เรื่องที่ 2.1 การใช้ภาษาเขียนเพื่อการสื่อสารและสร้างมนุษยสัมพันธ์ในชีวิตประจวัน

การใช้ประโยคเพื่อการสื่อสาร

ในการเขียนที่เป็นแบบแผนหรือกึ่งแบบแผน ผู้เขียนจะต้องระมัดระวังเรื่องการสร้างประโยคด้วยประโยคที่สร้างขึ้นเพื่อนำไปใช้ในการสื่อสารนั้น ผู้ส่งสารจะประสบความสำเร็จในการสื่อสารหรือไม่ขึ้นอยู่กับการใช้ประโยคเป็นสำคัญ ดังนั้นการเขียนประโยคย่อมจะต้องคำนึงถึงหลักการสร้างประโยคให้เป็นประโยคที่สมบูรณ์ มีความหมายแจ่มชัด ไม่กำกวม มีความกระชับรัดกุม จะทำให้ผู้รับสารอ่านได้อย่างราบรื่น เข้าใจความหมายได้ถูกต้องตรงกับความต้องการของผู้เขียน ดังจะกล่าวถึงประโยคดังนี้

หลักการใช้ประโยคที่ดีมี 3 ประการคือ

1. ประโยคถูกต้องตามหลักภาษา

2. ประโยคกะทัดรัดและสละสลวย

3. การสร้างประโยคให้มีน้ำหนัก

1. ประโยคถูกต้องตามหลักภาษา

1) ประโยคสามัญ คือประโยคที่ประกอบด้วยภาคประธานและภาคแสดง ประโยคสามัญแบ่งได้เป็น 2 ชนิด คือ ประโยคสามัญที่มีกริยาวลีเดียวกับประโยคสามัญที่มีกริยาหลายวลีเรียงกันโดยไม่มีคำเชื่อมกริยาวลีเหล่านี้

ตัวอย่าง ประโยคสามัญที่มีกริยาวลีเดียว คือประโยคสามัญที่มีกริยาวลีเพียง 1 กริยาวลีในกริยาวลีมีคำกริยาเพียงคำเดียว เช่น

นายสุพจน์นั่งในห้องประชุม

น้องถูกดุ

ปรีชาเพิ่งเป็นประธานนักศึกษา

ประโยคสามัญที่มีหลายกริยาวลีคือเป็นประโยคสามัญที่มีกริยาวลีหลายกริยาทำหน้าที่เป็นภาคแสดงของประธานเดียวกัน เช่น

- สมสมัยโบกมือ - ลาพวกน้อง ๆ

- เล็กนอน - ร้องเพลงในห้องนั่งเล่น

- พ่อกำลังนั่ง - อ่านหนังสือพิมพ์

2) ประโยคความซ้อน คือประโยคซึ่งประกอบด้วยประโยคหลักหรือมุขยประโยคและ มีประโยคย่อยหรืออนุประโยคซึ่งเป็นประโยคสามัญเป็นส่วนหนึ่งของประโยคหลัก ได้แก่ เป็นประธาน เป็นหน่วยเติมเต็ม หรือเป็นส่วนขยาย อนุประโยคแบ่งได้เป็น 3 ชนิด คือ นามานุประโยค คุณานุประโยค และวิเศษณานุประโยค ประโยคซ้อนจึงแบ่งตามอนุประโยค ได้ 3 ชนิด คือ

(1) ประโยคความซ้อนที่มีนามานุประโยค คืออนุประโยคทำหน้าที่เป็นประธาน เป็นกรรมหรือส่วนเติมเต็ม เช่น

- นุกูลไม่ชอบให้ใครมาว่าคุณพ่อของเธอ

- ที่สมสมัยเล่ามานั้นถูกต้องแน่นอน

- เลขานุการคนใหม่เป็นที่โปรดปรานของเจ้านาย

(2) ประโยคซ้อนที่มีคุณานุประโยค คืออนุประโยคทำหน้าที่ขยายนามที่นำมาข้างหน้ามีคำเชื่อม ที่ ซึ่ง อัน เช่น

- เด็กที่ร้องไห้อยู่นั้นคือน้องของฉันเอง

- สุดาซื้อเสื้อตัวนั้นจากเด็กที่อยู่ข้างโรงเรียน

(3) ประโยคซ้อนที่มีวิเศษณานุประโยค คืออนุประโยคที่ทำหน้าที่อย่างวิเศษกริยาวลี คือขยายกริยาวลี เช่น

- นพพรทางานหามรุ่งหามค่าจนกระทั่งร่างกายอ่อนแอ

- นุชมาเมื่อเธอหลับแล้ว

3) ประโยครวม คือประโยคย่อยตั้งแต่ 2 ประโยคขึ้นไปมารวมเข้าเป็นประโยคเดียวกัน ประโยคย่อยอาจเป็นประโยคสำมัญหรือประโยคซ้อนก็ได้แต่ต้องมีคำเชื่อม และ, และก็, แต่, ทว่า, แต่ทว่า, หรือ เช่น

- ภรรยาของสมชายตั้งครรภ์แต่แท้งเสียก่อน

- พ่อจะไปบางแสนและแม่ก็จะไปด้วย

- หมอจะไปหาคนป่วยหรือจะให้คนป่วยมาหาหมอ

การสร้างประโยคให้ถูกต้องและแจ่มแจ้งผู้เขียนควรคำนึงถึงเรื่องต่อไปนี้

1) การสร้างประโยคตามรูปประโยคของภาษาไทย รูปประโยคที่ใช้ในภาษาไทยมี 4 รูป คือ

(1) ประโยคประธาน คือประโยคที่ใช้ผู้กระทาขึ้นต้นประโยค เช่น

- พ่อกินข้าว

- แม่ค้าขายของ

- ตำรวจจับผู้ร้าย

- สายใจไม่ชอบอ่านหนังสือเล่มนี้

(2) ประโยคกรรม คือประโยคที่ใช้ผู้ถูกกระทำขึ้นต้นประโยค เช่น

- พี่ฉันถูกแม่ตี

- กระต่ายถูกเสือกิน

- ขโมยคนนั้นถูกตารวจจับไปแล้ว

- หนังสือเล่มนี้สายใจไม่ชอบอ่าน

ประโยคที่ใช้กรรมขึ้นต้น เพื่อความเด่นชัดนี้ ใช้ได้เป็นครั้งคราว จะใช้เสมอไม่ได้ ประโยคที่ใช้คำว่าถูก มักใช้กับผู้รับไม่ยินดีรับหรือทำสิ่งนั้น เช่น ถูกด่า ถูกตี ถูกปล้น เช่น บ้านนี้ถูกขโมยปล้น นักเรียนถูกครูตี

ถ้าผู้รับยินดีจะใช้คำว่า ได้รับก็ได้ เช่น

- กิตติได้รับเลือกให้เป็นประธานนักศึกษาปี 2554

การใช้คำว่าถูก และได้รับเนื่องมาจากการติดสำนวนต่างประเทศ เช่น

- การประเมินการสอนของครูถูกวัดได้โดยนักเรียน

คำว่าได้รับใช้กับผู้รับไม่ยินดี น่าจะเกิดจากเป็นการรักษาน้ำใจผู้ที่ได้รับสิ่งไม่ดี เช่น

- สมรได้รับคำตำหนิจากผู้อำนวยการอย่างรุนแรง

- สมคิดได้รับการลงโทษจำคุกตลอดชีวิต

(3) ประโยคกริยา คือประโยคที่ใช้กริยาขึ้นต้นประโยค เพื่อให้กริยาเด่นนำประธานมาไว้ข้างหลัง คำกริยาที่ขึ้นต้น คือ เกิด มี ปรากฏ เช่น

- เกิดน้าท่วมใหญ่ในจังหวัดต่างๆ ของประเทศไทย

- มีคนร้ายเข้าปล้นร้านทองในห้างสรรพสินค้า

- ปรากฏสุริยุปราคาเต็มดวงเมื่อปีก่อน

(4) ประโยคการิต คือประโยคประธานหรือประโยคกรรมที่มีผู้รับใช้อยู่ด้วย เช่น

- ดวงใจให้น้องไปซื้อของ

- สมชายส่งลูกไปเรียนหนังสือต่อต่างประเทศ

2) การเรียงบทสำคัญในประโยคให้ถูกต้อง ผู้ใช้ภาษาในการเขียนจะเขียนรูปประโยคแบบใดก็ได้ เพียงแต่ว่าจะต้องการเน้นส่วนใด ถ้าต้องการเขียนรูปประโยคแบบใดก็เรียงประโยคให้ถูกต้องตามลักษณะประโยคนั้นๆ เช่น ประโยคประธานต้องเรียงให้เป็นลำดับ ดังนี้คือ

ประธาน กริยา และกรรม

- ปลาใหญ่กินปลาเล็ก

ประโยคกริยาเรียงกัน กริยาที่กล่าวถึงเหตุการณ์ที่เกิดก่อน ควรเรียงไปตามลำดับเพื่อผู้อ่านจะได้สื่อลำดับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง เช่น

- น้ำในนาระเหยแห้งไปหมดแล้ว

ในภาษาเขียนไม่ควรละบทใดบทหนึ่งเหมือนอย่างภาษาพูด เพราะในภาษาเขียน ถ้าขาดบทใดบทหนึ่งจะทำให้ผิดไวยากรณ์ได้ เช่น

- สงบไปนั่งห้างยิงสัตว์ที่เขายิงได้ตัวใหญ่มาก ประโยคหลังขาดประธาน ควรใช้ว่า

- สงบไปนั่งห้างยิงสัตว์ สัตว์ที่เขายิงได้ตัวใหญ่มาก

3) การวางส่วนขยายให้ถูกที่ ในประโยคที่มีประธานกริยา และกรรมนั้นไม่สับสน แต่ถ้าประโยคซับซ้อนมีข้อความขยายเพิ่ม การผูกประโยคจะยุ่งยากสับสน จึงต้องระมัดระวังการวางส่วนขยายให้ถูก เพื่อให้ข้อความไม่กากวม ชัดเจน มีความหมายตรงตามต้องการของผู้เขียน ประโยคสามัญมักเรียงประธาน กริยา กรรม เมื่อมีคำขยายประธานจะอยู่หลังประธาน คำขยายกริยาอยู่หลังกริยา คำขยายกรรมอยู่หลังกรรม มีบางครั้งคำขยายกริยาอาจไม่ได้อยู่หลังคำกริยา มีกรรมมาแทรกอยู่ระหว่างคำกริยากับคำยายกริยา เช่น

- นิภาชอบมากเสื้อชุดใหม่ ควรใช้ว่า

- นิภาชอบเสื้อตัวใหม่มาก

4) การใช้คำให้ถูกต้อง การสร้างประโยคต้องคำนึงถึงการเลือกใช้คำให้ถูกต้อง ทำให้ข้อความชัดเจนแจ่มแจ้งและไม่ผิดหลักไวยากรณ์อีกด้วย

(1) การใช้คำผิดชนิด ได้แก่ การเลือกคำมาใช้ในประโยคไม่ถูกต้อง เช่น เราจะตั้งใจเป็นอาจารย์ให้ดีที่สุดตามที่ได้ปณิธานไว้ ควรใช้คำว่า “เราจะตั้งใจเป็นอาจารย์ให้ดีที่สุดตามที่ได้ตั้งปณิธานไว้”

(2) การใช้คำชนิดเดียวกันผิด เช่น ในกรุงเทพมหานครมีผู้อาศัยอย่างแน่นหนาควรใช้ว่าในกรุงเทพมหานครมีผู้อาศัยอย่างหนาแน่น

(3) การเขียนประโยคให้จบกระแสความ ประโยคที่เขียนไม่จบกระแสความจะทำให้ผู้อ่านรู้สึกว่า ยังมีบางส่วนขาดหายไป ผู้เขียนต้องละเอียดรอบคอบ เช่น

