ในปัจจุบันการพูดผ่านสื่อต่างๆ ถือว่ามีอิทธิพลมากในประเทศที่กำลังพัฒนา และเป็นที่ยอมรับกันว่าสื่อสามารถเข้าถึงบุคคลต่างๆ ได้เป็นจำนวนมากและมีความรวดเร็ว รัศมีครอบคลุมกว้างไกล การพูดผ่านสื่อเป็นการถ่ายทอดเนื้อหาสาระโดยใช้เสียงในการสื่อสารระหว่างผู้พูดกับผู้ฟัง ซึ่งบางครั้งอาจไม่เห็นกัน ดังนั้นเสียงทุกเสียงที่ส่งมาจึงต้องสื่อความหมายก่อให้เกิดจินตนาการและสร้างความเข้าใจได้

เรื่อง 3.1 การใช้ภาษาพูดผ่านสื่อประเภทต่างๆ

ประเภทของสื่อในประเทศไทยมีมากมายหลายประเภทแต่ที่ประชาชนสามารถเข้าถึงมีโอกาสใช้สื่อเพื่อพูดแสดงความคิดเห็นต่างๆ ในชีวิตประจำวันนั้นมีเพียงบางสื่อเท่านั้นในที่นี้จึงขอเสนอวิธีการใช้ภาษาพูดผ่านสื่อ วิทยุ โทรศัพท์ และอินเตอร์เน็ต ซึ่งเป็นสื่อที่ใกล้ชิดและมีโอกาสได้ใช้เป็นเบื้องต้น

1) การพูดผ่านสื่อวิทยุ

การใช้ภาษาพูดผ่านสื่อวิทยุกระจายเสียงถือว่ามีความสำคัญเนื่องจากวิทยุเป็นสื่อที่มีความใกล้ชิดกับกลุ่มผู้ฟังในแต่ละพื้นที่ ดังนั้นการพูดสื่อสารผ่านวิทยุแต่ละครั้งจึงเป็นเรื่องสำคัญและจำเป็นที่จะต้องใช้ความถูกต้องในการสื่อความหมายให้สามารถเข้าใจได้ตรงกันกับผู้ฟัง

ผู้พูดผ่านสื่อวิทยุ ควรเตรียมการให้พร้อม เพื่อให้การพูดมีประสิทธิภาพตามที่ต้องการ ซึ่งมีขั้นตอนดังต่อไปนี้

การเลือกเรื่องและขอบเขตของเรื่องที่ต้องการพูดโดยมีวิธีการเลือกเรื่องดังต่อไปนี้

  • เรื่องที่กำลังเป็นที่สนใจของผู้ฟัง

  • ผู้พูดมีความคุ้นเคยและมีประสบการณ์

  • เรื่องมีความเหมาะสมกับผู้รับฟัง ผู้รับฟังได้ประโยชน์

  • สามารถหาข้อมูลในเรื่องนั้นๆ ได้กว้างและลึก

  • มีความเหมาะสมกับกาลเทศะและสถานการณ์

  • มีเนื้อหาเหมาะสมกับเวลาที่จะนำเสนอ

กำหนดวัตถุประสงค์ของการพูดให้ชัดเจนว่าอะไรคือสาระสำคัญหรือประเด็นหลักในการสื่อสาร เช่น

  • เพื่อเป็นการให้ข่าวสาร

  • เพื่อทำหน้าที่ถ่ายทอดมรดกทางสังคม

  • เพื่อทำหน้าที่ประชาสัมพันธ์

  • เพื่อให้การศึกษา

  • เพื่อให้ความบันเทิง

วิเคราะห์ผู้ฟังหรือกลุ่มเป้าหมายว่ามีคุณลักษณะอย่างไร

  • เพศ อายุ การศึกษา

  • ค่านิยม รสนิยม

  • ผลการสำรวจ ผลการวิจัย

เก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อจัดทำเค้าโครงการพูดโดยทั่วไปประกอบด้วย 3 ส่วน คือ

