เรื่องที่ 3.1 การแบ่งระดับภาษา

ภาษาใช้เป็นเครื่องมือในการสื่อสารซึ่งกันและกันของชนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งยังมีสิ่งที่ผู้ใช้ภาษาทั้งสองฝ่ายจะต้องคำนึงถึงนอกจากเนื้อเรื่องหรือความคิดที่จะสื่อความกันแล้วการใช้ระดับภาษาไม่ว่าจะเป็นการพูดหรือการเขียนก็ตาม ผู้ใช้ภาษาต้องรู้ว่าผู้ฟังหรือผู้อ่าน คือใครมีฐานะทางสังคมสูงกว่า หรือต่ำกว่าหรือเท่ากันกับผู้พูดหรือผู้เขียนมีความสัมพันธ์กันระดับใด คนคุ้นเคยกัน ย่อมใช้ภาษาที่แสดงความคุ้นเคย หรือเป็นบุคคลที่เพิ่งมีโอกาสพบกัน ย่อมใช้ระดับภาษาที่ต่างออกไปถึงแม้จะพูดหรือเขียนเรื่องเดียวกัน นอกจากนั้นผู้ใช้ภาษาต้องคำนึงถึงโอกาส กาลเทศะและประชุมชนอีกด้วย เช่นในโอกาสที่เป็นทางการ ผู้อำนวยการสถาบันกล่าวรายงานและขอให้ประธานในที่ประชุมดำเนินการเปิดประชุมสัมมนานักศึกษา ภาษาที่ใช้ในโอกาสนี้ต้องเป็นภาษาระดับที่เป็นแบบแผน ซึ่งมีลักษณะสมบูรณ์แบบและถูกหลักไวยกรณ์ ไม่มีภาษาระดับสนทนาเข้ามาปะปนด้วยเหตุนี้ ภาษาจึงมีลักษณะผิดแผกกันเป็นหลายระดับ ระดับภาษาเป็นเรื่องของความเหมาะสมในการใช้ภาษาที่มีสัมพันธภาพของบุคคลตามโอกาส กาลเทศะ เพราะหากใช้ภาษาต่างระดับหรือไม่เหมาะสม การสื่อสารก็จะไม่สัมฤทธิ์ผลตามที่ผู้ใช้ภาษาต้องการ อาจกล่าวได้ว่าปัจจัยที่เป็นเครื่องกำหนดภาษาเป็นระดับต่างๆ ก็คือ

1. สถานะทางสังคมของผู้ใช้ภาษา

2. กาลเทศะหรือโอกาสในการใช้ภาษา

3. เนื้อหาที่กำลังจะพูดหรือเขียนในขณะสื่อสาร

การแบ่งภาษาเป็นระดับต่างๆ

การแบ่งภาษาออกเป็นระดับต่างๆ อาจแบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือภาษาแบบแผน ภาษากึ่งแบบแผนและภาษาไม่เป็นแบบแผน

1) ภาษาแบบแผน เป็นระดับภาษาที่ใช้พูดหรือเขียนที่ต้องระมัดระวังความถูกต้องตามหลักภาษาเป็นสำคัญคือเลือกใช้คำให้ถูกต้อง เหมาะสมการสร้างประโยคที่สมบูรณ์ สื่อความได้ชัดเจน สุภาพและมีมารยาทในการสื่อสารด้วย ภาษาแบบแผนส่วนใหญ่จะใช้การเขียนมากกว่าการพูด ภาษาที่ใช้เขียนเอกสารทางราชการ ตาราทางวิชาการ วิทยานิพนธ์หรือภาครวมทางวิชาการ ถ้าใช้ในการพูดส่วนใหญ่ใช้ในโอกาสสาคัญ

ภาษาแบบแผนใช้สื่อสารกันในที่ประชุมอย่างเป็นทางการ เช่นการเปิดประชุมรัฐสภา การกล่าวอวยพร การกล่าวต้อนรับ การกล่าวคำปราศรัย การกล่าวรายงานในพิธีมอบปริญญาบัตรหรือประกาศนียบัตร สุนทรพจน์ โอวาท ถ้าเป็นภาษาเขียนที่เป็นแบบแผน เช่นการเขียนเอกสารทางวิชาการ บทความทางวิชาการ การเขียนสารคดีทางวิชาการ และภาษาเขียนที่ใช้ในพระราชพิธีต่างๆที่กล่าวมาแล้วนั้นสัมพันธภาพระหว่างผู้เขียนกับผู้รับสารมีต่อกันอย่างเป็นทางการ เช่นบอกหรือรายงานให้ทราบ ให้ความรู้เพิ่มเติม เสนอความคิดเห็น การใช้ถ้อยคำจึงมักตรงไปตรงมา มุ่งเข้าสู่จุดประสงค์ที่ต้องการโดยเร็ว อาจมีศัพท์เทคนิคหรือศัพท์วิชาการ หลักการใช้ภาษาระดับนี้ในการสื่อสารให้ได้ผลตามจุดประสงค์ โดยประหยัดถ้อยคำ ประหยัดเวลา ไม่ใช่ถ้อยคำฟุ่มเฟือย