- บางคนที่คิดว่าตนเองเก่งและฉลาดมีความสามารถในการทางานควรใช้

- บางคนที่คิดว่าตนเองเก่งและฉลาดมีความสามารถในการทางานมักเป็นคนเย่อหยิ่ง

5) การเว้นวรรคตอนให้ถูกต้อง การเขียนต้องเว้นวรรคตอนที่ถูกต้อง แบ่งข้อความเป็นตอนๆ ให้ได้ความชัดเจน เพราะการแบ่งวรรคตอนผิด บางครั้งอาจทาให้ความหมายเปลี่ยนไป เช่น

- คุณพ่อพักร้อนพาครอบครัวไปเที่ยวหลายแห่ง เช่น ที่ชายทะเล ภูหลวง และจังหวัดเลย

ประโยคนี้ทาให้เข้าใจผิดว่าภูหลวงเป็นชื่อชายทะเลแห่งหนึ่ง

2. ประโยคกะทัดรัดและสละสลวย

การใช้คำนอกจากต้องระมัดระวังในการเลือกใช้คำให้ถูกต้อง ชัดเจนแล้ว ความสละสลวยก็เป็นเรื่องที่สำคัญควรคำนึงถึงด้วย ภาษาที่ใช้ทั้งการพูดและการเขียนควรจะมีความไพเราะ น่าอ่าน น่าฟัง มีความงดงามทางภาษา การใช้คำเพื่อให้เกิดความสละสลวยมีข้อควรพิจารณา ดังนี้

ความกระชับ ความกระชับ หมายถึง ถ้อยคำน้อย ใจความมาก การเลือกใช้คำ ควรเลือกใช้คำสั้นๆ กินความหมายมาก เลือกใช้คำที่ช่วยให้ประโยคกระชับ และกะทัดรัด ไม่ฟุ่มเฟือย เยิ่นเย้อ เช่น สุณีปลูกผักชี ยี่หร่า ตะไคร่ พริกและโหระพา อาจแทนด้วยคา “พืชผักสวนครัว” ได้โดยมีเนื้อความเหมือนกันไม่เสียความ

ความเยิ่นเย้อบางครั้งเกิดจากมีคำที่ไม่จำเป็นอยู่ในประโยคด้วย คำเหล่านั้น ถ้าตัดออกก็จะไม่เสียเนื้อความ เช่น

- ห้ามรถบรรทุกขึ้นสะพานนี้ไม่ได้ ควรเป็น ห้ามรถบรรทุกขึ้นสะพานนี้

- นักศึกษาบางคนมีความตั้งใจทำคะแนนเก็บมาก ควรเป็น นักศึกษาบางคนตั้งใจทำคะแนนเก็บมาก

- โฆษกรัฐบาลทำการแถลงข่าวต่อประชาชน ควรเป็น โฆษกรัฐบาลแถลงข่าวต่อประชาชน

3. การสร้างประโยคให้มีน้าหนัก

การสร้างประโยคให้มีน้ำหนัก จะทำให้งานเขียนมีความชัดเจน เพราะผู้อ่านจะทราบจุดประสงค์ของผู้เขียนได้ว่าต้องการเน้นอะไร ทำได้ดังนี้

1) วางถ้อยคำที่ต้องการเน้นให้อยู่ในตอนต้นของประโยค เช่น

- รถเขาจอดอยู่ที่สถานีขนส่ง

- ที่สถานีขนส่งรถเขาจอดอยู่

บางครั้งอยู่ตอนท้าย เพราะท้ายประโยคเป็นตอนจบความ ส่วนท้ายของประโยคแบบนี้ จะมีน้ำหนักอยู่ตอนท้าย เช่น

- คนอิจฉาผู้อื่นใจแคบ เห็นแก่ตัว เป็นคนที่ไม่มีใครคบด้วย

2) การใช้คำซ้ำกันช่วยให้ข้อความมีน้าหนัก เช่น

- คนที่เห็นคนเป็นคนจึงจะนับว่าคน

3) การขนานความ คือ การเรียบเรียงข้อความในประโยคให้ต่อเนื่องกัน อาจใช้สันธานเป็นตัวเชื่อมข้อความ ซึ่งมีน้ำหนักเท่าๆ กัน เช่น

- ที่ใดมีรัก ที่นั่นย่อมมีทุกข์

- ผู้ใดมีธรรมะ ผู้นั้นเป็นเจ้าแห่งสิ่งทั้งปวง

สรุป

การใช้ประโยคในภาษาเขียน ควรคำนึงถึงความชัดเจน กะทัดรัด สละสลวย และให้ประโยคมีน้ำหนัก ผู้เขียนต้องศึกษาหาความรู้เพื่อให้งานเขียนมีคุณภาพ สามารถถ่ายทอด สื่อความรู้ความคิดของผู้เขียนได้ถูกต้องครบถ้วนตามความต้องการ

การเขียนจดหมายเพื่อการสื่อสาร

ปัจจุบันเรามีการพัฒนา การสื่อสารทางโทรคมนาคมได้อย่างรวดเร็ว สามารถพูดคุย หรือ ส่งข้อความโต้ตอบกันได้ในทันที แต่การสื่อสารทางการเขียนจดหมายก็ยังมีความจำเป็นและสำคัญต่อการสื่อสารในชีวิตประจาวัน จดหมายที่เราสื่อสารกันทุกวันนี้ แบ่งเป็น 4 ประเภท ดังนี้

1. จดหมายส่วนตัว เป็นจดหมายที่เขียนติดต่อกันเป็นส่วนตัวระหว่างบุคคลที่คุ้นเคยกัน เช่น ญาติพี่น้อง เพื่อน ครูอาจารย์ เพื่อไมตรีอันดี ไต่ถามทุกข์สุขของกันและกัน ภาษาที่ใช้จะไม่เคร่งครัด อาจเป็นภาษากึ่งแบบแผน ไม่เป็นทางการ

2. จดหมายกิจธุระ เป็นจดหมายที่เกี่ยวข้องกับกิจการงานต่างๆ หรือระหว่างบุคคลกับบริษัท ห้างร้าน องค์กร เพื่อแจ้งธุระ เช่น จดหมายสมัครงาน จดหมายเชิญวิทยากร จดหมายสั่งซื้อ ขอความช่วยเหลือ การใช้ภาษาเป็นสิ่งจาเป็นมากในการเขียน จดหมายประเภทนี้ จะประสบความสำเร็จย่อมต้องใช้ภาษาเขียนให้เป็นประโยชน์ต่ออาชีพ และการติดต่อสื่อสารด้วย

3. จดหมายธุรกิจ เป็นจดหมายที่เกี่ยวข้องกับการค้า ระหว่างบริษัทห้างร้านต่างๆ ภาษาควรสั้นกะทัดรัด บอกจุดประสงค์ที่ต้องการชัดเจน เข้าใจง่าย ไม่ใช้คำฟุ่มเฟือย ภาษาที่ใช้ควรเป็นภาษาเขียน

4. จดหมายราชการ เป็นจดหมายที่เขียนติดต่อกันระหว่างส่วนราชการต่างๆ หรือหน่วยราชการกับบุคคลภายนอก ภาษาที่ใช้เป็นทางการ ใช้ภาษาแบบแผน ควรเขียนให้ถูกต้องเหมาะสม

ในเรื่องการเขียนจดหมายตามรูปแบบราชการ จะกล่าวถึงการเขียนจดหมายกิจธุระที่มีความจำเป็นสาหรับนักศึกษาสามารถนำไปใช้ในการสื่อสารในชีวิตประจำวันได้

หลักสำคัญในการเขียนจดหมาย

1. วางรูปแบบของการเขียนจดหมายแต่ละประเภทให้ถูกต้อง ซึ่งแสดงถึงความเป็นผู้รู้จักกาลเทศะ

2. เขียนข้อความในจดหมายให้ชัดเจน อ่านง่าย ตัวสะกด วรรคตอนให้ถูกต้อง เขียนให้สะอาดเรียบร้อย ไม่มีรอยขูดขีด ลบ หรือสกปรก

3. เนื้อความในจดหมายครบถ้วน ไม่ใช้ภาษาฟุ่มเฟือย

4. ใช้กระดาษสีสุภาพ ควรเป็นกระดาษสีขาว จ่าหน้าซองครบถ้วนและชัดเจน

มารยาทในการเขียนจดหมาย

1. เขียนให้ชัดเจน อ่านง่าย ตัวเขียนเหมาะสม ไม่ใหญ่หรือเล็กจนเกินไป

2. ถ้อยคำที่ใช้ต้องสุภาพ ไพเราะ ไม่วกวน และไม่เขียนคำหยาบ ควรใช้ภาษาเชิงสร้างสรรค์ ไม่ใช้ภาษาหยาบคายรุนแรง

3. เขียนอย่างเป็นระเบียบ เรียบร้อย วรรคตอนให้ถูกต้อง ไม่เขียนฉีกคำ

4. ระมัดระวังในการใช้คำ ไม่เขียนเหยียดหยาม กระทบ กระทั่ง เสียดสีผู้อื่นให้เสียหาย

5. ถ้าต้องการยกข้อความมาประกอบสิ่งที่เขียน ต้องให้เกียรติเจ้าของข้อความนั้น ด้วยการบอกที่มาทุกครั้งว่ามาจากไหน เรื่องอะไร ของใคร

6. การเขียนอ้างอิงถึงบุคคล ต้องระมัดระวังในการเขียนคำนำหน้าชื่อ สะกดชื่อ และนามสกุลบอกตำแหน่งให้ถูกต้อง

7. มีความรับผิดชอบงานเขียนของตน เพราะการเขียนที่ทำให้ผู้อื่นเสียหายอาจถูกฟ้องร้องดำเนินคดี เรียกร้องค่าเสียหายได้

การหมั่นฝึกฝนทักษะในการเขียนและมีมารยาทในการเขียน มีความจำเป็นต่อการนำไปใช้สื่อสารและสร้างมนุษยสัมพันธ์ในชีวิตประจาวัน เพราะเป็นพื้นฐานที่ทุกคนควรจะรู้ เพื่อความถูกต้อง รวดเร็ว และประสบความสาเร็จในการทำงาน

การเขียนจดหมายกิจธุระ

จดหมายกิจธุระเป็นจดหมายที่เขียนติดต่อกันกับบุคคลหรือบริษัท ห้างร้าน สมาคม ฯลฯ เพื่อติดต่อกิจธุระอยู่เสมอ การเขียนจดหมายกิจธุระมีข้อควรคำนึง ดังนี้

1. ความถูกต้อง การเขียนจดหมายกิจธุระต้องอ่านทบทวนเนื้อหาสาระในทุกย่อหน้าให้ถูกต้อง ก่อนที่จะส่งจดหมายทุกครั้ง ชื่อตำแหน่งของผู้รับ วันและเวลาที่นัดหมายต้องตรวจสอบให้ถูกต้อง ถ้าผิดพลาดจะเกิดความเสียหายเป็นอย่างมาก

2. ความสมบูรณ์ ต้องเขียนระบุทุกประเด็นที่จำเป็น จะทำให้ผู้รับจดหมายอ่านเข้าใจได้ว่าจดหมายมีวัตถุประสงค์ จะจัดกิจกรรมในวัน เวลาใด สถานที่ใด

3. ความกะทัดรัด ใช้ภาษาระดับมีแบบแผน ได้ใจความชัดเจน ภาษาต้องกระชับ คำสั้นๆ กินความหมายมาก

4. ความสุภาพ ต้องใช้ภาษาสุภาพ สร้างความประทับใจ เพราะจดหมายกิจธุระส่วนใหญ่ มักจะมีเนื้อความขอร้องให้ผู้อื่นทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง รวมถึงการใช้กระดาษ การพิมพ์ ความสะอาดและการจ่าหน้าซอง

หลักการเขียนจดหมายสมัครงาน

1. กระดาษและซองจดหมายควรใช้สีขาวหรือสีอ่อน

2. เขียนรายละเอียดในเนื้อความของจดหมาย เช่น เพศ อายุ การศึกษา ประสบการณ์ ความสามารถพิเศษ

3. เนื้อความควรเขียนรียงลำดับตามแนวทาง ดังนี้

1) แหล่งที่ได้รับข้อมูลข่าวสาร เช่น ทางหนังสือพิมพ์ชื่ออะไร ลงวันที่ .............

