เรื่องที่ 1.1 การเขียนคำให้ถูกต้องตามหลักการใช้ภาษาไทย

การเขียนความหมายตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 หมายถึง ก.ขีดให้เป็นตัวหนังสือหรือเลข, ขีดให้เป็นเส้นหรือรูปต่างๆ, วาด, แต่งหนังสือ การเขียนคือการถ่ายทอดความคิด ความรู้สึก ความรู้ จินตนาการ ข่าวสาร และประสบการณ์ต่างๆ เป็นตัวหนังสือมีวิธีต่างๆ กันขึ้นอยู่กับจุดมุ่งหมายผู้เขียนต้องการจะถ่ายทอด เช่น การเขียนเพื่อโฆษณา เชิญชวนให้ผู้รับสารสนใจสิ่งที่เขียน แนะนา การเขียนเพื่อแสดงความคิดเห็นเป็นการเขียนแสดงความคิดเห็นของผู้เขียนในเรื่องต่างๆ การเขียนเพื่อสร้างจินตนาการเป็นการเขียนถ่ายทอดความรู้สึก จินตนาการ เช่น การเขียนนวนิยาย การเขียนเพื่ออธิบายเป็นการเขียนบอกวิธีทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง และการเขียนเพื่อเล่าเรื่องเป็นการเขียนเพื่อถ่ายทอดประสบการณ์ความรู้ หรือเล่าเรื่องราวที่เกิดขึ้น จะเห็นว่าการเขียนมีจุดมุ่งหมายหลายอย่าง การเขียนที่ดีจะต้องคำนึงถึงจุดมุ่งหมาย แล้วยังต้องรู้ว่าผู้รับสารนั้นเป็นใคร เพื่อจะได้ใช้ถ้อยคำภาษาให้ถูกต้องเหมาะสมกับระดับความรู้และความสนใจ ผู้เขียนต้องศึกษาหาความรู้เรื่องการใช้คำว่าคำใดเป็นภาษาพูดคำใดเป็นภาษาเขียน คำใดมีความหมายว่าอย่างไร โดยเฉพาะการใช้คำในการเขียนที่เป็นงานวิชาการ เช่น บทความ หรือรายงานต่างๆ การใช้คำมีหลักดังนี้

1) การเลือกใช้คำที่ตรงความหมาย ผู้เขียนควรเลือกใช้คำที่มีความหมายตรงตามต้องการ เพราะจะทำให้ข้อความชัดเจน ข้อความกะทัดรัด แจ่มแจ้ง คำที่มักใช้ผิดกัน มักเป็นคำที่มีเสียงหรือความหมายคล้ายกัน ถ้าแยกความแตกต่างของคำเหล่านั้นไม่ได้ก็มักใช้สับสน

ตัวอย่าง คับคั่ง - แน่นหนา - หนาแน่น

คับคั่ง หมายถึง อัดแอ, ยัดเยียด, เบียดเสียดกัน

- สถานีขนส่งหมอชิตมีผู้คนคับคั่งตลอดเวลา

แน่นหนาหมายถึง มั่นคง, แข็งแรง

- บ้านหลังนี้วางรากฐานแน่นหนามาก

หนาแน่น หมายถึง คับคั่ง, แออัด

- ชุมชนกิ่งเพชรมีผู้คนอยู่หนาแน่นมาก

ขัดขวาง - ขัดขืน

ขัดขวาง หมายถึง ทาให้ติดขัด, ทำให้ไม่สะดวก, กั้นกาง

- สุนทรเข้าไปขัดขวางลูกน้องไม่ให้ทำร้ายยามเฝ้าประตู

ขัดขืน หมายถึง ไม่ทำตาม, ไม่ประพฤติตาม

- ให้จับเสียดีๆ อย่าขัดขืนนะเดี๋ยวเจ็บตัว

ตัวอย่าง คำที่มีความหมายคล้ายกัน

- แกะ - แคะ - แงะ - แซะ - กระฉับกระแฉง - กระปรี้ประเปร่า

- จุกจิก - จุบจิบ - กักกัน - กังขัง - กักตุน

- สอดส่อง - สอดส่าย - เกลี้ยกล่อม - ไกล่เกลี่ย

- ปณิธาน - ปฏิญาณ - ผุด - ผลุด

- ยืดยาด - ยืดเยื้อ - แก้ไข - แก้ขัด

- อุตลุด - ชุลมุน - แก้แค้น - แก้เผ็ด

- เสียดสี - เสียดแทง - ห้าวหาญ - เหี้ยมหาญ

ในการเลือกใช้คำได้ตรงตามความหมายที่ต้องการควรใช้พจนานุกรม จะช่วยให้เข้าใจความหมายของคำได้ถูกต้องและตรงตามที่ต้องการ

2) การเลือกใช้คำที่เป็นภาษาเขียน คำบางคำแตกต่างกันในเรื่องลักษณะการใช้ภาษา บางคำ ใช้ในภาษาเขียน บางคำใช้ในภาษาพูด ดังนั้น เราจึงควรศึกษาให้รู้ว่าคำใดใช้ในภาษาพูด คำใดใช้ใน ภาษาเขียน เราอาจศึกษาจากการใช้ถ้อยคำของผู้เขียนหนังสือได้ดี

3) การเลือกใช้คำที่สุภาพ งานเขียนจะมีคุณค่าสิ่งสำคัญอีกประการหนึ่ง คือ การเลือกใช้ถ้อยคำที่สุภาพ ไม่ควรใช้คำสแลงหรือคำหยาบ เพราะเป็นคำที่นำมาใช้ในภาษาเขียนไม่ได้ไม่สุภาพ

ตัวอย่าง ข้อสอบวัดผลครั้งนี้ยากมากเลย

สายใจดันมาตอนที่ฉันกำลังจะกินข้าว

(จำเพาะ, ขณะที่, รับประทานอาหาร)

4) การเลือกใช้คำที่เป็นคำไทย การเขียนภาษาไทยไม่ควรใช้คำภาษาต่างประเทศโดยไม่จำเป็น แม้ว่าใน ปัจจุบันจะใช้ภาษาต่างประเทศมากขึ้นแต่ก็ไม่เข้าใจความหมายทุกคำ ถ้าคำต่างประเทศนั้น มีผู้บัญญัติคำไทยใช้จนเป็นที่รู้จักกันแล้ว เช่น ฟุตบอล เทคโนโลยี ลิฟต์ คอมพิวเตอร์ คำส่วนใหญ่มีคำภาษาไทยที่ใช้แทนได้ในความหมายเดียวกันตัวอย่าง

สมชายเคลียร์ปัญหาของคุณแล้วหรือ (แก้)

ประชาชนแอนตี้ รัฐบาลเผด็จการ (ต่อต้าน)

วิชาดนตรีไทยไม่มีสอบไฟแนล (ปลายภาค)

ฉันไม่เก๊ตเรื่องนี้เลยนะ (เข้าใจ)

5) การเลือกใช้คำให้ถูกต้องตามไวยกรณ์ การใช้คำบุพบท คำสันธาน และคำลักษณะนาม คำเหล่านี้ถ้าใช้ไม่ถูกต้องจะทำให้ประโยคไม่สละสลวย หรือผิดไวยากรณ์ได้ เช่นคำ แก่, ด้วย, กับ, ของ,แห่ง, เพื่อ, สู่, ยัง, ถึง, ใน การใช้คำบุพบทคือการใช้คำนำหน้าคำนามหรือสรรพนาม เพื่อให้ความต่อเนื่องกันและได้ความสมบูรณ์

ตัวอย่าง เพื่อ : ใช้นำหน้าคำนามที่เป็นสาเหตุ เช่น

ทหารที่อยู่ภาคใต้ตายเพื่อประเทศชาติ

ป้าทองแกกินเพื่ออยู่

แก่ : ใช้นำหน้าคำนามที่เป็นผู้รับ เช่น

นักศึกษาควรช่วยกันบริจาคโลหิตให้แก่สภากาชาดไทย

โรงเรียนบริจาคเงินให้แก่มูลนิธิอนุเคราะห์คนพิการ

กับ, ด้วย : ใช้นำหน้าคำนามเพื่อให้รู้ว่านามนั้นเป็นเครื่องอาศัยทำกริยา เช่น

สายทองเห็นกับตา, เขียนด้วยมือลบด้วยเท้า

เธอไม่ได้เกี่ยวข้องกับการตายของสามีเลย

ของ, แห่ง : ใช้นำหน้าคำนามแสดงความเป็นเจ้าของ เช่น

สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย

กาพย์เห่เรือของเจ้าฟ้าธรรมธิเบศร

สู่, ยัง, ถึง : ใช้นำหน้าคำนามเพื่อบอกทิศทาง เช่น

กิตติศักดิ์เดินทางไปยังประเทศสหรัฐอเมริกา

คุณแม่กลับถึงบ้านเวลา 16.00 น.

