แหล่งท่องเที่ยวชุมชน

โบราณสถานเวียงลอ

วัดศรีปิงเมือง เป็นวัดในเขตโบราณสถานเวียงลอ ตั้งอยู่ที่ หมู่ 11 บ้านเวียงลอ ตำบลลอ อำเภอจุน จังหวัดพะเยา อยู่ห่างจากตัวเมืองจังหวัดพะเยา ประมาณ 45 กิโลเมตร ภายในวัดมีโบราณสถานที่โดดเด่น คือ องค์พระธาตุศรีปิงเมือง เป็นพระธาตุเจดีย์ทรงระฆัง ศิลปะล้านนา ที่มีอายุประมาณ 900 ปี อ่านต่อ

ศูนย์ศึกษาข้อมูลเวียงลอ

ศูนย์ศึกษาข้อมูลเวียงลอ ซึ่งภายในมีการจัดแสดงวัตถุโบราณ ข้าวของเครื่องใช้ ที่ขุดพบในบริเวณโบราณสถานเวียงลอ และยังมีจิตอาสาที่คอยให้ข้อมูลแก่นักท่องเที่ยวอีกด้วย และยังมีจิตอาสาที่คอยให้ข้อมูลแก่นักท่องเที่ยวอีกด้วย อ่านต่อ

กู่พระแก้ว

ส่วนใหญ่แล้วชาวบ้านล้านนาจะเรียกซากเจดีย์โบราณที่ปรักหักพัง หรือกองเศษอิฐเก่าแก่ที่ระบุประเภทโบราณสถานไม่ได้ว่า “กู่” และเนื่องจากที่เนินดินวัดร้างแห่งนี้เคยมีคนค้นพบพระพุทธรูปหินควอทซ์สีขาวใสชื่อพระแก้ว ชาวบ้านจึงเรียกวัดนี้ว่า “วัดพระแก้ว” อ่านต่อ

กู่บวกกู่

ตั้งอยู่ถัดจากวัดหนองผำไปทางทิศตะวันตกใกล้แนวกำแพงเมืองทางด้านทิศเหนือ ในเขตตำบลหงส์หิน แต่เดิมบริเวณด้านเหนือของวัดมีหนองน้ำที่เต็มไปด้วยสมุนไพร ชาวบ้านจึงเรียกว่า “บวกยาแก้” และเรียกวัดนี้ว่า “วัดบวกกู่” อ่านต่อ

กู่หนองผำ

ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของวัดศรีชุม ใกล้กันมีหนองน้ำขนาดใหญ่เรียกว่าหนองผำ จึงเป็นที่มาของชื่อวัด พบอาคาร 3 หลัง หลังแรก ซึ่งเป็นอาคารในผังสี่เหลี่ยมผืนผ้าวางตัวในแนวทิศตะวันออก – ตะวันตก อ่านต่อ

กู่เกือกม้า

ชื่อเรียกตามการพบแผ่นเหล็กโค้งรองกีบเท้าม้า หรือเกือกม้าบริเวณโบราณสถานซึ่งตั้งอยู่กลางทุ่งนา ห่างจากวัดสารภีไปทางทิศเหนือ โบราณสถานสำคัญของวัดคือวิหารในผังสี่เหลี่ยมผืนผ้าหันหน้าไปทางทิศตะวันออก ฐานวิหารมีรูปแบบเป็นฐานเขียงเตี้ยๆ รองรับด้วยฐานบัวคว่ำ ท้องไม้และบัวหงาย อ่านต่อ

กู่ขะจาว

ชื่อ “ขะจาว” นั้นมาจากต้น “ขะจาว” หรือ “กระเซา” ซึ่งเดิมเคยมีอยู่ที่โบราณสถานนี้ โบราณสถานตั้งอยู่นอกกำแพงเมืองด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ ห่างจากวัดศรีปิงเมืองไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ประมาณ 350 เมตร พบเพียงส่วนฐานเจดีย์ในผังสี่เหลี่ยมจัตุรัส และพบร่องรอยฐานอาคารสี่เหลี่ยมผืนผ้าตั้งอยู่ด้านทิศเหนือ สันนิษฐานว่าเป็นส่วนฐานของวิหาร พบชิ้นส่วนพระพุทธรูปหินทราย ตุ๊กตารูปสัตว์ดินเผา และเศษชิ้นส่วนเครื่องถ้วยจากแหล่งเตาล้านนาอายุราวพุทธศตวรรษที่ 21-22 อ่านต่อ

กู่ลอมธาตุ

คลองชลประทานที่ตัดผ่านทำให้ส่วนหนึ่งของโบราณสถานนี้หายไปพบเพียงฐานองค์เจดีย์ฐานปัทม์ ลักษณะเป็นฐานใบบัว 8 เหลี่ยม ฐานเขียงซ้อนเหลื่อมกัน 3 ชั้น รองรับฐานบัวคว่ำ ตั้งอยู่ในทุ่งนา นอกกำแพงเมืองด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ ห่างจากวัดศรีปิงเมืองไปทางทิศใต้ประมาณ 400 เมตร อ่านต่อ