2) กล่าวถึงคุณสมบัติและความสามารถพิเศษ รายละเอียดส่วนตัวของผู้สมัครงาน

3) ภาษาเขียนควรเป็นภาษาทางการ ใช้ภาษาสุภาพ

4) ถ้าบริษัทต้องการเอกสาร ให้แนบสำเนาไปกับจดหมายได้ในกรณีที่ทางบริษัท ต้องการเท่านั้น

หลักการเขียนจดหมายเชิญเป็นวิทยากร

1. เขียนตามรูปแบบจดหมายกิจธุระให้ถูกต้องครบถ้วนสมบูรณ์

2. เนื้อความควรเขียนบอกสาเหตุว่าจะมีการอบรมที่ไหน อย่างไร กำหนดวัน เดือน ปีให้ชัดเจนครบถ้วน

3. เขียนถึงผู้รับหนังสือว่ามีความเชี่ยวชาญด้านใด และเชิญให้พูดเรื่องใด

4. สรุปว่า หวังว่า ผู้รับหนังสือจะให้ความกรุณาเป็นวิทยากรเพื่อผู้ฟังจะได้รับประโยชน์เป็นอย่าง มาก

5. ภาษาต้องใช้ภาษาสุภาพชัดเจนตรงไปตรงมา ครอบคลุมและให้เกียรติแก่วิทยากรเป็นอย่างยิ่ง

6. ควรส่งจดหมายล่วงหน้าแต่เนิ่น ๆ เพื่อวิทยากรจะต้องเตรียมตัวในการพูด

7. ใช้คำขึ้นต้นและคำลงท้ายให้ถูกต้อง

การเขียนรายงาน

การเขียนรายงาน หมายถึง การเขียนเสนอผลของการศึกษาค้นคว้าในรายวิชาต่างๆ ที่เรียบเรียงขึ้นอย่างมีแบบแผน เพื่อเสนอเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษา

รายงานมีรูปแบบที่จัดเป็นส่วนประกอบสำคัญ 3 ส่วน ดังนี้

1. ส่วนประกอบตอนต้น ประกอบด้วยส่วนต่างๆ ดังนี้

- ปกนอก จะมีชื่อเรื่องของรายงาน ชื่อผู้เขียน

- ปกใน จะมีรายละเอียด ดังนี้ ชื่อเรื่อง ชื่อผู้เขียน ชื่อวิชาที่เขียนรายงานประกอบ รหัสวิชา ภาคเรียน ปีการศึกษา

- คำนำ จะกล่าวถึงวัตถุประสงค์ของรายงาน ขอบเขตรายงาน

- สารบัญ เป็นการระบุหัวข้อสำคัญๆ ของรายงาน เรียงกันตามลำดับเรื่องที่ปรากฏ มีการระบุเลขหน้าว่าเรื่องต่าง ๆ ขึ้นอยู่กับหน้าใด

2. ส่วนของเนื้อความ ส่วนสำคัญที่ปรากฏคือ

- เนื้อหาสาระ เป็นส่วนสำคัญ ผลจากการศึกษาค้นคว้าจะนามาเรียบเรียง นำเสนอในส่วนนี้

- เชิงอรรถ เป็นคำอธิบายเนื้อหาเพิ่มเติม เช่น อธิบายศัพท์ ให้คำจำกัดความ บอกแหล่งที่มาของข้อมูล เชิงอรรถอยู่ส่วนท้ายของหน้าแต่ละหน้าที่ต้องการขยายความเพิ่มเติม

3. ส่วนประกอบตอนท้าย ประกอบด้วย

- บรรณานุกรม หมายถึง รายชื่อหนังสือที่ผู้เขียนใช้เป็นแหล่งข้อมูลในการค้นคว้า โดยเขียนเรียงลำดับชื่อตามตัวอักษรตัวแรกของชื่อผู้แต่ง ถ้ามีภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ ให้เรียงรายชื่อแหล่งข้อมูลภาษาไทยก่อน

หลักการสำคัญของการเขียนรายงาน

1. รวบรวมข้อมูลการอ้างถึงแหล่งข้อมูลต่างๆ อาจทำได้โดยการสัมภาษณ์ การฟังและการอ่าน

2. วางโครงเรื่อง

2.1 ขั้นร่างโครงเรื่องคร่าวๆ ขั้นตอนนี้เป็นการจัดลำดับความคิดเกี่ยวกับเรื่องที่จะเขียนโดยอาศัยบันทึกที่เตรียมไว้

2.2 โครงเรื่องจริงเมื่อเข้าใจโครงเรื่อง และวิธีทำโครงเรื่องแล้วก็จัดทำโครงเรื่องจริงได้ โดยปรับปรุงจากโครงเรื่องคร่าวๆ ดังนี้

1) ตัดส่วนที่เกินต้องการออก

2) เติมสิ่งที่ขาดไป

3) เรียงลำดับหัวข้อให้เหมาะสม

3. ศึกษาส่วนประกอบของรายงาน

3.1 ส่วนปก ประกอบด้วย หน้าปก คำนำ และสารบัญหน้าปกรายงาน

- กะระยะให้ตัวอักษรอยู่กึ่งกลางหน้ากระดาษ

- แบ่งส่วนหน้าปกเป็น ส่วนบน คือชื่อเรื่อง ส่วนกลาง ชื่อผู้เขียนรายงาน และส่วนล่าง คณะหรือสถาบันที่ผู้เขียนรายงานจะต้องนาส่ง พร้อมวัน เดือน ปีที่ส่ง

3.2 ส่วนเนื้อหา แบ่งเป็น 3 ส่วนใหญ่ๆ คือ คำนำ เนื้อเรื่อง และสรุป

3.3 ส่วนอ้างอิง ต้องแสดงแหล่งที่มาของข้อมูลอย่างชัดเจน การอ้างอิงแหล่งความรู้ ช่วยให้ข้อเขียนนั้นมีน้าหนักที่น่าเชื่อถือ และเป็นการแสดงมารยาทต่อเจ้าของความรู้ ความคิดเดิม ส่วนอ้างอิงนี้ยังแยกออกเป็น ส่วนสำคัญอีก 2 ส่วน ได้แก่

1) ส่วนอ้างอิงในเนื้อหา

- การคัดลอกข้อความมาโดยตรง ต้องให้เหมือนต้นฉบับเดิมทุกประการ และควรกล่าวนำในเนื้อเรื่องว่าเป็นคำกล่าวของใคร คำที่คัดลอกมานั้นต้องอยู่ภายในเครื่องหมายอัญประกาศ พร้อมทั้งมีตัวเลขกำกับด้วย

- การเก็บใจความมาประกอบเรื่อง หมายถึง การนำย่อความมาใช้ ไม่ต้องใส่เครื่องหมายอัญประกาศ แต่ให้ใส่หมายเลขกำกับที่ส่วนเหนือตอนท้ายของข้อความ

2) ส่วนอ้างอิงท้ายรายงาน คือบัญชีรายชื่อเอกสารอ้างอิง ซึ่งมีชื่อเรียกเฉพาะว่า บรรณานุกรม

ตัวอย่างการเขียนบรรณานุกรม

คึกฤทธิ์ ปราโมช สี่แผ่นดิน เล่ม 2 พระนคร : สำนักพิมพ์ชัยฤทธิ์, 2496

บรรเทา กิตติศักดิ์ . หนังสือเรียนภาษาไทย ท071 หลักภาษาไทย. พิมพ์ครั้งที่ 7 กรุงเทพมหานคร : บริษัท

โรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช จากัด, 2541

4. ต้องใช้ภาษาที่เป็นทางการ ใช้อย่างถูกต้องเหมาะสม

4.1 ไม่ต้องเลือกเฟ้นถ้อยคำหรือสำนวนโวหารที่ไพเราะมาเขียน

4.2 ใช้ภาษาเรียบง่ายตรงไปตรงมา

4.3 ไม่แสดงอารมณ์ใดๆ ลงไปในข้อเขียน

4.4 ควรเลือกใช้ประโยคสั้นๆ ทุกประโยคควรมีใจความบริบูรณ์

4.5 การเสนอเนื้อหาสาระควรเป็นตอนๆ และแยกเป็นข้อๆ

สรุป

การเขียนรายงานทางวิชาการผู้เขียนจะต้องวางแผนอย่างเป็นระบบควรมีการกำหนดขอบเขตให้สอดคล้องกับหัวข้อและวัตถุประสงค์เพื่อให้สามารถวางแผนขั้นตอนต่าง ๆ และได้ข้อมูลที่ครบถ้วนสำหรับการทำรายงานเป็นรูปเล่มได้สมบูรณ์ รวมทั้งผู้ทำรายงานจะต้องคำนึงถึงเรื่องของการใช้ภาษาและเครื่องหมายวรรคตอนต่าง ๆ อย่างถูกต้อง รูปเล่มของรายงานนั้นแต่ละสถานศึกษาอาจมีความแตกต่างกัน ผู้ทำรายงานจะต้องเลือกใช้รูปแบบใดก็ใช้รูปแบบนั้นเหมือนกันตลอดทั้งเล่ม

เรื่องที่ 2.2 การเขียนวิพากษ์วิจารณ์

การวิพากษ์ คือ ก.พิจารณาตัดสิน

การวิจารณ์ คือการแสดงความคิดเห็นสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เพื่อดูข้อดีและข้อบกพร่อง โดยผ่าน การอ่าน การฟังการดูมาพิจารณา แล้วถ่ายทอดให้ผู้อื่นรับรู้ ผู้วิจารณ์ต้องวิจารณ์ประกอบกับเหตุผล มีใจเป็นกลางไม่เอนเอียง ลักษณะการวิจารณ์จะเป็นการติเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์

วิพากษ์วิจารณ์หมายถึง ก.วิจารณ์, ติชม

การเขียนวิพากษ์วิจารณ์ จึงหมายถึง การเขียนแสดงความคิดเห็นต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ทั้งในด้านดีและด้านบกพร่องอย่างมีเหตุผล และมีหลักการเขียนวิพากษ์วิจารณ์ มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ผู้วิจารณ์กล้าแสดงออกในทางที่ถูกที่ควร กล้าคิด กล้าตัดสินใจ

คุณสมบัติของผู้เขียนวิพากษ์วิจารณ์ที่ดี

1. เป็นคนมีใจกว้าง มองปัญหาหรือสถานการณ์ต่างๆ ด้วยใจเป็นกลาง มีเหตุผล มีหลักการ มีอุดมคติ ปราศจากอคติ

2. เขียนสิ่งที่ตนจะวิพากษ์วิจารณ์ด้วยเหตุผลมิใช่อารมณ์

3. มีสติปัญญาเฉียบแหลม รอบรู้ มีประสบการณ์ มีจุดมุ่งหมายในการวิจารณ์ เป็นนักอ่าน นักฟัง นักดู รู้จักพิจารณาไตร่ตรองปัญหา เรื่องราวต่างๆ อย่างมีเหตุผล

4. เป็นผู้ที่มีปฏิกิริยาฉับไวต่อเรื่องราวต่างๆ ที่พบเห็น มีประสาทสัมผัสรวดเร็ว

การวิพากษ์วิจารณ์ประเภทใดก็ตาม ผู้เขียนควรคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้

1. ความรู้และข้อมูลในเรื่องที่จะเขียนวิพากษ์วิจารณ์ ต้องถูกต้องชัดเจน มีความรู้ในเรื่องที่จะวิพากษ์วิจารณ์มากพอ