  • การเกริ่นนา เพื่อเร้าความสนใจ มีความยาวประมาณ 10%

  • เนื้อเรื่อง เป็นประเด็นหลักในการสื่อสารมีความยาวประมาณ 80%

  • บทสรุป การรวมใจความหลักในการพูดมีความยาวประมาณ 10 %

  • พูดผ่านสื่อวิทยุ

  • พูดให้ชัดเจนทุกถ้อยคำ

  • พูดคำที่ฟังเข้าใจง่าย นุ่มนวล เสียงไม่ดังหรือค่อยเกินไป

  • หากเป็นเรื่องเล่าลำดับเหตุการณ์ให้ดี กล่าวนามผู้ที่พูดถึงให้ชัดเจน

  • เว้นจังหวะในการอ่านให้ถูกต้องเหมาะสม

  • ใช้ภาษาไทยให้ถูกต้องและฝึกออกเสียงก่อนพูดออกอากาศ

  • ไม่ใช้คำย่อที่ทำให้เกิดความไม่เข้าใจและสับสน

  • เมื่อเกิดการผิดพลาด กล่าวคำว่าขออภัยและพูดแก้ไขให้ถูกต้อง

  • ไม่พูดจาอันเป็นเท็จหรือขาดข้อมูลที่ถูกต้องไม่พาดพิงให้ผู้อื่นได้รับความเสียหายโดยเด็ดขาด

  • การพูดผ่านวิทยุควรเริ่มต้นด้วยเรื่องที่ดึงดูดใจผู้ฟังมากที่สุดต่อด้วยการนำเนื้อหามาขยายให้ชัดเจนและชวนให้ติดตาม ชี้ประเด็นสำคัญสร้างจุดประทับใจและสรุปหรือย้ำทบทวนเพื่อให้ผู้ฟังเข้าใจและจดจำได้ง่าย

2) การพูดผ่านสื่อโทรศัพท์

โทรศัพท์เป็นเครื่องมือที่ใช้พูดเพื่อการสื่อสารอย่างแพร่หลายซึ่งบุคคลทั่วไปมีความคุ้นเคยเป็นอย่างดี ในการพูดผ่านโทรศัพท์ที่ถูกต้องเหมาะสมและมีการฝึกฝนมาเป็นอย่างดีก็ยิ่งช่วยให้การสื่อสารมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น สร้างความประทับใจให้แก่คู่สนทนานามาซึ่งความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของการพูด

บทบาทสาคัญของผู้พูดโทรศัพท์

ผู้พูดโทรศัพท์มีบทบาทสำคัญในการสื่อสารและต้องตระหนักว่าตนกำลังแสดงบทบาทอะไรในการพูดโทรศัพท์แต่ละครั้ง ซึ่งบทบาทหน้าที่ดังกล่าวสามารถจำแนกได้ดังนี้

  • บทบาทผู้สื่อสารหรือผู้ติดต่อ

  • บทบาทผู้ให้การแนะนำ

  • บทบาทผู้แก้ปัญหา

  • บทบาทผู้ให้ความรู้

  • บทบาทผู้ทำการประชาสัมพันธ์

  • บทบาทผู้สร้างภาพลักษณ์และคุณค่า

ความรับผิดชอบต่อการพูดโทรศัพท์

การพูดโทรศัพท์ก็เหมือนการพูดผ่านสื่อที่ผู้พูดจะต้องมีความรับผิดชอบซึ่งสามารถแบ่งความรับผิดชอบ เป็น 3 ด้านดังนี้

