ด้านหัตถกรรม

สานสุ่มไก่

ภูมิปัญญาท้องถิ่น

“สานสุ่มไก่”

ประเภทภูมิปัญญาท้องถิ่น : ด้านหัตถกรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่นในงานฝีมือหรืองานช่างที่ทำด้วยมือและอุปกรณ์อย่างง่าย โดยไม่ใช้เครื่องจักรเป็นองค์ประกอบหลักในการผลิต

ข้อมูล : นายส่ง พูลเกษตร อายุ 67 ปี บ้านเลขที่ 21 หมู่ 6 ตำบลท่าโพธิ์ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก โทร 082-4020683

ประวัติความเป็นมา : ความเป็นมาของการทำสุ่มไก่ ในหมู่บ้านมีชาวบ้านจำนวนมากที่ชื่นชอบเลี้ยงไก่ชนจึงได้ทำอุปกรณ์ในการเลี้ยงไก่ชนนี้ขึ้น ซึ่งสุ่มไก่นี้สานได้ง่าย มีราคาถูกและใช้ประโยชน์ได้ดี การสานสุ่มไก่ได้สืบทอดกันมาเป็นเวลาช้านานมากสืบทอดมาทั้งแต่รุ่นบรรพบุรุษ และได้เรียนรู้จากคนเฒ่าคนแก่หมู่บ้าน จึงได้มีการสานสุ่มสืบต่อกันมาเรื่อยๆ จนถึงปัจจุบันก็ได้สานสุ่มเป็นอาชีพ เพราะด้วยวัยที่มากขึ้นทุกวัน เป็นอาชีพที่อยู่กับบ้าน ได้อยู่กับลูกกับหลาน และคนที่ไม่สามารถออกไปทำงานในต่างถิ่นได้ จึงได้ยึดอาชีพสานสุ่มไก่ขายเป็นอาชีพหลัก และส่วนมากคนในหมู่บ้านไม่ค่อยนิยมสานสุ่มไก่มากนัก ส่วนมากก็จะเป็นคนแก่ที่อยู่แต่บ้าน ส่วนใหญ่ก็เสียชีวิตกันหลายคนแล้ว ในการสานสุ่มไก่ขายก็เป็นการใช้วัสดุธรรมชาติที่มีอยู่มากมายในหมู่บ้านให้เกิดประโยชน์ จึงยึดอาชีพสานสุ่มไก่เป็นหลักและยังเป็นการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์อีกด้วย

นายส่ง พูลเกษตร สานสุ่มไก่ตั้งแต่อายุ 17 ปี สานสุ่มไก่เดือนละ 20 ลูก ขายลูกละ 300 บาท องค์การบริหารส่วนตำบลท่าโพธิ์เคยส่งประกวดสานสุ่มไก่ระดับจังหวัด จัดโดยสำนักงานเกษตรจังหวัดพิษณุโลก


อุปรกณ์ : วัตถุดิบในการผลิต ใช้ไม้ไผ่สุก สามารถหาได้ตามในหมู่บ้าน

วิธีทำ

1. การจักตอกไม้

- ใช้เลื่อยคันธนูเลื่อยตัดข้อปล้องแรกของไผ่ทิ้งเพื่อให้ผ่าลำไผ่ได้สะดวก

- ผ่าลำไผ่ออกมาเป็นเส้น ๆ

- จักตอกเส้นไผ่เป็นตอกยืน ตอกยาว และตอกไผ่ตีน (ส่วนข้อไผ่ที่มีตาไผ่)  ความกว้างของตอกแต่ละแบบโดยประมาณ คือ ตอกยืน 1.3 - 1.7 ซม. ตอกยาว 0.8 ซม. และตอกไผ่ตีน 1.6 - 2.0 ซึ่งไผ่หนึ่งลำเหลาจักตอกได้ตอกยืนใช้สานสุ่มไก่ได้ 1 ใบ และตอกยาวสานสุ่มไก่ได้ 2 ใบ  ส่วนที่เป็นข้อไผ่นำมาเหลาเป็นตะขอข้อไผ่หลักหมุดยึดหัวสุ่ม เพื่อไม่ให้สุ่ม ขยับเขยื้อนในขณะ สานขึ้นรูป

2. การสานสุ่มไก่

- เริ่มจากสานตอกยาวและตอกยืนเป็นหัวสุ่มแบบลายขัด


3. กระบวนการผลิต

- ใช้ค้อนตอกตะขอข้อไผ่หลักหมุดยึดหัวสุ่มบนพื้นดินลานกว้าง เพื่อยึดสุ่มไก่ ไว้ใน การสาน ขึ้นรูป

- ใช้ตอกยาวสานรอบ ๆ สุ่มไก่เพื่อขึ้นรูปแบบลายหนึ่ง (ยกหนึ่งข้ามหนึ่ง) โดยจุดเริ่มต้นของตอก ยาวแต่ละเส้นเปลี่ยน ตำแหน่งไปเรื่อย ๆ เพื่อให้สุ่มไก่ได้รูปทรงกลม

- สานตีนสุ่มไก่ โดยใช้ตอกไผ่ตีนประมาณ 5 เส้น

- ใช้เลื่อยคันธนูเลื่อยตัดส่วนตอกยืนที่ยื่นยาวตีนสุ่มไก่ทิ้งไป

 

ประโยชน์