2. ต้องรู้หลักวิชาหรือหลักเกณฑ์เฉพาะในแต่ละเรื่อง เช่น จะวิพากษ์วิจารณ์ตัวละคร วิพากษ์วิจารณ์หนังสือ ข่าว เพลง การเมือง เศรษฐกิจ วรรณคดี ภาพยนตร์

3. แนวความคิดของผู้เขียนควรเป็นไปในลักษณะของการเสนอแนะ การวิพากษ์วิจารณ์ที่ดีต้องชี้ให้เห็นทั้งจุดเด่นและจุดด้อย การแสดงจุดด้อยควรเป็นไปในลักษณะติเพื่อก่อ ไม่ใช่ติเพื่อทำลาย สิ่งที่จะช่วยให้การวิพากษ์วิจารณ์ดีมีคุณค่า คือการเสนอแนวความคิดที่แหลมคม ให้คุณค่าที่ผู้เขียนสอดแทรกและความสมเหตุสมผลที่ผู้เขียนยกมาสนับสนุนแนวความคิดดังกล่าว

การวิพากษ์วิจารณ์แบ่งออกได้ 3 ชนิดด้วยกันคือ

1. วิพากษ์วิจารณ์เรื่องทั่วไป หมายถึง วิพากษ์วิจารณ์เหตุการณ์ทั่วๆ ไป เช่น รายการโทรทัศน์ รายการวิทยุกระจายเสียง ภาพยนตร์ ละคร เป็นต้น

2. วิพากษ์วิจารณ์ทางวิชาการ หมายถึง การวิพากษ์วิจารณ์ในสาขาต่างๆ เช่น การแพทย์ ดนตรี การเมือง เป็นต้น

3. วิพากษ์วิจารณ์หนังสือ คือการวิพากษ์วิจารณ์หนังสือที่เราอ่านทั่วๆ ไป วรรณกรรม วรรณคดี เรื่องสั้น นวนิยาย บทร้อยกรอง เป็นต้น

วิธีการวิพากษ์วิจารณ์

การเตรียมเนื้อเรื่องที่จะใช้เขียนวิพากษ์วิจารณ์ขึ้นอยู่กับแนวในการเขียน ตลอดจนความเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพการณ์ทั่วๆ ไป ได้แก่ ผู้อ่าน โอกาส และเวลา แยกตามแนวการเขียน ดังนี้

1. การเขียนวิพากษ์วิจารณ์ทั่วไป มักเขียนเพื่อแสดงความคิดเห็นต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งอาจสนับสนุนหรือคัดค้าน โดยมีตัวอย่างประกอบการแสดงความคิดเห็น

2. การเขียนวิพากษ์วิจารณ์ทางวิชาการเป็นการเขียนวิพากษ์วิจารณ์ที่ผู้เขียนต้องมีความรู้หรือศึกษาปัญหาอย่างถ่องแท้ วิเคราะห์แต่ละด้านด้วยใจเป็นกลางไม่มีอคติ จะอาจจบลงด้วยข้อเสนอแนะ ข้อแก้ไข ปรับปรุงหรือไม่มีก็ได้ นิยมเขียนปัญหาด้านสังคม การเมือง เศรษฐกิจ การแพทย์ การศึกษา เป็นต้น

3. การเขียนวิพากษ์วิจารณ์หนังสือ มักเป็นการแนะนาให้ผู้อ่านได้รู้จักและบอกคุณสมบัติของหนังสือเล่มนั้น การวิพากษ์วิจารณ์จะแยกเป็นประเภทต่างๆ ดังนี้

(1) หนังสือประเภทวิชาการ ความถูกต้องและความต่อเนื่องของเนื้อหา ความยากง่ายด้านการใช้ภาษาโดยรวม แล้วจึงพิจารณาเนื้อหา

(2) หนังสือประเภทบันเทิงคดี ร้อยแก้ว ผู้เขียนวิพากษ์วิจารณ์จะต้องศึกษาองค์ประกอบของหนังสือแต่ละประเภท เช่น ถ้าเป็นการวิพากษ์วิจารณ์นวนิยายก็ต้องศึกษา รูปแบบ แนวคิด โครงเรื่องเนื้อเรื่อง ตัวละครและกลวิธีในการแต่ง

(3) หนังสือประเภทร้อยกรอง ถ้าเป็นวรรณคดีควรพิจารณาขนบธรรมเนียมในการแต่งเป็นเรื่องสำคัญ ถ้าในปัจจุบันร้อยกรอง มักเป็นร้อยกรองขนาดสั้นๆ ควรพิจารณาแนวคิดของผู้เขียนเป็นหลัก สิ่งที่ต้องวิพากษ์วิจารณ์เป็นหลักคือ ความงามด้านวรรณศิลป์ ได้แก่ ความถูกต้องของฉันทลักษณ์และสุนทรียรสในด้านต่างๆ เช่น อารมณ์สะเทือนใจ โกรธ รัก ชัง ความไพเราะของคาและความ

การเขียนวิพากษ์วิจารณ์

การเขียนวิพากษ์วิจารณ์หนังสือไม่ว่าจะเป็นหนังสือประเภทใด ก็มีหลักในการเขียนคล้ายคลึงกันคือ

1. แนะนำหนังสือ คือบอกชื่อหนังสือ ชื่อผู้แต่ง ประวัติความเป็นมาของหนังสือ ให้ความรู้หรือน่าสนใจอย่างไร

2. บอกเนื้อหาย่อและบอกแนวคิดสำคัญของเรื่อง

3. เขียนประโยคที่ต้องการจะกล่าวถึงในด้านดีและด้านบกพร่องในหนังสือเล่มนั้นได้ พร้อมทั้งยกตัวอย่างประกอบ

4. ใช้ถ้อยคำภาษาในการเขียนให้ชัดเจน สละสลวย ถูกต้อง มีสำนวน มีอะไรน่าสนใจบ้าง เช่น ภาพพจน์ ยกตัวอย่างประกอบ

ประโยชน์ของการวิพากษ์วิจารณ์

1. เป็นการพัฒนางานให้เจริญก้าวหน้า เพราะได้รับข้อเสนอแนะให้ปรับปรุง ในส่วนที่ผู้เขียนมองไม่เห็นของตนเอง

2. ช่วยให้งานเขียนมีความประณีต ละเอียดรอบคอบมากยิ่งขึ้น เพราะได้ความคิดจากหลายฝ่ายวิพากษ์วิจารณ์

3. ช่วยชี้แนะสิ่งที่ควรแก้ไขปรับปรุงในการทำงาน

4. ทำให้ผู้เขียนได้รู้ผลของการทำงาน ซึ่งจะออกมาในรูปของการวิพากษ์วิจารณ์จากบุคคลหลากหลายอาชีพ เป็นกาลังใจให้แก่ผู้ที่ตั้งใจทำงาน และทำงานได้ดี

5. ทำให้งานนั้นแพร่หลายเป็นประโยชน์ต่อสังคม เมื่อได้อ่านจะนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้

สรุป

การเขียนวิพากษ์วิจารณ์ไม่ว่าจะเป็นการวิพากษ์วิจารณ์เรื่องใดก็ตาม ผู้วิพากษ์วิจารณ์จะต้องมีความรู้หรือศึกษาเรื่องหรือปัญหานั้นๆ ให้ถ่องแท้เสียก่อน โดยการวิเคราะห์ในแต่ละด้านด้วยใจที่เป็นกลางไม่มีอคติเป็นไปในลักษณะสร้างสรรค์ แล้วอาจจบการวิพากษ์วิจารณ์โดยให้ข้อเสนอแนะ ข้อแก้ไขปรับปรุงหรืออาจจะไม่มีก็ได้

เรื่องที่ 2.3 การประเมินงานเขียนของผู้อื่น

งานเขียน คือสิ่งที่เขียนขึ้นทั้งหมด เพื่อจุดมุ่งหมายอย่างใดอย่างหนึ่ง จะเขียนรูปแบบใดก็ตาม เช่น สารคดี บทความ นวนิยาย เรื่องสั้น ตำรา ข่าว ประกาศ บทละครพูด ใช้กลวิธีในการนำเสนอที่ แตกต่างกัน ผู้รับสารจะได้รับคุณค่าของงานเขียนแตกต่างกัน ผู้รับสารจึงควรศึกษาแนวทางในการประเมินคุณค่างานเขียนของผู้อื่น เพื่อนำแนวทางไปพัฒนางานเขียนของตนเอง

ความหมายของการประเมินงานเขียนคือ การตัดสินคุณค่าของสาระที่อ่าน โดยผ่านการวิเคราะห์วิจารณ์มาแล้วว่างานเขียนนั้นดีหรือไม่อย่างไร ให้คุณค่าด้านใดบ้าง สามารถนำมาประยุกต์ใช้พัฒนำงานเขียนของตนเองอย่างไร

การประเมินงานเขียนเป็นการพัฒนาการอีกขั้นหนึ่งของการรับสาร ซึ่งผู้รับสารจะต้องรู้ความหมายและตีความ วิเคราะห์ แยกแยะรายละเอียดก่อนจะใช้ดุลยพินิจประเมินค่างานเขียนอย่างมีเหตุผลตรงตามเจตนาของผู้เขียนได้อย่างถูกต้อง มีหลักในการประเมินงานเขียน ดังนี้

1. พิจารณาประเภทของงานเขียน พิจารณาว่าเป็นงานเขียนประเภทใด ร้อยแก้วหรือร้อยกรอง

ร้อยแก้ว เป็นนวนิยาย เรื่องสั้น นิทาน บทละคร บทความ สารคดี เพราะงานเขียนแต่ละประเภทมีกลวิธีการพิจารณาและแนวทางประเมินงานเขียนแตกต่างกัน

ร้อยกรอง เป็นกาพย์ กลอน โคลง ฉันท์ และร่าย ซึ่งมีฉันทลักษณ์ที่แตกต่างกันออกไป

2. ศึกษาอย่างละเอียด เพื่อวิเคราะห์แยกแยะรายละเอียด รู้ความหมายโดยพิจารณาองค์ประกอบต่างๆ เช่น รูปแบบ เนื้อหา การใช้สำนวนภาษา กลวิธีการนำเสนอเรื่อง และแนวคิดของเรื่อง

3. การตีความ เป็นการทำความเข้าใจความหมาย ความรู้สึก ความสะเทือนอารมณ์จากงานเขียน มีทั้งเจตนาอย่างชัดเจนจนผู้อ่านสามารถเข้าใจได้ทันทีโดยไม่ต้องพิจารณา เช่น เอ้ย ! น่าสงสารจริงๆ เด็กผู้หญิงตัวเล็กๆ ที่ขายพวงมาลัยอยู่ๆ ก็หายไป และเจตนาที่ซ่อนความหมายแฝง ซึ่งไม่ได้สื่อความหมายตามรูปคำ ผู้อ่านจะต้องอาศัยความรู้ ประสบการณ์และภูมิหลังเพื่อค้นหาสารที่ต้องการจะสื่อ หรือกล่าวอย่างหนึ่งอาจจะหมายถึงอีกสิ่งหนึ่งก็ได้ โดยใช้อุปมา อุปลักษณ์ บุคคลวัต ผู้อ่านต้องดูข้อความแวดล้อม

4. การประเมินคุณค่า เป็นการตัดสินคุณค่าของงานเขียน ซึ่งผู้รับสารจะต้องประเมินคุณค่าโดยใช้วิจารณญาณตัดสินอย่างมีเหตุผล ต้องอาศัยความรู้และประสบการณ์ของผู้ประเมินโดยปราศจากอคติด้วยใจเป็นธรรม พิจารณาความน่าเชื่อถือ ความสมบูรณ์และความถูกต้องจึงจะเกิดประโยชน์แก่ผู้รับสาร

