ฝักมีดก้านตาล

“ไหว้สาพระธาตุ ดอยห้างบาตรเป็นศรี ของดีลำไย ผ้าไทยถักทอ ยกยอจักรสาน กล่าวขานงานโคนม ชื่นชมวัฒนธรรม เลิศล้ำภาษายอง”

ภูมิประเภทของตำบลห้วยยาบลักษณะเป็นที่ราบลุ่ม ตั้งอยู่ทางภาคเหนือตอนบน ตำบลห้วยยาบตั้งอยู่ทางทิศเหนือของอำเภอบ้านธิ จังหวัดลำพูน ห่างจากที่ว่าการอำเภอเมือง จังหวัดลำพูน ประมาณ 25 กิโลเมตร  ห่างจากที่ว่าการอำเภอบ้านธิ ประมาณ 8 กิโลเมตร ลักษณะดินโดยทั่วไปเป็นดินเหนียวปนทราย ลักษณะดินของตำบลห้วยยาบ เป็นดินร่วนประมาณ 

ลักษณะของป่าไม้  จำแนกเป็น 2 ลักษณะตามพืชพรรณที่ขึ้นดังนี้

ในสมัยก่อนนั้น ไม่มีการกั้นเขตแดนที่ดินที่ชัดเจน ในพื้นที่ตำบลห้วยยาบผู้คนจึงปลูกต้นตาลเพื่อกั้นเขตแดนพร้อมทั้งลักษณะดินในตำบลห้วยยาบนั้นสามารถปลูกต้นตาลได้เป็นจำนวนมาก ทำให้มีวัสดุที่เกิดจากต้นตาลเป็นจำนวนมาก ด้วยความเป็นนักประดิษฐ์ของคนสมัยก่อนจึงได้นำเอาก้านตาลที่มีอยู่มากมายนั้นมาทำเป็น ฝักมีดก้านตาล เพื่อใช้วัสดุที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุด โดยเกิดจากการสืบทอดจากรุ่นสู่รุ่น และมาถึงยุคปัจจุบันนั้นได้ทำการสานภายใต้ ของกลุ่มจักสานฝักมีดก้านตาล บ้านป่าลาน ตำบลห้วยยาบ จังหวัดลำพูน

จากต้นตาลธรรมดา

พร้อมวิธีการทำที่น่าค้นหา


  สู่การอนุรักษ์ภูมิปัญญาของท้องถิ่น

วัสดุอุปกรณ์

1.ก้านตาลตากแห้ง       2.เส้นตอก

3.เหล็กแหลม             4.เส้นแหย่ง


วิธีทำ

1. นำก้านตาลมาผ่าให้เป็นเส้นความกว้างประมาณ 2 นิ้ว และนำไปตากแดดจนแห้ง ก่อนนำมาสานให้นำมาแช่น้ำไว้ประมาณ 1 คืน เพื่อให้ก้านตาลอ่อนสามารถขึ้นรูปเป็นฝักมีดได้ง่ายขึ้น

2.นำก้านตาลที่ได้ มาขึ้นรูป ฝักมีด และนำเส้นตอกมามัดตามรูปที่ต้องการ

3.นำเส้นแหย่งมาสานเพื่อให้ก้านตาลมีความแข็งแรงทนทาน และได้รูปทรงตามที่เราต้องการ

4.นำเส้นแหย่งมาถักเป็นลายตรงปากของฝักมีด เพื่อความสะดวกในการใช้งานและเพื่อความประณีตสวยงามน่าใช้งานมากยิ่งขึ้น

ในบรรดาเครื่องมือเครื่องใช้ต่าง ๆ ในครัวเรือน โลหะมีคมนานาชนิด เช่น มีด พร้า ขวาน เคียว ดูจะเป็นของใช้ไม่กี่อย่างที่มีการผลิตและจำหน่ายมาอย่างต่อเนื่องจนปัจจุบัน ทั้งยังมีการพัฒนานวัตกรรมการผลิตให้มีความคมกริบ แข็งแรง ทนทาน อยู่เสมอตามเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าขึ้นในแต่ละยุค

ชาวบ้านรู้จักการใช้พร้าและมีดในการทำงานต่าง ๆ มานาน เช่น ใช้ถากต้นไม้ ตัดฟืน ตัดหญ้า หั่นเนื้อสัตว์ ปาดตาล หรือแม้กระทั่งป้องกันตัวจากสัตว์ร้าย

ด้วยเป็นอุปกรณ์มีคม หากไม่ระมัดระวังจะเกิดอันตรายได้โดยง่าย แม้ในขณะที่ไม่ได้ใช้งานก็ตาม ดังนั้น ชาวบ้านจึงคิดทำปลอกขึ้นเพื่อความปลอดภัย ทั้งยังสะดวกในการพกพาไปทำงานตามเรือกสวนไร่นาหรือแขวนเหน็บเก็บไว้ที่บ้านเรือน

ปลอกมีด หรือฝักมีด หรือแปมพร้าของภาคเหนือ มักทำจากไม้ หนังสัตว์ โลหะ ตอกไม้ไผ่ ก้านตาลหรือหวาย โดยก้านตาลเป็นวัสดุที่นิยมนำมาทำมากกว่าชนิดอื่น การทำปลอกมีดด้วยก้านตาล

ในการใช้งาน หากเป็นการพกพา ชาวบ้านจะเหน็บมีดพร้าพร้อมปลอกไว้ที่เอว โดยผูกกับเชือกหรือผ้าขาวม้าก็แล้วแต่สะดวก ช่วยเพิ่มความปลอดภัยระหว่างการทำงานได้เป็นอย่างดี

ชื่อเจ้าของภูมิปัญญา   นางเยาวลักษณ์  โยธาใหญ่

ที่อยู่  70 หมู่ที่ 11 ตำบลห้วยยาบ อำเภอบ้านธิ จังหวัดลำพูน 

ข้อมูลเนื้อหา โดย                 นางเยาวลักษณ์  โยธาใหญ่

เรียบเรียงเนื้อหา โดย                 นางสาววณิชยา  พลับพลา

ภาพถ่าย/ภาพประกอบ โดย       นางสาวชัญญามญ  เสืออินทร์

นำเสนอประจำเดือนตุลาคม 2566