สมชัยขับรถมุ่งไปสู่จุดหมาย

ใน : ใช้นำหน้าคำนามแสดงสถานที่ หรือนำหน้าคำนามที่หมายถึงบุคคลที่เราเคารพนับถือ

เช่น สุนทรีเก็บเงินไว้ในลิ้นชัก

กาพย์เห่เรือเป็นพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย การใช้คำสันธาน คือการใช้คำเชื่อมถ้อยคำให้ติดต่อเป็นเรื่องเดียวกัน หรือใช้เชื่อมความให้สละสลวย

ตัวอย่าง คำสันธานเชื่อมความที่คล้อยตามกัน โดยใช้-และ,กับ,แล้ว-จึง,ครั้น-เมื่อ,ถ้า,ถ้าว่าเป็นบทเชื่อม เช่น พอเธอมา สุเทพก็ไปแล้ว

พ่อและแม่ออกไปทำงาน

ตัวอย่าง คำสันธานเชื่อมความที่ขัดแย้งกัน โดยใช้-แต่,ถึง-ก็,กว่า-ก็ ฯลฯ เป็นบทเชื่อมเช่น

พี่ชอบดูฟุตบอลแต่น้องชอบดูเทนนิส

ถึงเขาจะยากจนแต่สุนทรีย์ก็รักเขา

ตัวอย่าง คำสันธานเชื่อมความที่เป็นเหตุเป็นผลแก่กัน โดยใช้-จึง,เพราะ-จึง,เพราะฉะนั้น-จึงฉะนั้น-จึง ฯลฯ เป็นบทเชื่อม เช่น

ถาวรตั้งใจทำรายงาน เขาจึงมีคะแนนเก็บมาก

เนื่องจากรถของอัมพรเสีย เขาจึงต้องขึ้นรถประจาทาง

ตัวอย่าง คำสันธานเชื่อมความที่เลือกเอาอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยใช้-หรือ,ไม่เช่นนั้น,มิฉะนั้นก็ ฯลฯ เป็นบทเชื่อมเช่น

สายสมรเธอจะไปหัวหินหรือพัทยา

นักศึกษาทุกคนต้องทำงานหรือไม่เช่นนั้นก็ไปนอนเสีย

สรุป

การใช้ภาษาในการสื่อสารให้มีผลดีมีประสิทธิภาพนั้นจำเป็นจะต้องรู้จักการเลือกใช้คำ ให้ถูกต้องเหมาะสม คือ เลือกใช้คำที่ตรงความหมาย ใช้คำที่เป็นภาษาเขียน ใช้คำที่เป็นคำไทย และถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ ดังนั้นการเลือกใช้คำจึงนับว่ามีความจำเป็นและสำคัญสำหรับงานเขียน

เรื่องที่ 1.2 ความหมายของคำในภาษาไทย

“ คำ ” ตามความหมายของพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน (2552: 176) กำหนดไว้ก็คือ

“ เสียงพูด เสียงที่เปล่งออกมาครั้งหนึ่ง เสียงพูดหรือลายลักษณ์อักษรที่เขียนหรือพิมพ์ขึ้น

เพื่อแสดงความคิด โดยปรกติถือว่าเป็นหน่วยที่เล็กที่สุด ซึ่งมีความหมายในตัว ”

คำ คือเสียงที่เปล่งออกมามีความหมายอย่างใดอย่างหนึ่ง คำแต่ละคำแตกต่างกัน ทั้งความหมายและหน้าที่ในการใช้ ภาษาผู้ใช้ต้องรู้จักชนิดของคำและความหมายของคำจึงจะเลือกใช้ในการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ

นววรรณ พันธุเมธา (2528: 67-71) จำแนกความหมายของคำไว้ในลักษณะต่างๆ ในด้านความหมายกว้างและความหมายอุปมา ความหมายนัยตรง และนัยประหวัด ความหมายคล้ายกันความหมายตรงข้ามกัน และคำหลายความหมายดังตัวอย่าง

ต่อไปนี้

1) ความหมายของคำ

คำแต่ละคำมีความหมายแตกต่างกัน คำหนึ่งคำอาจมีความหมายทั้งความหมายตามตัวและความโดยนัย

(1) ความหมายตามตัว คือความหมายที่ใช้พูดจากันตรงตามพจนานุกรมที่ให้คำจำกัดความไว้เป็นความหมายที่ผู้ใช้ภาษาเดียวกันเข้าใจตรงกัน เมื่อได้อ่านหรือได้ฟังเมื่อกล่าวถึงคำใดคำหนึ่ง คำนั้นก็หมายถึงสิ่งนั้นมิได้หมายถึงสิ่งอื่น เช่น

เชื่องช้า ว.อืดอาด, ยืดยาด, ไม่ว่องไว

ตังฉ่าย น. ผักดองแห้งแบบจีนชนิดหนึ่งใช้ปรุงอาหาร

ตักเตือน ก. สั่งสอนให้รู้สานึกตัว

การใช้คำในความหมายตามตัวจะทำให้การสื่อสารเข้าใจง่ายและประสบความสำเร็จเพราะผู้รับกับผู้ส่งสาร เข้าใจตรงกันตามความหมายที่ต้องการ คำไทยจำนวนมากมีความหมายตามตัวมากกว่าหนึ่งความหมาย เช่น

กัน : โกนให้เป็นเขตเสมอ เช่น กันคิ้ว

กัน : กีดขวางไว้, แยกไว้

กัน : คำประกอบท้ายกริยาของผู้กระทำตั้งแต่สองคนขึ้นไป แสดงถึงการกระทำร่วมกันอย่างเดียวกันหรือต่อกัน

กัน : สรรพนามบุรุษที่ 1 แทนชื่อผู้พูดใช้กับผู้เสมอกันหรือผู้น้อยแสดงความเป็นกันเอง คำดังกล่าวต้องอาศัยบริบทและหน้าที่ของคำในประโยค ทำให้ทราบว่าคำนั้นใช้ในความหมายใด

(2) ความหมายโดยนัย เป็นความหมายที่ซ่อนเร้นอยู่ในคำต้องอาศัยตีความมีความหมายไม่เหมือนเดิม เป็นการนำคำที่ใช้ตามธรรมดาสำหรับสิ่งหนึ่งไปใช้กับสิ่งหนึ่ง ที่มีลักษณะคล้ายกันหรือเรียกว่าความหมายเชิงอุปมาก็ได้ เช่น เก้าอี้ อาจหมายถึงตำแหน่ง

- ลัดดาเธอไม่ไปทำงานหลายวันระวังโดนแย่งเก้าอี้ไปหรอก (ตำแหน่ง)

- ดาว อาจหมายถึง คนสวย คนเด่น

ในงานเลี้ยงรุ่นปีนี้มีดาวมากมาย (คนสวย, คนเด่น)

(3) ความหมายนัยประหวัด เป็นความหมายที่เกี่ยวโยงไปถึงสิ่งอื่นหรือเป็นคำที่มีความหมายแปลกไปจากเดิม เช่น ไฟอาจหมายถึง ความเร่าร้อน ความร้อนหรือคนที่มีความตั้งใจทางานอย่างเต็มความสามารถ

นักศึกษาที่จบมาใหม่ๆ กำลังมีไฟ (มีความตั้งใจทางานอย่างเต็มความสามารถ)

