ด้านเกษตรกรรม

การขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง การขยายเชื้อไตรโคเดอร์มา ป้องกันกำจัดโรคพืช

ภูมิปัญญาท้องถิ่น

“การขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง”

ประเภทภูมิปัญญาท้องถิ่น : ด้านเกษตรกรรม การกสิกรรม การปศุสัตว์ การประมง การป่าไม้ การทำเกษตรผสมผสาน เกษตรทฤษฎีใหม่


ข้อมูล : ราษฎรในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลท่าโพธิ์ จำนวน 50 ราย

เศรษฐกิจพอเพียง คือกรอบแนวคิดในการปฏิบัติดำรงตน โดยน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเช รัชกาลที่ 9 มาปฏิบัติโดยอาศัยหลักพอความประมาณมีเหตุผลและมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัวเองภายใต้พื้นฐานความรู้และคุณธรรม นำสู่การเกษตรตามหลักเกษตรหฤษฎีใหม่ซึ่งจัดเป็นการขยายผลการปฏิบัติให้กว้างขวางและขยายผลการดำเนินงานโดยอาศัยปัจจัยพื้นฐานที่มีอยู่ในชุมชนหรือปัจจัยของตนเองมุ่งเน้นความสำคัญของการจัดการน้ำเป็นหลักในการดำเนินงานปัจจุบันประชาชนผู้ดำเนินงานภาคการเกษตรในเขตพื้นที่ตำบลท่าโพธิ์มุ่งเน้นการผลิตพืชเชิงเดี่ยวทำการเกษตรเชิงพาณิชย์ยังต้องอาศัยปัจจัยการผลิตโดยการพึ่งพาปุ๋ยและสารเคมีในการบริหารจัดการพืชส่งผลต่อต้นทุนการผลิตพืชที่เพิ่มขึ้นตลอดจนผลกระทบต่อสุขอนามัยผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อมการสนับสนุนอาชีพการเกษตรตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวทางการแก้ปัญหาแบบองค์รวมทุกมิติของภารดำเนินชีวิตของประชนในพื้นที่

วัตถุประสงค์

1. เพื่อส่งเสริมองค์ความรู้ด้านอาชีพรายและได้ต่อราษฎรในพื้นที่ตำบลท่าโพธิ์

2. เพื่อจัดกิจกรรมส่งเสริมการดำเนินชีวิตของราษฎรตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

3. เพื่อลดต้นทุนการผลิตด้านการเกษตรอาศัยปัจจัยสิ่งแวดล้อมในการส่งเสริมอาชีน

4. เพื่อส่งเสริมการปฏิบัติการทางการเกษตรที่ดีและเหมาะสมต่อราษฎร

5. เพื่อลดปัญหาสุขอนามัยผู้ผลิต ผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อมด้านการเกษตร

6. เพื่อส่งเสริมการรวมกลุ่มด้านเกษตรในพื้นที่ตำบลท่าโพธิ์



วัสดุการผลิตปุ๋ยอินทรีย์/ชีวภาพ (เพื่อการสาธิต)

- ปุ๋ยแห้ง

- หัวเชื้อจุลินทรีย์เชิงพาณิชย์

- อินทรีย์วัตถุเศษวัชพืชในการทำปุ๋ยหมักแห้ง

- เชื้อไตรโคเดอร์มาขยาย

- กากน้ำตาล

- ขวดบรรจุการขยายเชื้อจุลินทรีย์เชิงพาณิชย์

- รำละเอียด

- เมล็ดพันธุ์พริก มะเขือ

- ต้นพันธุ์มะเขือ/ มะม่วง

- ข้าวสารจ้าว

- เศษผลไม้/วัสดุหมัก

วิธีการทำ

การขยายเชื้อไตรโคเดอร์มา : เชื้อป้องกันกำจัดโรคพืช

1. หุงข้าวจ้าว(สุกและไม่แฉะ)ชนิดเนื้อแข็ง เช่น พันธุ์ข้าวเสาไห้  ,พิษณุโลก 2

2. ตักข้าวจ้าวสุกใส่ในถุงพลาสติกใส(ถุงร้อน)ขนาด 12 X 11 รีดอากาศออกจากถุง(รอจนอุณหภูมิต่ำ)

3. หยดเชื้อไตรโคเดอร์มา(เชื้อบริสุทธิ์) ลงในถุงข้าวที่เตรียมไว้ประมาณ 1-2 หยด

4. รัดปลายถุงให้แน่นด้วยยางรัด

5. ใช้ไม้จิ้มฟันแทงขั้วถุงบริเวณโดยรอบยางรัดประมาณ 50 รู เพื่อระบายอากาศ

6. นำถุงเพาะเชื้อกระจายข้าวให้แผ่ทั่วถุง วางไว้ที่สว่าง(ไม่โดนแสงแดด) อากาศถ่ายเทสะดวก

7. วันที่ 5 ของการเพาะเชื้อขยี้ข้าวจ้าวเพาะเชื้อ(เบาๆ) ให้กระจายทั่วถุง (สังเกตเชื้อที่ดีจะเจริญเป็นสีเขียวไม่มีสีอื่นปนในถุงเพาะเชื้อ) 

ประมาณวันที่ 10 ของการเพาะเชื้อ เชื้อจะเจริญเต็มถุงซึ่งจะมีสีเขียวเข้ม นำเก็บในอุณหภูมิที่ต่ำและห่างไกลจากแสงแดด