ด้านที่ 1 ความรับผิดชอบต่อตนเองคือ

  • รับผิดชอบต่ออารมณ์ของตนเอง

  • รับผิดชอบคำพูดของตนเพื่อไม่ให้เกิดความเสียหาย

  • รับผิดชอบในการฟังด้วยความตั้งใจ

  • รับผิดชอบในการนัดหมายตรงเวลา

  • รับผิดชอบต่อสุขภาพกายสุขภาพจิตใจให้แจ่มใสตลอดเวลา

  • มีความจำและไหวพริบดี

  • มีมนุษยสัมพันธ์ในการพูดโทรศัพท์

  • รู้จักผ่อนคลายอารมณ์ของผู้อื่น

  • มีความซื่อสัตย์สุจริตไม่พูดโกหก

  • มีความอดทนอดกลั้นในแต่ละสถานการณ์

ด้านที่ 2 ความรับผิดชอบต่อองค์กร

  • รู้หลักการประชาสัมพันธ์องค์กรและการปฏิบัติที่เหมาะสม

  • มีความศรัทธาและภักดีต่อองค์กร

  • พึงพอใจที่ได้รับการมอบหมายให้เป็นผู้รับโทรศัพท์

  • พูดโน้มน้าวให้ผู้ติดต่อเห็นคุณค่าขององค์กร

  • มีรายละเอียดขององค์กรให้ผู้มาติดต่อได้อย่างครบถ้วน

  • เต็มใจให้ข้อมูลขององค์กรแก่ผู้ติดต่อด้วยความเต็มใจ

  • พึงหลีกเลี่ยงคำตำหนิหรือพูดคล้อยตามในเรื่องที่ผู้ติดต่อตำหนิองค์กร

  • หลีกเลี่ยงคำกล่าวปฏิเสธและหลีกเลี่ยงการรับคำที่ยังไม่แน่ใจ

ด้านที่ 3 ความรับผิดชอบต่อผู้ติดต่อทางโทรศัพท์

  • ให้การต้อนรับผู้ติดต่อโดยใช้คำพูดที่เหมาะสม

  • ใช้ความสุภาพ สง่าผ่าเผยเหมือนพูดกับบุคคลตรงหน้า

  • สื่อสารให้ชัดเจนด้วยถ้อยคำสุภาพเพื่อสร้างความเข้าใจแก่ผู้ที่ติดต่อ

  • แสดงการพูดที่ปรากฏชัดว่าเต็มใจให้บริการหรือช่วยเหลือ

  • รู้จักพูดเพื่อยกย่องให้เกียรติไม่ว่าเขาเป็นใคร

  • มีความช่างสังเกต รอบรู้และมีความจำดี จำผู้ติดต่อได้

  • มีกาลเทศะรู้จักพูดในจังหวะที่เหมาะสมกับผู้ติดต่อ

  • หลีกเลี่ยงการโต้แย้งฉุนเฉียวในการใช้อารมณ์

  • หลีกเลี่ยงการผูกขาดการพูดหรือพูดฝ่ายเดียวควรพยายามเป็นนักฟังที่ดี

  • ไม่ควรทำให้ผู้ติดต่อเกิดความเข้าใจผิดจากคำพูดของเรา

  • อย่าให้ผู้ติดต่อต้องรอนาน หากจำเป็นควรกล่าวคำขอโทษและบอกกล่าวเป็นระยะๆ อย่าพูดสวนหรือขัดจังหวะในขณะผู้ติดต่อพูดยังไม่จบ

  • การวางโทรศัพท์ต้องรอให้แน่ใจว่าอีกฝ่ายเลิกพูดแล้วและวางเบา ๆ

  • กล่าวคำยกย่องผู้ติดต่ออย่างมีศิลปะ ให้ถือว่าเขาเป็นบุคคลสำคัญโดยสนใจชื่อ จุดดี จุดเด่น จุดสำคัญของเขา ตลอดเวลาของการพูดสนทนา

มารยาทในการพูดโทรศัพท์

  • ใช้ความนุ่มนวลและว่องไวในการรับโทรศัพท์ เมื่อได้ยินสัญญาณ

  • กล่าวทักทายพูดประโยคแรกด้วยความสุภาพ

  • ขานรับด้วยคำว่า ค่ะ/ครับ เป็นระยะเพื่อแสดงถึงความตั้งใจที่จะฟัง

  • กรณีที่ผู้ติดต่อคอย ควรกล่าวคำขออภัย

  • พูดด้วยน้าเสียงปกติ ไม่พูดเสียงดังรบกวนผู้อื่นหรือค่อยจนแทบไม่ได้ยิน และอย่าพูดดัดเสียง