ลิง หมายถึง ความซุกซนไม่อยู่นิ่ง

พวกลิงทั้งหลายมาคงยุ่งแน่ (เด็ก ๆ ที่ซุกซน)

คำที่มีความหมายนัยประหวัดยังมีอีกมาก นักศึกษาควรค้นคว้าเพิ่มเติมต่อไป

(4) ความหมายเทียบเคียงกับคำอื่นคือการนำคำในภาษามาเปรียบเทียบกันในลักษณะต่างๆ คือ อาจมีความหมายตรงกันข้าม ความหมายเหมือนกัน ความหมายคล้ายกันและความหมายแคบกว้าง

  • คำที่มีความหมายตรงกันข้าม เช่น

มาก - น้อย แข็งแรง - อ่อนแอ ไป - มา

แพ้ - ชนะ ร้องไห้ - หัวเราะ สวย - ไม่สวย - ขี้เหร่

เล็ก - ใหญ่ เหนือ - ใต้ ดี - ไม่ดี - เลว

หนา - บาง ดำ- ขาว หยิ่ง - ไม่หยิ่ง - อ่อนน้อม

สูง - ต่ำ กลางคืน - กลางวัน ซื่อ - ไม่ซื่อ - คด

  • คำที่มีความหมายคล้ายกัน

รอ - คอย กีดกัน - กีดขวาง ผัด - ผลัด

ขัดขืน - ขัดขวาง ใกล้ - ชิด เสียดสี - เสียดแทง

กักกัน - กักขัง โกรธ - แค้น ยืดเยื้อ - ยืดยาด

แก้แค้น - แก้เผ็ด ชดใช้ - ชดเชย คับคั่ง - แน่นหนา

  • คำที่มีความหมายเหมือนกัน

ในภาษาไทยมีคำที่มีความหมายเหมือนกันเป็นจำนวนมาก บางคำใช้ในคำประพันธ์ บางคำใช้ในสำนวนธรรมดา บางคำใช้สำหรับเด็ก บางคำใช้สำหรับผู้ใหญ่ บางคำใช้เป็นแบบแผนและ ไม่เป็นแบบแผน เช่น

ผู้หญิง : กัญญา กันยา กัลยา กานดา แก้วตา โฉมฉาย ดรุณี ดวงสมร ทรามวัย นงราม นงเยาว์ นารี นาริน นฤมล บังอร นงพงา อังคณา อรไท อรนุช สายสวาท พธู ยุพา ยุพินยุวดี ฯลฯ

พระจันทร์ : แข จันทร์ บุหลัน นิสากร แถง ศศิธร เดือน บุหลัน โสม ศศิน จันทิมา นิสานาถ รัชนีนาถ สสี วิชุ ดาราบดี

พระอาทิตย์ : ตะวัน ภานุมาศ ไถง ทินกร ทิวากร วรุณ รวิ รวี ภาณุ รพี ภาสกร สุริยะ สุริยา สุริยน สุริยัน สุริยง ทินกร รังสิมา สูรย์ อาภากร สหัสรังสี สุระอักกะ

ดอกไม้ : โกสุม บุปผา บุปผชาติ บุษบา บุษบง บุษบัน บุหงา ผกา มาลา มาลี สุมาลีนก: ทิชาชาติ บุหรง ปักษา ปักษี ปักษิน สกุณา สกุณี วิหค

กิน - หม่า - รับประทาน

แฟน - ภรรยา - ภริยา - เมีย

นอน - เค้ง

เพริศพริ้ง - เฉิดโฉม - งาม - วิไล - อำไพ - ไพจิตร - ลออ - รุจิ - พะงา

เนตร - ตา - นัยน์ตา

ภาพยนตร์ - หนัง

ชม - ดู

คำที่มีความหมายกว้างและความหมายแคบ คำบางคำมีความหมายครอบคลุมคำอื่น คำบางคำมี ความหมายครอบคลุมไปกว้างไกล จะกล่าวถึงคำที่มีความหมายกว้างและความหมายแคบ ดังนี้

- เครื่องดนตรีมีความหมายกว้าง หมายถึง เครื่องดนตรีทุกชนิดความหมายแคบก็เป็น ขิม จะเข้ โทน รำมะนา ฉิ่ง เป็นต้น

- ผลไม้มีความหมายกว้างหมายถึง ผลไม้ทุกชนิด ผลไม้เมืองร้อน ผลไม้เมืองหนาว แต่ถ้าต้องการให้มีความหมายแคบลงก็ต้องบอกว่าเป็น ทุเรียน เงาะ องุ่น ขนุน มะม่วง แอปเปิ้ล ส้ม

- หนังสือมีความหมายกว้าง หมายถึง หนังสือทุกประเภท เช่น แบบเรียน นวนิยาย สารานุกรม พจนานุกรม ต้องการให้แคบลงก็ต้องระบุว่าเป็นหนังสือนวนิยายเรื่องฟ้าจรดทราย แบบเรียนภาษาไทย

2) ชนิดของคำ

คำในภาษาไทยไม่มีการเปลี่ยนแปลงรูปเพื่อบอกความสัมพันธ์ของคำที่เรียงกันอยู่ในประโยคคำมีอยู่จำนวนมากและระบุจำนวนแน่นอนได้ยาก แต่สามารถจัดชนิดให้แน่นอนลงไปได้ว่ามีกี่ชนิด คำชนิดเดียวกันมักทำหน้าที่อย่างเดียวกัน มีตำแหน่งและบริบท (คำแวดล้อมข้อความที่อ่านผู้อ่านจะใช้ความรู้สึกและประสบการณ์มากำหนดความหมายหรือความเข้าใจ โดยนำคำแวดล้อมมาช่วยประกอบความรู้และประสบการณ์เพื่อทำความเข้าใจหรือความหมายของคำ) แน่นอนว่าปรากฏหน้าหรือหลังคำใดได้หรือไม่ได้

การจำแนกชนิดของคำมีหลายเกณฑ์จำนวนชนิดของคำก็แตกต่างกันเช่น พระยาอุปกิตศิลป - สาร (2538:70) จำแนกชนิดของคำออกเป็น 7 ชนิด ส่วนหนังสืออุเทศภาษาไทยชุดบรรทัดฐานภาษาไทย เล่ม 3 จำแนกชนิดของคำในภาษาไทยออกเป็น 12 ชนิด โดยใช้เกณฑ์หน้าที่ เกณฑ์ตำแหน่งที่คำปรากฏและสัมพันธ์กับคำอื่นและเกณฑ์ความหมายประกอบกัน ในที่นี้จะใช้เกณฑ์ของหนังสืออุเทศภาษาไทยชุดบรรทัดฐานภาษาไทย เล่ม 3 เพื่อให้รู้ชนิดของคำต่างๆ ทั้ง 12 ชนิด ที่เราใช้อยู่ในชีวิตประจำวันที่เพิ่มจากของพระยาอุปกิตศิลปสารชนิดของคำทั้ง 12 ชนิด ได้แก่ คำนาม คำสรรพนาม คำกริยา คำวิเศษณ์ คำที่เกี่ยวกับจำนวน คำบอกกำหนด คำบุพบท คำเชื่อม คำลงท้าย คำอุทานและคำปฏิเสธ มีรายละเอียดดังนี้

(1) คำนาม เป็นคำที่หมายถึงบุคคล สัตว์ วัตถุ สิ่งของ สภาพธรรมชาติทั้งที่มีชีวิตและ ไม่มีชีวิต ทั้งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม ตลอดจนกิริยาอาการต่างๆ เช่น ชาวนา แม่น้ำความรู้ กรุงเทพมหานคร การเดิน ความดี เป็นต้น

- สมชาย ติดแผ่นกระดาษเล็กๆ ไว้ที่ผนัง

- ความคิด อย่างรอบคอบจะช่วยให้ผ่านอุปสรรคไปได้

- นักเรียน สามโรงเรียนมาประชุมกัน

(2) คำสรรพนาม เป็นคำที่ใช้แทนคำนามที่ไม่ต้องการกล่าวซ้ำ เช่น ฉัน เขา เธอ ท่าน ข้า หม่อมฉัน ฯลฯ