แนวทางการประเมินงานเขียน

ชุติมา สัจจานนท์ และคณะ (2542) ได้นำเสนอเกณฑ์การประเมินคุณค่าวรรณกรรมไทย เพื่อใช้เป็นแนวทางในการศึกษาวิเคราะห์ประเมินคุณค่าวรรณกรรมและเป็นแนวทางในการสร้างสรรค์วรรณกรรมที่มีคุณค่า เกณฑ์การประเมินคุณค่านี้ นักศึกษาสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการประเมินงานเขียนประเภทต่างๆ ได้ดังนี้

1. การประเมินงานเขียนประเภทสารคดี

การประเมินคุณค่างานเขียนประเภทสารคดี ควรพิจารณาประเมินใน 4 ประเด็นหลัก ดังนี้

(1) เนื้อหา สารคดีเป็นงานเขียนที่มุ่งเน้นให้ความรู้และความเพลิดเพลิน มีเนื้อหาสะท้อนแนวคิด รวมทั้งพิจารณาความถูกต้องของเนื้อหาที่นำเสนอ มีการอ้างอิงแหล่งข้อมูลที่ถูกต้องน่าเชื่อถือ

ขั้นตอน ในการประเมินงานเขียนของผู้อื่น

จับประเด็นให้ได้ โดยอ่านให้ละเอียด

  • ศึกษาหาความรู้เรื่องที่จะประเมินนั้นๆ อย่างละเอียด

  • วิเคราะห์แยกออกเป็นส่วนๆ ในงานเขียนนั้นๆ

  • พิจารณาข้อดี ข้อด้อยของงานเขียนนั้นๆ ว่ามีดีอย่างไร ด้อยอย่างไร

  • ใช้เกณฑ์ประเมินค่าตั้งไว้

  • ประเมินงานเขียนด้วยใจยุติธรรม

  • สามารถยกข้อดีและข้อด้อยมากล่าวได้ถูกต้อง

2) การใช้ภาษา การใช้ภาษาที่สื่อความได้อย่างตรงไปตรงมาอ่านเข้าใจง่าย การใช้สำนวนภาษามีพลังในการส่งสาร การใช้ภาษาควรระมัดระวังให้ถูกต้องทั้งในด้านความหมายและหน้าที่ของคำ ทั้งกาลเทศะตลอดจนการสะกดคำให้ถูกต้อง เนื่องจากเป็นองค์ประกอบสำคัญในการสื่อความหมาย ทั้งการเลือกใช้ศัพท์เฉพาะหรือศัพท์บัญญัติให้ถูกต้องเหมาะสมกับเรื่อง หากจำเป็นต้องใช้คำภาษาต่างประเทศ ก็อาจจะใช้การเขียนภาษาไทยทับศัพท์ได้กรณีหาคำไทยไม่ได้

3) วิธีการนำเสนอ พิจารณาจากชื่อเรื่องต้องมีความน่าสนใจ ลำดับเรื่องน่าติดตาม กลวิธีการนำเสนอเหมาะสมกับเนื้อหาและน่าสนใจ เสนอในรูปแบบที่เหมาะสมและถูกต้อง ข้อเท็จจริงที่ผู้อ่านควรรู้และเกิดประโยชน์ต่อส่วนรวมและตนเอง ไม่สอดแทรกความคิดเห็นส่วนตัว

4) คุณค่าของสารคดี งานเขียนให้ทั้งความรู้ ความคิด และความบันเทิง ช่วยให้ผู้อ่านมีความรู้ ความคิด เป็นคนทันสมัย เปิดโลกทัศน์ให้กว้างไกล ก้าวทันโลกอยู่ตลอดเวลา

ตัวอย่างการประเมินงานเขียนสารคดี

เรื่อง ตลาดน้ำอัมพวา ชีวิตชีวากำลังจะหวนคืน มีดังนี้

เสียงเพลงลูกทุ่งแว่วหวาน กังวานมาแต่ไกล ในขณะที่แสงไฟเริ่มเต้นกระพริบไปตามจังหวะเสียงเพลง ห่างออกไปไม่ไกลนักเรือพายลำน้อยหากเต็มไปด้วยขนม ผลไม้จากบ้านสวนหลายลากำลังมุ่งหน้าใกล้เข้ามา....นานมาแล้วที่ความครึกครื้นเช่นนี้ห่างหายไปจากลำคลองอัมพวา

หลายสิบปีผ่านมาแล้ว ตลาดน้ำอัมพวา อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม ผ่านวันเวลาอันเงียบเหงา หลังจากเส้นทางสัญจรทางน้ำเริ่มหมดความสำคัญและถนนหนทางเข้ามาทดแทนที่ ตลาดน้ำบริเวณปากทางอัมพวาติดกับแม่น้าแม่กลองแห่งนี้ ซึ่งเดิมทีเป็นจุดแลกเปลี่ยนซื้อขายสินค้าอันสำคัญที่สุดของเมือง แม่กลองจึงค่อย ๆ ซบเซาลงไป เรือหลายร้อยที่เคยลอยลำบรรทุกข้าวของเครื่องใช้ อาหารหวานคาว ก็ห่างหายไป จนลำคลองแห่งนี้เงียบเหงาไปด้วย

หากในวันนี้ ภาพอดีตในลำคลองสายนี้คล้ายกำลังถูกปะติดปะต่อฟื้นกลับคืนขึ้นมาอีกหน ด้วยความพยายามของชาวชุมชนอัมพวากับการสนับสนุนของเทศบาลตำบลอัมพวา ที่ช่วยกันพัฒนาบริเวณถนนหน้าเทศบาลให้เป็นที่จำหน่ายอาหาร ขนม และผลไม้หลากหลายชนิดพร้อม ๆ กับชวนชาวบ้านสวนจากลำคลองอื่นละแวกใกล้เคียงให้ลอยเรือนำสินค้าอาหารมาจำหน่าย เพื่อนำความคึกคักของตลาดน้ำในอดีตให้หวนคืนสู่ลำคลองอัมพวา โดยกำหนดให้มีสัปดาห์ละ 3 วัน คือ วันศุกร์ เสาร์และอาทิตย์ ช่วงเวลาบ่ายสี่โมงไปจนถึงเวลาประมาณสามทุ่ม

ทุกๆ เย็นวันศุกร์ เสาร์ และอาทิตย์ เรือนแถวไม้เก่าแก่ริมคลองที่เคยเงียบเหงา จึงกลับมามีชีวิตชีวาอีกหน เมื่อคนในชุมชนช่วยกันจัด ช่วยกันหาสินค้าผลิตภัณฑ์ซึ่งทำกันในชุมชนมาวางจำหน่าย บ้างก็หาเครื่องขยายเสียงผลัดกันร้องรำทำเพลงสร้างความครึกครื้น ในขณะที่ลำคลองเต็มไปด้วยเรือลอยลำจำหน่ายอาหารการกิน ทั้งก๋วยเตี๋ยวเรือ ผัดไทย หอยทอด และขนมไทยหลากหลายชนิด

ตลาดน้ำยามเย็นอัมพวาจึงนับเป็นจุดหมายใหม่สำหรับการท่องเที่ยวเพื่อสัมผัสกับอดีตและความเป็นไปของชุมชนอันเก่าแก่อีกแห่งหนึ่งซึ่งไม่ควรผ่านเลย ทั้งยังมีระยะไกลไม่ห่างจากกรุงเทพฯ มากนักการเดินทางมาท่องเที่ยวซื้ออาหารการกิน นอกจากจะช่วยให้ชาวบ้านมีรายได้เสริมเพิ่มขึ้นแล้ว ยังอาจช่วยต่อเติมกาลังใจให้กับความพยายามการพลิกฟื้นรักษาอดีตอันสวยงามของชุมชนได้อีกทางหนึ่งด้วย

เสียงเพลงลูกทุ่งแว่วหวาน กังวานมาแต่ไกล ในขณะที่แสงไฟเริ่มเต้นกระพริบไปตามจังหวะเสียงเพลง ห่างออกไปไม่ไกลนักเรือพายลำน้อยหากเต็มไปด้วยขนม ผลไม้จากบ้านสวนหลายลากาลังมุ่งหน้าใกล้เข้ามา....นานมาแล้วที่ความครึกครื้นเช่นนี้ห่างหายไปจากลำคลองอัมพวา

หากวันนี้บรรยากาศเหล่านั้นคล้ายจะกลับมาเยี่ยมเยือนลาคลองสายนี้อีกหน

(สายัณห์ ชื่นอุดมสวัสดิ์ : อนุสาร อ.ส.ท. เดือนกุมภาพันธ์ 2548)


1. เนื้อหา ผู้เขียนสารคดี เรื่อง ตลาดน้ำอัมพวา ชีวิตชีวากำลังจะหวนคืน แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับความเงียบเหงาของตลาดน้ำอัมพวา อาเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม อันเนื่องมาจากเส้นทางสัญจรทางน้ำ เริ่มหมดความสำคัญ เพราะถนนหนทางเข้ามาแทนที่ตลาดน้ำบริเวณปากน้ำอัมพวาติดกับแม่น้ำแม่กลองแห่งนี้ ซึ่งเดิมเป็นจุดที่พ่อค้าแม่ค้ามาเปลี่ยนซื้อขายสินค้าที่สำคัญที่สุดของเมืองแม่กลอง ก็ซบเซาลงไปจากเคยมีเรือหลายร้อยที่ลอยลำบรรทุกข้าวของเครื่องใช้ อาหารคาวหวาน จะเห็นว่าผู้เขียนเขียนเล่าประสบการณ์จริงตามที่ได้เคยพบเห็น ไม่มีอารมณ์หรือการนำอคติส่วนตัวมาเกี่ยวข้อง และบอกข้อดีที่น่าสนใจว่าอยู่ไม่ไกลจากกรุงเทพฯ น่าจะไปท่องเที่ยวซื้อหาข้าวของได้

2. วิธีการนำเสนอ ผู้เขียนตั้งชื่อเรื่องมีความน่าสนใจ กระชับ ตรงประเด็นลำดับเรื่องจากความเงียบเหงาซบเซาว่ามาจากสาเหตุใด และชีวิตชีวากาลังจะหวนคืนมาได้อย่างไร อ่านเข้าใจง่าย กลวิธีการนำเสนอเหมาะสมกับเนื้อหาและน่าสนใจจากชื่อเรื่อง นำเสนอข้อเท็จจริงที่ผู้อ่านควรรู้และเกิดประโยชน์ต่อสังคม นำเสนอว่าไม่ห่างจากกรุงเทพฯ ผู้ที่อยู่ในกรุงเทพฯ สนใจที่จะไปจะทำให้ตลาดน้า อัมพวามีชีวิตชีวามากขึ้น

3. การใช้ภาษา ใช้ภาษาถูกต้อง ชัดเจนสื่อความได้อย่างตรงไปตรงมา สละสลวย ในช่วง การเปิดเรื่องผู้เขียนเลือกใช้คำทำให้เกิดจินตนาการตามไปด้วย “เสียงเพลงลูกทุ่งแว่วหวาน กังวานมาแต่ไกล ในขณะที่แสงไฟเริ่มเต้นกระพริบไปตามจังหวะเสียงเพลง ห่างออกไปไม่ไกลนัก เรือพายลำน้อย หากเต็มไปด้วยขนม ผลไม้จากบ้านสวนหลายลำกำลังมุ่งหน้าใกล้เข้ามา.....”

