ความเชื่อ :
เทพีแห่งสายน้ำ

ว่ากันว่า ไนล์ เป็นเทพธิดาผู้คอยคุ้มครองดินแดนแห่งแม่น้ำร้อยสายนี้มาแต่โบราณ นางได้ประทานความอุดมสมบูรณ์แก่ดินแดนแห่งนี้ มักปรากฏในรูปลักษณ์หญิงสาวผู้งดงามที่ปรากฏกายพร้อมบาสเตียผู้รับใช้ในรูปลักษณ์ของแมวดำ ชนเผ่าโบราณที่เป็นบรรพบุรุษของชาวไนล์ในปัจจุบันต่างให้ความเคารพบูชานางเป็นอย่างมาก ขนบธรรมเนียมต่างๆของชนเผ่าที่เกี่ยวข้องกับเทพีแห่งสายน้ำองค์นี้ล้วนถูกสืบทอดมาจนกระทั่งปัจจุบัน


ตามตำนานโบราณของชนเผ่าแห่งลุ่มแม่น้ำร้อยสายนั้นได้เล่าขานไว้ว่า เทพีไนล์นั้นเป็นอริกับไซบีเรีย เทพเจ้าแห่งฤดูหนาว โดยได้อธิบายเอาไว้ว่าว่าไซบีเรียนั้นเป็นเทพเจ้าชั่วร้ายที่มีใจรักต่อเทพีแห่งสายน้ำ ทว่าพระนางกลับไร้เยื่อใย เทพเจ้าแห่งฤดูหนาวจึงบันดาลโทสะ ไซบีเรียบัญชาให้ชนเผ่าเร่ร่อนบนหลังม้าซึ่งบูชาพระองค์เข้าจู่โจมชาวชนเผ่าลุ่มแม่น้ำร้อยสายอย่างโหดร้าย ก่อนจะหลอกล่อไนล์ออกมาจากที่อยู่ของนาง ทำให้แม่น้ำแข็งตัวจนไนล์ไม่อาจหลบหนีได้ และลักพานางไปอยู่ที่ปราสาทของตนในฤดูเหมันต์ ทำให้ดินแดนแม่น้ำร้อยสายต้องเผชิญกับฤดูหนาวที่โหดร้ายยาวนานเกินคาดคิด เป็นเวลานานกว่าที่เทพีจะสามารถหลบหนีออกมาได้ และมอบชีวิต(ฤดูใบไม้ผลิ)ให้กลับคืนสู่ดินแดนแห่งแม่น้ำร้อยสายอีกครั้ง


จากการศึกษาของนักประวัติศาสตร์และนักศึกษาด้านตำนานโบราณ จึงทำให้ทราบว่าไซบีเรียนั้นเป็นนามของเทพเจ้าของชนเผ่าบนหลังม้าที่อพยพย้ายถิ่นฐานเพื่อหนีความหนาวเย็นและอดอยากยากแค้นมาไกลจากพื้นที่บริเวณที่เป็นซาเรสในปัจจุบันให้การเคารพนับถือ การจู่โจมของพวกเขานั้นเหี้ยมโหดไร้ปราณี ทำให้ชนเผ่าแม่น้ำร้อยสายที่แต่แรกเริ่มจับมือกันต่อสู้อย่างหลวมๆเกือบพ่ายแพ้ไปหลายครา

ด้วยเหตุนี้ชนเผ่าต่างๆในดินแดนแม่น้ำร้อยสายสมัยโบราณจึงผนึกกำลังกันในที่สุด พวกเขาอ้างว่าในคืนหนึ่งหลังจากการต่อสู้ที่ดุเดือดจบลง พวกเขาได้รับ ‘วิวรณ์’ จากแมวดำที่มีนัยน์ตาสีทองเปล่งปลั่งสุกสกาว พวกเขาเชื่อว่านั่นคือสาส์นที่บาสเตีย ข้ารับใช้ผู้ซื่อสัตย์ของเทพีไนล์เสี่ยงชีวิตนำออกมาส่งให้แก่ลูกหลายของชนเผ่าแม่น้ำร้อยสาย       

