จากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี และการเปลี่ยนแปลงทางสังคมส่งผลทำให้ประเพณีวัฒนธรรมที่สืบทอดกันมาเกือบจะหายไป คนรุ่นใหม่มักไม่เล็งเห็นถึงความสำคัญของวัฒนธรรม จะมีเพียงผู้เฒ่าผู้แก่เท่านั้นที่ยังสามารถเล่าถึงเหตุการณ์ต่างๆไว้ แต่ยังคงขาดการบันทึกเก็บไว้ ดังนั้นการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการจัดเก็บและเผยแพร่เป็นดำรงไว้ให้คนรุ่นหลังได้ศึกษาและสืบต่อกันไปไม่ให้วัฒนธรรมได้หายจากไป วัฒนธรรมเป็นสิ่งที่ทำให้ผู้คนร่วมอยู่ด้วยกันได้ตามความเชื่อในวัฒนธรรม วัฒนธรรมยังเป็นสิ่งที่ทำให้มนุษย์ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของธรรมชาติ เนื่องจากมนุษย์จะต้องอาศัยธรรมชาติในการดำเนินชีวิต วัฒนธรรมและประเพณีต่างๆจะสอดแทรกให้อนุรักษ์ธรรมชาติ เช่นเดียวกับวัฒนธรรมและประเพณีในอำเภอทุ่งหัวช้าง อำเภอทุ่งหัวช้าง เป็นอำเภอในจังหวัดลำพูนที่มีภูมิประเทศล้อมรอบไปด้วยภูเขาเป็นอำเภอเล็กๆ ด้วยความสมบูรณ์ทางภูมิภาคและประกอบมีแม่น้ำ และห้วยน้ำต่างๆหลายสายที่ไหลผ่าน แสดงถึงความอุดมสมบูรณ์ทำให้ผู้คนส่วนใหญ่จะประกอบอาชีพทำไร่ทำสวนเป็นส่วนมาก วิถีชีวิตจึงมีความแตกต่างจากอำเภออื่นๆ ที่มีวิถีชีวิตที่เรียบง่ายพืชผักจะปลูกกินเองตามบ้านเรือน เลี้ยงไก่ไข่ บางบ้านจะเลี้ยงหมู เพื่อไว้ประกอบอาหาร

ส่วนแรกจะขอเล่าวิถีชีวิตของคนทุ่งหัวช้างส่วนใหญ่เป็นชาวปกาเกอะญอ หรือกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยง เรียกตนเองว่า “ปกาเกอะญอ” ซึ่งแปลว่า “คน” เป็นชนเผ่าที่มีจำนวนมากที่สุด ในประเทศไทย แบ่งออกได้เป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ สะกอ หรือยางขาว หรือ ปากฺกะญอ เป็นกลุ่มที่มีประชากรมากที่สุด โป หรือ โพล่ ในพื้นที่อำเภอทุ่งหัวช้างมี ปากฺกะญอ จำนวน 17 หมู่บ้าน จำนวน 3 ตำบล ได้แก่ ตำบลบ้านปวง 4 หมู่บ้าน ตำบลทุ่งหัวช้าง 7 หมู่บ้าน และตำบลตะเคียนปม 6 หมู่บ้าน รวมประมานประชากร 11,618 คน 3,648 ครัวเรือน มากที่สุดเป็นอันดับที่สองรองมาจากอำเภอลี้ คนที่นี่ส่วนใหญ่มีวิถีชีวิตเรียบง่าย เสน่ห์ของที่นี่ คือ “การทอผ้า” นอกจากการมีวิถีชีวิตที่น่าศึกษา ยังมีสถานที่ท่องเที่ยวและแหล่งทางวัฒนธรรมที่ผู้คนส่วนใหญ่จะร่วมกันมาทำบุญ และเทศกาลประเพณีได้ตลอดปี เช่น ประเพณีแห่ครัวตาน, “ฤดูจำศีล” หรือที่เค้าเรียกกันว่า “คนในห้ามออก คนนอกเข้า” 3 วัน 3 คืน ประเพณีของหมู่บ้านชาวปกาเกอะญอ ส่วนใหญ่เป็นชาวเขาเผ่ากระเหรี่ยงนับถือศาสนาพุทธ  ผสมผสานเกี่ยวกับความเชื่อเรื่องการ   นับถือผี  และมีประเพณีที่ปฏิบัติสืบทอดกันมาคือ  การอยู่กรรม  ชาวกะเหรี่ยงมีภาษาพูดเป็นของตนเอง  การแต่งกายส่วนใหญ่จะตัดเย็บเสื้อผ้าที่ทอขึ้นเอง  และมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวและได้รับอิทธิพลจากภายนอกโดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ที่ได้รับการศึกษาจากภายนอก  ส่วนคนรุ่นเก่ายังคงยึดถือขนบธรรมเนียมประเพณีดั้งเดิมไม่ค่อยสนใจวัฒนธรรมภายนอก