การประเมินคุณค่ากวีนิพนธ์ประเมินใน 4 ประเด็น ดังนี้

1. เนื้อหา สาระสะท้อนแนวคิดในการดำรงชีวิตด้วยจิตใจอันสงบสุข จะเป็นประโยชน์ต่อตนเองและต่อผู้อื่น คนเราควรหาโอกาสมุมสงบที่งดงามของธรรมชาติด้วยทัศนียภาพที่ใดสักแห่งหนึ่ง ทำใจให้สงบ ละทิ้งความวุ่นวายทั้งหลาย ผ่อนคลายความเคร่งเครียด ให้ธรรมชาติเป็นโอสถรักษาใจ ทำงานให้เป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ ให้เปรียบได้กับต้นไม้ยืนต้นที่สงบมั่นคง มีดอกประดับโลกให้ร่มเงาพักพิงผู้อื่น ใจเหมือนสายน้ำ มีอิสระเสรีในการไหลยังความร่มรื่นให้เกิดขึ้นกับสิ่งทั้งปวง

2. รูปแบบ วารีดุริยางค์แต่งด้วยกลอนสุภาพมีขนาดยาว 100 บท ในที่นี้ตัดตอนมา 20 บท เพื่อเป็นแนวทางในการประเมินคุณค่างานเขียนประเภทกวีนิพนธ์ กวีใช้รูปแบบกลอนสุภาพเป็นคำประพันธ์นี้ได้เหมาะสม ชมความงามของธรรมชาติ ใช้ภาษาต่าง ๆ อ่านแล้วเข้าใจได้ทันที

3. ความงามด้านการประพันธ์ กวีมีความสามารถในการสรรคำและวลีที่มีทั้งเสียงเสนาะและการใช้โวหารภาพพจน์ ทำให้เกิดจินตภาพและมีความหมายที่ทำให้เข้าใจลึกซึ้ง ให้อารมณ์สะเทือนใจเช่นคำว่า “เพชรน้ำค้าง” หมายถึง น้ำค้างใสสะอาดดังเพชรน้ำบริสุทธิ์ ในที่นี้จะกล่าวถึง การใช้กวีโวหารพอสมควร ดังนี้

“แทบฝั่งธารที่เราเฝ้าฝันถึง เสียงน้ำซึ่งกระซิบสาดปราศจากเสียง

จักรวาลวุ่นวายไร้สำเนียง โลกนี้เพียงแผ่นภพสงบเย็น”

- ใช้โวหารปฏิพากย์แสดงความเห็นซึ่งมองว่าขัดแย้งกัน เช่น เสียงน้ำกระซิบสาด แต่ไม่มี

เสียง จักรวาลวุ่นวายแต่ไม่มีเสียงดัง

“ฟังต้นไม้สายน้ำย้ำให้หยุด หยุดเสียทีเถิดมนุษย์หยุดสะสม

หยุดปรุงแต่งแสร้งตามความนิยม สร้างสังคมโสโครกโลกจึงร้อน

- ใช้โวหารบุคคลวัตที่กล่าวว่าต้นไม้กับสายน้ำบอกให้คนหยุด การกระทำที่ทำให้โลกเดือดร้อน

หางนกยูงระย้าเรี่ยคลอเคลียน้ำ แพนดอกฉ่าช้อยช่อวรวิจิตร

งามดั่งเปลวเพลิงป่ามานิรมิต สร้อยโสภิตอภิรุมพุ่มหัวใจ

- ใช้โวหารบุคคลวัตเปรียบหางนกยูงเหมือนสิ่งมีชีวิต

- ใช้โวหารอุปมา งามเหมือนเปลวเพลิง

สงสารใจใจเจ้าเอ๋ยไม่เคยนิ่ง วนและวิ่งคืนและวันหวั่นและไหว

เหมือนถูกกายกำบังกักขังใจ ใจจึงได้ดิ้นรนทุกหนทาง

- การใช้โวหารบุคคลวัต วน - วิ่ง

- เล่นสัมผัส ใจ - ใจ - เจ้า

- การเล่นจังหวะ วน - วิ่ง คืน - วัน หวั่น - ไหว

มโหรีจากราวป่ามาเรื่อยรี่ ราชินีแห่งน้ำค้างจะห่างหัน

- การใช้โวหารอุปมาเปรียบเสียงต่าง ๆ เกิดจากชายป่าประดุจเสียงมโหรี

4. คุณค่าของกวีนิพนธ์ ให้ข้อคิดและมีสาระจรรโลงสังคม ดังนี้

- ความงามของธรรมชาติมีค่าเหนือความงามที่มนุษย์ปรุงแต่งขึ้น

- มนุษย์เราควรมีชีวิตอยู่เพื่อทำประโยชน์ให้แก่ผู้อื่นด้วย ไม่มุ่งแต่จะทำประโยชน์ให้แก่ตนเองแต่อย่างเดียว

- มนุษย์ควรเล็งเห็นว่า ใจสำคัญยิ่งกว่ากาย เมื่อใจเป็นสุข กายก็เป็นสุขด้วย

- ให้รู้จักพอเพียง ไม่เร่าร้อน

- เข้าใจธรรมดาของชีวิตที่ “อนิจจัง” มีเกิด มีดับ

4. คุณค่าของสารคดี เป็นงานเขียนที่เขียนขึ้นจากเหตุการณ์จริง ผู้เขียนเปรียบเทียบบรรยากาศเห็นภาพได้ชัดเจน ให้ทั้งความรู้ความคิดว่าการจะพัฒนาชุมชนให้มีความเจริญได้นั้น ต้องได้รับความร่วมมือร่วมใจของคนในชุมชนนั้นๆ รวมทั้งช่วยเปิดโลกทัศน์ของผู้อ่านให้กว้างไกล หลายคน ยังไม่เคยรู้จักตลาดน้ำอัมพวา เมื่อได้อ่านงานเขียนสารคดีนี้แล้วน่าสนใจไปท่องเที่ยว

2) การประเมินคุณค่ากวีนิพนธ์

การประเมินคุณค่ากวีนิพนธ์ ควรประเมินใน 4 ประเด็น ดังนี้

(1) เนื้อหา สาระสะท้อนแนวคิดเฉพาะตน สร้างสรรค์มีความเป็นสากล

(2) รูปแบบ การประพันธ์มีรูปแบบเหมาะสมกับเนื้อหา ถูกต้องตามฉันทลักษณ์แต่ละประเภท

(3) ความงามด้านการประพันธ์ ใช้คำให้ตรงตามที่ต้องการเหมาะกับเนื้อเรื่องและฐานะของบุคคลในเรื่อง และสอดคล้องกับลักษณะคำประพันธ์ ต้องสรรคำโดยคำนึงถึงความงามความไพเราะด้านเสียงเสนาะและใช้โวหารภาพพจน์อย่างมีชั้นเชิง

(4) คุณค่าของกวีนิพนธ์ บทกวีนิพนธ์ก่อให้เกิดจินตภาพ มีรสกระทบใจ ความรู้สึกและอารมณ์ให้ข้อคิดและมีสาระจรรโลงสังคม ตัวอย่างการประเมินกวีนิพนธ์

สรุป

การประเมินงานเขียนของผู้อื่นเป็นการตัดสินคุณค่างานเขียนที่ผู้อ่านต้องวิเคราะห์ แยกแยะรายละเอียด ก่อนที่จะตัดสินอย่างมีเหตุผล ต้องอาศัยความรู้ ประสบการณ์ของผู้ประเมินเป็นอย่างมาก โดยปราศจากอคติ มีความเที่ยงตรง เชื่อถือได้ เปรียบเทียบกับผู้ประเมินผู้อื่น หรือผลงานอื่นๆ ในลักษณะเดียวกัน ต้องตอบคำถามได้ว่า ประเมินทำไม ประเมินอะไร เมื่อไร ด้วยวิธีใด โดยใคร ใช้ข้อกำหนดหรือเกณฑ์อะไร

เรื่องที่ 2.4 การใช้ภาษาให้เกิดประโยชน์ในเชิงสร้างสรรค์

การเขียนเป็นทักษะหนึ่งที่ควรได้รับการฝึกฝน จึงจะทำให้สามารถเขียนถ่ายทอดเรื่องราวให้ผู้อื่นได้เข้าใจตรงตามที่ผู้เขียนเจตนาจะเขียนบอก ผู้ที่จะเขียนได้ดีต้องเป็นผู้ที่อ่านมาก ฟังมาก มีความรู้ ความคิด และใช้ประสบการณ์ในการสร้างประโยคให้เป็นเรื่องราวและถูกต้องตามหลักการใช้คำ ความหมายของคำดังได้กล่าวมาแล้ว การเขียนที่สามารถถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิดออกมาเป็นลายลักษณ์อักษรต้องได้รับการฝึกฝน แนวทางการเขียนแบ่งได้เป็น 4 ขั้น ดังนี้

1. การคิดให้เข้าจุดประสงค์ ต้องคำนึงถึงจุดประสงค์ที่สำคัญเพียงจุดเดียว โดยลองตั้งคำถามตัวเองดูว่าในเรื่องนั้นมีข้อมูลหรืออาศัยแนวคิดอะไรบ้าง ท่านมีความรู้หรือสามารถหาข้อมูลหรือความคิดเหล่านั้นมาได้หรือไม่ ท่านสามารถบอกจุดสำคัญของเรื่องนั้นๆ เป็นข้อความสั้นๆ ได้หรือไม่ถ้ายังตอบคำถามไม่ได้ แสดงว่าคิดยังไม่เข้าจุด ถ้าจะเขียนในสิ่งที่กว้างเกินไป ก็ย่อมไม่อาจเขียนสั้นๆ หรือมีความรู้ไม่พอในเรื่องนั้นๆ การเขียนในสิ่งที่มีขอบเขตเนื้อหากว้างๆ ผู้อ่านจะไม่ได้อะไรจากผู้เขียนไปเพียงพอ แม้จะเป็นเรื่องที่น่าสนใจย่อมเป็นข้อเขียนที่เปล่าประโยชน์ การเขียนเนื้อหาขอบเขตแคบและอธิบายอย่างละเอียดกับการเขียนกว้างให้รายละเอียดไม่เพียงพอ อย่างไหนจะได้ประโยชน์มากกว่ากัน ฉะนั้นจึงควร

“คิดในสิ่งที่รู้ คิดในหัวข้อที่จำกัด ทำให้ผู้อ่านเข้าใจความคิดหลักกระจ่างแจ้ง

2. การจัดระเบียบความคิด คือจัดลำดับเรื่องราวเป็น 3 ลักษณะ คือ

1. การจัดลำดับเรื่องราว เป็นการเขียนเรื่องราวให้ผู้อ่านเข้าใจง่าย ได้ความชัดเจน

2. จัดลำดับเหตุผลเป็นการเขียนโดยใช้เหตุและผลรู้ข้อเท็จจริง

3. จัดลำดับเวลา สถานที่ เป็นการเขียนลำดับเรื่องราวต่าง ๆ ตามวันเวลา สถานที่ ให้ผู้อ่านเกิดภาพพจน์

3. มีความกระชับในเรื่องที่คิด คือคิดให้กระชับและแจ่มชัดเวลาเขียน สรุปให้ได้เฉพาะเจาะจงที่สุด เขียนข้อเท็จจริงที่จำกัดแน่นอน ไม่ใช่สิ่งที่กว้างหรือเราไม่รู้แน่นอน ถ้าเรื่องวิชาการต้องใช้ข้อมูลถูกต้องจริงๆ

4. แสดงความคิดอย่างแจ่มแจ้ง ข้อเขียนจะน่าอ่านต่อเมื่อมีแรงกระตุ้นอยู่ภายในข้อเขียนนั้นอารมณ์ของผู้เขียนเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้ข้อเขียนน่าอ่านหรือไม่ ถ้าผู้เขียนเขียนเพราะมีอารมณ์ที่จะเขียนข้อเขียนนั้นย่อมดีกว่าข้อเขียนฝืนใจเขียนออกมา ทั้งนี้ผู้เขียนจะต้องมีความสามารถในการเขียนด้วย

