พระธาตุหงส์หิน

พระธาตุหงส์หิน


เจ้าหงส์หินโพธิ์สัตย์เจ้าผู้สืบสายเจ้ามาจากพาราณสี ใน ครั้งกระนั้น ซึ่งต่อมาเรียกว่าเวียงลอ ในยุคเดียวกันกับที่เชียงแสนเป็นราชธานี เพราะสังเกตเห็นได้

จากศิลปะการ สร้างพระธาตุเจดีย์ และ พระพุทธรูปโยคทั่วไปเป็นแบบเชียงแสน ในสมัยพระเจ้าหงส์หินเป็นเจ้าผู้ครองนครเวียงลอนั้น พระองค์ทรงเป็นเจ้าผู้ทรงธรรม

ถึงกับได้รับพระสมญานามว่า เป็น "พระโพธิ์สัตย์" และเป็นพระโพธิ์สัตว์พระองค์เดียวแห่งสุวรรณภูมิ

ในปี พ.ศ.2450 พระครูมหาหน่อแก้ว กับท่านพระครูบาอภิชัย ได้สร้างพระเจดีย์ขึ้นที่บนดอยแห่งนี้โดยสร้างครอบรูปหงส์หินเพื่อจะให้

พระธาตุศักดิ์สิทธิ์แต่ก็ไม่สามารถทำให้เจดีย์ที่สร้างสวยงามได้จึงทุบ เอาปีก หัว หางของหงส์หินออก แล้วสร้างเจดีย์ครอบเอาไว้ต่อมาบ้านเมืองเกิดฝนไม่ตกตามฤดูกาลบ้านเมืองแห้งแล้งและเกิดฝนผ้าคะนองมีฟ้าผ่าลงที่เจดีย์ทำให้พระเจดีย์แตกพังทลายหมดเหลือแต่รูปหินธรรมดาไม่มีปีก หัว หางเหมือนเดิมไว้ให้เราเห็นมาจนทุกวันนี้ นับตั้งแต่นั้นมาบ้านเมืองก็อยู่เย็นเป็นสุขตลอดมา

ตามคำบอกเล่าจากผู้เฒ่า ผู้แก่ ว่าหินที่มีลักษณะคล้ายหงส์ ที่ตั้งอยู่บนดอยเรือนั้น มีความเก่าแก่มาหลายร้อยปีผู้เฒ่าได้เล่าให้ผู้เขียนฟังว่ารูปหงส์หินนี้เดิมทีมีรูปงดงาม มีหัว มีหางมีปีก เหมือนหงส์มาก

ตำนานพระธาตุหงส์หิน

ณ บ้านสักลอ ตำบลหงส์หิน อำเภอจุน จังหวัดพะเยา มีภูเขาชื่อ “ดอยภูเรือ” ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของหมู่บ้าน ภูเขามีรูปลักษณะคล้ายเรือท้องแบนคว่ำ ชาวบ้านจึงเรียกว่า “ดอยเรือ” บนดอยเรือมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ (โบราณวัตถุ) สถิตอยู่ คือ หิน มีลักษณะคล้ายหงส์ ประชาชนพากันเคารพนับถือกันมาหลายชั่วอายุคน ถ้าปีไหนบ้านเมืองฝนฟ้าไม่ตกต้องตามฤดูกาล ชาวบ้านจะพากันไปกราบไหว้บูชาขอน้ำฝน ให้ตกลงมาถูกต้องตามฤดูกาลเป็นประจำ จนประชาชนในหมู่บ้านและหมู่บ้านใกล้เคียงต่างก็เคารพนับถือเป็นพระธาตุประจำตำบล เพื่อเป็นเกียรติแก่การเคารพสักการะต่อไป

