เลื่องชื่อ "ตุ๊กตาไทลื้อ"บ้านเฮา

 เรามาทำความรู้จักกับ   "ตุ๊กตาไทลื้อ" ซึ่งเป็นการนำเอาเอกลักษณ์การแต่งกายของชาวไทลื้อ  

มาเป็นตัวแทนของการแต่งกายค่ะ

"ตุ๊กตาไทลื้อ" เป็นผลิตภัณฑ์ของชุมชนบ้านธิหลวง อ.บ้านธิ จ.ลำพูน ซึ่งเป็นงานฝีมือคุณภาพจากกลุ่มแม่บ้าน ที่เกิดจากนำอัตลักษณ์  เอกลักษณ์การแต่งกายของชาวไทลื้อบ้านธิหลวง ซึ่งเป็นการถ่ายทอดออกมาผ่านการประดิษฐ์เป็น "ตุ๊กตาไทลื้อ" และเพื่อเป็นการสร้างมูลค่าให้แก่ "ตุ๊กตาไทลื้อ" จึงมีการส่งเสริมให้เป็นอาชีพ เป็นการสร้างรายได้ให้แก่คนในชุมชนด้วยอีกทางนึง

ชาวไทลื้อบ้านธิหละปูนมีถิ่นกำเนิดมาจากไหนอย่างไรไปทำความรู้จักกันค่ะ

ชาวไทลื้อบ้านธิหละปูนมีถิ่นกำเนิดมาจากไหนอย่างไรไปทำความรุ้จักกันค่ะ

         เดิมชาวลื้อ  หรือ ไทลื้อ/ไตลื้อ   มีถิ่นที่อยู่บริเวณ เมืองลื้อหลวง จีนเรียกว่า  " ลือแจง"  ต่อมาได้เคลื่อนย้ายลงมาอยู่บริเวณเมืองหนองแส  หรือที่เรียกว่าคุนหมิงในปัจจุบัน  แล้วย้ายลงมาสู่ลุ่มน้ำน้ำโขง  สิบสองปันนาปัจจุบัน   ประมาณศตวรรษที่  ๑๒  จึงเกิดมีวีรบุรุษชาวไทลื้อชื่อ เจ้าเจื๋องหาญ (พญาเจิ๋ง) ได้รวบรวมหัวเมืองต่างๆ  ในสิบสอบปันนาปัจจุบันตั้งเป็นอาณาจักรแจ่ลื้อ   ( เซอลี่ ) โดยได้ตั้งศูนย์อำนาจการปกครองเอาไว้ที่หอคำเชียงรุ่ง  นาน  ๗๙๐   ปี ต่อมาถึงสมัยเจ้าอิ่นเมืองให้มีที่ทำนา ๑,๐๐๐ หาบข้าว ( ชื้อพันธุ์ข้าว ) ต่อมาหนึ่งที่/หนึ่งหัวเมือง  จึงเป็นที่มาจนถึงปัจจุบันเมืองสิบสองปันนาได้แบ่งเขตการปกครองเอาไว้ในอดีต ดังนี้  ( ที่มาของคำว่า  สิบสองปันนาหรือสิบสองเจ้าไต ) 

ชาวไทลื้ออาศัยอยู่สองฝั่งแม่น้ำโขง คือ ด้านตะวันออกและตะวันตกของแม่น้ำ  มีเมืองต่างๆ ดังนี้  ภาษาไทลื้อ  ได้กล่าวไว้ว่า   ห้าเมิงตะวันตก  หกเมิงตะวันออก  รวมเจียงฮุ่ง  ( เชียงรุ้ง ) เป็น  ๑๒  ปันนานั้น ยังมีเมืองน้อย  อีก   ๓๒  หัวเมือง      

        ชาวไทลื้อบ้านธิเดิมทีอยู่ดินแดนสิบสองปัน­นาแต่ด้วยเหตุหลายปัจจัยทำให้ต้องย้ายถิ่น­ฐานมาที่จังหวัดลำพูน ชาวไทลื้อชอบอาศัยบริเวณริมน้ำเพื่อสะดวกใ­นการทำมาหากิน และนับถือผี ประเพณีของชาวไทลื้อมีมากมาย เช่น กินหวานต๋านม่วน เลื้ยงผีขุนน้ำ เป็นต้น.ชาวไทลื้อจะรักพวกพ้อง และจะแต่งงานกันเองในเครือญาติ ผู้ที่มาสร้างถิ่นฐานในบ้านธิคนแรกคือพ่อห­นาญปัญโญกับแม่อุ๊ยขา บ้านแพะเป็นบ้านแรกที่ไทลื้อบ้านธิมาอาศัยและขยา­ยไปเรื่อยๆจนมีลูกหลานมากมายและได้ชยายเป็น ๑๐ หมู่บ้าน 