  • ไม่ใช่คำสแลงหรือศัพท์ที่พูดเฉพาะกลุ่ม

  • พูดให้พอดี อย่าเร็วเกินไป

  • อย่าให้ความโกรธหลุดมากับน้ำเสียง

  • กล่าวคำขอโทษทุกกรณีที่ควรขอโทษ

  • ใช้ระยะเวลาโทรศัพท์ที่พอเหมาะไม่นานเกินควร

  • ไม่ควรอมหรือขบเคี้ยวอาหารในขณะพูดโทรศัพท์

  • ไม่หัวเราะหรือพูดล้อเล่นกับเพื่อนขณะรับโทรศัพท์

  • ไม่ควรหยุดพูดเพื่อไปคุยกับคนอื่นระหว่างสนทนา

  • พยายามไม่ให้เสียงคนอื่นเข้าไปรบกวน

  • อย่าวางสายทิ้งไว้ให้ผู้โทรมาคอยนาน

  • สร้างความรู้สึกว่าผู้ที่พูดด้วยอยู่ตรงหน้าเรา

  • ไม่โกรธหรือแสดงกริยาไม่เหมาะสมเมื่อมีผู้โทรศัพท์มาผิดหมายเลข

การต่อสายโทรศัพท์

  • เตรียมหมายเลขที่ต้องการติดต่อให้พร้อม

  • มีอุปกรณ์เครื่องเขียนพร้อมจะบันทึก

  • ต่อหมายเลขโทรศัพท์พร้อมตรวจสอบความถูกต้องว่าโทรไม่ผิดหมายเลข

  • ทักทายกล่าวสวัสดี ค่ะ/ครับ

  • แนะนำตนเอง

  • ขอทราบชื่อและสถานที่ของอีกฝ่ายหนึ่งด้วยความสุภาพ

  • แจ้งเหตุผลที่ติดต่อมา

  • ถามหรือตอบอย่างมีมารยาท พร้อมจดบันทึกช่วยจำ

  • กล่าวขอบคุณ กล่าวคำอำลาและวางโทรศัพท์

ข้อควรระวังในการใช้โทรศัพท์

  • อย่าใช้คำว่า ฮัลโหล เป็นคำทักทาย ควรใช้คาว่าสวัสดี ค่ะ /ครับ

  • ไม่พูดล้อเล่นกับอีกฝ่ายหนึ่งในขณะพูดเรื่องงาน

  • ไม่ควรใช้คำว่า จ๊ะ จ๋า ฮะ กับบุคคลที่ไม่ใช้ญาติหรือเพื่อนสนิท

  • ไม่ควรใช้โทรศัพท์พูดเรื่องส่วนตัวเป็นเวลานานในเวลาทำงาน

  • อย่ารีบร้อนในการพูดโทรศัพท์

  • ไม่ควรพูดโทรศัพท์ในสถานที่ ที่ต้องการความสงบหรือต้องการสมาธิ เพราะถือเป็นการรบกวนผู้อื่น

  • ไม่พูดโทรศัพท์เสียงดังในสาธารณะ

  • ในการเข้าประชุม อบรม สัมมนา ควรปิดสัญญาณโทรศัพท์หรือเปลี่ยนเสียงเรียกเข้าเป็นระบบสั่นสะเทือน

  • ระมัดระวังเรื่องการถอนหายใจแรง ๆ ขณะพูดเพราะอาจทาให้คู่สนทนาเข้าใจผิดคิดว่า เบื่อหรือรำคาญ

3) การพูดผ่านอินเตอร์เน็ต

การพูดคุยสนทนาผ่านอินเตอร์เน็ตนั้นเป็นการสื่อสารหนึ่งที่ได้รับความนิยมจากบุคคลทั่วไป ซึ่งปัจจุบันได้มีการพัฒนาจากการพูดคุยด้วยการพิมพ์มาเป็นการสนทนาด้วยเสียงและเห็นภาพของคู่สนทนา นับเป็นสิ่งที่ทำให้อินเตอร์เน็ตมีความน่าสนใจยิ่งขึ้น

