เกณฑ์มาตรฐานศูนย์ฝึกอาชีพชุมชนในเขตภาคเหนือ ที่ 3

มาตรฐานที่ 1 ด้านบริหารจัดการ


ตัวบ่งชี้ที่ 1.1 การดำเนินงานของศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน

เกณฑ์การพิจารณา

1. มีการแต่งตั้งคณะกรรมการศูนย์ฝึกอาชีพชุมชนอำเภอ

2. มีการสำรวจและวิเคราะห์ข้อมูลความต้องการด้านการจัดการศึกษาอาชีพ

3. มีวิธีการคัดเลือก คุณสมบัติของกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมโครงการ

4. มีการคัดเลือกหรือสรรหาวิทยากรที่มีความรู้ ความสามารถ ทักษะ ประสบการณ์ และประสบความสำเร็จในอาชีพตามหลักสูตรและวิชาที่สอน/ฝึกอบรม และสามารถดูแลผู้เรียนให้เข้าร่วมกิจกรรมอย่างต่อเนื่องสู่การมีอาชีพและมีรายได้

5. มีการจัดทำแผนการจัดกิจกรรม/โครงการในการส่งเสริมด้านอาชีพและฝึกอาชีพชุมชนที่ผ่านความเห็นชอบของคณะกรรมการศูนย์ฝึกอาชีพชุมชนอำเภอและคณะกรรมการสถานศึกษา

6. มีหลักสูตรการจัดการศึกษาเพื่อการมีงานทำที่สอดคล้องกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมายและสอดคล้องกับบริบทของชุมชนที่ผ่านความเห็นชอบของคณะกรรมการสถานศึกษา

7. มีการจัดทำคลังหลักสูตรอาชีพที่จัด

8. มีการจัดระบบข้อมูลจำนวนผู้เรียนและผู้จบหลักสูตร

มีคู่มือหรือแนวทางการดำเนินงานของศูนย์ฝึกอาชีพชุมชนระดับสถานศึกษา

ตัวบ่งชี้ที่ 1.2 สถานที่ และการจัดสภาพแวดล้อม

เกณฑ์การพิจารณา

1. มีป้ายศูนย์ฝึกอาชีพชุมชนในลักษณะถาวร

2. สถานที่อยู่ในสภาพเหมาะสม มั่นคง แข็งแรง และปลอดภัย

3. มีการจัดสภาพแวดล้อมที่สะอาด เรียบร้อย ร่มรื่น ทั้งภายในและภายนอก

4. มีพื้นที่การใช้สอยในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เพียงพอ

5. สถานที่มีความเป็นสัดส่วน หรือมีความเป็นเอกเทศ

6. สถานที่ตั้งอยู่ในแหล่งชุมชนที่ประชาชนสามารถใช้บริการได้สะดวก

มีระบบสาธารณูปโภค เช่น ไฟฟ้า น้ำ โทรศัพท์ อินเตอร์เน็ต ฯลฯ


ตัวบ่งชี้ที่ 1.3 สื่อ วัสดุ อุปกรณ์ ครุภัณฑ์และสิ่งอำนวยความสะดวก

เกณฑ์การพิจารณา

1. มีสื่อการสอนที่สอดคล้องกับเนื้อหาหลักสูตร เช่น คู่มือการเรียนรู้หรือหนังสือที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาที่เรียน ชุดการเรียนรู้ เอกสารใบความรู้ ฯลฯ

2. มีอุปกรณ์การเรียนที่สอดคล้องกับเนื้อหาหลักสูตร เช่น อุปกรณ์เครื่องครัว ตู้เขี่ยเชื้อเห็ด กี่ทอผ้าฯลฯ

3. มีสื่อการเรียนรู้ที่หลากหลายสำหรับให้บริการกลุ่มเป้าหมายอย่างเพียงพอ เช่น หนังสือ วารสาร สื่อสิ่งพิมพ์ ที่เกี่ยวข้องกับอาชีพ ฯลฯ

4. มีโต๊ะ เก้าอี้ หรือที่นั่ง สำหรับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้อย่างเพียงพอ

5. มีที่สำหรับจัดเก็บสื่อ วัสดุ อุปกรณ์ สะดวกต่อการใช้งาน

6. อื่น ๆ เช่น โทรทัศน์ เครื่องเล่น CD VCD DVD Megaphone Boxphone ฯลฯ


ตัวบ่งชี้ที่ 1.4 การบริหารงบประมาณ

เกณฑ์การพิจารณา

1. มีแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม จัดของบประมาณจากต้นสังกัดหรือจากภาคีเครือข่าย

2. มีแผนการใช้งบประมาณ

3. มีการควบคุมการใช้งบประมาณอย่างมีประสิทธิภาพ

4. มีการรายงานผลการใช้งบประมาณ เช่น รายงานประจำเดือน ประจำไตรมาส ฯลฯ

5. อื่น ๆ เช่น สรุปผลการดำเนินงาน/การจัดกิจกรรม ฯลฯ


ตัวบ่งชี้ที่ 1.5 การปฏิบัติงานของบุคลากร

เกณฑ์การพิจารณา

1. มีเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบงานการศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพหรือ หัวหน้า กศน.ตำบลหรือครู อาสาสมัครฯหรือครู ศรช. ที่ได้รับการแต่งตั้งจากสถานศึกษาให้รับผิดชอบในการขับเคลื่อนกิจกรรมตามโครงการศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน

2. มีการจัดกิจกรรมการจัดการศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทำตามแผนงาน/โครงการศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน

3. บุคลากรที่รับผิดชอบในการขับเคลื่อนกิจกรรมตามโครงการศูนย์ฝึกอาชีพชุมชนมีการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง

4. บุคลากรที่รับผิดชอบในการขับเคลื่อนกิจกรรมตามโครงการศูนย์ฝึกอาชีพชุมชนมีจิตอาสาในการให้บริการ

5. บุคลากรที่รับผิดชอบในการขับเคลื่อนกิจกรรมตามโครงการศูนย์ฝึกอาชีพชุมชนมีความรับผิดชอบ รู้บทบาทหน้าที่ของตนเอง

6. บุคลากรที่รับผิดชอบในการขับเคลื่อนกิจกรรมตามโครงการศูนย์ฝึกอาชีพชุมชนมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี

7. บุคลากรที่รับผิดชอบในการขับเคลื่อนกิจกรรมตามโครงการศูนย์ฝึกอาชีพชุมชนมีการใช้ทรัพยากรของทางราชการอย่างประหยัด และคุ้มค่า


ตัวบ่งชี้ที่ 1.6 คุณภาพของหลักสูตร

เกณฑ์การพิจารณา

1. มีคณะกรรมการพัฒนาหลักสูตร

2. หลักสูตรผ่านความเห็นชอบของคณะกรรมการสถานศึกษา

3. หลักสูตรมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาอาชีพ/ส่งเสริมการประกอบอาชีพ

4. เป็นหลักสูตรที่มีระยะเวลา 50 ชั่วโมงขึ้นไป

5. กำหนดกรอบหลักสูตรเพื่อการมีงานทำที่สอดคล้องกับความต้องการ ความสนใจ ความถนัด และความจำเป็นของผู้เรียนและสอดคล้องกับนโยบายของศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน

6. โครงสร้างหลักสูตรต้องครอบคลุมในเรื่องช่องทางหรือโลกของงานอาชีพ ทักษะในงานอาชีพ การบริหารจัดการ และการจัดทำโครงการประกอบอาชีพ

7. มีการติดตามประเมินผลการใช้หลักสูตร

8. มีการนำผลการใช้หลักสูตรมาปรับปรุงพัฒนาหลักสูตร