         ตำนานบ้านธิ เป็นเรื่องเล่าเกี่ยวกับความเป็นมาของอำเภอบ้านธิ ซึ่งเชื่อว่าน่าจะเริ่มต้นขึ้นในสมัยพระนางจามเทวี เพราะมีหลักฐานที่น่าเชื่อถือ ส่วนชาวไทลื้อนั้น ถือเป็นกลุ่มชนที่โดดเด่นในอำเภอบ้านธิ มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว มีความเป็นมาที่น่าสนใจ 

บ้านธิ      มีความเป็นมาที่เก่าแก่ ถือว่าเป็นแหล่งอารยธรรมหนึ่งของอาณาจักรหริภุญไชย เพราะมีหลักฐานทางโบราณวัตถุโบราณสถาน ศิลปวัฒนธรรมประเพณี รวมถึงวิถีชีวิตที่หลงเหลืออยู่ในปัจจุบัน

     ความเป็นมาของกลุ่มตุ๊กตาไทลื้อบ้านธิ หมู่ 3 ต.บ้านธิ  อ.บ้านธิ จ.ลำพู

ไทยลื้อ หรือ ไตลื้อ เป็นชาวไทยกลุ่มหนึ่งที่มีถิ่นฐานเดิมอยู่ในแถบสิบสองปันนาของจีน สันนิษฐานว่า หนีภัยสงครามมาจากเมืองเชียงรุ่งในสิบสองปันนา  บุคคลที่อพยพมาอาศัยอยู่ที่บ้านธิกลุ่มแรกชื่อว่า พ่อหนานปัญโญกับแม่อุ้ยขา ได้มีการอพยพครอบครัวและครอบครัวอีกประมาณ ๒ - ๓  ครอบครัว มาตั้งรกรากกันอยู่ที่หมู่บ้าน "บ้านแพะ" ซึ่งในปัจจุบันได้เปลี่ยนชื่อเป็น "บ้านแพะยางงาม" และคนไตลื้อกลุ่มนี้ไได้มีการขยายอาณาเขตเพิ่มอีก  ๑๐  หมู่บ้าน 

ตุ๊กตาสำเร็จรูป

นำผ้าที่มีอยู่มาตัดเย็บ

ตัดเสื้อ,กางเกง,ผ้าถุง

เย็บขอบเสื้อติดลวดลาย

เย็บให้เป็นเสื้อ,กางเกง,ผ้าถุง 

นำตุ๊กตามาตกแต่งทรงผมตามที่ต้องการ

แต่งองค์ทรงเครื่องเรียบร้อย

นำออกจำหน่ายตามงานต่างๆ

ถึงแม้ว่าสังคมสมัยใหม่ที่ถูกพัฒนาอย่างก้าวกระโดด  แต่รากเหง้าของชาวไทลื้อยังคงเป็นกลุ่มชาติพันธ์ุที่ยังคงมีมนต์เสน่ห์เฉพาะตัว  จึงนำมาสู่แนวความคิดการสร้างเอกลักษณ์  อัตลักษณ์ ของกลุ่มชาติพันธ์ุขึ้นมาอย่าง "ตุ๊กตาไทลื้อ"  โดยการนำผ้าพื้นเมืองมาตัดเย็บให้เป็นเครื่องแต่งกายของชาวไทลื้อแบบดั้งเดิม  เพื่อเป็นการเผยแพร่การแต่งกายที่เป็นเอกลักษณ์นี้ ให้แก่ผู้พบเห็นผ่านทางตุ๊กตาไทลื้อนี้ เมื่อนำมาทำเป็นพวงกุญแจ เป็นของฝาก ของชำร่วยที่ทรงคุณค่านี้

นางสาว ฉวีวรรณ ปัญโญใหญ่

ผู้ก่อตั้งกลุ่มอาชีพ

บ้านเลขที่ ๔๘ หมู่ ๓  ตำบล บ้านธิ   อำเภอบ้านธิ จังหวัด ลำพูน

โทร. ๐๘๔  -  ๖๑๐๘๔๙๓

ข้อมูลเนื้อหา โดย นางสาว ฉวีวรรณ ปัญโญใหญ่

เรียบเรียงเนื้อหา โดย นางสาวดารณี  เอี่ยมสำอางค์
ภาพถ่าย/ภาพประกอบ โดย นางสาวดารณี เอี่ยมสำอางค์