- นาวินลืมกระเป๋าสตางค์ไว้ที่ห้องเรียนเขาจึงรีบกลับไปเอา

- เราพาคุณพ่อกับคุณแม่มาด้วย

- ฉันยืมหนังสือมาให้เธอ

(3) คำกริยา คือคำที่แสดงกิริยาอาการ เช่น มี ถือ นั่ง ยืน ฟัง อ่าน เป็นต้น

- แม่ป้อนข้าวน้อง

- เขาสอนภาษาไทยให้เด็กๆ

- ผู้อำนวยการศูนย์อบรมนักศึกษาในห้องประชุม

- ผู้ยืมหนังสือมาให้เธอ

(4) คำช่วยกิริยา คือคำที่ไม่ใช่คำกริยาและอยู่ตามลำพังไม่ได้ จะอยู่ร่วมกับคำกริยาและจะอยู่ข้างหน้าคำกริยาเสมอ เช่น

- คุณพ่อจะไปหาเขาวันพรุ่งนี้

- สุดใจมักออกไปวิ่งที่สวนสาธารณะทุกเช้า

- รถสุพจน์ถูกรถคันนั้นเฉี่ยวเมื่อเช้านี้

(5) คำวิเศษณ์ คือคำที่ทำหน้าที่เป็นส่วนขยายคำนาม คำกริยา หรือคำวิเศษณ์ ให้เข้าใจและรู้จักสิ่งนั้น ชัดเจนมากขึ้น เช่น

-นักศึกษาใหม่เรียนเก่งมาก

- นกเขาบินสูง

- สมเกียรติต้องตอกตะปูแรงๆ หน่อยนะ

(6) คำที่เกี่ยวกับจำนวน คือคำที่มีความหมายถึงจำนวน เช่น

- คุณน้าจะซื้อหนังสือ 3 เล่ม

- เจ้าหน้าที่ตรวจค้นกระเป๋าเดินทางทุกใบ

- มีคนมาประชุมเป็นร้อย

(7) คำบอกกำหนด คือคำที่ขยายนามอยู่ตำแหน่งท้ายสุด ในนามวลี เช่น คำบอกกำหนด ได้แก่ นี่ นี้ นั่น นั้น โน่น โน้น นู่น นู้น

- โรงเรียนโน้นมีนักเรียนพิการเพียงไม่กี่คน

- เรื่องสั้นนี้ใครเป็นผู้แต่ง

- บ้านหลังนั้น ไม่มีคนอยู่เลย

(8) คำบุพบท คือคำที่ปรากฏหน้านามวลีและประกอบกันเข้าเป็นบุพบทวลี คำบุพบทมีความหมายเพื่อบอกตำแหน่ง หน้าที่ ความเกี่ยวข้อง ความมุ่งหมาย ฯลฯ ของนามวลีที่สัมพันธ์กับคำกริยา หรือนามวลีกับนามวลีในประโยคเดียวกัน

เช่น ดินสอของฉันหายบ่อยมาก

คุณแม่นอนบนโซฟา

นิสาตั้งใจเรียนต่อเพื่ออนาคตของตนเอง

(9) คำเชื่อม คือคำที่ใช้เชื่อมคำวลี หรือประโยคเข้าด้วยกัน ได้แก่ กับ (หรือกะ) และหรือแต่เช่น

- น้ำกะน้ำมันเข้ากันไม่ได้

- รถไฟจะออกจากสถานีในเวลา 15 นาฬิกา กับ 21 นาฬิกา

- นภาชอบข้าวเจ้าหรือข้าวเหนียว

(10) คำลงท้าย หมายถึงคำที่ปรากฏในตำแหน่งท้ายสุดของประโยคไม่มีหน้าที่สัมพันธ์กับส่วนใดส่วนหนึ่งของประโยค เช่น ล่ะ, นะ, คะ

- พรุ่งนี้เป็นวันเกิดนะ

- เราจะไปแล้วล่ะ

- พร้อมจะไปแล้วใช่ไหมคะ

(11) คำอุทาน คือ คำที่เปล่งออกมาเพื่อแสดงอารมณ์ความรู้สึกต่างๆ มักปรากฏหน้าประโยค ในการเขียนมักมีเครื่องหมายอัศเจรีย์ (!) กำกับหลังคำอุทาน เช่น โถ! ว้าย! ตายจริง! ตายละวา! โธ่!

โถ! เจ้าตูบไม่น่าตายเลย

โอ้โฮ! แต่งตัวสวยจริง

โธ่! ไม่น่าเลยนะ

(12) คำปฏิเสธ คือคำที่ใช้ในการไม่ยอมรับ จำแนกเป็น 2 ชนิด คือ คำปฏิเสธกริยา และคำปฏิเสธข้อความ

คำปฏิเสธกริยาได้แก่คำว่า มิ,ไม่,หาไม่ และหา...ไม่

- เรามิใช่คนดีอะไร

- วันนี้อากาศไม่แจ่มใส

- โจรไม่คำนึงถึงความเดือดร้อนของคนอื่นเลย

คำปฏิเสธข้อความได้แก่ หามิได้, มิได้ เช่น

- คุณมากับภรรยาหรือ

- หามิได้

3) การใช้สำนวนสุภาษิตและคำพังเพย

สำนวน พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ให้ความหมายไว้ดังนี้ สำนวน น.ถ้อยคำที่ เรียบเรียง โวหาร, บางทีก็ใช้ว่าสำนวนโวหาร, คดี เช่น ปิดสำนวน

การใช้สำนวนสุภาษิตและคำพังเพยเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยให้ผู้รับสารเข้าใจความหมายได้เร็วขึ้น เช่น ข้อสอบวิชาภาษาไทยปีนี้ง่ายเหมือนปอกกล้วยเข้าปากทีเดียว

ในเรื่องขุนช้างขุนแผน กวีเลือกใช้สานวนสุภาษิตขึ้นมากล่าวให้เหมาะสมกับเรื่อง เช่น “ บุราณท่านสมมุติมนุษย์นี้ ยากแล้วมีใหม่สำเร็จถึงเจ็ดหน ” ตรงกับสำนวน “ ชั่วเจ็ดทีดีเจ็ดหน ” การใช้สำนวนสุภาษิตและคำพังเพยในงานเขียนนั้น ควรเข้าใจความหมายของสำนวนให้แจ่มชัดเสียก่อน ต้องระมัดระวังในการเลือกใช้ ดังนี้

(1) เลือกใช้ให้เข้ากับเนื้อเรื่อง

การใช้สำนวน สุภาษิตและคำพังเพยควรใช้ให้เข้ากับเนื้อเรื่อง จะทำให้งานเขียนนั้น น่าอ่านน่าสนใจ และเข้าใจได้ง่ายขึ้น เช่น

- บุหงากับสายใจเข้ากันได้ดีทุกเรื่องเป็นปี่เป็นขลุ่ย (หมายถึงถูกคอกันเข้ากันได้ดี)

- เธอผิดแล้วไม่ยอมรับผิดเถียงคำไม่ตกฟาก (พูดโต้แย้งโดยไม่หยุด)

(2) เลือกใช้ให้ตรงกับความหมาย

การใช้สำนวนสุภาษิตและคำพังเพย ควรศึกษาทำความเข้าใจความหมายให้แจ่มชัดเสียก่อนถ้าใช้ผิดความหมายจะทำให้งานเขียนนั้น ไม่มีคุณค่า เช่น อำพลเป็นคนหน้าตาดี สูงสง่า ท่าทางเป็นสุภาพบุรุษแต่งตัวสะอาดเรียบร้อย แต่ดุร้ายใจดำอำมหิต ไม่มีเมตตาคนประเภทนี้เรียกว่า “คนหน้าซื่อใจคด” ใช้สำนวนนี้ไม่ถูกต้องควรใช้สำนวน “หน้าเนื้อใจเสือ” จึงจะถูกต้องตรงกับความหมาย

1) การใช้สำนวนสุภาษิตและคำพังเพย

2) การใช้โวหาร

(3) ควรเขียนสำนวนสุภาษิตและคำพังเพยให้ถูกต้อง ในปัจจุบันมีสำนวนหลายสำนวนมักเขียนผิดไปจากเดิม ซึ่งจะทำให้ความหมายผิดและงานเขียนด้อยค่าลงไปด้วย เช่น