วิธีการพูดผ่านอินเตอร์เน็ตก็เหมือนการพูดสนทนาทั่วไป กล่าวคือ แสดงความเป็นมิตรด้วยอาการยิ้มแย้มแจ่มใสกล่าวทักทาย สวัสดี แนะนำตัวเอง และบอกวัตถุประสงค์ ในการพูดสนทนานั้นเป็นการพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นด้วยสำนวนภาษาที่ง่ายต่อความเข้าใจโดยใช้คำพูดที่สุภาพ เมื่อจบการพูดคุย สนทนา กล่าวอำลาด้วยความสุภาพ

ข้อควรระวังในการพูดสนทนาทางอินเตอร์เน็ต

              • ไม่ควรสนทนากับบุคคลอื่นที่ไม่รู้จักหรือไม่น่าไว้ใจ

              • ไม่ควรให้ชื่อและที่อยู่จริงกับคนแปลกหน้า หรือเว็บที่ไม่น่าไว้วางใจ

              • ระลึกอยู่เสมอว่า บุคคลที่เรารู้จักทางเว็บหรืออินเตอร์เน็ตอาจเป็นบุคคลที่ไม่พึงประสงค์

              • ระวังตัวทุกครั้งที่มีการลงทะเบียนกับเว็บต่างๆ เพราะอาจจะตกอยู่ในสายตา หรือการจับตามองของมิจฉาชีพ

              • จงคิดไว้เสมอว่าบุคคลที่ไม่รู้จักไม่มีใครยอมเสียผลประโยชน์ถ้าไม่ได้อะไรตอบแทน

              • ทุกครั้งที่มีคนมาชวนสร้างรายได้ จงคิดให้รอบคอบก่อนตัดสินใจ โดยเฉพาะรายได้ที่สูงเกินความเป็นจริงอาจเป็นกลลวงของผู้ประสงค์ร้าย

              • ไม่ควรไปพบปะกับบุคคลที่ติดต่อผ่านทางเว็บหรืออินเตอร์เน็ตตามลำพังและไม่ควรอยู่ในที่ลับตาคน

สรุปการใช้ภาษาพูดผ่านสื่อ

ผู้พูดผ่านสื่อต้องใช้ภาษาที่ถูกต้องในการสื่อสารทุกครั้ง เนื่องจากเป็นผู้ที่ทำหน้าที่สื่อความหมายหรือส่งสารไปสู่ผู้ฟังด้วยภาษาพูด ผู้ฟังส่วนใหญ่มักเกิดพฤติกรรมลอกเลียนแบบการพูด การสื่อความหมายตามแบบของผู้พูด ไม่ว่าจะเป็นการเลือกใช้ภาษา สำเนียง ลีลาการพูด พฤติกรรมในการพูด ผู้พูดที่สื่อสารด้วยความไม่ระมัดระวังความถูกต้องในการใช้ภาษาจะทำให้เกิดผลเสียหายจนกลายเป็นการทำลายวัฒนธรรมทางภาษาของสังคมไทยได้ ดังนั้น จึงควรให้ความสำคัญในเรื่องความถูกต้องโดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องของอักขระวิธี เพราะสามารถทำให้การสื่อความหมายได้ชัดเจนยิ่งขึ้นและช่วยอนุรักษ์ภาษาและวัฒนธรรมไทย ผู้ที่ทำหน้าที่ในการพูดผ่านสื่อทุกคนจึงควรตระหนักถึงหน้าที่ในการเป็นผู้ใช้ภาษาไทยที่เป็นแบบอย่างที่ดีด้วย

เรื่อง3.2 การประเมินค่าการใช้ภาษาพูดจากสื่อต่างๆ

ในการฟังภาษาพูดจากสื่อต่างๆ ผู้ฟังจะได้รับข่าวสารความรู้มากมายจากการนำเสนอของ ผู้พูดผ่านสื่อซึ่งจะมีคุณค่าเป็นที่น่าเชื่อถือมากน้อยเพียงใดผู้ฟังจะต้อง วิเคราะห์สาระสำคัญที่ได้จากการฟังเพื่อประเมินค่าว่ามีความถูกต้องน่าเชื่อถือเพียงใดแล้วผู้ฟังควรประเมินค่าการใช้ภาษาพูดด้วยว่ามีความถูกต้อง เหมาะสม ทำให้ผู้ฟังเข้าใจและเกิดอรรถรสในการฟัง ชวนติดตามตั้งแต่ต้นจนจบ ผู้พูดสามารถออกเสียงภาษาไทยได้อย่างถูกต้องเป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่เยาวชนและประชาชนทั่วไปด้วย