2) ภาษากึ่งแบบแผน เป็นการใช้ภาษาเพื่อสื่อสารในโอกาสต่างๆ โดยคำนึงถึงความเหมาะสมตามสถานการณ์โอกาสและกาลเทศะ เช่นการเขียนคำบรรยาย การเขียนเพื่ออภิปราย ข่าว บทความในหนังสือพิมพ์และเขียนบันทึก ถ้าเป็นภาษาพูด ภาษาระดับนี้มักใช้ในการประชุมกลุ่มหรือการอภิปรายกลุ่ม การบรรยายในหอประชุม ซึ่งโดยทั่วไปจะมีถ้อยคำสำนวนภาษาที่ทำให้รู้สึกคุ้นเคยกัน เนื้อหาของสารมักเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับความรู้ทั่วไป การแสดงความคิดเห็นเชิงวิชาการ หรือเกี่ยวกับการดำเนินชีวิต เรื่องเกี่ยวกับธุรกิจและมักใช้ศัพท์วิชาการเท่าที่จำเป็น

3) ภาษาไม่เป็นแบบแผน เป็นการใช้ภาษาที่เป็นกันเองไม่เคร่งครัดในการใช้ภาษาระดับนี้เป็นภาษาที่ใช้ในวงจำกัด เช่น ใช้เป็นการสนทนาในชีวิตประจำวันทั่วๆไป ภาษาเขียนก็ไม่เป็นแบบแผนเป็นภาษาเฉพาะกลุ่ม มักใช้เขียนสาหรับข้อเขียนเป็นบทสนทนาทั่วไปและการเขียนข้อเขียนส่วนตัว ถ้อยคำที่ใช้อาจมีคำคะนองที่ใช้กันเฉพาะกลุ่มคำสแลง คำย่อ คำตลาดหรือคำต่างประเทศปะปนกัน การสร้างประโยคก็ไม่คำนึงถึงความถูกต้องในการวางรูปประโยค อาจละส่วนประธานหรือละส่วนของประโยคบางส่วน ภาษาไม่เป็นแบบแผนนี้แบ่งได้เป็น 2 ระดับคือ

(1) ภาษากันเองหรือเรียกว่าภาษาปาก เป็นภาษาระดับที่ส่วนมากจะใช้พูดในชีวิตประจำวันของบุคคลทั่วไป เช่นการติดต่อสื่อสารกันในครอบครัว เพื่อนคนสนิทในการประกอบอาชีพการติดต่องานการซื้อขายยังใช้ในการพิจารณาทางสื่อต่างๆ ด้วย ในการเขียนจะใช้ในการเขียนบางประเภท เช่น การเขียนข่าวการเมือง การเขียนข่าวกีฬา ข่าวอาชญากรรม การเขียนจดหมายถึงบุคคลในครอบครัวหรือเพื่อนสนิท รวมทั้งบทสนทนาของตัวละครในนวนิยาย หรือเรื่องสั้นเพื่อให้สมจริง

(2) ภาษาต่ำ เป็นระดับภาษาที่ไม่สุภาพไม่เหมาะสมกับบุคคลและสถานการณ์จะไม่คำนึงถึงความถูกต้องของหลักภาษา ส่วนมากจะใช้คำหยาบ คำที่มีความหมายส่อไปในทางหยาบคาย คำสแลงหรือคำตลาดบางคำ ภาษาระดับนี้จึงไม่เหมาะที่จะใช้สื่อสาร โดยทั่วไปไม่ควรนำไปใช้กับบุคคลที่มีระดับสูงกว่าหรือใช้ในที่สาธารณชนจะใช้เฉพาะเพื่อนสนิทที่มีนิสัยเดียวกันหรือใช้เฉพาะในที่รโหฐาน ภาษาต่ำไม่นิยมใช้ในภาษาเขียน นอกจากจะใช้เป็นบทสนทนาของตัวละครในนวนิยายหรือเรื่องสั้นเพื่อความสมจริงของตัวละครในแต่ละเรื่อง

ตัวอย่างการใช้ภาษาระดับภาษา

ภาษาแบบแผน - ในศุภวาระดิถีขึ้นปีใหม่ ขออำนาจคุณพระศรีรัตนตรัย จงดลบันดาลให้ท่านและครอบครัวจงประสบแต่ความสุขความเจริญตลอดไป