- เข้าเมืองอย่าลืมพร้า เข้าป่าอย่าลืมขวาน ที่ถูกต้องคือ

- เข้าเถื่อนอย่าลืมพร้า ได้หน้าอย่าลืมหลัง

- นกร้ายไม่โหด ที่ถูกต้องคือนกไร้ไม้โหด

- คนล้มอย่าทับ ที่ถูกต้องคือคนล้มอย่าข้าม

- คนหลังคาเขา ที่ถูกต้องคือคาหนังคาเขา

(4) เลือกใช้สำนวนสุภาษิตและคำพังเพยให้เหมาะสม

ควรเลือกใช้สำนวนสุภาษิตและคำพังเพยให้เหมาะสมไม่มากเกินไป ควรเลือกใช้ให้ถูกกาลเทศะ และพอเหมาะ

4) การใช้โวหาร

โวหารตามความหมายในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 หมายถึง ชั้นเชิงหรือสำนวนแต่งหนังสือหรือพูด ถ้อยคำที่เล่นเป็นสำบัดสานวน

โวหาร คือ การเลือกสรรถ้อยคำมาใช้ให้มีความไพเราะ สละสลวย มีความเหมาะสม โวหารช่วยขยายความให้ชัดเจนยิ่งขึ้นและเพื่อถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึกนึกคิด ความรู้จินตนาการของผู้เขียนให้กว้างขวางออกไป ในการเขียนอาจใช้โวหารต่างๆกัน โดยคำนึงถึงความหมายของข้อความที่เขียนการใช้โวหารเป็นการใช้ภาษาอย่างมีศิลปะโวหารในการเขียนมี 5 ประเภท คือ

1. บรรยายโวหาร

2. พรรณนาโวหาร

3. เทศนาโวหาร

4. อุปมาโวหาร

5. สาธกโวหาร

บรรยายโวหาร หมายถึง โวหารเขียนอธิบายหรือบรรยายเหตุการณ์ที่เป็นข้อเท็จจริงไปตามลำดับเหตุการณ์ให้ผู้อ่านได้รับความรู้ ความเข้าใจ เขียนตรงไปตรงมา เขียนให้ได้ความชัดเจน ไม่เยินเย้อควรใช้ภาษาที่กะทัดรัดตรงจุดประสงค์อ่านเข้าใจง่าย การเขียนทั่วไปมักใช้บรรยายโวหาร เช่น การเขียนตำรา บทความ สารคดี การเขียนเล่าเรื่อง เขียนรายงาน

หลักการเขียนบรรยายโวหารมีดังนี้

1. เรียบเรียงความคิดให้เป็นระเบียบอย่างต่อเนื่อง

2. เขียนเฉพาะสาระสำคัญ

3. ผู้เขียนจะต้องมีความรู้เกี่ยวกับเรื่องที่เขียน

4. ใช้ภาษาเขียนให้ถูกต้องเข้าใจความหมาย

ตัวอย่างบรรยายโวหาร

ท่าเรือและสถานที่สาธารณะในเมืองสิงคโปร์มีเชลยทหารญี่ปุ่นถูกเกณฑ์ไปทำงานโยธาเป็นกลุ่มๆ ทั่วไปหมด ทุกคนอยู่ในสภาพผู้แพ้ คือหงอยเหงาเศร้าซึมและส่วนใหญ่มักจะมีร่างกายซูบผอม ทุกคนไม่สวมเสื้อ นุ่งแต่กางเกงขาสั้นสีกากี สวมหมวกทหารที่หน้าหมวกมีเครื่องหมายแสดงยศ พ่อเห็นเชลยเหล่านั้นทำงานตากแดดจนเนื้อตัวไหม้เกรียมน่าเวทนาจริงๆ ญี่ปุ่นเป็นชาติที่อยู่ในกรอบวินัยอย่างเข้มงวด

(ชีวิตที่เลือกไม่ได้ : กรุณา กุศลาสัย)

“ ช้างยกขาหน้าให้ควานเหยียบขึ้นนั่งบนคอ ตัวมันสูงใหญ่ ใบหูไหวพะเยิบ หญิงบนเรือนลงบันไดมาข้างล่าง เธอชูแขนยื่นผ้าขาวม้าและข้าวห่อใบตองขึ้นไปให้เขา”

(ตลิ่งสูงซุงหนัก)

พรรณนาโวหาร หมายถึง การเขียนที่สอดแทรกอารมณ์ความรู้สึกของผู้เขียนทาให้ผู้อ่านเกิดความซาบซึ้ง ประทับใจ มีความรู้สึกคล้องตามไปกับผู้เขียน การเลือกใช้ถ้อยคำที่ไพเราะเห็นภาพพจน์ได้ง่าย

หลักการเขียนพรรณนาโวหารมีดังนี้

1. ใช้ถ้อยคำที่เลือกสรรแล้ว เพื่อสื่อความหมายและอารมณ์ความรู้สึกที่ชัดเจน

2. ใช้ภาพพจน์เพื่อให้เกิดอารมณ์และความรู้สึกจินตนาการคล้อยตาม

3. เขียนใจความควรเน้นให้เกิดภาพพจน์ เกิดอารมณ์ความรู้สึกไปกับผู้เขียน

ตัวอย่างพรรณนาโวหาร

“ ดอกจันทน์กระพ้อร่วงพรูแต่มิได้หล่นลงสู่พื้นดินทีเดียว เกสรเล็กๆ แดงเรื่อแกมเหลืองลอยว่อนกระจัดพรัดพรายอยู่ในอากาศที่โปร่งสะอาดหน่อยหนึ่ง เหมือนลวดลายของตาข่ายที่คลุมไตรพระ กลีบและเกสรอาจจะตกลงถูกเหยียบเป็นผุยผงไป

(แผ่นดินของเรา : แม่อนงค์)

“ สามยอดตลอดระยะระยับ วะวะวับสลับพรรณ

ช่อฟ้าตระการกลจะหยัน จะเยาะยั่วทิฆัมพร

บราสีพิลาศศุภจรูญ นภศูลประภัสสร

หางหงส์ผจงพิจิตรงอน ดุจกวักนภาลัย

(สามัคคีเภทคาฉันท์)

เทศนาโวหาร หมายถึง การเขียนชี้แจงให้ผู้อ่านเข้าใจ ชี้ให้เห็นประโยชน์หรือโทษของเรื่องที่กล่าวเป็นการโน้มน้าวให้ผู้อ่านคล้อยตามหรือเพื่อสั่งสอน แนะนา ชี้แจง ปลุกใจหรือเพื่อให้รู้ถึงข้อเท็จจริง

หลักการเขียนเทศนาโวหารมีดังนี้

1. การเขียนเทศนาโวหารต้องใช้โวหารอื่นๆมาประกอบเช่น บรรยายโวหาร สาธกโวหารหรือพรรณนาโวหาร

2. ชักจูงใจผู้อ่านให้คล้อยตาม การอธิบายต้องชี้ชัดให้เห็นถึงโทษหรือประโยชน์อย่างมีเหตุผล

ตัวอย่างเทศนาโวหาร

“ ถ้าไม่มีคุณธรรมเป็นสิ่งจรรโลงจิตใจ คนเราก็คงไม่แตกต่างไปจากสัตว์ป่า.... เราคงจะฉกฉวยแย่งชิงสิ่งที่เราอยากได้โดยไม่คำนึงถึงว่าสิ่งนั้นจะมีใครเป็นเจ้าของครอบครองอยู่แล้วหรือไม่ ผู้ใหญ่ก็ขมเหงรังแกผู้น้อย หรือคนที่อ่อนแอกว่าตามอำเภอใจ ลูกหลานจะดูหมิ่นดูแคลนพ่อแม่ที่แก่เฒ่าให้ได้รับความทุกข์ยากร้อนใจ”

(ลอดสายมังกร : ประภัสสร เสวิกุล)

“ คนที่เกิดมาโดยกรรมเก่ามิได้ส่งเสริมให้ดีมาแต่กำเนิด เช่นเกิดมามีรูปร่างหน้าตาน่าเกลียด ขี้ริ้วขี้เหร่ และเกิดในตระกูลที่ขัดสนยากจนทั้งที่ความโง่เขลาเบาปัญญา แต่ถ้าในชาตินี้เขาได้ทำกรรมดี คือประพฤติตัวดีฝึกหัดจนเป็นคนมีนิสัยดี มีความขยันหมั่นเพียร มานะอดทน และคอยศึกษาค้นคว้าแสวงหาความรู้อยู่เสมอแล้ว กรรมที่เขาทำดีในชาตินี้จะส่งเสริมให้เขาเป็นคนดี มั่งคั่ง สมบูรณ์มีความสุขความเจริญ และมีคนนับหน้าถือตาเขาได้ และก็ได้มีตัวอย่างให้เขาเห็นมากมายเหมือนกัน ฉะนั้นกรรมดีจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่สุดที่ลูกจะต้องปฏิบัติในชาตินี้

(จดหมายจางวางหร่า : น.ม.ส.)