หลังจากการมาถึงของวิวรณ์ในครั้งนั้น ชนเผ่าในดินแดนแม่น้ำร้อยสายที่กระจัดกระจายกันไปก็สามารถผนึกกำลังกันได้สำเร็จ พวกเขาได้ร่วมกันสร้างมหามนตราตามการชี้แนะในวิวรณ์และตรามนต์ไว้ที่ต้นน้ำเพื่อป้องกันการแข็งตัวของแม่น้ำสายต่างๆในดินแดน มหามนตรานี้เป็นมนตราที่ทำให้บริเวณจุดหนึ่งของลำน้ำมีความร้อนอยู่เสมอ เมื่อน้ำไหลผ่านก็ทำให้อุณหภูมิของน้ำสูงขึ้นจนไม่อาจจับตัวเป็นน้ำแข็งได้ 

เมื่อมหามนตราโบราณทำงาน สายน้ำที่จับตัวแข็งก็เริ่มไหลริน และเปลี่ยนสมรภูมิรบให้เป็นหล่มโคลนเยือกแข็ง และชนเผ่าแม่น้ำร้อยสายก็อาศัยข้อได้เปรียบในภูมิประเทศที่พวกเขาเชี่ยวชาญนี้เอาชนะและขับไล่ชนเผ่าเร่ร่อนบนหลังม้าเหล่านั้นออกไปได้ในที่สุด

นับแต่นั้นชนเผ่าแม่น้ำร้อยสายก็นับถือและบูชาเทพีไนล์เป็นเทพเจ้าผู้ปกปักรักษาดินแดนแห่งนี้

มรดกสำคัญจากตำนานของเทพีแห่งสายน้ำก็คือมหามนตราโบราณ มนตรานี้ยังคงมีผลตกค้างมาจนถึงยุคปัจจุบัน นั่นเป็นเหตุผลให้แม่น้ำทั้งหลายในไนล์ไม่กลายเป็นธารน้ำแข็งในหน้าหนาว และยังคอยหล่อเลี้ยงชุมชนริมแม่น้ำสืบไป

วิหารเทพีแห่งสายน้ำและนักบวชแห่งไนล์

※ข้อควรระวัง - สิ่งสำคัญเกี่ยวกับวัฒนธรรมและความเชื่อเกี่ยวกับศาสนาของไนล์ 

นักบวชของไนล์แม้ใช้คำเรียกว่า “นักบวช” แต่หน้าที่ของนักบวชนี้ต่างจากนักบวชของศาสนาอื่น คือ

โดยขอให้ยึดหลักนี้เมื่อเอ่ยถึงนักบวชและศาสนาเทพีแห่งสายน้ำในการโรลเพลย์

แม้ไนล์จะได้ชื่อว่าเป็นหนึ่งในประเทศที่มีความอุดมสมบูรณ์ที่สุดจากความสามารถในการเพาะปลูกและปริมาณผลผลิตต่อปี แต่กระนั้นปริมาณน้ำในช่วงน้ำหลากจะแตกต่างกันไปในแต่ละปี บางปีอาจมีน้ำมากจนกลายเป็นอุทกภัยใหญ่ในเขตที่ราบลุ่ม สร้างความเสียหายแก่ยุ้งฉาง พื้นที่เพาะปลูกและที่อยู่อาศัย บางปีอาจมีน้ำน้อย ไม่สูงพอจะหลากท่วมผ่านพื้นที่สำหรับทำการเพาะปลูก ทำให้ผลผลิตที่เก็บเกี่ยวได้มีน้อยกว่าที่ควรจะเป็น

กระนั้นทั้งหมดนี้ชาวไนล์เชื่อว่า นี่คือบททดสอบของเทพีไนล์ที่มอบให้แก่ลูกหลานของชนเผ่าแม่น้ำร้อยสายไม่ให้ประมาทต่อการใช้ชีวิตในดินแดนที่มีความเป็นไปได้นับล้านแห่งนี้

แต่เมื่อโลกทัศน์ของชาวไนล์กว้างขึ้น พวกเขาก็ลองคิดในมุมกลับและพบว่า ‘ไม่ใช่ให้ยอมรับชะตากรรมที่องค์เทพีทรงทดสอบ แต่องค์เทพีทรงอยากกระตุ้นให้พวกเขาแข็งแกร่งขึ้นจากการรับการทดสอบของนาง’ ต่างหาก


ท่ามกลางอิทธิพลของศาสนาต่างๆที่เริ่มแพร่กระจาย ชาวไนล์เองก็มีบางสิ่งที่พวกเขายึดมั่นและศรัทธา 