ประวัติความเป็นมาของประเพณีแห่ช้างเผือก

อำเภอทุ่งหัวช้างมีแหล่งน้ำที่สำคัญคืออ่างเก็บน้ำขุนลี้จากแหล่งต้นกำเนิดของลำน้ำลี้ที่ดอยสบเทอม บ้านหนองหลัก หมู่ 9 ตำบลตะเคียนปม อำเภอทุ่งหัวช้างมีความยาวประมาณ 180 กิโลเมตร ที่อยู่ระหว่างอำเภอแม่ทา และ อำเภอทุ่งหัวช้าง จังหวัด ลำพูน เป็นเขตติดต่ออำเภอเสริมงาม จังหวัดลำปางถึงลี้ที่จรดน้ำแม่ปิงที่บ้านวังสะแกง อำเภอเวียงหนองล่องครอบคลุมพื้นที่4 อำเภอ คืออำเภอลี้ อำเภอบ้านโฮ่ง อำเภอทุ่งหัวช้าง และ อำเภอเวียงหนองล่อง แม่น้าลี้มีความสำคัญมากต่อวิถีชีวิตของผู้คนในพื้นที่เพราะถือเป็นสายน้ำหลักและที่หล่อเลี้ยงการเกษตรกรของผู้คนในพื้นที่ หากปีใดเกิดวิกฤตการณ์ทางธรรมชาติบ้านเมืองเกิดแห้งแล้งฝนไม่ตกตามฤดูกาลแม่น้าแห้งขอด ชาวบ้านจะจัดพิธีขอฟ้าของฝนขึ้นมาโดยเฉพาะจะทำกันในช่วงเดือนกรกฎาคมที่เรียกว่า "ประเพณีแห่ช้างเผือก” เป็นประเพณีที่น่าสนใจของชาวบ้านเป็นจำนวนมาก ชาวบ้านจะร่วมกันจัดและเข้าร่วมพิธีในปีนี้เนื่องจากประเพณีได้งดการจัดมาถึง 2 ปีแต่ชาวบ้านยังคงไม่เคยลืมพิธีกรรมต่างๆ

จากการศึกษาโครงงานรายงานโครงงานวิชาประวัติศาสตร์เรื่อง ประเพณีแห่ช้างเผือกอำเภอทุ่งหัวช้างโดย ภูมริน ยมหา(2564) กล่าวว่า ความสำคัญของช้างเผือกที่ชาวบ้านนำมาเป็นสัญลักษณ์ในพิธีกรรมขอฝนนั้นกล่าวคือช้างเผือกเป็น ช้างมงคลหากเกิดขึ้นในบ้านเมืองใดจะทำให้บ้านเมืองนั้น อุดมสมบูรณ์ด้วยพืชพรรณธัญญาหารมีฝนตกตามฤดูกาลบ้านเมืองจะชุ่มฉ่ำอยู่เย็นเป็นสุข ขณะเดียวกันในชาดกเรื่องพระเวสสันดร มีช้างเผือกมงคลชื่อพระยานาเคนทร์ ซึ่งเป็นช้างคู่บารมีพระเวสสันดรซึ่งช้างเผือกในชาดกเรื่องพระเวสสันดรว่าเมื่อครั้ง นางผุสดีได้ประสูติพระเวสสันดรขณะนั้น ได้มีนางช้างเชือกหนึ่งได้พาลูกช้างเข้ามายังโรงช้างลูกช้างเชือกนั้นเป็นลูกช้างเผือกที่มีลักษณะต่างจากช้างทั่วไป นับแต่วันที่ช้างเผือกได้เข้ามาอยู่ในเมืองของพระเจ้าสันชัยน้ำท่าก็อุดมสมบูรณ์ พืชพรรณธัญญาหารก็เจริญงอกงาม ประชาชนพลเมืองอยู่เย็น เป็นสุข ครั้นวันหนึ่งมีเมืองอีกเมืองชื่อ กรินทราช ได้ส่งพราหมณ์ 8 รูป มาขอช้างเผือกมงคลนี้จากพระเวสสันดรเหตุเพราะเมืองกรินทราชเกิดภาวะแห้งแล้งฝนไม่ตกตามฤดูกาลพืชพรรณล้มตายชาวเมืองเกิดความเดือดร้อน พระเวสสันดรซึ่งขณะนั้นได้บำเพ็ญทานบารมีก็ได้ส่งพระยานาเคนช้างเผือกมงคลให้แก่เมืองกรินทราชเมื่อได้ช้างเผือกไปฝนฟ้าก็ตกตามฤดูกาลน้ำท่าอุดมสมบรูณ์ลักษณะของช้าเผือก 