ภาษากึ่งแบบแผน - ในวาระวันขึ้นปีใหม่ ขอให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ จงดลบันดาลให้เธอ และครอบครัวจงมีความสุขตลอดไป

ภาษาไม่เป็นแบบแผน - ในวันขึ้นปีใหม่นี้เราขอให้เธอและครอบครัวมีความสุขมากๆนะคะการเลือกใช้ระดับภาษาให้ถูกต้องและเหมาะสม ผู้สื่อสารต้องคำนึงถึงผู้รับสาร สาร และสื่อจะทาให้การสื่อสารสัมฤทธิผล การใช้ภาษาในการพูดหรือการเขียนนั้นผู้ใช้อาจไม่ได้ใช้ระดับภาษาเดียวกันทั้งหมด อาจมีการใช้ระดับที่ใกล้เคียงกันหรือปะปนกันไปอยู่ที่ผู้ส่งสารต้องพิจารณาว่าข้อความใดควรใช้ภาษาระดับใด

เรื่องที่ 3.2 องค์ประกอบในการเลือกใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร

การใช้ภาษาเป็นทักษะที่เราฝึกฝนและใช้มาจนเคยชินตั้งแต่เด็ก ทั้งผู้ส่งสารและผู้รับสารต่างก็ใช้ภาษาของตนโดยอัตโนมัติ การใช้ระดับภาษาของคู่สนทนาจะเป็นไปโดยไม่รู้ตัวผู้พูดหรือผู้เขียนต้องระลึกอยู่เสมอ กำลังพูดหรือเขียนกับใคร และตนมีฐานะเช่นไร การเลือกใช้ภาษาในการสื่อสารจึงจะถูกต้องตามความนิยมในสังคม มิฉะนั้นแล้วการสื่อสารก็จะไม่ได้ผลสมความมุ่งหมายองค์ประกอบในการเลือกใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารดังนี้

1) กาลเทศะหรือโอกาสในการใช้ภาษา

คำว่า กาลเทศะในการใช้ภาษาหมายถึง เวลาและสถานที่ในขณะที่ผู้ส่งสารและผู้รับสารกำลังใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารกันอยู่ เช่น ถ้าเป็นการสื่อสารกับบุคลกลุ่มใหญ่หรือในที่ประชุมก็จะใช้ภาษาระดับหนึ่ง ถ้าสื่อสารกันในที่สาธารณะ เช่นตลาด ร้านค้า ภาษาที่ใช้ก็จะต่างระดับกัน การเลือกใช้ถ้อยคาให้เหมาะสมแก่โอกาสจะทาให้การสื่อสารประสบความสาเร็จ

ตัวอย่างการใช้เพื่อการสื่อสารในโอกาสต่างๆ

การเลือกใช้ระดับภาษาให้เหมาะสมกับเวลาและสถานที่สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ลักษณะคือ

1) โอกาสที่เป็นทางการ คือโอกาสที่สำคัญเป็นพิธีการ ระดับภาษาที่ใช้ส่วนใหญ่จะใช้ภาษาแบบแผน ในการเขียนจะใช้การเขียนกิตติกรรมประกาศ การเขียนรายงานทางวิชาการ ประกาศของทางราชการ สาส์นของบุคคลสำคัญ เอกสารต่างๆของทางราชการ

2) โอกาสที่ไม่เป็นทางการ หมายถึงโอกาสทั่วๆไป ทั้งการติดต่อสื่อสารกันในชีวิตประจาวัน และการติดต่อธุรกิจต่างๆ ระดับภาษาที่ใช้อาจเป็นภาษากึ่งแบบแผนหรือภาษาไม่เป็นแบบแผน ภาษากึ่งแบบแผนใช้เขียนเรื่องที่ไม่เคร่งครัดหรือเรื่องที่เป็นกันเอง ส่วนภาษาไม่เป็นแบบแผนใช้เขียนหัวข้อข่าวบางประเภท เขียนจดหมายส่วนตัว เขียนบทสนทนาของตัวละครในนวนิยายเพื่อให้ดูสมจริง ระดับภาษาเป็นสิ่งที่ผู้ใช้ภาษาควรคำนึงเพื่อให้เหมาะสมกับบุคคลและโอกาส เช่น

ภาษาแบบแผนในบทความวิชาการ

บทละครไทยเป็นอีกรูปแบบหนึ่งของวรรณกรรมไทย บทละครของไทยเป็นวรรณกรรมที่ประพันธ์ขึ้นทั้งเพื่ออ่านและเพื่อแสดง รูปแบบที่นิยมกันแต่เดิมคือบทละครรา ต่อมามีการปรับปรุงละครราให้ทันสมัยขึ้น ตามความนิยมแบบตะวันตกจึงมีรูปแบบใหม่เกิดขึ้น ได้แก่ละครดึกดำบรรพ์ ละครพันทางเป็นต้น

