๑.  สกลมหาสังฆปริณายก เป็นตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชมี ๒ ระดับ

๑.  สมเด็จพระสัง × ฆราชเจ้า หมายถึง สมเด็จพระสังฆราชที่เป็นพระราชวงศ์ ตั้งแต่ชั้นหม่อมเจ้าขึ้นไป เช่น พระเจ้าวรวงศ์เธอกรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า ใช้ราชาศัพท์เทียบเท่ากับพระองค์เจ้า ชั้นพระบรมวงศ์เธอ

๒.  สมเด็จพระสังฆราช หมายถึง สมเด็จพระสังฆราชที่เป็นสามัญชนคน ธรรมดา มิได้มีฐานันดรศักดิ์เป็นเชื้อพระราชวงศ์ เช่น สมเด็จพระอริยวงศาคนญาณ สมเด็จพระสังฆราช ใช้ราชาศัพท์เทียบเท่าพระองค์เจ้าชั้นพระเจ้าวรวงศ์เธอ

๒.  มหาสังฑนายก เป็น สมณศักดิ์ชั้นสุพรรณบัฏ เรียกว่า สมเด็จพระราชาคณะ มี ๖ ตำแหน่ง

๑.  สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์

๒.  สมเด็จพระญาณสังวร

๓.  สมเด็จพระพุฒาจารย์

๔.  สมเด็จพระธีรญาณมุนี

๕.  สมเด็จพระมหาวีรวงศ์

๖.  สมเด็จพระวันรัต

สมเด็จพระราชาคณะทั้ง ๖ ตำแหน่งนี้ ให้ใช้ราชาศัพท์เท่ากับขุนนาง ชั้นสมเด็จ เจ้าพระยา

๓.  สังฆนายก เป็นสมณศักดิ์ชั้นหิรัญบัฏ เรียกว่า รองสมเด็จพระราชาคณะ มี ๑๒ ตำแหน่ง คือ

๑.  พระพิมลธรรม

๒.  พระสาสนโสภณ

๓.  พระพรหมคุณาภรณ์

๔.  พระญาณวโรดม

๕.  พระธรรมปัญญาวงศ์

๖.  พระธรรมวโรดม

๗.  พระวิสุทธาธิบดี

๘.  พระพุทธวงศ์มุนี

๙.  พระพรหมมุนี

๑๐.  พระธรรมปัญญาจารย์

๑๑.  พระวิสุทธิวงศาจารย์

๑๒.  พระพุทธพจนวราภรณ์

สังฆนายกทั้ง ๑๒ ตำแหน่งนี้ ใช้ภาษาศัพท์เทียบเท่าขุนนางชั้นสมเด็จเจ้าพระยา และศัพท์สำหรับพระภิกษุทั่วไป

๔.  พระราชาคณะชั้นธรรม มักมีคำว่า "ธรรม" นำหน้าชื่อ เช่น พระธรรมโกศาจารย์ พระธรรมคุณาภรณ์ เป็นต้น

๕.  พระราชาคณะชั้นเทพ มักมีคำว่า "เทพ" นำหน้าชื่อ เช่น พระเทพวิสุทธิเมธี พระเทพโสภณ เป็นต้น

6. พระราชาคณะชั้นราช มักมีคำว่า "ราช" นำหน้าชื่อ เช่น พระราชวรมุนี พระราชนันทมุนี เป็นต้น

๗.  พระราชาคณะชั้นสามัญ เช่น พระสุธีวราภรณ์ พระอมรสุธี เป็นต้น

๘.  พระครู เป็นสมณศักดิ์รองมาจากพระราชาคณะชั้นสามัญ เช่น พระครูสุนทรโฆษิต พระวิจิตรโฆษา เป็นต้น