ตามคำบอกเล่าจากผู้เฒ่า ผู้แก่ ว่าหินที่มีรูปลักษณะคล้ายหงส์ ที่ตั้งอยู่บนดอยเรือนั้น มีความเก่าแก่มาหลายร้อยปี ผู้เฒ่าได้เล่าให้ผู้เขียนฟังว่า รูปหงส์หินนี้เดิมทีมีรูปงดงาม มีหัว มีหาง มีปีกเหมือนหงส์มาก ต่อมาในปี พ.ศ. 2450 พระครูมหาหน่อแก้วกับท่านครูบาอภิชัย ซึ่งเป็นผู้ใหญ่ในตำบล ได้สร้างพระเจดีย์ขึ้นที่บนดอยแห่งนี้ โดยสร้างครอบรูปหงส์หินเพื่อจะให้พระธาตุศักดิ์สิทธิ์ แต่ก็ไม่สามารถทำให้เจดีย์ที่สร้างขึ้นสวยงามได้ จึงทุบเอาปีก หัว และหางของหงส์หินออก แล้วสร้างเจดีย์ครอบเอาไว้ ต่อมาบ้านเมืองเกิดฝนไม่ตกตามฤดูกาล บ้านเมืองแห้งแล้งเกิดฝนฟ้าคะนองมีฟ้าผ่าลงที่เจดีย์ทำให้พระเจดีย์แตกพังทลายหมด เหลือแต่รูปหินธรรมดา ไม่มีปีก หัว หางเหมือนเดิม ไว้ให้เราเห็นมาจนทุกวันนี้ นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาบ้านเมืองก็อยู่เย็นเป็นสุขตลอดมา ต่อมาในปี พ.ศ. 2532 ได้มีพระอนันพุทธรรมโม วัดพระธาตุแสงแก้วมงคล อำเภอดอกคำใต้ จังหวัดพะเยา ได้มาสร้างอนุสาวรีย์ เจ้าพ่อหงส์หินโพธิสัตว์ไว้ทางทิศตะวันออกและสร้างรูปเจ้าหงส์หินและแม่เฒ่าขี่หลังหงส์หินอยู่ใกล้กับหินรูปหงส์เดิม เพื่อให้อนุชนรุ่นหลังไว้เป็นที่เคารพสักการะในโบราณสถานและโบราณวัตถุ สืบต่อไปชั่วกาลนาน

ประวัติเจ้าหงส์หินโพธิสัตว์

กาลครั้งหนึ่งพระราชาเจ้าเมืองพาราณสี มีอัครมเหสีชื่อนางวิมาลา และมีมเหสีรองอีกหกนาง ต่อมานางทั้งเจ็ดทรงครรภ์ แต่มเหสีรองทั้งหกคลอดโอรสก่อน โอรสในครรภ์วิมาลาเป็นพระโพธิสัตว์ เมื่อนางประสูติโอรสนั้น นางทั้งหกได้เอาโอรสไปทิ้งใต้ปราสาท แล้วเอาลูกสุนัขมาแสดงว่าเป็นลูกนางวิมาลาแทนแล้วไปทูลฟ้องพระยาพระยาได้ขับไล่นางวิลามาออจากเมืองกับลูกสุนัขไปอาศัยอยู่กับสองตายายที่สวนดอกไม้นอกเมือง ฝ่ายพระอินทร์ทรงทราบเหตุ จึงเหาะมารับโอรสของนางวิมาลาไปเลี้ยงไว้บนสวรรค์ เมื่อพระโพธิสัตว์โตขึ้น พระอินทร์จึงเล่าความจริงให้ฟัง แล้วเนรมิตก้อนหินให้เป็นหงส์กับดาบวิเศษให้พระโพธิสัตว์ไปหานางวิมาลาที่สวนดอกไม้ ฝ่ายโอรสทั้งหกนั้นมีการเล่นสะบ้า โดยเอาทองคำมาทำลูกสะบ้าเล่นกันทุกวัน พระโพธิสัตว์รู้เรื่องก็อยากไปเล่นบ้างแต่ไม่มีสะบ้าทอง นางวิมาลาจึงไปเอาลูกสะบ้านิมแดงให้ลูกไปเล่นพนันโดยพนันกันว่าหากชนะก็มีสิทธิ์ได้สะบ้าทองคำ ถ้าแพ้จะยอมเป็นทาสของหกกุมาร ปรากฏว่าพระโพธิสัตว์ชนะ จึงได้สะบ้าทองคำไปให้มารดาและนำมาเลี้ยงดูกันอย่างมีความสุขที่เมืองพาราณสีมียักษ์ตนหนึ่งอาศัยอยู่นอกเมือง วันหนึ่งนางยักษ์ได้ดักจับกินคนที่ประตูเมืองซึ่งพระโพธิสัตว์เดินเข้าออก จึงใช้ดาบศรีกัญไชยที่พระอินทร์ให้ฟันคอยักษ์ตาย แล้วกลับไปโดยไม่บอกให้ใครทราบเรื่องนี้ วันรุ่งขึ้นกุมารทั้งหกเห็นพระโพธิสัตว์ไปเล่นสะบ้าตามปกติก็สงสัยจึงไต่ถามเมื่อทราบความจริงแล้ว กุมารทั้งหกขอร้องว่าอย่าบอกความจริงกับใคร โดยตกลงกันว่าทั้งหกกุมารเป็นผู้ฆ่ายักษ์ โดยพระโพธิสัตว์ได้รับทองเป็นรางวัล หกกุมารไปกราบทูลพระยาผู้เป็นบิดาว่าพวกตนเป็นผู้ฆ่ายักษ์ พระยาจึงให้จัดงานฉลองทำขวัญโอรสทั้งหกและประทานรางวัลพระยาผู้เป็นบิดาคิดว่าโอรสคนใดคนหนึ่งคงเป็นพระโพธิสัตว์ จึงสามารถฆ่ายักษ์ได้จึงใช้ทั้งหกกุมารไปตามพระเจ้าย่าซึ่งเป็นพระมารดาของพระองค์ ที่พวกยักษ์ได้ลักพาตัวไปนานแล้ว แล้วคาดโทษว่าหากไม่สำเร็จก็จะถูกประหารชีวิต กุมารทั้งหกจึงไปขอร้องพระโพธิสัตว์ให้ไปด้วย พระโพธิสัตว์ขี่หงส์ไปรอที่ฝั่งแม่น้ำ หกกุมารและกองทัพข้ามไปไม่ได้จึงรออยู่ให้พระโพธิสัตว์ไปค้นหาพระองค์เดียว