( กันยรัตน์ สมิตะพันทุ “การพัฒนาตัวละครในบทละครพระราชนิพนธ์ ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว” ในบทความวิชาการ 20 ปี ภาควิชาภาษาไทย )

ภาษาระดับข่าว

“ โลกขาดคนงานระดับกลาง ไทยต้องเลิกสังคมบ้าปริญญาเชิงปฏิวัติอาชีวศึกษาโดยด่วน ”

การใช้ภาษาระดับกันเองไม่เป็นทางการในนวนิยาย

“ มึงจะไปไหนไอ้มั่น...กูสั่งให้ปล่อยมันไว้อย่างนั้น ไม่ต้องสนใจ กูอยากนั่งดูมัน มองเห็นมัน ตายช้าๆเลือดไหลออกจนหมดตัว และหยุดหายใจไปในที่สุดถึงจะสมกับความแค้นของกู ”

( “ วราวาท ” “ นางละคร ” สกุลไทยปีที่ 42 ฉบับปี 2162 )

การใช้ภาษาระดับกันเองในข่าวกีฬา

“ ทีมฟุตบอลไทยต้องการไปค้าแข้งในประเทศยุโรป ”

2) ฐานะทางสังคมหรือสัมพันธภาพระหว่างบุคคล

บุคคลย่อมมีสัมพันธภาพต่อกันหลายลักษณะเช่น เป็นเพื่อนสนิทกันเป็นผู้ที่พึ่งรู้จักกัน เป็นผู้ที่ไม่เคยรู้จักกันมาก่อน ฯลฯ สัมพันธภาพต่างๆ เหล่านี้เป็นองค์ประกอบในการใช้ภาษาสื่อสารกัน แต่อย่างไรก็ตามจะเกี่ยวโยงกับองค์ประกอบกาลเทศะหรือโอกาสในการใช้ภาษา ด้วย การคำนึงถึงฐานะทางสังคมของผู้ใช้ภาษาทำให้มีการใช้ถ้อยคำสำนวนเป็นระดับต่างๆกันดังนี้

(1) ระดับคำสูง คำที่จัดว่าอยู่ในระดับคำสูงได้แก่คำราชาศัพท์สำหรับใช้กับพระเจ้าแผ่นดินพระบรมวงศานุวงศ์และพระภิกษุสงฆ์

คำแสดงความสุภาพใช้กับบุคคลสามัญที่มีฐานะทางสังคมได้แก่ แพทย์ ครู ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ นักธุรกิจระดับผู้บริหาร ดังตัวอย่าง


(2) ระดับคำสามัญ

ระดับคำสามัญได้แก่ คำสุภาพและคำสามัญที่ใช้สื่อสารกันอยู่ทั่วๆ ไปในชีวิตประจำวัน เช่น

คำสุภาพ คำสุภาพ

รับประทาน : กิน เท้า : ตีน

ต้องการ : อยากทราบ ไหม : รู้ไหม

พูดปด : โกหก นำไป : เอาไป

สามี : ผัว คนรับใช้ : คนใช้

ภรรยา : เมีย

(3) ระดับคำต่ำ ได้แก่ คำที่ใช้ในขณะสนทนาล้อเลียนกันในหมู่เพื่อนที่สนิทสนมคุ้นเคยกันหรือใช้พูดกับผู้ที่มีฐานะต่ำกว่า

คำที่จัดอยู่ในระดับคำต่ำมีอยู่หลายชนิด บางชนิดใช้พูดหรือเขียนในหมู่เพื่อนที่สนิทสนมกัน หรือพูดกันในครอบครัว เช่นสรรพนาม แก - ฉัน, เอ็ง - ข้า, มัน เป็นต้น คำสแลงเช่น ซ่าส์ แหยม ประสาท สติแตก ขาโจ๋ จ๊าบ ฯลฯ คำตัดเป็นสน (สนใจ) โทษ(ขอโทษ) มหาลัย (มหาวิทยาลัย) โวย (โวยวาย) ยัน ( ยืนยัน) เครื่อง (เครื่องบิน) เป็นต้น