ช้างเผือกมีลักษณะ 7 ประการ ดังนี้ 

1. ตาขาว มีดวงตาสีขาวเรื่อๆ เหมือนตาน้ำข้าว 

2. เพดานขาว มีเพดานปากขาวดุจเนื้อในของเผือกมัน 

3. เล็บขาว มีเล็บขาวเหมือนงานของมันเองทั้งหมด 

4. พื้นหนังขาว สีคล้ายหม้อดินใหม่ที่ว่าสรรพางค์กาย 

5. ขนหางขาว มีขนที่หางเป็นพวงพุ่มลดหลั่นกัน จนถึงน่อง 

6. ขนขาวมีขนทว่าสรรพางค์กายเป็นสีขาวนวล 

7. อัณฑะขาว

ลักษณะช้างจากชาดกเรื่องพระเวสสันดรซึ่งกายมาเป็นต้นแบบแนวคิดประเพณีแห่ช้างเผือกของคนลุ่มน้ำโดยประเพณีแห่ช้างเผือกน้ำได้ เริ่มขึ้นเมื่อประมาณ 40 – 50 ปี ที่แล้วชาวบ้านในลุ่มน้ำลี้เกิดปัญหาภัย แล้งจากการที่ฝนไม่ตก ทำให้ชาวบ้านไม่สามารถทำนาในช่วงกรกฎาคมนั้นได้จึงมีการคิดแบบแผนที่จะนำมาใช้กับพื้นที่ลุ่มน้ำลี้โดยนำช้างเผือกในชาดกเรื่องพระเวชสันดรมาเข้าร่วมพิธีกรรม โดยครูบาจักรธรรมจักโก เป็นผู้ริเริ่มนำชาวบ้านประกอบพิธีแห่ช้างเผือก โดยเริ่มจากการสานไม้ไผ่เป็นรูปช้างแล้วนำฝ้ายมาทำให้เป็นช้างเผือก ซึ่งในปัจจุบันไม่มีใครสามารถสานช้างด้วยไม้ไผ่ เพราะกรรมวิธีค่อนข้างจะยากต้องอาศัยฝีมือและความชำนาญอย่างสูง หลังจากนั้นก็จะนำช้างเผือกแห่ไป ตามลำน้ำลี้โดยจะแห่ตั้งแต่ปลายน้าไปสู่ต้นน้ำ การแห่จะส่งต่อกันเป็นทอดๆระหว่างชุมชนต่างๆ ที่อาศัยอยู่ตามลุ่มน้ำลี้ในช่วงเวลาที่ประกอบพิธีกรรมจะมีการฟังธรรมและเทศนาน้ำแม่ลี้ปลาช่อน ฟังธรรมพญา คางคก ซึ่งเป็นพิธีกรรมทางพุทธศาสนาควบคู่กับไปด้วยภายหลังจากครูบาจักรธรรมจักโก เจ้าอาวาสวัดทุ่งโป่งมรณภาพลง ก็ดูเหมือนว่าพิธีแห่ช้างเผือกได้สูญหายไปไร้การสืบทอดจากวิถีชีวิตของชาวบ้านเป็นเวลาร่วม 50 ปี มาแล้วกระทั่งปัจจุบันพิธีกรรมดังกล่าวได้ถูกรื้อฟื้นขึ้นมาอีกครั้งพิธีกรรมการแห่ช้างเผือก จึงเป็นเสมือนการเชื่อมโยงผู้คนให้เรียนรู้และแก้ปัญหาต่างๆ ร่วมกัน