จากที่กล่าวมาตั้งแต่ตอนต้น ผู้ที่มีความสามารถในการเขียนจะต้องมีความรอบรู้ทางเนื้อหาการใช้คำ ความหมายของคำ รู้จักเรียงลำดับเรื่องราว รู้จักใช้โครงสร้างของประโยค การใช้เครื่องหมายวรรคตอนและการสะกดคำได้อย่างถูกต้อง การใช้ภาษาให้เกิดประโยชน์นั้น ผู้เขียนจำเป็นจะต้องศึกษาวิธีการเขียนและฝึกฝนเพื่อให้เกิดความชำนาญและใช้ภาษาในการสื่อความหมายได้ถูกต้อง การเขียนมีหลายประเภทและมีกลวิธีการเขียนที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้เขียนที่จะเขียนเรื่องประเภทใด จะกล่าวถึงการเขียนประเภทต่างๆ พอสมควร เพื่อเป็นแนวทางในการศึกษา

การเขียนแนะนำแหล่งท่องเที่ยว

การเขียนแนะนำแหล่งท่องเที่ยว ผู้เขียนเปรียบเหมือนผู้นำ นำผู้อ่านไปเที่ยวด้วยความเพลิดเพลินคุ้มค่า ประหยัดเงิน ประหยัดเวลา ปลอดภัย ภาษาที่ใช้เขียนเป็นภาษาแบบแผน สิ่งที่จะต้องกล่าวถึงวิธีการเดินทาง แหล่งอาหารที่พัก ค่าใช้จ่ายในการเดินทางทั้งหมด และการเตรียมตัวในการเดินทางเป็นต้นว่าควรนำเสื้อผ้าประเภทไหน รองเท้า ยาสามัญประจำตัว

แนวทางในการเขียน ดังนี้

1. เขียนสิ่งที่น่าสนใจ น่ารู้ เป็นความรู้เกี่ยวกับสถานที่นั้นๆ เช่น ด้านภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ความรู้ด้านวัฒนธรรมประเพณี สถานที่พักผ่อนหย่อนใจ โบราณสถาน โบราณวัตถุ

2. ให้ความรู้ที่ถูกต้องเป็นข้อเท็จจริง ไม่สรุปสิ่งใดที่ผู้เขียนไม่ทราบแน่ชัด หรือไม่แสดงความคิดเห็นมากเกินไป ใช้ศิลปะในการเขียนให้ผู้อ่านได้รับความรู้และความเพลิดเพลิน

3. เขียนในสิ่งที่ตนได้พบด้วยตนเอง จะดีกว่าฟังจากผู้อื่นเล่า เพื่อไม่ให้เกิดการผิดพลาดได้

การเขียนแนะนำหนังสือ

การเขียนแนะนำหนังสือเป็นการวิจารณ์หนังสืออย่างง่ายให้คนทั่วไปได้รู้จักหนังสือ เพื่อเร้าความสนใจให้กับผู้อ่าน โดยกล่าวแนะนำ มีหลักดังนี้

1. แนะนำชื่อหนังสือ ชื่อผู้แต่ง

2. บอกลักษณะของหนังสือ เช่น ความยาวมีกี่หน้า พิมพ์ครั้งที่ สำนักพิมพ์ ปีที่พิมพ์ และราคา

3. บอกประเภทของหนังสือ เช่น ตำรา ประวัติศาสตร์ สารคดี บันเทิงคดี หนังสือศาสนา เป็นต้น

4. เล่าเรื่องย่อ และบอกแนวคิดสำคัญของเรื่องได้ พร้อมยกตัวอย่างที่น่าสนใจประกอบ

5. บอกคุณลักษณะพิเศษของหนังสือ เช่น แนวความคิด เนื้อหา พร้อมทั้งยกตัวอย่างประกอบ

6. แสดงความคิดเห็นของผู้เขียน

เนื้อหาของหนังสือ แบ่งออกเป็น 14 ตอน ดังนี้

ตอนที่ 1 รู้เหตุการณ์ล่วงหน้าประกันราคาได้ด้วยตนเอง

ตอนที่ 2 จะปลูก จะค้าอะไรมั่นใจได้เต็มที่

ตอนที่ 3 ไม่ได้เป็นผู้ผลิต ไม่มีสินค้าก็หากำไรได้

ตอนที่ 4 ราคาขึ้นก็กำไร ราคาลงก็กำไร

ตอนที่ 5 ไม่ต้องส่งมอบสินค้าก็ได้

ตอนที่ 6 แม่นกว่าหวย (อาจจะ) รวยกว่าหุ้น

ตอนที่ 7 ซื้อขายล่วงหน้ามีกฎกติกาที่มีมาตรฐาน ไม่มีการบิดพลิ้ว

ตอนที่ 8 มีกฎหมายรองรับมีการกำกับดูแลอย่างดี

ตอนที่ 9 ตลาดเอเฟทอยู่ที่ไหน จะเข้าไปซื้อขายได้อย่างไร

ตอนที่ 10 ซื้อขายสินค้าอะไรบ้าง

ตอนที่ 11 ซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้าเสียค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง

ตอนที่ 12 สนใจจะซื้อขาย เริ่มต้นอย่างไร

ตอนที่ 13 เป็นตัวแทนหรือผู้จัดการการซื้อขายล่วงหน้าก็มีรายได้

ตอนที่ 14 ตัดสินใจซื้อขายล่วงหน้าวันนี้ สบายชีวีในวันหน้า

ผู้เขียนได้นำเสนอเรื่องการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้าที่เป็นเรื่องใหม่สำหรับคนไทย ในลักษณะการบอกเล่าเรื่องผ่านตัวละครที่ผู้เขียนได้คิดสร้างสรรค์ขึ้นในชื่อ “นายบรรเจิด” โดยการใช้สำนวนภาษาที่อ่านง่ายและสามารถถ่ายทอดความรู้ความเข้าจึงผู้อ่านได้ทุกระดับการศึกษาและสาขาอาชีพ

สาระทั้งหมดให้ข้อคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ มีจุดเด่นตรงการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า ที่ทำให้เราสามารถรู้ราคาในอนาคตล่วงหน้าได้ถึง 6 เดือน เพราะฉะนั้นเราจึงรู้ว่าสินค้าเกษตรชนิดใดในอนาคตราคาจะตกต่าโดยดูจากราคาสินค้าเกษตรที่ซื้อขายในตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้า เราก็จะหลีกเลี่ยงไปปลูกพืชอื่นที่มีราคาดีกว่า แล้วก็ไปขายผลผลิตประกันราคาล่วงหน้าไว้ เราก็ไม่ต้องเจอปัญหาสินค้าราคาตกต่า ขายไม่ได้ราคาอีก จึงเป็นประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับเกษตรกรและประชาชนที่สนใจทั่วๆไป

การเขียนบทความ

บทความเป็นงานเขียนร้อยแก้วที่เขียนขึ้นจากข้อเท็จจริง ผู้เขียนนำเสนอข้อคิดเห็นของผู้เขียน ในทางสร้างสรรค์ หรือก่อให้เกิดประโยชน์ไว้ด้วย เรื่องที่เขียนควรเป็นเรื่องที่อยู่ในความสนใจของคนโดยทั่วไป หรือเพื่อนำเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหา ซึ่งถือเป็นจุดสำคัญของการเขียนเรียงความ ภาษาที่ใช้ในการเขียนมีทั้งที่เป็นแบบแผน กึ่งแบบแผน ไม่เป็นแบบแผน ขึ้นอยู่กับประเภท เนื้อหา และบุคคลที่อ่าน ต้องใช้ภาษาด้วยถ้อยคำสุภาพ

หลักที่ควรคำนึงถึงในการเขียนบทความคือ

1. การตั้งชื่อเรื่อง ควรตั้งชื่อเรื่องน่าสนใจ สามารถสื่อความหมายได้ชัดเจน เช่น

บทความเรื่อง สมุนไพร “ ยาไทยใกล้ตัว ”

บทความเรื่อง ปลูกไม้ได้ยา

2. กำหนดจุดมุ่งหมายในการเขียนให้ชัดเจน

3. เป็นเรื่องที่อยู่ในความสนใจ มีความเป็นปัจจุบัน

4. มีสาระที่เป็นประโยชน์ เกิดความคิดสร้างสรรค์

5. มีข้อคิด ข้อวิเคราะห์ของผู้เขียนแทรกอยู่ด้วย

6. โครงเรื่องต้องประกอบด้วยคำนำ เนื้อเรื่อง และสรุปเหมือนเขียนเรียงความ

7. มีเนื้อหา และการเลือกใช้ภาษาได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม เข้าใจง่าย ชวนติดตาม

ประเภทของบทความ

บทความสามารถแบ่งได้หลายลักษณะ เช่น แบ่งตามเนื้อหา แบ่งตามวิธีการเขียน หรือทั้งเนื้อหาและวิธีการเขียนประกอบกัน ในการอ่านผู้อ่านต้องใช้วิจารณญาณในการอ่าน บางครั้งผู้เขียนมีข้อมูลทั้งเป็นข้อเท็จจริงและข้อคิดเห็นประกอบกัน ทำให้คล้อยตามได้

1. บทความประเภทกึ่งชีวประวัติ เป็นการเขียนเรื่องราวที่เกี่ยวบุคคลที่มีชื่อเสียง โดยผู้เขียนต้องการรู้ถึงคุณสมบัติและวิธีการดำเนินชีวิต ตลอดจนการปฏิบัติตนอย่างไรจึงประสบความสำเร็จ

2. บทความประเภทสัมภาษณ์ เป็นบทความที่ได้จากการรวบรวมข้อมูลต่างๆ จากการสัมภาษณ์แล้วนำมาเรียบเรียงใหม่ ควรรู้จักเลือกบุคคลที่จะสัมภาษณ์ คือเป็นบุคคลดีเด่น หรือฟันฝ่าอุปสรรคจนประสบความสำเร็จในชีวิต

3. บทความประเภทแสดงความคิดเห็น เรามักพบเสมอในหนังสือพิมพ์ นิตยสาร หรือสารทางวิชาการต่างๆ การแสดงความคิดเห็นนี้จะมีข้อมูลหลักฐานต่างๆ มาอ้างอิงให้เห็นอย่างเด่นชัด

4. บทความท่องเที่ยว เป็นบทความที่เขียนขึ้นชี้ชวนให้ผู้อ่านเกิดความสนใจอยากไปเที่ยวสถานที่นั้นๆ ผู้เขียนบทความประเภทนี้จะต้องเคยไปและมีประสบการณ์ในการไปเที่ยวสถานที่นั้นๆ มากพอสมควร

5. บทความประเภทวิจารณ์ เป็นบทความที่เสนอความคิดเห็นโดยอาศัยเหตุผลและหลักทฤษฎี บทความชนิดนี้นิยมใช้ในการวิจารณ์หนังสือ วิจารณ์ข่าว วิจารณ์ภาพยนตร์ วิจารณ์การเมือง โดยผู้เขียนจะต้องพิจารณาเรื่องนั้นๆ อย่างละเอียด รอบคอบ ทุกแง่มุม

6. บทความทางวิชาการ เป็นบทความที่มีเนื้อหาสาระเกี่ยวข้องกับวิชาการ ผู้เขียนจะต้องเป็นผู้มีความรู้ ความสนใจหรือเชี่ยวชาญในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง จะต้องมีหลักฐานอ้างอิง ทั้งทางตัวเลขสถิติ ตลอดจนความคิดเห็นและข้อเสนอแนะในแนวคิดใหม่ (ดวงใจ ไทยอุบุญ : 2543, 282-284)

การแต่งคำประพันธ์ประเภทโคลง

โคลงเป็นคำประพันธ์ที่มีมาเก่าแก่ของไทย มีปรากฏในลิลิตโองการแช่งน้า ในสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) แห่งกรุงศรีอยุธยา โคลงแบ่งออกเป็น 4 ประเภท คือ โคลงสุภาพ โคลงดั้น โคลงกระทู้ และกลโคลง ในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายที่ควรศึกษา มีดังนี้

