ข้อมูลครู

นายสมฤกษ์  อุ่นจันทร์

ตำแหน่ง ครู  วิทยฐานะ ชำนาญการพิเศษ

เลขที่ตำแหน่ง  046

เกิดวันที่ 26 พฤศจิกายน 2508 

ปัจจุบัน  ครูร.ร.เตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ นนทบุรี  กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ

กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ

รับตำแหน่งเมื่อ 19 พฤษภาคม 2557 สอนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2  รายวิชาศิลปะ (ดนตรีสากล)   

วุฒิการศึกษา  กศม. เอกวัดผลการศึกษา  มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร

        กศบ. ชีววิทยา  มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ บางเขน


ข้อมูลโรงเรียน

โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ นนทบุรี   อักษรย่อ ต.อ.พ.น.

สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี 

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน  กระทรวงศึกษาธิการ

ต้นไม้ประจำโรงเรียน : ชมพูพันธุ์ทิพย์

คำขวัญ วิริเยน ทุกฺขมจฺเจติ; (บุคคลจะล่วงทุกข์ได้เพราะความเพียร)

ตั้งอยู่ที่ 98 หมู่ 10 ตำบลบางกร่าง อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี 11000

เปิดทำการเรียนการสอนในระดับชั้นม.1-6

มีครูและบุคลากรทางการศึกษา 220 คน

มีนักเรียนทั้งสิ้น 3,233 คน

วิสัยทัศน์ของโรงเรียน คือ

“องค์กรสร้างสรรค์ความรู้คู่คุณธรรม ก้าวล้ำสู่สากลอย่างยั่งยืน”

 


ทำไมต้องเรียนดนตรี....เรียนดนตรีแล้วได้อะไร ?

1. ดนตรีช่วยพัฒนาศักยภาพทางด้านบุคลิกภาพและความเป็นตัวตน การได้ทำกิจกรรมดนตรี ไม่ว่าจะเป็นการร้องเพลง เล่นดนตรี เต้นรำ ดนตรีจะเป็นเหมือนสื่อกลางที่ช่วยพัฒนาบุคลิกภาพและความเป็นตัวตนให้บุคคล นั้นมีความมั่นใจ กล้าแสดงออก กล้าคิดกล้าทำ มีเด็กวัยรุ่นหลายคนที่เป็นคนขี้อายและดูเหมือนเป็นคนไม่ได้เรื่องได้ราว แต่เมื่อได้มาเล่นดนตรีก็ได้ค้นพบตัวเองว่ามีความสุขและเมื่อรู้ว่าตนมีความสามารถในด้านดนตรีก็ทำให้เกิดความมั่นใจในตนเองมากขึ้น กล้าคิด กล้าทำ กล้าแสดงออกและมีบุคลิกภาพที่ดีขึ้น

ผู้เขียนรู้จักเด็กหนุ่มคนหนึ่งที่แต่เดิมนั้นมีความขี้อายมาก ไม่กล้าพูดจาหรือสบตากับใคร แต่พอวันหนึ่งที่เขาได้ลองเล่นกีตาร์และรู้สึกรักในเสียงดนตรี มาวันนี้เขากลายเป็นคนที่รู้จักการคบหาสมาคมกับผู้อื่นได้อย่างน่ารัก กล้าที่จะพูดคุยกับผู้ใหญ่ และมีความสามารถทางดนตรีที่หลากหลายเพิ่มมากขึ้น

2.ดนตรีช่วยพัฒนาศักยภาพทางด้านอารมณ์ องค์ประกอบสำคัญของดนตรีคือ คำร้อง จังหวะและทำนอง ซึ่งเมื่อมารวมกันจะเกิดเป็นเพลงๆหนึ่งขึ้นมา ซึ่งในเพลงแต่ละเพลงนั้นต่างก็มีลักษณะหรือเอกลักษณ์ของดนตรีที่แตกต่างกันออกไป เพลงที่มีทำนองและจังหวะช้าๆทำให้รู้สึกสงบ มีสมาธิและผ่อนคลาย เพลงที่มีทำนองและจังหวะเร็วๆช่วยทำให้อารมณ์ครึกครื้น กระฉับกระเฉงและอยากเคลื่อนไหวร่างกาย เพลงที่มีคำร้องเศร้าสะเทือนใจจะทำให้คนฟังอารมณ์อ่อนไหวตามไปด้วย ในขณะที่เพลงที่มีคำร้องปลุกใจให้รักชาติ จะทำให้คนฟังมีความคึกคัก ฮีกเหิมและกล้าหาญตามไปด้วย