ขั้นตอนและพิธีกรรมทางศาสนา

1. สถานที่จัดพิธีกรรม สถานที่เริ่มจากวัดวังสะแกง อำเภอเวียงหนองล่อง และแห่มาตามลำน้ำลี้ไป จัดพิธีกรรมต่างๆที่วัดห้วยไร่ อำเภอทุ่งหัวช้าง ฝ่ายปู่ขิงบ้านห้วยไร่ อำเภอทุ่งหัวช้าง หมู่ที่ 8 และอ่างเก็บน้ำขุนลี้บ้านหนองหลัก หมู่ที่ 9 ตำบลตะเคียนปม อำเภอทุ่งหัวช้าง จังหวัดลำพูน

2. ระยะเวลาในการดำเนินงาน จะจัดในช่วง เดือนกรกฎาคม ของทุกปี ก่อนเข้าพรรษาเพราะเป็นฤดูกาลที่ชาวนากำลังจะหว่านกล้าซึ่งจะมีจัด ในระยะเวลา 3 วัน โดยจะเริ่มแห่จากอำเภอเวียงหนองล่อง ไปอำเภอบ้านโฮ่ง อำเภอลี้ และอำเภอทุ่งหัวช้าง พอถึงบ้านปวงจะพัก ที่นั้น 1คืน พอเช้าของวันถัดไปก็จะเดินทางแห่ขวนต่อเดินทางไปสู่อำเภอทุ่งหัวช้างหลังจากที่ขบวนแห่ช้างเผือกมาถึงอำเภอทุ่งหัวช้างก็จะนำช้างเผือกไปไว้ที่วัดห้วยไร่ 1 คืน และในเช้าของวันถัดไปก็จะมีพิธีกรรมการตักบาตรและนำช้างเผือกไปสืบชะตาแม่น้ำที่ฝ่ายปู่ขิง ส่วนในช่วงบ่ายขบวนแห่ช้างจะเริ่มแห่ช้างเผือกไปที่อ่างเก็บน้ำขุนลี้บ้านหนองหลัก

วัสดุ อุปกรณ์ ในการทำช้างเผือก 

1.  ดอกฝ้ายหรือสาลี  

2. ผ้าสีขาว 

3. ไม้ไผ่ 

4. เส้นลวด 

5. กาวใส

6. กระดาษสี

ขั้นตอนการทำช้างเผือก

1. เริ่มจากนำไม้ไผ่มาเหลาแล้วนำมาจักสานโดยจะสานในส่วนของลำตัวของช้างเผือก คือ หัว แขน ขา งวง งา หูและหาง

2. จากนั้นนำแต่ละส่วนมาประกอบเข้ากันโดยใช้เส้นลวดมามัดเข้าด้วยกันเพื่อให้มี
ความแข็งแรงและได้รูปทรง

3. ประกอบแต่ละส่วนเข้าด้วยกันแล้วจึงนำผ้าขาวมาพันตามตัวของช้างเผือกโดย ใช้ก้าวใสในการติดเพราะเป็นมีสีใสเข้ากับสีของผ้าขาว

4. ขั้นตอนสุดท้ายจะนำดอกฝ้ายมาติดตามตัวช้างเผือกและนำไปตากแดดประมาณ
7-8 ชั่วโมง

ขั้นตอนของประเพณีแห่ช้างเผือก อำเภอทุ่งหัวช้าง

เส้นทางในการแห่ช้างเผือก ขบวนแห่ช้างเผือกจะเริ่มแห่ตั้งแต่อำเภอเวียงหนองล่อง เริ่มจากหมู่บ้านวังสะแกง ไปตามถนนลี้-ลำพนู ผ่านอำเภอบ้านโฮ่ง เข้าสู้เขตอำเภอลี้บ้านปางซึ่งขบวนแห่ช้างเผือกจะอยู่ที่บ้านปาง เป็นเวลา 1 คืน พอวันถัดไปขบวนจะเริ่มออกเดินทางจากวัดบ้านปางไปบ้านห้วย แล้วเข้าอำเภอทุ่งหัวช้าง เขตอบต.บ้านปวง จะเข้าสู่เขตเทศบาลทุ่งหัวช้างและจะเข้าสู่เขต อบต.ตะเคียนปม ซึ่งขบวนแห่จะพักที่ บ้านห้วยไร่ 1 คืนโดยจะมีพิธีกรรม ดังนี้

