เกณฑ์มาตรฐานศูนย์ฝึกอาชีพชุมชนในเขตภาคเหนือ ที่ 2

ในปีงบประมาณ 2557 สถาบันพัฒนาการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยภาคเหนือ ได้พัฒนาเกณฑ์มาตรฐานศูนย์ฝึกอาชีพชุมชนในเขตภาคเหนือ เพื่อให้สถานศึกษา กศน. และ กศน.ตำบล ในเขตภาคเหนือ ได้ใช้เป็นเครื่องมือในการกำกับ ติดตาม และประเมินผลการดำเนินงานโครงการศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน โดยดำเนินการจัดประชุมยกร่างเกณฑ์มาตรฐานศูนย์ฝึกอาชีพชุมชนในเขตภาคเหนือ ซึ่งได้ร่วมกันกำหนดมาตรฐานและตัวบ่งชี้ ดังนี้

มาตรฐานที่ 1 ด้านบริหารจัดการ

ตัวบ่งชี้ที่ 1.1 การดำเนินงานของศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน มีเกณฑ์พิจารณา 9 ข้อ

ตัวบ่งชี้ที่ 1.2 สถานที่ และการจัดสภาพแวดล้อม มีเกณฑ์พิจารณา 7 ข้อ

ตัวบ่งชี้ที่ 1.3 สื่อ วัสดุ อุปกรณ์ ครุภัณฑ์ และสิ่งอำนวยความสะดวก มีเกณฑ์พิจารณา 6 ข้อ

ตัวบ่งชี้ที่ 1.4 การบริหารงบประมาณ มีเกณฑ์พิจารณา 5 ข้อ

ตัวบ่งชี้ที่ 1.5 การปฏิบัติงานของบุคลากร มีเกณฑ์พิจารณา 7 ข้อ

ตัวบ่งชี้ที่ 1.6 คุณภาพของหลักสูตร มีเกณฑ์พิจารณา 8 ข้อ

มาตรฐานที่ 2 ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้

ตัวบ่งชี้ที่ 2.1 เป็นศูนย์แนะแนวอาชีพ มีเกณฑ์พิจารณา 6 ข้อ

ตัวบ่งชี้ที่ 2.2 เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้และการฝึกปฏิบัติของผู้เรียนและประชาชนที่สนใจในการประกอบอาชีพ มีเกณฑ์พิจารณา 7 ข้อ

ตัวบ่งชี้ที่ 2.3 เป็นศูนย์กลางในการประสานงาน การดำเนินงาน มีเกณฑ์พิจารณา 5 ข้อ

ตัวบ่งชี้ที่ 2.4 เป็นศูนย์กลางแสดงผลงาน การฝึกประกอบอาชีพ และการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ มีเกณฑ์พิจารณา 9 ข้อ

ตัวบ่งชี้ที่ 2.5 เป็นศูนย์ข้อมูลข่าวสารด้านอาชีพของชุมชน มีเกณฑ์พิจารณา 6 ข้อ

มาตรฐานที่ 3 ด้านการมีส่วนร่วม

ตัวบ่งชี้ที่ 3.1 ชุมชน/ภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมของศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน มีเกณฑ์พิจารณา 5 ข้อ

ตัวบ่งชี้ที่ 3.2 ชุมชน/ภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมในการส่งเสริมการดำเนินงานของศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน มีเกณฑ์พิจารณา 6 ข้อ

มาตรฐานที่ 4 ด้านการติดตามผล ประเมินผล และรายงานผล

ตัวบ่งชี้ที่ 4.1 การติดตามผลและประเมินผล มีเกณฑ์พิจารณา 7 ข้อ

ตัวบ่งชี้ที่ 4.2 การสรุปและรายงานผล มีเกณฑ์พิจารณา 6 ข้อ

มาตรฐานที่ 5 ด้านผลผลิต

ตัวบ่งชี้ที่ 5.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน มีเกณฑ์พิจารณา 6 ข้อ

ตัวบ่งชี้ที่ 5.2 ผลิตภัณฑ์หรืออาชีพ มีเกณฑ์พิจารณา 7 ข้อ