1. เนื้อเรื่อง

การสื่อสารกัน ผู้ส่งสาร และผู้รับสาร กล่าวถึงก็คือเนื้อเรื่องหรือเนื้อหาของสาร เนื้อหาของสารเกี่ยวพันโอกาสในการสื่อสารอยู่ไม่น้อย เช่นเนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องส่วนตัว เรื่องการเมือง เรื่องเศรษฐกิจ เรื่องศาสนา เรื่องวิทยาศาสตร์ บางครั้งแม้ว่าฐานะทางสังคมของผู้ใช้ภาษาจะเท่าเทียมกัน ส่วนผู้ส่งสารกับผู้รับสารเป็นเพื่อนกัน กาลเทศะหรือโอกาสในการใช้ภาษาแบบเดียวกัน เช่นคุยกันตอนเช้าที่พบกัน แต่เนื้อเรื่องที่พูดต่างกัน ระดับภาษาและถ้อยคำที่ใช้ก็แตกต่างกันไปตามบริบทด้วย

การใช้ภาษาระดับกันเองในข่าวกีฬา

ตัวอย่าง ภาษาในข่าวกีฬา

เกี่ยวกับศาสนาหรือพระบรมวงศานุวงศ์ ศัพท์ที่ใช้ก็ต้องเป็นศัพท์ในระดับคำสูง และเขียนอย่างระมัดระวัง ถ้าเป็นงานเขียนข่าว หรือบทสนทนาในนวนิยาย ก็ต้องเลือกใช้ภาษาระดับสนทนาหรือระดับกันเอง ถ้าเป็นเรื่องเศรษฐกิจ วิทยาศาสตร์ การใช้ภาษาแตกต่างกันออกไป

ตัวอย่างเนื้อเรื่องเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์

ตัวอย่างเนื้อเรื่องเกี่ยวกับเศรษฐกิจ

จะเห็นได้ว่าเนื้อเรื่องแต่ละประเภทการใช้ภาษาก็แตกต่างกันไปดังกล่าวมาข้างต้น

สรุป ความรู้เกี่ยวกับระดับภาษาที่กล่าวมานี้จะเห็นว่าภาษาเป็นเรื่องสำคัญที่จำเป็นจะต้องระมัดระวังในการใช้ เพราะการใช้ระดับภาษาไม่ถูกต้องจะทำให้การสื่อสารไม่เป็นไปตามที่ต้องการแต่ในการใช้ภาษาระดับต่างๆ บางครั้งภาษาระดับอื่นที่ใกล้เคียงกัน ก็อาจมีระดับคำกึ่งทางการหรือไม่เป็นทางการรวมอยู่ด้วย แต่ภาษาระดับคำสูงจะไม่ปรากฏร่วมกับภาษาระดับคำต่ำ ภาษาระดับพิธีการและภาษาระดับมาตรฐานราชการก็จะไม่มีภาษาระดับกันเอง

เรื่องที่ 3.3 คำราชาศัพท์

นักศึกษาเคยมีความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคำราชาศัพท์มาบ้างแล้วในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น แต่เรื่องราชาศัพท์นั้น มีรายละเอียดอีกมากที่ได้เรียนไปแล้วยังไม่อาจครอบคลุมหลักเกณฑ์ต่างๆทั้งหมด การเรียนเรื่องราชาศัพท์ นอกจากจะค้นคว้าอ่านจากตาราต่างๆ แล้ว ยังต้องติดตามข่าวสารที่เกี่ยวข้องให้ทันสมัยอยู่เสมอเพื่อให้เข้าใจการใช้คำให้เหมาะแก่ฐานะของบุคคล

1. ราชาศัพท์ หมายถึง ถ้อยคำสำหรับพระเจ้าแผ่นดินแต่ตามที่นิยมกันมาจนปัจจุบัน หมายถึง ถ้อยคำที่ใช้กับพระภิกษุสงฆ์ ข้าราชการและสุภาพชน ดังนั้น ราชาศัพท์จึงเป็นการใช้ถ้อยคาภาษาที่เหมาะสมกับระดับของบุคคลและการใช้ถ้อยคำพิเศษสำหรับพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์เป็นการแสดงออกเพื่อแสดงความจงรักภักดีและเป็นการยกย่องนับถือบุคคลชั้นผู้ใหญ่ พระภิกษุสงฆ์และสุภาพชนตามความเหมาะสมด้วย