องค์เทพีทรงเชื่อมั่นในตัวของมนุษย์เช่นพวกเขา พวกเขาเองก็เคารพและเชื่อมั่นในวิถีทางของพระนางเช่นกัน


ความเคารพในตัวเทพีแห่งสายน้ำทำให้มีการสร้าง ‘วิหารเทพีแห่งสายน้ำ’ และจัดตั้งคณะ ‘นักบวชแห่งไนล์’ ขึ้น 

ทว่าถึงจะเรียกคนกลุ่มนี้ว่า นักบวช แต่หน้าที่แท้จริงของพวกเขาคือการอุทิศตนเพื่อคอยดูแลสายน้ำซึ่งเปรียบเหมือนเส้นเลือดหล่อเลี้ยงชีวิตของชาวไนล์ รวมถึงดูแลรักษามหามนตราที่ถูกตราไว้ในแหล่งน้ำของไนล์ พวกเขาจะคอยสอดส่องไม่ให้มีการทำลาย หรือทิ้งสิ่งของลงในแหล่งน้ำ ในปัจจุบันพวกเขายังมีหน้าที่คอยดูแลระบบชลประทานทั้งหมดของไนล์อีกด้วย

ตัววิหารเทพีแห่งน้ำเองถึงจะได้ชื่อว่ามหาวิหารก็จริง แต่ในปัจจุบันสถานที่นี้เป็นสถานที่ราชการ เป็นสถานที่ทำงานของคณะนักบวชแห่งไนล์ในแต่ละหัวเมืองและภูมิภาคต่างๆ มีหน้าที่ในการควบคุมบริหารการดูแลจัดการแหล่งน้ำและชลประทานในไนล์

จะเรียกว่าเป็น 'สำนักการชลประทานแห่งไนล์' ภายใต้รูปแบบของสถาบันทางศาสนาก็ไม่ผิด

ตำแหน่งนักบวชแห่งไนล์นี้มีการคัดเลือกคนจากการสอบความรู้เกี่ยวกับระบบน้ำ การชลประทาน อุทกศาสตร์เบื้องต้น สภาพภูมิศาสตร์ในท้องถิ่น และการทดสอบเวทมนตร์  นักแห่งไนล์ที่มีผลงานในระดับสูงจะถูกคัดเลือกจากความรู้ความเข้าใจเรื่องระบบน้ำของไนล์ และประสบการณ์ในฐานะนักบวชในท้องถิ่นให้เข้าไปประจำอยู่ในมหาวิหารเทพีแห่งสายน้ำในพระราชวังไนล์ มีหน้าที่คล้ายคณะกรรมาธิการในการจัดการน้ำระดับชาติ


ไนโลมิเตอร์นั้นคือมาตรวัดระดับน้ำ มีหลายรูปแบบได้แก่ 


นักบวชแห่งไนล์จะทำการจดบันทึกระดับน้ำในทุกๆวัน เพื่อประเมินแนวทางการจัดการทรัพยากรน้ำในแต่ละฤดูกาล นอกจากนี้ข้อมูลในการประเมินระดับน้ำยังถูกส่งไปยังหน่วยงานจัดเก็บภาษี โดยในปีที่มีการประเมินว่าทรัพยากรน้ำจะมีความเหมาะสม การเพาะปลูกจะมีความอุดมสมบูรณ์ ก็จะมีการเก็บภาษีมากขึ้นกว่าค่าเฉลี่ย ส่วนในปีที่มีแนวโน้มจะแห้งแล้งหรือมีอุทกภัย ก็จะมีการจัดเก็บภาษีลดลงตามส่วน

เราสามารถทราบได้ว่าผู้ใดเป็นนักบวชแห่งไนล์ในขณะที่พวกเขาเดินตามท้องถนนโดยไม่ได้อยู่ในเครื่องแบบ จากลูกปัดไม้แกะสลักสีฟ้าที่ร้อยอยู่กับเส้นผมปอยหนึ่งของพวกเขา เป็นลูกปัดที่ทำขึ้นมาเป็นพิเศษที่จะส่งเสียงเบาๆออกมาก่อนที่ฝนจะตก

