เกณฑ์มาตรฐานศูนย์ฝึกอาชีพชุมชนในเขตภาคเหนือ ที่ 4

มาตรฐานที่ 2 ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้

ตัวบ่งชี้ที่ 2.1 เป็นศูนย์แนะแนวอาชีพ

เกณฑ์การพิจารณา

1. มีเอกสารแนะนำการเรียนรู้อาชีพหรือคู่มือแนะแนวอาชีพ

2. มีการประชาสัมพันธ์หลักสูตรอาชีพเพื่อการมีงานทำของศูนย์ฝึกอาชีพชุมชนอย่างต่อเนื่อง

3. มีการประชาสัมพันธ์และเผยแพร่แหล่งเรียนรู้ และภูมิปัญญาอย่างต่อเนื่อง

4. มีการให้บริการคำปรึกษาแนะแนวอาชีพ

5. มีการสร้างระบบเครือข่ายการแนะแนวอาชีพร่วมกับชุมชนและภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐและเอกชน เช่น จัดกิจกรรมแนะแนวอาชีพ ตลาดนัดอาชีพ เป็นต้น

6. มีการใช้ประโยชน์จากศูนย์แนะแนวอาชีพอย่างต่อเนื่อง


ตัวบ่งชี้ที่ 2.2 เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้และการฝึกปฏิบัติของผู้เรียนและประชาชน

ที่สนใจในการประกอบอาชีพ

เกณฑ์การพิจารณา

1. มีหลักสูตรอาชีพเพื่อการมีงานทำที่หลากหลายที่สอดคล้องกับสภาพปัญหาของชุมชนและความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย

2. มีการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับสภาพปัญหาของชุมชนและความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย เช่น กลุ่มผู้พิการ กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่ม OTOP กลุ่มวิสาหกิจชุมชน เป็นต้น

3. มีแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามหลักสูตร

4. มีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้อาชีพเพื่อการมีงานทำครบถ้วนทั้ง 3 ด้าน คือช่องทางหรือโลกของอาชีพ ทักษะการประกอบอาชีพ และการบริหารจัดการในอาชีพ (การวางแผนอาชีพ การวางแผนการเงิน การจัดการประกอบอาชีพ)

5. มีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้อาชีพเพื่อการมีงานทำโดยใช้ทรัพยากร แหล่งเรียนรู้ และภูมิปัญญาท้องถิ่น

6. มีการบูรณาการปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้

7. เป็นแหล่งเรียนรู้หรือฝึกปฏิบัติด้านอาชีพให้คนในชุมชนหรือในอำเภอหรือในจังหวัดหรือชาวต่างประเทศ


ตัวบ่งชี้ที่ 2.3 เป็นศูนย์กลางในการประสานงาน การดำเนินงาน

เกณฑ์การพิจารณา

1. มีการรวบรวมข้อมูล ปัญหา ความต้องการประกอบอาชีพของชุมชน

2. มีการจัดทำข้อตกลงความร่วมมือหรือเอกสารความร่วมมือกับเครือข่ายและผู้เกี่ยวข้องในชุมชน

3. มีทำเนียบเครือข่ายแหล่งเรียนรู้ และภูมิปัญญา

4. มีการประสานงานตามแผนการจัดกิจกรรม เช่น ประสานแหล่งเรียนรู้ ผู้รู้ ภูมิปัญญา หน่วยงานภาคีเครือข่ายในพื้นที่ และหน่วยงานตามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ เป็นต้น

5. มีการส่งเสริมการจัดกิจกรรมของชุมชนอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เช่น เวทีชาวบ้าน เวทีประชาคม ตลาดนัดอาชีพ เป็นต้น


ตัวบ่งชี้ที่ 2.4 เป็นศูนย์กลางแสดงผลงาน การฝึกประกอบอาชีพ และการจำหน่าย

ผลิตภัณฑ์

เกณฑ์การพิจารณา

1. มีการจัดแสดงผลงานของผู้เข้ารับการฝึกอบรมอาชีพ

2. มีการจำหน่ายผลิตภัณฑ์/บริการของศูนย์ฝึกอาชีพชุมชนหลากหลายช่องทาง

3. มีการจำหน่ายผลิตภัณฑ์/บริการของศูนย์ฝึกอาชีพชุมชนทาง Internet

4. มีการประชาสัมพันธ์เข้าถึงกลุ่มลูกค้าทุกระดับ เช่น ระดับหมู่บ้าน /ตำบล /อำเภอ /จังหวัด/ ประเทศ/ ต่างประเทศ ฯลฯ

5. มีการประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์/บริการของศูนย์ฝึกอาชีพชุมชนหลายหลายรูปแบบ

6. มีการประชาสัมพันธ์อย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง

7. มีแผนการผลิต/การบริการ การวางแผนการจัดจำหน่าย

8. มีการพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ดีเด่นระดับตำบลหรือระดับอำเภอหรือระดับจังหวัดหรือระดับภาคหรือระดับประเทศ

9. มีการแสดงรายละเอียดของผลิตภัณฑ์/การบริการ เกี่ยวกับชนิด คุณภาพ แหล่งที่มา การดูแลรักษา วัน เดือน ปีที่ผลิต วันหมดอายุ และอื่น ๆ


ตัวบ่งชี้ที่ 2.5 เป็นศูนย์ข้อมูลข่าวสารด้านอาชีพของชุมชน

เกณฑ์การพิจารณา

1. มีการสำรวจ รวบรวม จัดเก็บข้อมูลชุมชนครอบคลุม ครบถ้วนและเป็นปัจจุบัน

2. มีการสำรวจ รวบรวมจัดเก็บข้อมูลแหล่งเรียนรู้ และภูมิปัญญาไว้เป็นปัจจุบัน

3. มีการรวบรวมข้อมูลอาชีพและข้อมูลข่าวสารตลาดแรงงานไว้เป็นปัจจุบัน

4. มีการรวบรวมแหล่งข้อมูลอาชีพอิสระ และอาชีพในระบบ

5. มีการรวบรวมข้อมูลแหล่งเงินทุนเพื่อประกอบอาชีพ

6. มีการนำเสนอข้อมูล ข่าวสาร ทั้งภายในและภายนอกชุมชนที่เป็นประโยชน์ต่อการประกอบอาชีพในรูปแบบต่าง ๆ เช่น แผนภูมิ เอกสาร นิทรรศการ ป้ายประกาศ เป็นต้น