2. ที่มาของราชาศัพท์

ที่มาของราชาศัพท์อาจพิจารณาได้ 2 ลักษณะ คือทางสังคมและประวัติศาสตร์และทางภาษาทางสังคมและประวัติศาสตร์รวมทั้งวรรณคดีในแต่ละยุคสมัย กล่าวถึงชนชาติไทยมีความรักผูกพันศรัทธายึดมั่นในสถาบันพระมหากษัตริย์และราชวงศ์ทรงดำรงอยู่ในฐานะอันสูงเป็นที่เคารพสักการะยกย่องเทิดทูนพระมหากษัตริย์ไว้เหนือสิ่งอื่นใด จะเห็นได้ว่าคำที่เรียกชื่อตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย กรุงศรีอยุธยา กรุงธนบุรีและกรุงเทพมหานคร ในปัจจุบัน เช่นพ่อขุน เจ้าชีวิต พระเจ้าแผ่นดิน พระเจ้าอยู่หัว เช่นในขุนช้างขุนแผน “ ขอเดชะพระองค์ทรงศักดินา พระอาญาเป็น…..” แสดงถึงความเคารพอย่างสูงศัพท์ ในวรรณคดีที่คนไทยใช้กับพระเจ้าแผ่นดินก็เป็นคำที่มีความหมายลึกซึ้ง ซึ่งวรรณคดีสะท้อนให้เห็นถึงความเคารพอย่างสูงทั้งสิ้น เช่นทรงเดช ทรงธรรม์ อธิราช ฯลฯ

การใช้ราชาศัพท์เป็นวิธีที่ถวายพระเกียรติแด่พระเจ้าแผ่นดินให้สูงกว่าบุคคลอื่น และทรงพระเกียรติแด่พระราชวงศ์ ราชาศัพท์ที่มีมาตั้งแต่อดีตจนปัจจุบัน มีทั้งที่มาจากคำไทยดั่งเดิมและคำที่ไทยรับมาจากภาษาอื่นที่สำคัญคือ ภาษาบาลี ภาษาสันสกฤต และภาษาเขมร นอกจากสามภาษานี้คำที่มาจากภาษาอื่นมีไม่มากนัก

3. ประโยชน์ของการเรียนรู้คำราชาศัพท์

ฐานะทางสังคมของบุคคลมีระดับแตกต่างกันตาม คุณวุฒิ วัยวุฒิและชาติวุฒิ ภาษาไทยมีการกำหนดถ้อยคำที่ใช้ภาษาเขียนทางสังคมของบุคคลแต่ละกลุ่ม แล้วแสดงความจงรักภักดีอ่อนน้อมสุภาพและยกย่องให้เกียรติผู้อื่น การใช้ภาษา
จึงต้องเลือกใช้คำให้เหมาะสม การใช้คำราชาศัพท์จึงเป็นการแสดงให้เห็นว่าเรามีวัฒนธรรมทางภาษาที่สอดคล้องกับวัฒนธรรมอันดีของชาติ เราจึงควรศึกษาและใช้ให้ถูกต้อง การเรียนรู้ราชาศัพท์มีประโยชน์ดังนี้

1.เพื่อสืบทอดและรักษามรดกวัฒนธรรมทางภาษาของชาติมีการยกย่องให้เกียรติกัน การใช้ราชาศัพท์จึงแสดงถึงความเจริญรุ่งเรืองทางวัฒนธรรมอย่างหนึ่ง

2. เพื่อช่วยให้การใช้ภาษาในการสื่อสารถูกต้องเหมาะสม

3. ช่วยให้เข้าใจการใช้ภาษาที่ปรากฏในสื่อต่างๆ เช่นข่าว นวนิยาย บทประพันธ์ต่างๆ

4. ช่วยเสริมสร้างบุคลิกภาพที่ดีแก่ผู้ใช้ทำให้เข้าสังคมได้อย่างมั่นใจทำให้การติดต่อสื่อสารสัมฤทธิ์ผล

4. คำราชาศัพท์สำหรับบุคคล

คำราชาศัพท์สำหรับพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์

1) คำนามราชาศัพท์ เป็นคำที่บัญญัติขึ้นโดยเฉพาะหรือบางคำอาจนำมาจากคำนามสามัญ โดยใช้คำอื่นประกอบข้างหน้าหรือข้างหลังเพื่อให้พิเศษกว่าคำทั่วไป ดังนี้

คำนามที่เป็นสิ่งสำคัญอันควรยกย่องใช้คำว่า พระ และพระราช มีคำที่ใช้กับพระมหากษัตริย์องค์เดียวคือคำว่า พระบรมและพระบรมราช เช่น

พระราชวัง พระราชดำริ พระราชทรัพย์

พระชนมายุ พระปรมาภิไธย พระอัครราชเทวี

พระอัครมเหสี พระมหาปราสาท พระมหากรุณาธิคุณ

พระมหามงคล พระบรมอรรคราชบรรพบุรุษ พระบรมมหาราชวัง

พระบรมราชูปถัมภ์ พระบรมราโชวาท พระบรมราชโองการ

พระบรมราชานุเคราะห์ พระบรมราชินี พระบรมราชวงศ์

พระบรมเดชานุภาพ พระบรมฉายาลักษณ์ พระบรมโอรสาธิราช

  • คำนามที่เป็นสิ่งสำคัญรองลงมา หรือไม่ประสงค์จะให้รู้สึกว่าสำคัญดังข้างต้นให้ใช้คาว่า “พระราช” ประกอบข้างหน้า เช่น