1. พิธีการสวดมนต์ขอฝน จะจัดในวันที่แห่ช้างเผือกมาไว้ที่วัดห้วยไร่โดยจะมีพิธีกรรม ช่วงเวลา กลางคืน จะมีชาวบ้านแม่น้ำลี้มาร่วมกันสวดมนต์ ฟังเทศน์คันคากและเทศน์ พญาปลาช่อน

2. ทำบุญตักบาตรตอนเช้าในพิธีการทำบุญตักบาตรของประเพณีแห่ช้างเผือกนั้นจะมีการตักบาตร ในช่วงเช้าของวันที่จะแห่ช้างไปที่อ่างเก็บน้ำขุนลี้ซึ่งจะทำบุญตักบาตรและใส่จตุปัจจัยที่วัดห้วยไร่ หลังจากการตักบาตรเสร็จจะมีการฟังเทศน์และรับพรจาก
พระสงฆ์

3. การสืบชะตาแม่น้า จะประกอบในพิธีหลังจากตักบาตรช่วงเช้าแล้วจะนำช้างเผือกไปที่ฝ่ายปู่ขิง บ้านห้วยไร่ เครื่องสืบชะตาประกอบด้วยกระโจมสามขา จะผูกติดด้วยไม้ค้ำท่อนเล็ก จำนวนพอประมาณแต่ลงท้ายด้วยเลข 9 เครื่องประกอบ การสืบชะตา อื่นๆได้แก่ อ้อย หน่อกล้วย เทียนถุง บุหรี่ เมี้ยง หมาก พลู ข้าว ในการ ทำพิธีจะมีการบวงสรวงเทวดา เพื่อเป็นการขอขมาต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ปกปักรักษาแม่น้ำ โดยจะมีรูปปั้นพญาคางคกและรูปปั้นพญาปลาช่อน เพื่อให้พญาทั้ง สองไปขอฝนจากเทวดา และจะมีพิธีกรรมการถวายทานอาหาร ให้แก่พญาทั้งสอง โดยจะมีการนิมนต์พระสงฆ์ 9 รูป มาทำพิธีพิธีบวงสรวงเทวดา เพื่อเป็นการขอขมาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในการสืบชะตาแม่น้ำ พิธีกรรมการปล่อยช้างเผือก หลังจากที่ได้ทำในพิธีการในช่วงเช้าแล้วในช่วงบ่ายคณะศรัทธาก็จะได้นำช้างเผือกไปปล่อย ที่อ่างขุนลี้บ้านหนองหลักโดยจะแห่ตั้งแต่บ้านห้วยไร่ ผ่านบ้านห้วยห่าง บ้านไม้ตะเคียนและเข้า สู่หมู่บ้านหนองหลักแล้วเดินทางไปต่อที่อ่างขุนลี้ โดยระหว่างแห่ขบวนก็จะมีชาวบ้านตามหมู่บ้านต่างๆมาพรมน้ำส้มป่อยให้กับช้างเผือกและในขบวนแห่ก็จะมีการบรรเลงดนตรีจากเครื่องดนตรี ได้แก่ ฉาบ กลอง ฉิ่ง ตาม จังหวะพื้นบ้าน จะบรรเลงไปเรื่อยๆ จนถึงอ่างเก็บน้ำขุนลี้

พอถึงอ่างเก็บน้ำแล้วพระสงฆ์ก็ จะสวดมนต์ และให้พรแก่คณะศรัทธาที่มาร่วมพิธีแห่ช้างเผือก   จากนั้นก็จะนำช้างเผือกปล่อยลงสู่แม่น้ำ โดยระหว่างที่ปล่อยช้างเผือกพระสงฆ์ก็จะสวดมนต์และคณะศรัทธาก็จะตั้งจิตอธิษฐาน หลังจากเสร็จพิธีพระสงฆ์และคณะศรัทธาก็เดินกลับพร้อม กับเอาก๋วยทานที่เหลือกลับไปไว้ที่ห้วยตามหมู่บ้านต่างๆที่แม่น้ำลี้ไหลผ่าน