พระโพธิสัตว์ขี่หงส์ไปจนพบปราสาทของพระยายักษ์ ซึ่งมีธิดาสาวสวยชื่อนางมุขวดี จึงได้นางเป็นชายาแล้วจึงลานางเพื่อเดินทางต่อไป จากนั้นก็ไปพบปราสาทของกุมภัณฑ์ซึ่งมีธิดางดงาม ชื่อนางจุฬาคันธา และได้นางเป็นชายาด้วยอีกคน จากนั้นก็เดินทางต่อไปพบปราสาทพระยายักษ์ซึ่งมีธิดาสวยชื่อนางศรีจันทา และได้นางเป็นชายาคนที่สาม แล้วจึงลาจากนางไปอีกจนพบที่อยู่ของอมนุษย์ที่ลักพาพระเจ้าย่าไป วันนั้นพวกยักษ์ไม่อยู่ไปหาอาหาร พระโพธิสัตว์จึงพาพระเจ้าย่าขี่หงส์กลับไปทันทีเมื่อเดินทางมาถึงปราสาทของชายาทั้งสามพระโพธิสัตว์ ก็เรียกนางให้ตามไปที่ฝั่งแม่น้ำ นางทั้งสามก็ลาพระบิดา แล้วอธิฐานว่าหากได้เป็นชายาจริงแล้วขอให้ปราสาทเหาะตามไป ซึ่งทั้งสามปราสาทก็เหาะตามพระโพธิสัตว์ไปรออยู่ที่ฝั่งแม่น้ำตรงข้ามกองทัพหกกุมาร เมื่อได้ตัวเจ้าย่าแล้วกุมารทั้งหกก็รุมฆ่าพระโพธิสัตว์ แล้วยกทัพกลับเมือง นางชายาทั้งสามเห็นผิดสังเกตก็พากันออกไปค้นหาจนพบศพพระโพธิสัตว์ ทั้งสามนางต่างคร่ำครวญอาลัยรักเมื่อพระอินทร์เนรมิตเป็นหนุ่มมาลองใจนางว่าพวกนางจะมั่นคงในพระโพธิสัตว์หรือไม่ พวกนางตอบว่า นางจะเข้ากองไฟตายตามพระโพธิสัตว์ไป พระอินทร์จึงแสดงตัวแล้วช่วยชุบชีวิตพระโพธิสัตว์ให้ฟื้นคืนมา ต่างพากันกลับไปอยู่ร่วมกันกับตายาย และพระมารดาวิมาลาที่สวนดอกไม้

ฝ่ายพระเจ้าย่าไม่เห็นหลานคนที่พาตนหนีมาจากยักษ์ จึงทรงเป็นทุกข์ พระยาจึงตรัสถามจนได้ความจริงทั้งหมด จากนั้นจึงจัดงานฉลองสมโภชพระเจ้าย่า ซึ่งพระโพธิสัตว์ก็ได้ไปชมงานด้วย เมื่อพระเจ้าย่าเป็นพระโพธิสัตว์จึงให้บอกให้พระยาทราบความจริง แล้วจากนั้นพระยาให้คนไปจับมเหสีทั้งหก และราชบุตรไปประหารชีวิต พระยาทรงเสียพระทัยที่ได้ทำความผิดไปได้ให้เสนาจัดขบวนเกียรติยศไปรับนางวิมาลากลับเมือง และโปรดให้พระโพธิสัตว์ครองเมืองต่อไป