อุปมาโวหาร หมายถึง การเขียนเป็นสำนวนเปรียบเทียบที่มีความคล้ายคลึงกันเพื่อทำให้ผู้อ่านเกิดความเข้าใจ

ลึกซึ้งยิ่งขึ้น เปรียบเทียบสิ่งของที่เหมือนกันโยงความคิดไปสู่อีกสิ่งหนึ่ง

ตัวอย่างอุปมาโวหาร

“ คำโบราณกล่าวไว้ว่า ธรรมดาภรรยาอุปมาเหมือนอย่างเสื้อผ้าขาด แลหายแล้วก็จะหาได้ พี่น้องเหมือนแขนซ้ายขวา ขาดแล้วยากที่จะต่อได้”

(สามก๊ก : เจ้าพระยาพระคลังหน)

“ การที่จะเรียนวิชาได้ด้วยวิธีใดนั้นไม่สำคัญ ข้อสำคัญอยู่กับตัวผู้เรียนต่างหาก เปรียบเสมือนแตงกวาจะดองด้วยน้าส้มฝรั่งก็ได้ ดองด้วยน้ากระเทียมก็ได้ เมื่อดองแล้วก็อร่อยทั้งสองอย่าง ข้อสำคัญคือแตงกวาที่เอาลงดองจะต้องเป็นแตงที่ยังไม่เน่า ถ้าเน่าเสียแล้วจะดองด้วยน้ำกระเทียมหรือน้ำส้ม ขวดละตำลึงมันก็ไม่เป็นรสทั้งนั้น บุคคลที่สืบเสาะร่ำเรียนวิชาก็เหมือนแตงกวาดอง ถ้านิสัยใจคอมันเน่าเสียแล้วถึงจะร่ำเรียนด้วยวิธีใด มันก็คงไม่เป็นเรื่องทั้งสิ้น

(จดหมายจางวางหร่า : น.ม.ส)

สาธกโวหาร หมายถึงการที่ผู้เขียนหยิบยกตัวอย่างมาประกอบการอธิบายเพื่อสนับสนุนข้อความที่เขียนไว้ให้ผู้อ่านเข้าใจง่ายขึ้น

หลักการเขียนสาธกโวหาร

1.สามารถเลือกใช้ให้เหมาะสมกับโอกาส เหมาะกับจุดมุ่งหมาย

2.ยกตัวอย่างมาอ้างอิงประกอบการอธิบายเพื่อให้เข้าใจง่ายเห็นชัดเจนขึ้น

ตัวอย่าง สาธกโวหาร

“อำนาจความสัตย์เป็นอำนาจที่ศักดิ์สิทธิ์ไม่เพียงแต่จับหัวใจคน แม้แต่สัตว์ก็ยังมีความรู้สึกในความสัตย์ซื่อเมื่อกวนอูตายแล้ว ม้าของกวนอูก็ไม่ยอมกินหญ้ากินน้ำ และตายตามเจ้าของไปในไม่ช้า ไม่ยอมให้หลังของมันสัมผัสกับผู้อื่นนอกจากนายของมัน”

สรุป

ภาษาไทยมีคำหลากหลายความหมายทั้งความหมายตามตัว ความหมายโดยนัย ความหมายนัยประหวัด ความหมายคล้ายกัน ความหมายตรงกันข้าม และคำหลายความหมาย การใช้ภาษาให้มีประสิทธิภาพจึงจำเป็นต้องรู้จักเลือกคำมาใช้ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม และรู้จักคำอย่างกว้างขวางจะช่วยให้งานเขียนมีคุณค่าและพัฒนางานเขียนให้ดีขึ้น

การใช้สำนวน คำพังเพย และสุภาษิต เป็นส่วนหนึ่งที่จะทำให้งานเขียนน่าอ่าน มีความหมายสละสลวย ช่วยให้เข้าใจสาระได้ง่ายขึ้นควรเลือกให้เหมาะสมกับเนื้อความด้วย

การใช้โวหารในงานเขียนจะช่วยขยายความให้ชัดเจนมากขึ้นและถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึก จินตนาการของผู้เขียนให้กว้างขวางเป็นการใช้ภาษาอย่างมีศิลปะโวหารในการเขียนมี 5 ประเภท คือบรรยายโวหาร พรรณนาโวหาร เทศนาโวหาร อุปมาโวหารและสาธกโวหาร

เรื่องที่ 1.3 คำที่มักเขียนผิด

การเขียนสะกดคำให้ถูกต้องเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องระมัดระวัง เพราะนอกจากจะทำให้ความหมายคลาดเคลื่อนแล้วยังแสดงถึงระดับความรู้ของผู้เขียนด้วย การที่นักศึกษาจะเป็นผู้เขียนสะกดคำได้ถูกต้อง ขึ้นอยู่กับความเอาใส่ใจและเป็นคนช่างสังเกตจดจำของนักศึกษาเอง รวมทั้งขึ้นอยู่กับการเรียนรู้หลักเกณฑ์ คำที่มักเขียนผิดดังต่อไปนี้

1) การประวิสรรชนีย์

1. คำไทยที่พยางค์หน้าออกเสียง อะ เต็มมาตราจะประวิสรรชนีย์ เช่น ปะทะ กะทิ กะลากะโล่

2. คำที่ออกเสียง อะในพยางค์กลาง มักจะประวิสรรชนีย์ เช่น สับปะรด ชามะนาดการะเกด กามะถัน

3. คำที่มาจากภาษาบาลีและสันสฤตที่มีพยางค์ท้ายออกเสียงอะ และไม่มีคำอื่นมาสมาสต่อท้าย เช่น พละ มรณะ วรรณะ อิสระ

4. คำที่เกิดจากคำไทยสองคำประสมกัน ต่อมาคำหน้ากร่อนเป็นเสียงอะต้องประวิสรรชนีย์ เช่น

หมากพร้าว กร่อนเป็น มะพร้าว สาวใภ้ กร่อนเป็น สะใภ้

หมากขาม ” มะขาม หมากม่วง ” มะม่วง

หมากปราง ” มะปราง ตาวัน ” ตะวัน

ตาปู “ ตะปู ตัวขาบ ” ตะขาบ

5. คำอัพภาส คือ คำที่มีสองคา ซ้ากัน ต่อมาคำหน้ากร่อนเป็นเสียงอะต้องประวิสรรชนีย์ เช่น ยะแย้ม คะครื้น วะวับ ยะยับ

6. คำที่มาจากภาษาจีน ชวา ญี่ปุ่น พยางค์ที่ออกเสียง อะให้ประวิสรรชนีย์ เช่น บะหมี่ ระตู ตะหลิว

7. คำที่มาจาก ภาษาบาลีและสันสกฤตไม่ต้องประวิสรรชนีย์ตรงพยางค์หน้าที่ออกเสียง อะ เช่น ภริยา นรินทร์ นมัสการ อธิบาย

2) หลักการใช้ ใอ ไอ ไอย อัย

1. ใอ ใช้กับคำไทยแท้ 20 คำ มีคำว่า ผู้ใหญ่ สะใภ้ ใฝ่ฝัน จิตใจ หลงใหล ใต้ ใกล้ ใคร ใคร่ ใช่ ใช้ ใด ใน ใย้ ใย ใน ใส่ ใหม่ ให้ ใบ

