรียนรู้การเพาะเลี้ยงจิ้งหรีด ซึ่งเป็นเป็นแมลงที่มีลักษณะปากเป็นแบบปากกัด มีตารวมหนวดยาวขาคู่หลังมีขนาดใหญ่และ แข็งแรง เพศเมียปีกเรียวและมีอวัยวะวางไข่ยาวแหลมคล้ายเข็มยื่นออกมาจากส่วนท้อง เพศผู้มีปีกคู่หน้าย่น สามารถทำเสียงได้จิ้งหรีดจัดเป็นแมลงชนิดหนึ่งที่พบได้ในทุกภูมิภาคของโลก โดยเฉพาะเขตร้อนอย่าง ประเทศไทย จิ้งหรีดมักกัดกินต้นกล้าของพืช ใบพืช ส่วนที่อ่อนๆ เป็นอาหาร จิ้งหรีดมีหลายชนิด หลายขนาด แตกต่างกันไปตามพฤติกรรมลักษณะพิเศษของจิ้งหรีดที่แตกต่างจากแมลงชนิดอื่นอย่างโดดเด่นและสังเกตได้ ง่ายคือ การส่งเสียงร้องและการผสมพันธุ์ที่เพศเมียจะคร่อมบนเพศผู้เสมอ 

 ฐานที่ 3 การทำปุ๋ยหมัก เรียนรู้การทำปุ๋ยหมักใบไม้ เป็นการนำเศษใบไม้แห้งกลับมาใช้ประโยชน์ในรูปของปุ๋ยพร้อมสารอาหารที่จำเป็นต่อดินและพืชได้อีกครั้งโดยไม่ต้องทิ้งให้สูญเปล่า ซึ่งจะต้องใช้ออกซิเจน น้ำ และดิน ในปริมาณที่เพียงพอสำหรับกระบวนการย่อยสลายนี้ การทำปุ๋ยหมักจะช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในขณะที่มีการย่อยสลายกลายเป็นปุ๋ย และสามารถนำปุ๋ยที่ได้ไปบำรุงต้นไม้หรือพืชสวนครัวได้ ทำให้ประหยัด และเป็นการปลูกฝังนิสัยให้รู้จักใส่ใจถึงสิ่งแวดล้อม

ฐานที่ 4 การเลี้ยงชันโรง   เรียนรู้การเลี้ยงชันโรง (Stingless Bees) เป็นแมลงในกลุ่มเดียวกับผึ้ง แต่ไม่มีเหล็กใน พบได้ในทุกภูมิภาคของไทย ในไทยมีทั้งหมด 34 สายพันธุ์ ชื่อชันโรง (ชัน-นะ-โรง) หมายถึงโรงงานผลิตชัน เพราะผลิตชันได้ค่อนข้างเยอะ เมื่อก่อนเราเอาชันมาใช้อุดภาชนะ อุดฐานพระ ทำยาแผนโบราณ แต่ยุคนี้เราพบสารกลุ่มฟลาโวนอยด์ (Flavonoids) ซึ่งช่วยต้านอนุมูลอิสระ ต้านเชื้อโรค สร้างภูมิคุ้มกัน ยับยั้งเชื้อราและจุลินทรีย์ต่างๆ ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคผิวหนังหรือแผลอักเสบในช่องปากและคอ จึงนำมาใช้เป็นยารักษาแผลอักเสบในปาก สบู่ ยาสีฟัน สเปรย์ช่องปาก ลูกอม และสารสกัดผสมน้ำดื่ม 

ฐานที่ 5 การปลูกดอกเก็กฮวยทำท่องเที่ยวเชิงเกษตร แนะนำวิธีการปลูกดอกเก๊กฮวย เป็นพืชสมุนไพรที่ได้รับความนิยมในการใช้เป็นเครื่องดื่ม ด้วยสรรพคุณที่ว่า ช่วยดับ กระหาย เพิ่มความสดชื่น ขับลม ขับเหงื่อ แก้ร้อนใน ช่วยป้องกันโรคหลอดเลือดต่าง ๆ ช่วยขยาย หลอดเลือด และลดการเกิดภาวะหัวใจล้มเหลว เป็นต้น เก๊กฮวยเป็นพืชที่มีความเหมาะสมกับ ภูมิอากาศทางเขตภาคเหนือ และมีศักยภาพในการผลิตเป็นพืชอุตสาหกรรม 

ฐานที่ 6 การปลูกไผ่และการขยายพันธุ์ไผ่ แนะนำเทคนิคการขยายพันธุ์ไผ่ว่ามีหลายวิธี เช่น การขยายด้วยเมล็ด การแยกกอหรือเหง้า การตัดปล้องปักชำ การปักชำกิ่งแขนง การตอนกิ่งแขนง และการเพาะเนื้อเยื่อ สำหรับวิธีการขยายพันธุ์ไผ่ที่สะดวก ประหยัด และง่าย ได้ผลดี ได้แก่ การปักชำกิ่งแขนง

แผนที่ ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดลำพูน (เกษตรที่สูง) สาขาย่อยทุ่งหัวช้าง

แนะนำ ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดลำพูน (เกษตรที่สูง) สาขาย่อยทุ่งหัวช้าง

ที่มาแหล่งข้อมูล  :  ช่อง youtube teeneeOK ที่นี่โอเค 

รื่อง/เนื้อหา :  นายสำราญ ชูช่วย เจ้าพนักงานเกษตร  ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดลำพูน
                           (เกษตรที่สูง)
สาขาอำเภอทุ่งหัวช้าง  

 เรียบเรียง   :  นางสาวฐิติมา  พนัสโยธานนท์