ระบบการปกครองภายในวิหารเทพีแห่งสายน้ำ

วิหารเทพีแห่งสายน้ำ (The Santuaric of Nile) มีประมุขสูงสุดคืออัครมุขนายก ซึ่งคัดเลือกจากนักบวชที่มีประสบการณ์และตำแหน่งสูงสุดเสนอชื่อและทำการคัดเลือกในการประชุมของมุขนายก หรือนักบวชชั้นสูง

เนื่องจากวิหารเทพีแห่งสายน้ำ แม้จะมีองค์ประกอบครบถ้วนในการเรียกขานตนเองว่าเป็นศาสนาและศาสนจักร แต่องค์ประกอบและโครงสร้างขององค์กรจริงๆแล้วก็ดูเหมือนหน่วยงานทางราชการทั่วไปหน่วยงานหนึ่งที่ทำหน้าที่เพื่อรับใช้ประชาชนของตน การปกครองของวิหารเทพีแห่งสายน้ำจะขึ้นตรงกับกษัตริย์ 

โดยพื้นฐานของผู้ที่จะสมัครเป็นนักบวชของวิหารเทพีแห่งสายน้ำ ต้องมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องทรัพยากรน้ำเบื้องต้น และมีความเข้าใจในลักษณะทางนิเวศน์วิทยาในท้องถิ่นของตนเองอยู่ระดับหนึ่ง เพราะหัวข้อในการทดสอบคุณสมบัติจะวัดความเข้าใจและการประยุกต์ใช้ความรู้ในหัวข้อดังกล่าวเป็นหลัก


ที่ปรึกษาฝ่ายวิหาร

Laity Consultor

เป็นผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านต่างๆที่วิหารเชิญให้มาเป็นที่ปรึกษา ผู้ฝึกสอน ไปจนถึงทำโครงการร่วมกันในด้านต่างๆ โดยจะเป็นผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับด้านอุทกศาสตร์และการชลประทานเป็นหลัก มีสถานะพิเศษในวิหาร แต่ไม่เท่านักบวชเต็มตัวที่เข้าพิธีสาบานแล้ว

นักบวชฝึกหัด

Chaplain Tyro


นักบวชฝึกหัด เมื่อเข้ามาเป็นนักบวชฝึกหัดแล้วก็มักจะต้องผ่านการฝึกอมรมเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 1-2 ปี ถึงจะสามารถสอบเลื่อนขั้นเพื่อเป็นนักบวชเต็มตัวได้ 

นอกจากการฝึกอบรมแล้ว นักบวชฝึกหัดยังมีหน้าที่ในการจัดการงานจิปาถะต่างๆเกี่ยวกับงานธุรการของวิหารเพื่อฝึกฝนความเชี่ยวชาญ โดยจะมีนักบวชที่รับหน้าที่เป็นผู้ดูแลคอยตรวจตราการฝึกฝนของนักบวชฝึกหัด ผู้ที่สอบไม่ผ่านโดยมากก็ยังคงทำงานให้ศาสนจักรในฐานะอาสาสมัครที่ได้รับค่าตอบแทน

นักบวช

Chaplain

นักบวชในตำแหน่งทั่วไป ผ่านการสาบานตนกับทางวิหารอย่างครบถ้วนแล้ว มีหน้าที่ในการดูแลแหล่งน้ำ บำรุงรักษาไนโลมิเตอร์ร่วมกับหน่วยงานปกครองส่วนท้องถิ่นและชาวบ้าน รวมถึงจดบันทึกการเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำจากไนโลมิเตอร์เพื่อทำการวิเคราะห์ในทุกวัน เผยแพร่ความรู้ความเข้าใจ ข่าวสารเกี่ยวกับการชลประทานและการจัดการน้ำให้แก่ประชาชนในพื้นที่ต่างๆ วิจัยและเก็บข้อมูลเกี่ยวกับการชลประทานเพื่อใช้ประกอบการคำนวนการเรียกเก็บภาษี

ศาสนทูต

Santuaric Emissary

นักบวชที่ได้รับหน้าที่ทูตของศาสนจักรเพื่อสานสัมพันธ์กับประเทศต่างๆ ร่วมวิจัยและสำรวจทางการชลประทาน แก้ไขปรับปรุงระบบนิเวศน์ทางน้ำแก่ประเทศที่ต้องการ