โคลงสี่สุภาพ

คำประพันธ์ประเภทโคลงสี่สุภาพ เป็นคำประพันธ์ที่มีลักษณะบังคับ คณะ สัมผัส และคำเอก คำโท ดังนี้

1. คณะ โคลงสี่สุภาพบทหนึ่งมี 4 บาท บาทหนึ่งมี 2 วรรค วรรคหน้ามี 5 คำ วรรคหลังมี 2 คำ ยกเว้นบาทที่ 4 วรรคหลังมี 4 คำ ในบาทที่หนึ่งและบาทที่สามอาจมีคำสร้อยได้ 2 คำหรือไม่มี ก็ได้

2. สัมผัส สัมผัสบังคับหรือเรียกสัมผัสนอก คือคำท้ายในบาทแรกส่งสัมผัสไปยังคำที่ 5 ของบาทที่สองและสาม คำท้ายของบาทที่สองส่งสัมผัสไปยังคำที่ 5 ของบาทที่สี่ สัมผัสในของคำประพันธ์ประเภทโคลงสี่สุภาพที่ทำให้เกิดความไพเราะนิยมใช้สัมผัสอักษรมากกว่าสัมผัสสระ

3. คำเอกคำโท มีคำเอก 7 แห่ง คำโท 4 แห่ง ตามแผนผังต่อไปนี้

หมายเหตุ ในตำแหน่งของคำที่บังคับวรรณยุกต์เอกถ้าไม่สามารถหาคำเอกได้ จะใช้คำตายแทน เช่น จะ, ประ, อุ, มิ, เรียบ, มด, จด, เรียก นอกจากนี้ยังสามารถใช้คำเอกโทษ โทโทษแทนตำแหน่งคำเอกและคำโทได้

คำเอกโทษ คือคำที่เคยใช้ไม้โทโดยปรกติ แต่เปลี่ยนใช้ไม้เอกเสียงเดียวกันในบทร้อยกรองประเภทโคลงที่บังคับ ใช้ไม้เอก เช่น เข้า เป็น เค่า, ถ้า เป็น ท่า ตัวอย่าง

คำว่า ญ่า เป็นคำเอกโทษโดยปกติใช้ หญ้าคำว่า ญ่า เป็นคำเอกโทษโดยปกติใช้ หญ้า

คำโทโทษ คือคำที่ใช้ไม้เอกโดยปรกติ แต่เปลี่ยนใช้ไม้โทเสียงเดียวกัน เช่น ง่าย เป็น หง้าย, พลั่ง เป็น ผลั้ง, มั่นเป็นหมั้น ตัวอย่าง

คำว่า เหน้า เป็นคำโทโทษ โดยปกติใช้ เน่า

หง้าย เป็นคำโทโทษ โดยปกติใช้ ง่าย

โคลงสามสุภาพ

1. คณะ โคลงสามสุภาพบทหนึ่งมี 2 บาท แบ่งเป็น 4 วรรค วรรคที่ 1 , 2, 3 มีวรรคละ 5 คำ วรรคสุดท้ายมี 4 คำ อาจมีคำสร้อยได้ 2 คำ

2. คำเอกคำโท มีคำเอก 3 แห่ง คือคำที่ 4 วรรค 2 คำที่ 2 วรรค 3 และคำที่ 1 วรรค 4 มีคำโท 3 แห่ง คือคำสุดท้ายของวรรคที่ 2 และ 3 และคำที่ 2 วรรคที่ 4

3. สัมผัส คำสุดท้ายของวรรคที่ 1 ส่งสัมผัสไปยังคำที่ 3 ของวรรคที่ 2 คำสุดท้ายของวรรคที่ 2 ส่งสัมผัสไปยังคำสุดท้ายของวรรคที่ 3

สัมผัสระหว่างบทคำสุดท้ายของบทแรกส่งสัมผัสยังคำที่ 1, 2 หรือ 3 ของบทต่อไป

แผนผังโคลงสามสุภาพ

โคลงสองสุภาพ

1. คณะ โคลงสองสุภาพบทหนึ่งมี 2 บาท แบ่งเป็น 3 วรรค วรรคที่ 1 และ 2 มีวรรคละ 5 คำ วรรคสุดท้ายมี 4 คำ อาจมีคำสร้อยได้ 2 คำ

2. คำเอกคำโท มีคำเอก 3 แห่ง คือคำที่ 4 วรรค 1 คำที่ 2 วรรค 2 และคำที่ 1 วรรค 3 คำโท 3 แห่ง คือคำสุดท้ายของวรรคที่ 1 และ 2 และคำที่ 2 วรรคที่ 3

3. สัมผัส คำสุดท้ายของวรรคที่ 1 ส่งสัมผัสไปยังคำสุดท้ายของวรรคที่ 2 สัมผัสระหว่างบทคำสุดท้ายของบทแรกส่งสัมผัสไปยังคำที่ 1, 2 หรือ 3 ของบทต่อไป

การแต่งคำประพันธ์ประเภทฉันท์

คำประพันธ์ประเภทฉันท์นี้ไทยได้แบบอย่างมาจากคัมภีร์วุตโตทัยเขียนไว้เป็นภาษาบาลี-สันสกฤตไทยดัดแปลงมาเท่าที่เห็นว่าเหมาะสมกับลักษณะของภาษาไทย จึงทำให้ฉันท์ในภาษาไทยมีความไพเราะมากกว่าที่จะใช้ตามแบบเจ้าของเดิม

ฉันท์มีลักษณะบังคับ 4 อย่าง คือคณะ พยางค์ สัมผัส และครุ-ลหุ ฉันท์ที่ไทยนิยมแต่งได้แก่

วิชชุมมาลาฉันท์ อินทรวิเชียรฉันท์ ภุชงคประยาตฉันท์และวสันตดิลกฉันท์

ในที่นี้จะกล่าวถึงวิชชุมมาลาฉันท์ 8 อินทรวิเชียรฉันท์ 11 และวสันตดิลกฉันท์ 14 พอสังเขป

ก่อนที่จะกล่าวถึงฉันทลักษณ์ของฉันท์ในแต่ละประเภทควรทาความเข้าใจเกี่ยวกับคำ ครุ ลหุ ดังนี้

คำครุ คือ พยางค์หรือคำที่มีเสียงหนักได้แก่

1. คำที่ประสมกับสระเสียงยาวในมาตราแม่ ก กา (ไม่มีตัวสะกด)

2. คำที่ใช้ อา ไอ ใอ เอา เช่น ใจ ให้ ไป เขา

3. คำที่มีตัวสะกดทั้ง 8 มาตรา เช่น นก น้อง ครุฑ ครบ โดยใช้ “ ั” เป็นสัญลักษณ์ของคำครุ

คำลหุ คือ พยางค์หรือคำที่มีเสียงเบาได้แก่

1. คำที่ประสมกับสระเสียงสั้นในแม่ ก กา เช่น นะ จะ ปะ ทุ

2. คำ บ บ่ ณ ธ

การแต่งฉันท์แต่ละประเภทมีหลักและวิธีการในการแต่ง ดังนี้

วิชชุมมาลาฉันท์ 8 เป็นฉันท์ที่มีท่วงทำนองในการเปล่งเสียงยาวประดุจสายฟ้าแลบมีลักษณะบังคับได้แก่

1. คณะ

1 บท มี 2 บาท 1 บาท มี 2 วรรค 1 วรรคมี 4 คำ

2. สัมผัส ได้แก่

1.คำสุดท้ายของวรรคแรกสัมผัสกับคำที่ 2 ของวรรคที่ 2

2.คำสุดท้ายของวรรคที่ 2 สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่ 3

3.คำสุดท้ายของบทที่ 1 สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่ 2 ในบทต่อไป

4.นิยมแต่ง 2 บท คู่กันเป็น 1 ตอน เมื่อขึ้นตอนใหม่ต้องย่อหน้าทุกตอนและให้คำสุดท้ายของ

บทที่ 2 ของตอนต้นสัมผัสกับคำสุดท้ายของบทที่ 1 ในวรรคที่ 2 ของตอนต่อไป

3. คำครุ ลหุ คำทุกคำในแต่ละวรรคเป็นคำครุทั้งหมด

อินทรวิเชียรฉันท์ 11

อินทรวิเชียรฉันท์ 11 เป็นฉันท์ที่มีลีลาอันงดงามประดุจสายฟ้าของพระอินทร์เป็นฉันท์ที่นิยมแต่งกันมากที่สุด มีลักษณะและจำนวนคำคล้ายกาพย์ยานี 11 แต่ต่างกันตรงที่อินทรวิเชียรฉันท์มีข้อบังคับครุ ลหุ ดังนี้

1. คณะ ได้แก่ 1 บท มี 2 บาท

1 บาท มี 2 วรรค

วรรคแรกมี 5 คำ และวรรคหลังมี 6 คำ

2. สัมผัส ได้แก่

1) คำสุดท้ายของวรรคแรกสัมผัสกับคำที่ 3 ของวรรคที่ 2

2) คำสุดท้ายของวรรคที่ 2 สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่ 3

3) ถ้าแต่งหลายบทจะต้องมีสัมผัสระหว่างบท คือคาสุดท้ายของบทแรกสัมผัสกับคาสุดท้ายของวรรคที่ 2 ในบทต่อไป

3. คำครุ-ลหุ อินทรวิเชียรฉันท์จะบังคับครุ ลหุ ดังนี้

วรรคแรก ครุ 2 คำ ลหุ 1 คำ และครุ 2 คำ

วรรคหลัง ลหุ 2 คำ ครุ 1 คำ ลหุ 1 คำ และ ครุ 2 คำ

วสันตดิลกฉันท์ 14

เป็นฉันท์ที่มีลีลานุ่มนวลประดุจความงามหลังฤดูฝนใช้ในการแต่งบทชมต่าง ๆ เพื่อพรรณนาภาพอันงดงาม เช่น พรรณนาความงดงามของบ้านเมืองมีลักษณะบังคับดังนี้

1. คณะ ได้แก่ 1 บท มี 2 บาท

1 บาท มี 2 วรรค

วรรคแรกมี 8 คำ และวรรคหลังมี 6 คำ

2. สัมผัส ได้แก่

1). คำสุดท้ายของวรรคแรกสัมผัสกับคำที่ 3 ของวรรคที่ 2

2). คำสุดท้ายของวรรคที่ 2 สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่ 3

3). ถ้าแต่งหลายบทจะต้องมีสัมผัสระหว่างบท คือคำสุดท้ายของบทแรกสัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่ 2 ในบทต่อไป

3. คำครุ-ลหุ วสันตดิลกฉันท์ 14 จะบังคับครุ ลหุ ดังนี้

วรรคแรก ครุ 2 คำลหุ 1 คำครุ 1 คำ ลหุ 3 คำ ครุ 1 คำ

วรรคหลัง ลหุ 2 คำครุ 1 คำลหุ 1 คำ ครุ 2 คำ

สรุป

คำประพันธ์ประเภทโคลงมีมาเก่าแก่ ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยามีลักษณะบังคับ คณะ สัมผัส และคำเอก คำโท มีสัมผัสในของคำประพันธ์ประเภทโคลงจะทำให้เกิดความไพเราะนิยมสัมผัสอักษร

คำประพันธ์ประเภทฉันท์มีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาไทยรับรูปแบบวิธีการแต่งมาจากการแต่งฉันท์ในภาษาบาลี โดยเพิ่มสัมผัสอันเป็นลักษณะของคำประพันธ์แบบไทย ทำให้มีความไพเราะมากขึ้น การแต่งคำประพันธ์ประเภทฉันท์ผู้แต่งต้องศึกษาฉันทลักษณ์ของฉันท์ให้เข้าใจเสียก่อน และเลือกสรรถ้อยคำมาใช้ในการแต่ง โดยคำนึงถึงเนื้อหาและเสียงจะทำให้คำประพันธ์มีความไพเราะและซาบซึ้งขึ้น