2. ไอ ใช้กับคำไทยแท้ ยกเว้นคำที่ใช้ไม้ม้วน 20 คำ เช่น ไหม ไฟ ไป แต่ถ้ามีเสียงซ้ากัน เช่น ใจ - ไจ, ใย-ไย, ให้-ไห้

3. ไอย ใช้กับคำที่มีเสียงสระเอ มีตัว ย สะกด และย ตาม (เอย ย) ในภาษาบาลี สันสกฤต เช่น

อุปเมยย - อุปไมย

อาชาเนยย - อาชาไนย

เทยยทาน - ไทยทาน

4. อัย เฉพาะคำที่มาจากบาลีและสันสกฤต ซึ่งเดิมทั้งพยางค์หน้าและตัว ย ซึ่งเป็นพยางค์ หลังต่างก็ออกเสียงมีสระอะกำกับทั้ง 2 พยางค์ นามาใช้ในภาษาไทย เราให้ตัว ย เป็นตัวสะกด

สระอะที่พยางค์หน้าจึงกลายเป็นหันอากาศ เช่น

ขย - ขัย

ชย - ชัย

วย - วัย

วินย - วินัย

4) หลักการใช้ บัน - บรร

1. การใช้บัน มีใช้อยู่ในคำที่มาจากภาษาเขมรเป็นส่วนใหญ่ เช่น บันได บันทึก บันดาล บันเทิง บันลือ

2. การใช้บรร ใช้ในคำที่แผลงมาจากประ หรือ บริ เช่น

ประจบ - บรรจบ

ประสม - บรรสม

ประจุ - บรรจุ

บริหาร - บรรหาร

5) หลักการเขียนคำพ้องเสียง

คำพ้องเสียง คือ คำที่ออกเสียงเหมือนกัน แต่เขียนสะกดต่างกัน จึงมีความหมายต่างกัน หลักการเขียนคำพ้องเสียงจึงต้องรู้ความหมายของคำดังตัวอย่าง

พัน : วงรอบด้วยสิ่งที่เป็นเส้นสาย จำนวนสิบร้อย

พันธ์ : ข้อผูกมัด ผูก มัด ตรึง

พันธุ์ : พวกพ้อง, พี่น้อง, วงศ์วาน

พรรค์ : หมู่คนที่เข้ารวมกันเป็นพวกเป็นฝ่าย

พรรณ : วรรณแปลว่าสี ชนิด

กาล : เวลา ครั้ง คราว

การ : งาน สิ่งหรือเรื่องที่ทาธุระหน้าที่

กาฬ : รอยดำ

กาน : ตัดเพื่อให้แตกใหม่

การณ์ : เหตุ, เค้า, มูล

กานท์ : บทกลอน

กานต์ : เป็นที่รัก

กาญจน์ : ทอง

ทัน : เป็นไปตามเวลาที่กาหนด

ทัณฑ์ : โทษที่เนื่องด้วยความผิด

ทันต์ : ฟัน

ธัญ : ข้าวเปลือก

ธรรม์ : ธรรม มักพบในร้อยกรอง

ประพาส : ไปต่างถิ่นหรือต่างแดน, เที่ยวไป

ประพาต : พัด

ประภาษ : ตรัส, บอก, พูด

ประภาส : แสงสว่าง

มาศ : ทอง

มาส : เดือน, พระจันทร์

มาตร : เครื่องวัด

มาด : มุ่ง, หมายไว้, คาดไว้

6) หลักการเขียนคำที่มี น ณ

คำที่ใช้ น ณ มีหลักสังเกต ดังนี้

1. ใช้เขียนคำไทย เช่น นั่ง นอน นึก นาน นาง นก

2. ใช้เขียนคำบาลี สันสกฤต เช่น นคร เนตร นรชน นรินทร์ นัยนา ประณีต อรรณพ ภาณุ ประณาม

3. ใช้เขียนคำที่มาจากภาษาอื่น เช่น ไนลอน มิชชันนารี ไนต์

4. ใช้ ณ ตามหลัง ร ฤ ษ เช่น กรุณา กรณี ไปรษณีย์ ลักษณะ กษาปณ์ นารายณ์ พราหมณ์

7) หลักการใช้ ส, ศ และษ

คำที่ใช้ ส มีหลักสังเกต ดังนี้

1. ใช้เขียนคำไทย เช่น เสือ สาง สาด เสา มีใช้ ศ บางคำ เช่น ศอก เศิก ศึก

2. เขียนคำสันสกฤตซึ่งอยู่หน้าวรรคตะ (ด ต ถ ท ธ น) เช่น สตรี พิสดาร สถาพรวรรคจะ ( จ ฉ ช ซ ฌ ญ ) เช่น พฤศจิกายน อัศจรรย์ ปรัศจิม

3. เขียนคำสันสกฤตทั่วไป เช่น ศรี เกศา อาศรม

4. ษ มีใช้ เช่น เชษฐา กฤษณา ลักษณะ มีใช้ไม่มากนัก

5. เขียนคำที่มาจากภาษาอื่น เช่น ศก

8) หลักการใช้ ซ ทร

คำที่ใช้ ซ ทร มีหลักสังเกต ดังนี้

1. คำไทยแท้ที่ออกเสียง “ ซอ ” มักใช้ ซ เช่น ซวดเซ ซอกแซก ซึมซาบ ซอนแซก

2. คำที่รับมาจากภาษาเขมร ซึ่งภาษาเดิมใช้ ซร ไทยเรานามาใช้เป็น ทร และ ออกเสียงเป็น ซอ เช่น ทราบ ไทร ทรุดโทรม แทรก เทรา ทรวง ทรง โทรม พังทลาย

3. คำที่ไทยรับเอามาจากภาษาสันสกฤต ซึ่งในภาษาเดิมใช้ ทร ไทยใช้ ทร แต่ออกเสียงเป็น ซอ เช่น มัทรี อินทรี นนทรี เป็นต้น

9) คำที่มักเขียนผิด

คำที่มักเขียนผิดมาจากสาเหตุต่างๆ เฉพาะตัวแต่ละบุคคลที่เป็นสาเหตุ แบ่งเป็นประเด็นๆ ได้ดังนี้

(1) เขียนผิดเพราะใช้แนวเทียบคำผิด เนื่องมาจากความไม่แม่นยำในคำที่ถูกต้อง เวลาเขียนจึงนึกเทียบคำอื่น ในแนวเดียวกันกับที่เคยเขียนหรือเคยรู้เห็นมาแล้ว ทำให้เขียนหนังสือผิดเพราะคำบางคำมีความหมาย หรือรูปศัพท์แตกต่างกัน จะใช้หลักเดียวกันไม่ได้ คำที่เขียนผิดเพราะใช้แนวเทียบผิดมีอยู่มาก เช่น