พระราชวัง พระราชวงศ์ พระราชดำรัส

พระราชนิเวศน์ พระราชประสงค์ พระราชกุศล

พระราชอำนาจ พระราชดำริ พระราชปรารภ

พระราชทรัพย์ พระราชทาน พระราชอุทิศ

  • คำนามที่เป็นสิ่งสามัญทั่วไปที่ไม่ถือว่าสำคัญและไม่ประสงค์จะแยกให้เห็นว่าเป็นนามใช้เฉพาะพระมหากษัตริย์ใช้คำว่า “ พระ” นำหน้า เช่น

พระองค์ พระหัตถ์ พระบาท

พระกร พระโลหิต พระโรค

พระกราม พระยอด พระรากขวัญ

  • คำนามที่เป็นสิ่งที่ไม่สำคัญ หรือมิได้กล่าวให้เป็นความสำคัญและคำนั้นเป็นคำไทยบางคำใช้คำ หลวง หรือ ต้น ประกอบเข้าข้างหลังให้เป็นราชาศัพท์ได้ เช่น

เครื่องต้น หมายถึง เครื่องทรงสำหรับพระเจ้าแผ่นดินในพระราชพิธี

ช้างต้น หมายถึง ช้าง

ม้าหลวง หมายถึง ม้า

เรือหลวง หมายถึง เรือ

  • คำนามที่เป็นสิ่งสำคัญอันควรยกย่องใช้คำว่าพระ และพระราช เช่นพระราชวัง พระราชดำริ พระราชทรัพย์ พระชนม ฯ พระปรมาภิไธย พระอัครราชเทวี พระอัครมเหสี

มีคำที่ใช้กับพระมหากษัตริย์องค์เดียวคือ คำว่า พระบรมและพระบรมราช เช่นพระบรมอรรคราชบรรพบุรุษ พระบรมมหาราชวัง พระบรมราชูปถัมภ์ พระบรมราโชวาท พระบรมราชโองการ พระบรมราชานุเคราะห์ พระบรมราชินี พระบรมราชวงศ์ พระบรมเดชานุภาพ พระปรมาภิไธย พระบรมฉายาลักษณ์ พระบรมโอรสาธิราช

2) คำสรรพนามราชาศัพท์ ที่ใช้แทนชื่อใช้ตามฐานะของบุคคลที่มีฐานันดรศักดิ์ เช่น

3) คำกริยาราชาศัพท์ คำที่บัญญัติขึ้น โดยเฉพาะหรือบางคำอาจนำมาจากคำนามสามัญโดยใช้คำอื่นประกอบข้างหน้าหรือข้างหลังพิเศษกว่าคาธรรมดาทั่วไปดังนี้

  • กริยาที่เป็นราชาศัพท์ในตัวเอง ส่วนมากจะเป็นคำที่มาจากภาษาบาลีสันสกฤตหรือ ภาษาเขมร เช่น

กริ้ว (โกรธ) เสด็จ (ไป)

รับสั่ง ตรัส (พูด) เสวย (กิน)

โปรด (ชอบ รัก เอ็นดู) ประทาน(ให้)

  • การประสมกริยาขึ้นเป็นคำราชาศัพท์ เช่น

เสด็จพระราชสมภพ (เกิด)

ทรงพระประชวร (ป่วย)

สวรรคต (ตาย)

  • การใช้เสด็จนำหน้าคำที่เป็นกริยาสามัญหรือกริยาราชาศัพท์ที่จะใช้ “ เสด็จ” นำหน้าเพื่อทำให้เป็นกริยาราชาศัพท์ เช่น

เสด็จประพาส เสด็จมา เสด็จออก เสด็จลง

เสด็จกลับ เสด็จไป เสด็จขึ้น

ใช้นำหน้าคำนามราชาศัพท์ทำให้เป็นคำกริยาราชาศัพท์ เช่น เสด็จพระราชสมภพ เสด็จพระราชดำเนินหรือเดินตามทางลาดพระบาทต้องมีเสด็จพระราชดำเนินไปต่างประเทศ เสด็จพระราชดำเนินตรวจพลสวนสนาม เสด็จพระราชดำเนินกลับกรุงเทพฯ จะมีคำกริยาสำคัญ เช่นไป มา กลับ

  • การใช้ทรง นำหน้าคำกริยาสามัญให้เป็นกริยาราชาศัพท์ เช่น ทรงฟัง ทรงยินดี ทรงชุบเลี้ยง ทรงขอบใจ ทรงเป็น