ผู้ไต่สวนประจำศาสนจักร

Inquisitor

ผู้ตรวจสอบโครงการที่ดำเนินการโดยวิหาร มีอำนาจที่สามารถทำการสอบสวนและจับกุม(เฉพาะความผิดเกี่ยวกับโครงการของศาสนจักร)ได้ในทันทีที่พบความผิดปกติ สามารถส่งสำนวนคดีต่อให้กับฝ่ายปกครองท้องถิ่นและสามารถเข้าร่วมการสืบสวนได้ทุกขั้นตอนในฐานะตัวแทนจากศาสนจักร นอกจากต้องมีความรู้ด้านชลประทานและการจัดการน้ำขั้นสูงแล้วยังจำเป็นที่จะต้องมีความรู้ความเข้าใจในด้านกฏหมายเป็นอย่างดี รวมถึงมีทักษะการเอาตัวรอดในสถานการณ์ต่างๆ
หัวหน้าของคณะผู้ไต่สวน เรียกว่า อธิการคณะผู้ไต่สวนประจำศาสนจักร (Bisceop Inquisitor) ประจำเขตต่างๆ มีศักดิ์ฐานะเทียบเท่ามุขนายก

อัคราธิการ

Abbas palatinus / Abbas castrensis 

ควบคุมดูแลนักบวชและนักบวชฝึกหัดในภูมิภาคของตน จัดทำและเสนอแผนการจัดการทรัพยากร ดูแลการพยากรณ์ทรัพยากรน้ำล่วงหน้าด้วยวิธีทางอุทกศาสตร์ ประเมินความน่าจะเป็นของการจัดเก็บภาษีในแต่ละปี

นอกจากนี้อัคราธิการจะมีหน้าที่ออกข้อสอบให้แก่วิหารเทพีแห่งสายน้ำในท้องถิ่นที่ตนเติบโตมา โดยจะให้คิดข้อสอบเอาไว้คนละ5-10ข้อตามหัวข้อที่ได้รับ ก่อนข้อสอบเหล่านี้จะถูกเก็บไว้ในคลังกลาง และจะมีการสุ่มหยิบข้อสอบของอัคราธิการทุกคนออกมาเพื่อรวบรวมให้เป็นข้อสอบฉบับเต็มเมื่อถึงช่วงการสอบเข้า

จะแบ่งเป็น2ตำแหน่งคือ 

มุขนายก

Bisceop

มุขนายกคัดเลือกจากอัคราธิการในภูมิภาคต่างๆภูมิภาคละ 2 คน เป็นกลุ่มคนที่จะตัดสินใจว่าโครงการไหน เรื่องใดสามารถจัดการได้ในภูมิภาค เรื่องใดจำเป็นต้องส่งเข้ามารับการพิจารณาที่วิหารส่วนกลางในเมืองหลวง อนุมัติงบประมาณ 

อัครมุขนายก 

Arcebisceop

นักบวชสูงสุดของวิหารเทพีแห่งสายน้ำ ผู้ดำรงตำแหน่งนี้ไม่จำเป็นต้องมีอาวุโสสูงสุดเสมอไป จะคัดเลือกจากผู้ดำรงตำแหน่งและเคยดำรงตำแหน่งอัครมุขนายกที่ไม่ด่างพร้อย ลงคะแนนเสียงโดยนักบวชระดับมุขนายกขึ้นไป (รวมถึงมุขนายกจากคณะผู้ไต่สวนประจำศาสนจักรและคณะทูต โดยงดเว้นเสียงจากมุขนายกจากคณะทูตที่กลับมายังไนล์ไม่เกิน 2 ปี) 

อัครมุขนายกคือสัญลักษณ์และผู้กำหนดทิศทางการบริหารของวิหารเทพีแห่งสายน้ำ ในประเทศนี้มีผู้ที่อยู่เหนืออัครมุขนายกขึ้นไปอีกแค่ผู้เดียว ซึ่งก็คือกษัตริย์

สวัสดิการประจำตำแหน่งของนักบวชที่น่าสนใจก็คือมีที่พักให้กับนักบวชทุกคน ละเว้นการจัดเก็บภาษี มีทุนการศึกษาเต็มจำนวนให้แก่ผู้ที่ต้องการศึกษาต่อในองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับขอบเขตงานของศาสนจักร และการทัศนศึกษาดูงาน-ฝึกงานที่ต่างประเทศ รวมถึงทุนการศึกษาแก่สมาชิกในครอบครัวปฐมภูมิของนักบวชอีกด้วย