ภูมิปัญญาท้องถิ่น

ของ อบต.ท่าโพธิ์ จ.พิษณุโลก

ความหมายของภูมิปัญญาท้องถิ่น

ภูมิปัญญา ตรงกับศัพท์ภาษาอังกฤษว่า Wisdom หมายถึง ความรู้ ความสามารถ ทักษะความเชื่อ และศักยภาพในการแก้ปัญหาของมนุษย์ที่สืบทอดกันมาจากอดีตถึงปัจจุบันอย่างไม่ขาดสายและเชื่อมโยงกันทั้ง ระบบทุกด้าน 

ภูมิปัญญาไทย หมายถึง ความรู้ ความสามารถ ทักษะและเทคนิคการตัดสินใจ ผลิตผลงานของบุคคล อันเกิดจากการสะสมองค์-ความรู้ทุกด้านที่ผ่านกระบวนการสืบทอด พัฒนาปรับปรุง และเลือกสรรมาแล้วเป็น อย่างดีสามารถแก้ไขปัญหา และพัฒนาวิถีชีวิตของคนไทยได้อย่างเหมาะสมกับยุคสมัย 

ภูมิปัญญาท้องถิ่น หรือภูมิปัญญาชาวบ้านหมายถึง ทุกสิ่งทุกอย่างที่ชาวบ้านคิดขึ้นได้เองและน ามาใช้ ในการแก้ปัญหา เป็นเทคนิควิธี เป็นองค์ความรู้ของชาวบ้าน ทั้งทางกว้างและทางลึกที่ชาวบ้านคิดเอง ทำเอง โดยอาศัยศักยภาพที่มีอยู่แก้ปัญหาการด าเนินชีวิตในท้องถิ่นได้อย่างเหมาะสมกับยุคสมัยความเหมือนกันของภูมิ ปัญญาไทยและภูมิปัญญาท้องถิ่น คือ เป็นองค์ความรู้ และเทคนิคที่น ามาใช้ในการแก้ปัญหาและการตัดสินใจ ซึ่ง ได้สืบทอดและเชื่อมโยงมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน ความต่างกันของภูมิปัญญาไทยและภูมิปัญญาท้องถิ่น คือ ภูมิปัญญาไทย เป็นองค์ความรู้และ ความสามารถโดยส่วนรวม เป็นที่ยอมรับในระดับชาติ ส่วนภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นองค์ความรู้และความสามารถ ในระดับท้องถิ่นซึ่งมีขอบเขตจ ากัดในแต่ละท้องถิ่น เช่น ภาษาไทยเป็นภูมิปัญญาไทย ในขณะที่ภาษาอีสานเป็น ภูมิปัญญาท้องถิ่น เป็นต้น

ประเภทของภูมิปัญญาท้องถิ่น

ภูมิปัญญาท้องถิ่น หมายร่วมถึง ทุกสิ่งทุกอย่างที่ชาวบ้าน คิดค้นขึ้น แล้วนามาปรับปรุงแก้ไขพัฒนาแก้ปัญหา เป็นทั้ง สติปัญญาและองค์ความรู้ทั้งหมดของชาวบ้าน ดังนั้นจึงมีความครอบคลุมเนื้อหาสาระและแนวทางดำเนินชีวิตในวงกว้าง ภูมิปัญญาท้องถิ่นประกอบไปด้วยองค์ความรู้ใน หลายวิชาดังที่ สานักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ (๒๕๔๑)

ได้จำแนกไว้รวม ๘ สาขา คือ

๑. ด้านเกษตรกรรม คือ ภูมิปัญญาท้องถิ่นเกี่ยวกับการกสิกรรม/การปศุสัตว์/การประมง/การป่าไม้ เช่น การทำการเกษตร แบบผสมผสาน, เกษตรทฤษฎีใหม่ เป็นต้น

๒. ด้านหัตถกรรม คือ ภูมิปัญญาท้องถิ่นในงานฝีมือหรืองานช่างที่ทำด้วยมือและอุปกรณ์อย่างง่าย โดยไม่ใช้เครื่องจักร เป็นองค์ประกอบหลักในการผลิต เช่น งานจักสาน, งานแกะหนังตะลุง, งานทอผ้าด้วยมือ, งานเย็บปักถักร้อย, การทำหัวโขน เป็นต้น

๓. ด้านอุตสาหกรรม คือ ภูมิปัญญาท้องถิ่นในงานที่ใช้ทุน แรงงาน และเครื่องจักรเป็นองค์ประกอบหลักในการผลิต โดยมีเป้าหมายการผลิตสิ่งของเป็นจำนวนมากเพื่อการค้า และรวมถึงงานด้านการบริการ เช่น การทำเครื่องเรือนจากไม้แปรรูป (โต๊ะ/ตู้), การแปรรูปสิ่งต่าง ๆ จากยางพารา เป็นต้น

๔. ด้านการแพทย์ไทย คือ ภูมิปัญญาท้องถิ่นเก่ียวกับการดูแลและรักษาสุขภาพแบบพื้นบ้าน เช่น การหัตถเวชกรรมไทย (การนวดไทย/การนวดประคบสมุนไพร), การใช้สมุนไพรในการรักษาโรค, การผดุงครรภ์พื้นบ้านโดยหมอตำแยชาวไทยมุสลิม (โต๊ะบิแด) เป็นต้น

๕. ด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและส่ิงแวดล้อม คือ ภูมิปัญญาท้องถิ่นเกี่ยวกับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ทั้งการอนุรักษ์ การพัฒนา และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลและยั่งยืน เช่น การบวชป่า, การสืบชะตาแม่นยำ, การทำแนวปะการังเทียม, การอนุรักษ์ป่าชายเลน เป็นต้น

๖. ด้านศิลปกรรม คือ ภูมิปัญญาท้องถิ่น ในการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะสาขาต่าง ๆ เช่น จิตรกรรม, ประติมากรรม, นาฏศิลป์, ดนตรี, ทัศนศิลป์, คีตศิลป์, การละเล่นพื้นบ้านและการนันทนาการ เช่น การขับร้องเพลงอีแซว, ลำตัด, ลิเก, หมอลำ, โนรา เป็นต้น

๗. ด้านภาษาและวรรณกรรม คือ ภูมิปัญญาท้องถิ่นเกี่ยวกับการใช้ภาษาทั้งภาษาพูดและภาษาเขียน เช่น ภาษาโบราณ, ภาษาถิ่น, หนังสือ, ตำรา, ตำรับอาหาร, งานประพันธ์/บทประพันธ์ทั้งร้อยแก้วและร้อยกรอง, เรื่องสั้น, นวนิยาย, นิทาน, บทเพลงพื้นบ้าน เป็นต้น

๘. ด้านอื่น ๆ เช่น ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านความเชื่อ ศาสนา ประเพณี พิธีกรรม อาหารพื้นบ้าน เป็นต้น

จัดทำโดย

องค์การบริหารส่วนตำบลท่าโพธิ์ 

99/99 หมู่ 6 ตำบลท่าโพธิ์ อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก 65000 โทร 055 906 050