ศิษย์เก่า ทรงมีเหตุผล แต่จะให้ “ ทรง” นำหน้าคำกริยาที่เป็นคำราชาศัพท์อยู่แล้วไม่ได้ เช่น ทรงประชวร ทรงเสวย นอกจากนี้ “ ทรง” ยังใช้นำหน้านามราชาศัพท์เพื่อให้เป็นกริยาราชาศัพท์ เช่น ทรงพระกรุณา ทรงพระประชวร แต่จะใช้ทรงนำหน้ากริยาที่มีนำมราชาศัพท์ต่อท้ายไม่ได้เช่น ทรงมีพระมหากรุณา ต้องใช้ว่า ทรงพระมหากรุณา หรือ มีพระมหากรุณา

3) คำสรรพนามราชาศัพท์ ที่ใช้แทนชื่อ ใช้ตามฐานะของบุคคลที่มีฐานันดรศักดิ์ เช่น

หมวดเครื่องราชูปโภค และ เครื่องอุปโภคบริโภค เครื่องราชูปโภค คือเครื่องใช้ของพระเจ้าแผ่นดินที่เป็นเครื่องหมายความเป็นราชาธิบดีมี 5 สิ่ง คือ

1. พระมหาพิชัยมงกุฎ

2. พระแสงขรรค์ชัยศรี

3. ธารพระกรชัยพฤกษ์

4. พัดวาลวิชนีและพระแส้จามรี

5. ฉลองพระบาทเชิงงอน

เครื่องอุปโภคคือของใช้ทั่วไป เครื่องบริโภคคืออาหาร เครื่องดื่ม เครื่องอุปโภค เช่น

หมวดอวัยวะ เช่น

หมวดเครือญาติ เช่น

หมวดคำกริยา เช่น

5. การใช้คำราชาศัพท์ให้ถูกต้องตามเหตุผล

การใช้คำราชาศัพท์ต้องคำนึงถึงความถูกต้องตามเหตุผลด้วย เช่นคำว่าอาคันตุกะ ถ้าเป็นแขกของพระมหากษัตริย์ใช้พระราชนาหน้า ถ้าไม่ใช่ก็ไม่ต้องมี เป็นต้น

ในการถวายของแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้า พระบรมราชินีนาถ ถ้าเป็นของเล็กก็ใช้ ทูลเกล้า ฯ ถวาย อ่านว่า ทูลเกล้า ทูลกระหม่อมถวาย ถ้าเป็นของใหญ่ เช่น ถวายรถยนต์ ก็ใช้น้อมเกล้า ฯ ถวายอ่านว่า น้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวาย

6. คำราชาศัพท์สาหรับพระภิกษุสงฆ์

การใช้ถ้อยคำสำหรับพระภิกษุมีการกำหนดใช้ขึ้นเฉพาะเพื่อให้ถูกต้องเหมาะสม เพื่อเป็นการแสดงออกถึงความเคารพนับถือ และยกย่องพระสงฆ์ การพูดกับพระสงฆ์จะต้องมีสัมมาคารวะสำรวม ไม่ใช้ถ้อยคาที่ไม่สุภาพ ซึ่งผู้พูดจำเป็นต้องเข้าใจสมณศักดิ์ของพระสงฆ์จึงจะใช้คำราชาศัพท์ถูกต้อง เช่น ใช้สรรพนาม “ เจ้าคุณ ” กับสมเด็จพระราชาคณะ “ พระคุณเจ้า ” ใช้กับพระราชาคณะชั้นต่อมา คำที่ใช้กับพระภิกษุสงฆ์ เช่น

คำนามที่ใช้สำหรับพระภิกษุที่่กำหนดไว้เฉพาะ เช่น

4. คำสุภาพสำหรับบุคคลทั่วไป

คำสุภาพ หมายถึง คำศัพท์สาหรับบุคคลทั่วไปหรือสุภาพชนที่ใช้สื่อสารเพื่อให้เกิดความสุภาพถูกต้องตามกาลเทศะและบุคคลไม่ใช้คำหยาบ คำคะนอง คำผวน คำสแลง ภาษาปาก คำสุภาพที่ควรรู้ เช่น

สรุป

การใช้คำให้เหมาะแก่ฐานะของบุคคลตามวัฒนธรรมไทย ที่เคารพยกย่องให้เกียรติบุคคลอื่นซึ่งวัฒนธรรมนี้ได้แสดงผ่านทางภาษาจะเห็นได้จากการใช้คำราชาศัพท์ที่มีหลายระดับ ตั้งแต่พระมหากษัตริย์ พระบรมวงศานุวงศ์ พระภิกษุสงฆ์ ข้าราชการและสุภาพชน สะท้อนให้เห็นถึงความเคารพเทิดทูนสูงสุด และความอ่อนน้อม นับถือบุคคลในแต่ละระดับอย่างชัดเจนของคนไทย