สืบสานงานศิลปวัฒนธรรม "การทอผ้าฝ้ายยกดอก"


1. ประวัติบุคคล

นางสาวอรทัย  วงศ์ฝั้น บ้านเลขที่ 85 หมู่ 1 บ้านทุ่งข้าวหาง ตำบลตะเคียนปม อำเภอทุ่งหัวช้าง จังหวัดลำพูน 51160 เบอร์โทรศัพท์ 089-8554194

2. ประวัติความเป็นมาของหมู่บ้านทุ่งข้าวหาง

หมู่บ้านทุ่งข้าวหาง ก่อตั้งมาประมาณ 300 กว่าปี โดยกลุ่มคนได้อพยพมาจากอำเภอแม่ทาเพื่อกระจายการทำมาหากิน จากหมู่บ้านเล็กๆ เพียงสิบกว่าหลังคาเรือน จนมาถึงปัจจุบัน มีจำนวน 167 ครัวเรือน ที่มาของชื่อหมู่บ้านมาจาก การที่ฝนได้ตกลงมาอย่างหนักในหมู่บ้านมีน้ำป่าไหลหลากลงมาจากลำห้วยแม่หางน้อย ยาวเป็นหาง ตั้งแต่หัวบ้านจนถึงหางบ้าน น้ำมีสีทองไหลอาบลงทุ่งนาของหมู่บ้าน จึงได้ชื่อว่า “หมู่บ้านทุ่งข้าวหาง” หมู่บ้านทุ่งข้าวหาง ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของอำเภอทุ่งหัวช้าง จังหวัดลำพูน ระยะทาง 12 กิโลเมตร ลักษณะภูมิประเทศส่วนใหญ่มีพื้นที่เป็นภูเขาและเนินเขาสลับล้อมรอบอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติขุนลี้ เขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่าดอยผาเมือง มีพื้นที่ราบสำหรับการเพาะปลูก ประมาณ 1/4 ของพื้นที่ทั้งหมด ตลอดสองฝั่งของลำน้ำที่ไหลผ่าน ชุมชนแต่ละหมู่บ้านตั้งอยู่เรียงรายสองฝั่งของลำน้ำ เช่น แม่น้ำลี้ แม่น้ำแม่หาง และแม่น้ำสายเล็ก ๆ ซึ่งเป็นแหล่งน้ำในการทำ การเกษตร ของประชากร สภาพสังคมโดยรวมของของหมู่บ้านทุ่งข้าวหาง เป็นสังคมเกษตรชนบท ทำอาชีพเกษตรกรรม มีความสงบเรียบร้อย และประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์ เป็นชาวไทยยอง หรือคนยอง มีวิถีชีวิตที่เรียบง่ายตั้งแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบัน

นอกจากนี้ ศิลปวัฒนธรรมและประเพณีของผู้คนที่นี่ก็มีความสำคัญไม่น้อย ยิ่งโดยเฉพาะในท่ามกลางสังคมเมืองที่เจริญรุดหน้าไปอย่างรวดเร็ว ชาวไทยยอง บ้านทุ่งข้าวหาง ยังคงอนุรักษ์รักษาศิลปวัฒนธรรมประเพณีที่สืบทอดกันมาแต่โบราณที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง

3. ความสำคัญของผลิตภัณฑ์

การทอผ้าเป็นศิลปวัฒนธรรม มีมาช้านาน ผ้าทอที่มีชื่อเสียง และสร้างความภาคภูมิใจให้แก่คนจังหวัดลำพูน คือ “การทอผ้าฝ้ายยกดอก” ชุมชนตำบลบ้านปวง อำเภอทุ่งหัวช้าง ก็เป็นแหล่งผลิตผ้าฝ้ายยกดอกที่ขึ้นชื่อแห่งหนึ่งของจังหวัดลำพูนได้มีการฝึกหัดชาวบ้านในตำบลใกล้เคียง ให้มีความรู้ และทักษะในการทอผ้าฝ้ายยกดอก เพื่อส่งเสริมเป็นอาชีพให้แก่ประชาชนในชุมชน โดยชุมชนบ้านทุ่งข้าวหาง อำเภอทุ่งหัวช้าง จังหวัดลำพูน ได้สร้างช่างฝีมือทอผ้าฝ้ายยกดอก มีคุณภาพเป็นจำนวนมาก ดังนั้นชุมชนบ้านทุ่งข้าวหางที่เป็นชาวไทยยอง หรือ คนยอง จึงได้นำองค์ความรู้สู่การทอผ้าฝ้ายยกดอกขึ้น เพื่อตอบสนองตลาดผ้าทอ ในราคาที่ประชาชนทั่วไปสามารถเป็นเจ้าของได้แม้ปัจจุบันการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม การแต่งกาย จะเน้นความสะดวกสบาย ได้แก่ การผลิตจากเทคโนโลยีอุตสาหกรรม จะเป็นที่นิยมของชาวบ้านทั่วไป ก็ตามแต่คุณค่าของภูมิปัญญา และความภาคภูมิใจในเอกลักษณ์ของชุมชนยังคงอยู่ ยังไม่ลืมของเก่าที่เป็นรากเหง้าของชีวิตจึงนำมาสู่การรวมกลุ่มของบุคคลในชุมชน ที่ร่วมสืบสาน และเผยแพร่องค์ความรู้ สืบต่อลูก ต่อหลาน มิให้เลือนหายตามกาลเวลาที่เปลี่ยนแปลงไป

4. จุดเด่นของผลิตภัณฑ์

ฝ้าย (Cotton) คือเส้นใยเก่าแก่ที่มาจากการนำฝ้ายที่ใช้ในการทอผ้ามาตั้งแต่สมัยโบราณ โดยมีคุณสมบัติโดดเด่น ไม่แก่ เนื้อนุ่ม โปร่ง ระบายความร้อนได้ดี เนื่องจากฝ้ายมีช่องระหว่างเส้นใย จึงเหมาะกับสภาพอากาศในฤดูร้อน และเมื่อนำมาตากแห้งได้เร็ว จึงนิยมนำมาทอเป็นเครื่องนุ่งห่ม

5. การทอผ้าฝ้าย เป็นงานศิลปะที่อาจนับได้ว่ามีอยู่เพียงชิ้นเดียวในโลก เพราะขั้นตอนที่กล่าวมานั้นเป็นความสามารถ และความละเอียดของแต่ละบุคคล ที่จะได้เส้นฝ้ายที่ต่างกัน ทั้งความหนา สี ความแน่นของการทอ การสอดกระสวย การเรียงเส้นฝ้าย ความคมชัดของลายทอ เป็นต้น

  ซึ่งมีผลกับความสวยงามของผ้าทอในแต่ละผืน จึงเป็นเอกลักษณ์ของผู้ที่สร้างสรรค์คนใดคนหนึ่งที่มีนอกเหนือจาก ความรู้ ทักษะ และความชำนาญ 

6. คุณภาพของผลิตภัณฑ์

     1. ใช้น้ำยาอาบผ้า เพื่อเพิ่มความเรียบของผ้า

     2. เป็นพื้นผ้าทอตามธรรมชาติ

7. ประโยชน์ของผลิตภัณฑ์

ด้วยความต้องการของผู้บริโภคมีความหลากหลาย จึงแบ่งได้ ดังนี้

1. ใช้เป็นเครื่องแต่งกาย

2. ใช้เป็นเครื่องใช้

3. ใช้เป็นผ้าที่ประกอบสร้างสรรค์งานศิลปะประดิษฐ์อื่น ๆ

8. วิธีการใช้และการเก็บรักษา

ซักให้สะอาด รีดให้เรียบ และพับหรือแขวนให้เรียบร้อย ถ้าสวมใส่ในกิจกรรมสำคัญ ๆ (ไม่ใช่บ่อย) ควรพับเก็บใส่ถุงให้เรียบร้อย

ข้อมูลเนื้อหา นางสาวอรทัย  วงศ์ฝั้น 

เรียบเรียงข้อมูล/เนื้อหา นางสาวนันณภัทร  สมแสน บรรณารักษ์ห้องสมุด

ถ่ายภาพ/ภาพประกอบ นางสาวนันณภัทร  สมแสน บรรณารักษ์ห้องสมุด

ข้อมูล TKP อ้างอิง https://2510lamphun.blogspot.com/2021/09/blog-post_74.html