สังวาล เขียนผิดเป็น สังวาลย์ เพราะเทียบกับมาลย์

อานิสงส์ ” อานิสงฆ์ เพราะเทียบกับพระสงฆ์

คำที่เขียนผิดเสมอเพราะใช้แนวเทียบผิด เช่น

กำพืด เขียนผิดเป็น กำพืช ต้นโพ เขียนผิดเป็น ต้นโพธิ์

ย่อมเยา ย่อมเยาว์ อับปาง ” อัปปาง

สำอาง สำอางค์ รำพัน ” รำพรรณ

กังวล กังวน รื่นรมย์ ” รื่นรมณ์

จักรวาล จักวาฬ ผาสุก ” ผาสุข

ชมพู่ ชมภู่ โครงการ ” โครงการณ์

ตานขโมย ตาลขโมย อเนจอนาถ ” อเน็จอนาถ

บิณฑบาต ” บิณฑบาตร โจษจัน ” โจทจรรย์

จำนง ” จำนงค์ จาระไน ” จารนัย

ดอกจัน ” ดอกจันทร์ เพชร ” เพ็ชร

แกงบวด ” แกงบวช อวสาน ” อวสานต์

อัฒจันทร์ อัฒจรรย์ หงส์ หงษ์

สิงโต สิงห์โต สังเกต ” สังเกตุ

สังวร สังวรณ์ มุ่งมาด ” มุ่งมาตร

ศึกษานิเทศก์ ศึกษานิเทศน์ ลูกนิมิต ” ลูกนิมิตร

วิจารณ์ ” วิจารย์ ทะเลสาบ ” ทะเลสาป

สันโดษ สันโดษ คลินิก ” คลีนิก

อารมณ์ อารมย์ ห่างเหิน ” ห่างเหิร

สีสัน สีสรรพ์ จระเข้ ” จรเข้

วิ่งเปี้ยว วิ่งเปรี้ยว สามานย์ ” สามาน

โอกาส โอกาศ ข้าวโพด ” ข้าวโภชน์

เบญจเพส ” เบญจเพศ สายสิญจน์ ” สายสิน

(2) เขียนหนังสือผิดเพราะเราออกเสียงผิด

คำบางคำบางคนออกเสียงไม่ตรงออกเสียงไม่ชัด เลยติดนิสัย ออกเสียงผิด เมื่อเขียนจึงเขียนผิดด้วย อาจมาจากการอ่านอักษรนำ อ่านเรียงพยางค์ไม่ถูก หรือรูปคำที่ใช้ชวนให้ออกเสียงได้หลายๆ แบบ หรือบางคำคนส่วนมากออกเสียงอย่างหนึ่ง ซึ่งไม่ตรงกับรูปที่เขียนตามพจนานุกรม เช่น

แทรกแซง เขียนผิดเป็น แซกแซง ลดา เขียนผิดเป็น ลัดดา

ชันโรง ชันนะโรง หยิบหย่ง หยิบโหย่ง

อะไหล่ อาหลัย ชุกชี ชุกกะชี

กรวดน้ำ ตรวจน้ำ พรรณนา ” พรรนา

ขะมักเขม้น ขมักเขม้น สำบัดสานวน สำบัสสานวน

จักจั่น จักกะจั่น อีหลุยฉุยแฉก ” อีลุ่ยฉุยแฉก

ชักเย่อ ชักกะเย่อ หลากไย่ หยักไย่

ซ่าหริ่ม สลิ่ม ประนีประนอม ” ประณีประนอม

กากบาท กากะบาด ปรักหักพัง สลักหักพัง

นิจศีล ” นิจสิน สัประยุทธิ์ ” สับประยุทธิ์

เงินทดรอง ” เงินทดลอง ประกาศิต ” ปกาศิต

เครื่องราง ” เครื่องลาง ประณีต ” ปราณีต

นิสัย ” นิสสัย จัญไร ” จังไร

สตางค์ ” สตังค์ โควตา ” โค้วต้า

(3) เขียนผิดเพราะไม่รู้หลักเกณฑ์ทางภาษา

หลักภาษาเป็นสิ่งสำคัญในการเรียนภาษา ความไม่เข้าใจในเรื่องอักษรวิธีหรือการเขียนสะกดการันต์เนื่องจากหลักภาษามีข้อยกเว้นมากจึงควรจะได้เข้าใจเรื่องการใช้พยัญชนะต้น พยัญชนะตัวสะกดการผันเสียงวรรณยุกต์ ตัวควบกล้า การใช้สระและการใช้การันต์ ทำให้ไม่มีกฎเกณฑ์ในการเขียนจึงเขียนผิดได้ง่าย เช่น

เขียนพยัญชนะต้นผิด

ช้อนส้อม เขียนผิดเป็น ช้อนซ่อม

ทรุดโทรม ” ซุดโทรม

พิสูจน์ ” พิศูจน์

ซวดเซ ” ทรวดเซ

บริภาษ ” บริพาษ

ศัตรู ” สัตรู

เขียนตัวสะกดผิด

คำนวณ เขียนผิดเป็น คำนวน

พิษฐาน ” พิศฐาน

อาจิณ ” อาจินต์

เทิดทูน ” เทิดทูล

มงกุฎ ” มงกุฏ

อาเจียน ” อาเลียร

เขียนตัวการันต์ผิด

จักรพรรดิ เขียนผิดเป็น จักรพรรดิ์

โทรศัพท์ ” โทรศัพย์

รัตนโกสินทร์ ” รัตนโกสินท์

ปรารมภ์ ” ปรารมย์

พระสงฆ์ ” พระสงค์

อุตรดิตถ์ ” อุตรดิษฐ์

(4) เขียนผิดเพราะเห็นรูปคำหรือตัวอย่างที่ผิด

นักศึกษาเคยเห็นคำคำนั้น มาจนเคยชินและเป็นคำที่ใช้กันผิดเสมอจนจำได้ติดตาจนเข้าใจว่าเป็นคำที่เขียนถูกต้อง อาจจะเห็นจากสื่อมวลชนประเภทต่างๆ เช่นหนังสือพิมพ์ หรือสิ่งพิมพ์อื่นๆ เช่น ในบัตรเชิญ ประกาศโฆษณา แจ้งความ ควรจะได้ฝึกสังเกต จดจำคำที่ถูก อย่าใช้ตามโดยไม่ได้ศึกษา

รสชาติ เขียนผิดเป็น รสชาด

สะดวก สดวก

สะอาด ” สอาด

อา ” อาว์

อนุญาต ” อนุญาติ

รังสี ” รังษี

โอกาส ” โอกาศ

อานิสงส์ ” อานิสงฆ์

สีชมพู ” สีชมภู

สบาย ” สะบาย

กันแสง ” กรรแสง

เกสร ” เกสร

จักรวาล ” จักรวาฬ

ซากศพ ” ทรากศพ

ดาดฟ้า ” ดาษฟ้า

พิสดาร ” พิศดาร

เมตตาปรานี ” เมตตาปราณี

รัตนตรัย ” รัตนไตร

ละออง ” ลออง

เกร็ดความรู้ ” เกล็ดความรู้

ภาคภูมิ ” พากพูม

รัศมี ” รัสมี

กิเลส ” กิเลศ

(5) เขียนผิดเพราะไม่ทราบความหมายของคำ

คำในภาษาไทยเรามีคำพ้องและคำไวพจน์อยู่มาก ซึ่งคำเหล่านี้มีรูปคำและความหมายแตกต่างกันทำให้เราเขียนสะกดการันต์ผิดได้ง่าย ถ้าหากเราจำแต่เสียงโดยไม่พิจารณาถึงความหมายจะต้องจำความหมายของคานั้นๆ ควบคู่กันไปด้วย และนอกจากนี้ยังมีคำเป็นจำนวนมากที่เราต้องรู้ความหมายด้วย จึงจะทำให้เราเขียนสะกดการันต์ได้ถูกต้องในที่นี้จะกล่าวแยกเป็นคำที่มักเขียนผิดมาจากการใช้พยัญชนะ, สระ, วรรณยุกต์, ตัวสะกด และตัวการันต์ดังนี้

  • การใช้พยัญชนะที่มักเขียนสะกดผิด

  • การใช้พยัญชนะที่มักเขียนสะกดผิด

  • การใช้วรรณยุกต์ที่มักเขียนสะกดผิด

  • การใช้ตัวสะกดที่มักเขียนสะกดผิด

  • การใช้การันต์ที่มักเขียนสะกดผิด

สรุป

ภาษาเปรียบเหมือนหัวใจของการติดต่อสื่อสารระหว่างบุคคล ทำให้เกิดความเข้าใจตรงกัน ในปัจจุบันนี้มักพบว่ามีการใช้ภาษาผิดพลาดและบกพร่องอยู่เสมอโดยเฉพาะในเรื่องการใช้คำ การใช้สำนวนภาษาที่ไม่เหมาะสม การใช้คำที่ไม่สุภาพ
การใช้คำไม่ถูกต้องตามไวยากรณ์ การใช้คำผิดความหมาย การวางรูปวรรณยุกต์ผิดที่ การใช้ประโยคไม่ถูกต้องเหมาะสม
การเขียนตัวสะกดการันต์ รวมทั้งการลำดับความลำดับประโยค ผู้เขียนควรจะศึกษาและสนใจเลือกใช้ให้ถูกต้องเพื่อพัฒนางานเขียนให้มีคุณค่ามากขึ้น