พระธาตุหงส์หิน เจ้าหงส์หินโพธิ์สัตย์เจ้าผู้สืบสายเจ้ามาจากพาราณสี ในครั้งกระนั้น ซึ่งต่อมาเรียกว่าเวียงลอ ในยุคเดียวกันกับที่เชียงแสนเป็นราชธานี เพราะสังเกตเห็นได้จากศิลปะการสร้างพระธาตุเจดีย์ และพระพุทธรูปโยคทั่วไปเป็นแบบเชียงแสนในสมัยพระเจ้าหงส์หินเป็นเจ้าผู้ครองนครเวียงลอนั้น พระองค์ทรงเป็นเจ้าผู้ทรงธรรมถึงกับได้รับพระสมญานามว่าเป็น "พระโพธิ์สัตย์" และเป็นพระโพธิ์สัตว์พระองค์เดียวแห่งสุวรรณภูมิ ตามคำบอกเล่าจากผู้เฒ่า ผู้แก่ ว่าหินที่มีรูปลักษณะคล้ายหงส์ ที่ตั้งอยู่บนดอยเรือนั้น มีความเก่าแก่มาหลายร้อยปี ผู้เฒ่าได้เล่าให้ผู้เขียนฟังว่า รูปหงส์หินนี้เดิมทีมีรูปงดงาม มีหัว มีหาง มีปีก เหมือนหงส์มากต่อมาในปี พ.ศ.2450 พระครูมหาหน่อแก้ว กับท่านพระครูบาอภิชัย ได้สร้างพระเจดีย์ขึ้นที่บนดอยแห่งนี้ โดยสร้างครอบรูปหงส์หิน เพื่อจะให้พระธาตุศักดิ์สิทธิ์แต่ก็ไม่สามารถทำให้เจดีย์ที่สร้างสวยงามได้ จึงทุบเอาปีก หัว หางของหงส์หินออก แล้วสร้างเจดีย์ครอบเอาไว้ต่อมาบ้านเมืองเกิดฝนไม่ตกตามฤดูกาล บ้านเมืองแห้งแล้ง และเกิดฝนผ้าคะนองมีฟ้าผ่าลงที่เจดีย์ ทำให้พระเจดีย์แตกพังทลายหมด เหลือแต่รูปหินธรรมดา ไม่มีปีก หัว หาง เหมือนเดิมไว้ให้เราเห็นมาจนทุกวันนี้ นับตั้งแต่นั้นมาบ้านเมืองก็อยู่เย็นเป็นสุขตลอดมาต่อมาในปี พ.ศ.2532 ได้มีพระอนันพุทธรรมโม วัดพระธาตุแสงแก้วมงคล อำเภอดอกคำใต้ จังหวัดพะเยา ได้มาสร้างอนุสาวรีย์ เจ้าพ่อหงส์หินโพธิสัตว์ ไว้ทางทิศตะวันออกและสร้างรูปเจ้าหงส์หินและแม่เฒ่าขี่หลังหงส์หิน อยู่ใกล้กับหินรูปหงส์เดิม เพื่อให้อนุชนรุ่นหลังไว้เป็นที่เคารพสักการะในโบราณสถานและโบราณวัตถุ สืบต่อไปชั่วกาลนาน


การเดินทาง : ถนนหมายเลข 1292 ห้วยข้าวก่ำ – น้ำจุน ขับรถมุ่งหน้าไปทางเชียงราย ผ่านถนนหมายเลข 1126 ผ่านสะพานลำน้ำอิง ผ่านบริษัทไลน์กรุ๊ป ขับรถมาจะเจอแยกตู้ยามตำรวจบ้านสันทราย ให้เลี้ยวขาว ขับรถตามถนนหมายเลข 1126 ผ่านหน้าโรงเรียนบ้านพวงพะยอม ให้เลี้ยวซ้าย จากนั้นขับรถตรงมาผ่านสำนักงานเทศบาลตำบลหงส์หิน ขับรถมายัง หมู่บ้านสักพัฒนา ตำบลหงส์หิน หมู่ที่11 จุดสังเกตจะพบป้ายบอกว่า พระธาตุหงส์หิน ให้ขับรถตรงไปห้ามเลี้ยวขวา จากนั้นขับรถตรงมาให้เลี้ยวซ้าย ก็จะพบทางขึ้นพระธาตุหงส์หินจะอยู่ทางขวามือ การเดินทางสะดวกสบาย

อ้างอิง http://honghinlocal.go.th/travel.htm เทศบาลตำบลหงส์หิน

ตำแหน่งที่ตั้ง : ที่อยู่: หมู่ 11 บ้านสักพัฒนา ตำบลหงส์หิน อำเภอจุน จังหวัดพะเยา 56150