ทั้งหมดนี้แสดงให้เห็นว่าดนตรีมีผลเป็นอย่างมากต่ออารมณ์ของคนเรา ในปัจจุบันการให้เด็กออทิสติกหรือเด็กที่มีความบกพร่องในการเรียนรู้ได้ฟังเพลงประเภทต่างๆจะช่วยให้เขาได้ผ่อนคลาย มีความก้าวร้าวทางอารมณ์ลดลง มีการแสดงออกทางอารมณ์ได้ดียิ่งขึ้นและมีความพร้อมในการเรียนรู้ได้ดีมากขึ้นด้วย

3. ดนตรีช่วยพัฒนาศักยภาพทางด้านสติปัญญา มีงานวิจัยมากมายที่ยอมรับว่า ดนตรีสามารถพัฒนาสติปัญญาของมนุษย์ได้ ยิ่งถ้าได้มีการใช้ดนตรีตั้งแต่วัยเด็กด้วยแล้วจะยิ่งเพิ่มศักยภาพของสมองได้มากขึ้นด้วย มีผลการวิจัย (Dr.Thurman) สรุปว่าการที่แม่ตั้งครรภ์ได้ฟังเพลงอย่างสม่ำเสมอทุกวัน จะทำให้ลูกที่คลอดออกมามีพัฒนาการทางร่างกายและไอคิวสมองสูงและมีอารมณ์แจ่มใส

นอกจากนี้ดนตรียังช่วยในเรื่องของการวิเคราะห์ การสังเคราะห์ การคิดอย่างมีระบบและในเรื่องของความจำด้วย ดังนั้น การสนับสนุนให้เด็กได้มีกิจกรรมดนตรีควบคู่ไปกับการเรียน เช่น ได้ร้องเพลง ได้ฟังเพลงที่ชอบ ได้เล่นเครื่องดนตรีที่สนใจ จะมีส่วนช่วยให้ผลสัมฤทธิ์ด้านการเรียนในวิชาต่างๆเพิ่มสูงขึ้น เพราะดนตรีช่วยให้เกิดความเชื่อมโยงระหว่างความมีเหตุมีผลกับจินตนาการ จึงทำให้มีการคิดวิเคราะห์หาความเป็นเหตุเป็นผลได้ดียิ่งขึ้น

นักวิทยาศาสตร์หลายคนเชื่อว่าดนตรีนั้นสร้างอัจฉริยะได้จริง บุคคลที่ทำให้วงการวิทยาศาสตร์ต้องยอมรับในสมมติฐานนี้ที่เห็นได้ชัดเจนคือ ไอน์สไตน์ บุคคลซึ่งถูกยอมรับในเรื่องความฉลาดมากที่สุดคนหนึ่งของโลก นักวิทยาศาสตร์พยายามหาคำตอบว่าทำไมไอน์สไตน์ถึงมีความฉลาดมากและได้พบคำตอบ ว่า เส้นใยประสาทในสมองของไอน์สไตน์แตกแขนงออกไปอย่างหนาแน่นและสื่อสารกันได้ดี มาก ซึ่งตามหลักการทำงานของสมองนั้น ถ้าหากคนใดมีเส้นใยประสาทที่เชื่อมโยงกับเซลล์สมองมากเท่าไร คนนั้นก็ยิ่งฉลาดมากขึ้นเท่านั้น และในส่วนของไอน์สไตน์นั้นได้ค้นพบว่า ดนตรีมีส่วนในการส่งเสริมศักยภาพการทำงานของสมองของเขาได้มากทีเดียว

ด้วยเพราะไอน์สไตน์เริ่มเรียนเปียโนตั้งแต่เด็กและเรียนไวโอลินเมื่อ อายุ 6 ปี ควบคู่ไปกับการเรียนวิทยาศาสตร์ เขาเล่นไวโอลินได้เก่งมากและมีความสุขกับการเรียนรู้ทั้งดนตรีและวิทยาศาสตร์ มีความชื่นชอบผลงานของนักดนตรีที่มีชื่อเสียงอย่างโมซาร์ต บีโธเฟนและบาร์ค จนมีคำกล่าวของไอน์สไตน์กล่าวไว้ว่า "หากไม่ได้เป็นนักฟิสิกส์ ข้าพเจ้าอาจเป็นนักดนตรี ฝันกลางวันเป็นดนตรี ความสุขส่วนใหญ่ในชีวิต ล้วนมาจากดนตรี" นี่จึงเป็นสิ่งที่ทำให้หลายคนยอมรับว่าดนตรีมีส่วนสำคัญที่สามารถส่งเสริมความสามารถในการทำงานของสมองได้อย่างดีเยี่ยมมากจริง ๆ

ที่มา : https://www.facebook.com/B.Music.Fitness.Gym.kranuan/posts/846690612123879/