การทำนาข้าวอินทรีย์


อำเภอจุน เป็นอำเภอหนึ่งที่มีการปลูกข้าวเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ โดยมีพื้นส่วนใหญ่เป็นที่ทำนาเกษตรกรส่วนใหญ่มีอาชีพทำนา ผลิตข้าวหอมมะลิเพื่อจำหน่ายและผลิตข้าวเหนียวเพื่อบริโภคในครัวเรือนที่ผ่านมามัก จะประสบปัญหาได้ผลผลิต เฉลี่ยข้าวต่อไร่ต่ำและประสบปัญหาโรคและแมลงระบาดตลอดทุกปี ทำให้การทำนาประสบปัญหาการขาดทุนและนอกจากนี้ตัวเกษตรกรทำนามักจะประสบปัญหาสุขภาพ และตรวจพบสารเคมีในเลือดแทบทุกครัวเรือน จากปัญหาดังกล่าวจึงทำให้มีความคิดริเริ่มทำการเกษตรแบบลดต้นทุนการผลิตและการผลิตพืชปลอดภัย โดยเฉพาะข้าวจะเน้นการลดต้นทุนการผลิตข้าวการ เพิ่มผลผลิต เฉลี่ยต่อไร่ให้สูง และพัฒนาคุณภาพให้ได้คุณภาพและนอกจากนี้ยังลดการใช้สารเคมีลงโดยเปลี่ยนมาใช้สารชีวภัณฑ์ โดยนำความรู้ที่ได้รับจาก เจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรอำเภอจุนและสำนักงานเกษตรจังหวัดพะเยา มาปรับใช้ในพื้นที่การเกษตร(นาข้าว) โดยการทำปุ๋ยหมัก น้ำชีวภาพสารกำจัดศัตรูพืชจากสมุนไพรและการจัดการน้ำไปใช้ในแปลงไร่นาตนเองก่อนจนประสบผลสำเร็จผลผลิต ข้าวนาปีจากและแนะนำให้เกษตรกรที่เข้ามาเรียนรู้ในกลุ่มเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้า

เกษตรในตำบลหงส์หินนำไปปรับใช้ใน ไร่นาตนเองซึ่ง เกษตรกรที่เข้ามาเรียนรู้ฯ เกือบทุกครัวเรือนหันมาใช้ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยน้ำชีวภาพ ในไร่นาของตนเองมากขึ้น กว่าเดิม ทำให้ลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มผลผลิตในไร่นาตนเองมากขึ้น กลุ่มข้าวอินทรีย์บ้านศรีจอมแจ้ง เริ่มเพาะปลูกข้าวอินทรีย์ ตั้งแต่ปี 2534 รับผิดชอบดำเนินการใน 2 ขั้นตอน คือ การจัดการพื้นที่เพาะปลูก โดยนาข้าวอินทรีย์ของเกษตรกรขึ้นทะเบียนกับ กลุ่มและโครงการผลิต กำหนดให้มีการป้องกันการ ปนเปื้อนของสารเคมีหรือสารพิษจากสภาพแวดล้อม รวมกลุ่มปลูกข้าวอินทรีย์เป็นนาผืนใหญ่และควบคุมการใช้ปัจจัยการผลิต การจัดการเพาะปลูกข้าวอินทรีย์ เริ่มจากการนำเทคนิคการเพาะปลูกเดิมมาพัฒนาร่วมกับงานวิจัยข้าวแล้วข้อคิดเห็นของหน่วยรับรอง จัดทำแนวทางเฉพาะปลูกให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ มีการปรับเปลี่ยนวิธีการและหาวัสดุที่อนุญาตให้ใช้ได้ มาทดแทนสารเคมี กลุ่มข้าวอินทรีย์บ้านศรีจอมแจ้ง มีพื้นที่เพาะปลูก 1,450 ไร่ ได้ผลิตเฉลี่ย 500-600 ก.ก.ต่อไร่ กลุ่มรวบรวมผลผลิตคือ บริษัท ท็อป ออร์กา-นิคฯ นำไปสู่กระบวนการเก็บรักษาแปรรูปจำ หน่ายเป็นสินค้าเกษตรอินทรีย์ได้ตามมาตรฐานที่ยอมรับกันในระดับสา กล ทั้งในและต่างประเทศนานกว่า 10 ปี เป็นการผลิตสินค้าคุณภาพสูง premium จากความเหมาะสมของพื้นที่ และการจัดการแบบพึ่งตนเองอย่างยั่งยืน รวมถึงผลต่อการรักษาสภาพแวดล้อม สุขอนามัยทั้งผู้ผลิตและบริโภค