ความหมายของราชาศัพท์

คำว่า "ราชาศัพท์" เป็นศัพท์สมาสต่อกันระหว่าง ราชาและศัพท์ (ราชา + ศัพท์) ราชา เป็นภาษาบาลีสันสกฤต แปลว่าผู้ที่ให้เกิดความพอใจ ได้แก่พระเจ้าแผ่นดิน ส่วนศัพท์ เป็นภาษาสันสกฤต แปลว่า เสียง, คำ คำยากที่ต้องแปล เมื่อนำมาสมาสกัน ราชาศัพท์ ย่อมแปลตามรูปศัพท์ได้ว่า ถ้อยคำที่ใช้สำหรับพระเจ้าแผ่นดิน

ตำราภาษาไทยของพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจาริยางกูร) กล่าวไว้ว่า "ต่อไปนี้จะว่าด้วยราชภาษาราชาศัพท์ที่ใช้สำหรับราชตระกูลราชภาษาราชาศัพท์สำหรับผู้ที่จะทำราชการได้ใช้กราบทูลพระเจ้าอยู่หัว สมมุติเรียกว่า ราชาศัพท์ เป็นแบบแผนเยี่ยงอย่างมีมาแต่ก่อน ให้ข้าราชการทั้งปวงเรียนรู้สังเกตจำคำไว้ให้แน่นอน อย่าพลาดพลั้งในการที่กราบทูลพระกรุณาและเมื่อจะแต่งโครง ฉันท์ กาพย์ กลอน จะได้ใช้คำให้ถูกสมความ"

หลักภาษาไทย ของพระยาอุปกิตศิลปสาร (นิ่ม กาญจนาชีวะ) ได้ให้ความหมายของราชาศัพท์ไว้ว่า "ราชาศัพท์ แปลว่าศัพท์สำหรับพระราชาหรือศัพท์หลวง แต่ในที่นี้หมายความว่าสัตว์ที่ใช้ในราชการ เพราะในตำรานั้นบางคำไม่กล่าวเฉพาะกษัตริย์ หรือเจ้านายเท่านั้น กล่าวทั่วไปถึงคำที่ใช้สำหรับบุคคลอื่นด้วย เช่น ขุนนาง พระสงฆ์"

ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานพุทธศักราช 2525 ได้ให้ความหมายไว้ดังนี้ "ราชาศัพท์ น. คำเฉพาะใช้สำหรับเพ็ดทูลพระเจ้าแผ่นดินและเจ้านาย, ต่อมาหมายรวมถึงคำที่ใช้กับพระภิกษุสงฆ์ ข้าราชการ และสุภาพชน"

ม.ล. ปีย์  มาลากุล กล่าวไว้ในการใช้ถ้อยคำราชาศัพท์ว่า "ศัพท์ก็ดี ถ้อยคำก็ดี ในชั้นต้นก็คงมุ่งหมายเพียงให้เป็นถ้อยคำที่พระมหากษัตริย์หรือพระราชวงศ์ทรงฟังได้ ต่อมาเนื่องจากความคลี่คลายของภาษา ราชาศัพท์จึงได้มีสำหรับใช้กับพระภิกษุ ข้าราชการ และกว้างออกไปจนถึงคำสุภาพ"

สำหรับบุคคลที่ผู้พูดจะต้องใช้คำราชาศัพท์ด้วยนั้น ม.ล. ปีย์  มาลากุล ได้จำแนกไว้ 5 ชั้นด้วยกัน คือ

จากข้อความข้างต้นจะเห็นได้ว่า คำว่า "ราชาศัพท์" นั้น มิใช่ศัพท์ที่เกี่ยวกับเจ้าฟ้า พระมหากษัตริย์เท่านั้น แต่ยังรวมถึงพระภิกษุ ข้าราชการและคนทั่ว ๆ ไปอีกด้วย

 ดังนั้น ถ้าจะให้นิยามความหมายของคำว่า "ราชาศัพท์" ก็คงจะนิยามได้ว่า "หมายถึงระเบียบแห่งการใช้ถ้อยคำให้ถูกต้องตามฐานะของบุคคล ซึ่งมีอยู่ 5 ชั้น คือ