ในการประเมินค่าการใช้ภาษาพูดจากสื่อต่างๆ ควรพิจารณาในประเด็นต่อไปนี้เพื่อให้เกิดการใช้ภาษาที่ถูกต้องต่อการเรียนรู้และการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ

- พิจารณาธรรมชาติของเสียงและคุณภาพของเสียงที่ใช้ในการสื่อสาร จะต้องมีเสียงชัดเจนแจ่มใส ไม่ทำให้เกิดความสับสนและแปลความหมายผิดในการรับข่าวสารของผู้ฟัง

- ระดับเสียงและวิธีการเปล่งเสียง ระดับเสียงที่ใช้ในการพูดและการอ่าน จะต้องเป็นไปโดยธรรมชาติ ไม่เล่นเสียงสูงๆ ต่ำๆ จนเกิดความน่ารำคาญหรือใช้ระดับเสียงราบเรียบ ไม่ชวนฟังขาดชีวิตชีวาหรือความน่าสนใจสาหรับผู้ฟัง ดังนั้นการเปล่งเสียง ควรออกให้เต็มเสียง และการเปล่งเสียงคำแต่ละคำให้ชัดเจนถูกต้องนั้น ผู้พูดควรศึกษาวิธีการออกเสียงพยัญชนะแต่ละตัวอย่างถูกวิธี

- การใช้ภาษาให้ถูกอักขรวิธี การสื่อสารทุกครั้งผู้พูดต้องคำนึงถึงเรื่องดังกล่าวอย่างเคร่งครัดเพื่อให้เกิดการสื่อสารที่ถูกต้องและเป็นแบบอย่างที่ดีกับผู้ฟังโดยเฉพาะเยาวชนไทย

- การอ่านตัวเลข การอ่านตัวเลขตั้งแต่สองหลักขึ้นไป ถ้าตัวเลขท้ายเป็นหนึ่ง ให้ออก เสียงว่า เอ็ด เช่น 101 2501 41

- การอ่านเวลาให้อ่านจำนวนเต็มทั้งหน้าและหลังจุดทศนิยม เช่น 08.30 น. อ่านว่า แปด -นา-ลิ-กา-สาม-สิบ-นา-ที 11.00 น. อ่านว่า สิบ-เอ็ด-นา-ลิ-กา

- การอ่านหมายเลขโทรศัพท์ให้อ่านแบบเรียงตัว ยกเว้น 2 กำหนดให้ อ่านว่า โท เพราะหมายเลขโทรศัพท์ บางครั้งอาจมีเลข 2 และ 3 ซ้ำกันหลายตัวซึ่งมีการออกเสียงที่ใกล้เคียงกัน เช่น โทร 02-5513438 อ่านว่า ศูนย์-สอง-ห้า-ห้า-หนึ่ง-สาม-สี่-สาม-แปด

- ตัวเลขทศนิยมหรืออ่านบ้านเลขที่ ถ้าอยู่หน้าจุดทศนิยม ให้อ่านจำนวนเต็ม ส่วนหลังจุดทศนิยมให้อ่านแบบเรียงตัว เช่น 41.38 อ่านว่า สี่-สิบ-เอ็ด-จุด-สาม-แปด

- การออกเสียง ร ล เป็นสิ่งที่สำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ส่งสารในสื่อประเภทต่างๆ ต้องฝึกออกเสียงให้ชัดเจน สามารถแยก ร และ ล เนื่องจากความหมายในแต่ละประโยคอาจจะเปลี่ยนไปไม่ตรงประเด็นของเรื่องที่จะสื่อ เช่น ครองเรือน - คลองเลือน รูปร่าง-ลูปล่างความหมายที่ได้จะแตกต่างกัน ดังนั้น ผู้ที่ทำหน้าที่ในการสื่อสาร ต้องระมัดระวังเรื่องความชัดเจน การออกเสียงคำภาษาไทย ทั้งพยัญชนะ สระและวรรณยุกต์

- ตัวควบกล้า ผู้พูดต้องออกเสียงให้ชัดเจนเป็นธรรมชาติ ไม่ทำให้ความหมายในการสื่อสารผิดเพี้ยนเพราะถึงแม้เสียงคล้ายกันก็จริง แต่ความหมายต่างกันโดยสิ้นเชิง เช่น ครู-คู คลอง-คอง คราว-คาว กรม-กลม พลาด-พาด

- จังหวะ น้ำหนักคำและความ การพูดและการอ่านแต่ละประโยค สามารถใช้เสียงหนักเบาได้ ตามความสำคัญของเนื้อหาสาระซึ่งต้องคำนึงถึงความเหมาะสม อย่างไรก็ตาม การให้เสียงคำต้องเป็นไปอย่างชัดเจนและเป็นธรรมชาติ ไม่เล่นน้ำเสียงจนอาจทำให้เสียงที่เปล่งออกมาเกิดความรำคาญแก่การรับฟัง

- การรักษาความในเนื้อหาข่าวสารที่สื่อสารในแต่ละครั้งมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อผู้ฟังเนื่องจากถ้าผู้พูดไม่ระมัดระวังรักษาความในเนื้อหา ตก แต่ง เติม ทำให้เสียความ จนผู้ฟังอาจไม่แน่ใจว่าข้อมูลที่รับมานั้นถูกหรือผิด เชื่อถือได้หรือไม่ ทำให้เกิดความคลาดเคลื่อนจากเนื้อหาข่าวสารที่ได้รับมา ดังนั้น ทุกครั้งที่จะทำหน้าที่ในการพูดผ่านสื่อ ควรมีการเตรียมตัวให้พร้อม ศึกษาคำยาก วรรคตอน คำเฉพาะ (วิสามัญยนาม) เพื่อให้เกิดความผิดพลาดน้อยที่สุดในการสื่อสาร

- วรรคตอน การพูดประโยคต่างๆในภาษาไทย วรรคตอนเป็นเรื่องที่สำคัญมากเพราะสามารถทำให้ความหมายของประโยคเปลี่ยนแปลงไปจากความจริง ถ้ามีการแบ่งวรรคตอนที่ไม่ถูกต้องตามอักขรวิธี การหยุดหรือการพูดติดกันโดยไม่ถูกต้องกับเนื้อหาข่าวสารที่ต้องการสื่อสาร อาจทำให้การสื่อสารเกิดการแปลความหมายผิดจากความต้องการของผู้พูดและทำให้การสื่อสารไม่ประสบความสาเร็จตามที่ตั้งไว้

- ความเหมาะสมกับเนื้อหาลีลาภาษาที่ใช้ในการสื่อสาร

- สื่อแต่ละประเภทจะมีความแตกต่างกันไปตามคุณสมบัติและลักษณะเนื้อหา ภาษาที่ใช้จึงต้องเลือกให้เหมาะสม เช่น พิจารณาให้เหมาะสมกับเรื่องที่จะนาเสนอว่าเป็น ข่าว บทความ สารคดี หรือ บันเทิงคดี

- ความชัดเจนของความหมาย คำ ประโยค ที่ใช้ในการสื่อสารต้องเลือกใช้ให้ถูกกาลเทศะเหมาะสมในการเรียบเรียงประโยค การตีความหมายให้ตรงตามที่ต้องการสื่อสาร เนื่องจากภาษาไทยมีคำที่สามารถแปลได้หลายความหมาย ซึ่งขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่วางคำในประโยคหรือโอกาสของการใช้สาหรับสื่อสารในแต่ละครั้ง

สรุป

การใช้ภาษาพูดผ่านสื่อต่าง ๆ ให้มีคุณค่านั้น ผู้พูดควรคำนึงถึงความถูกต้องของภาษา การใช้ภาษาที่ชัดเจนเข้าใจตรงกัน มีมารยาทและลีลาการถ่ายทอดที่มีอรรถรส ที่สำคัญคือต้องรักษาใจความในเนื้อหาข่าวสารที่ต้องการสื่อสารได้อย่างครบถ้วน เพราะมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อผู้ฟัง