บทสวดมนต์และพระคาถาต่าง ๆ

บทสวดมนต์และพระคาถาต่าง ๆ เป็นหน้าที่ ท่านอ. เจ้าของเว็บเรียนรู้ดูดวงจัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เป๊นที่รวบรวมบทสวดมนต์ต่าง ๆ นอกเหนือจากบททำวัตรเช้า บททำวัตรเย็น และบทพระปริตร ซึ่งในหน้าประกอบไปด้วยบทสวดดั้งเดิมในพระพุทธศาสนา และบทที่พระเกจิอาจารย์ท่านได้รจนาขึ้นในภายหลัง ซึ่งหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะเป็นประโยชน์ต่อทุกท่านที่สนใจศึกษา และเป็นอีกหนทางหนึ่งที่จะช่วยให้ท่านที่ประสบความทุกข์สามารถเผชิญปัญหาได้เอาชนะใจตนเอง และอุปสรรคในชีวิตได้ และขออนุโมทนาบุญมา ณ โอกาสนี้




ความศักดิ์สิทธิ์ของบทสวดมนต์และพระคาถา

ก่อนที่ทุกท่นจะได้สวดมนต์คาถาใด ความศักดิ์สิทธิ์ เป็นสิ่งที่ผู้เขียนต้องขอล่าวไว้ก่อนเพื่อความเข้าใจ และการนำไปใช้อย่างถูกต้องเหมาะสม อย่างที่ผู้เขียนได้เรียนทุกท่านมาในหน้าของบทสวดมนต์ตามหลักพุทธศาสนาว่า มนต์ คือ คำศักดิ์สิทธิ์ แต่ความศักดิ์สิทธิ์นั้นจะเกิดได้ไม่ใช่เพียงแค่กล่าวคำศักดิ์สิทธิ์เท่านั้น จากที่ผู้เขียนศึกษาเรียนรู้มาพบว่าความศักดิ์สิทธิ์ของคาถาต่าง ๆ จะเกิดขึ้นได้ประกอบด้วยองค์ประกอบที่จะกล่าวถึงในลำดับต่อไป

ปัจจัยที่ส่งผลต่อความศักดิ์สิทธิ์ของการสวดมนต์ และผลของคาพระคาถา

  1. คำที่ใช้บริกรรม หรือกล่าวออกมาซ้ำ ๆ
  2. จิตที่ตั้งมั่นเป็นสมาธิ ยิ่งสมาธิสูง จิตมีกำลังสูง บทสวดพระคาถาต่าง ๆ ยิ่งมีความศักดิ์สิทธิ์สูง ซึ่งกล่าวได้ว่าเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้ผลของการสวดมนต์นั้นมีความแตกต่างกันในแต่ละบุคคล
  3. ระยะเวลาที่ได้สะสมกำลังจากการสวด เปรียบเหมือนบุคคลที่ฝึกยกดัมเบล (Dumbbel) ผู้ที่ยกมาเป็นระยะสะสมนานกว่ากล้ามเนื้อย่อมแข็งแรงได้รูปกว่าผู้ที่เริ่มฝึกยก
  4. ความศรัทธาในบทสวดโดยไม่มีข้อสงสัย เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่มีผลต่อการสวดมนต์และการภาวนาในทุกศาสนา นั่นเพราะความสงสัยส่งผลต่อจิตสมาธิในการสวด
  5. การประพฤติปฎิบัติตนของผู้สวดภาวนา แม้บทสวดมนต์จะศักดิ์สิทธิ์เพียงใด แต่การกระทำของผู้สวดมนต์นั้นเป็นการกระทำที่หยาบช้า และทำร้ายผู้อื่นบทสวดต่าง ๆ ย่อมไม่ส่งผลหนุนเสริม (สำหรับกรณีอื่นที่เกี่ยวกับบุคคลที่ประพฤติชั่วแต่สมหวังจากการขอสวดอ้อนวอนร้องขอ แล้วสัมฤทธิ์ผลจะได้กล่าวถึงในหน้าบทความ)

บทสวดและพระคาถาในเว็บไซต์อาจารย์เจ้าของเว็บได้รวบรวมคัดลอกมาจากแหล่งต่าง ๆ อาทิ หนังสือตำรา และหนังสือสวดมนต์ต่าง ๆ เช่น หนังสือมนต์พิธี (พระครูอรุณธรรมรังษี (เอี่ยม สิริวณโณ)) คัมภีร์ไสยศาสตร์ ฉบับสมบูรณ์ (อาจารย์ญาณโชติ) หนังสือตำราต่าง ๆ เว็บไซต์ต่าง ๆ สื่อต่าง ๆ และความรู้ความจำที่ผู้หลักผู้ใหญ่ครูอาจารย์ท่านได้สั่งสอนมาตั้งแต่วัยเด็ก

บทขอขมาพระรัตนตรัย

เริ่มจากบทสวดนมัสการนอบน้อมบูชาพระพุทธเจ้า (ปุพพะภาคะนะมะการะ)

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต, อะระหะโต, สัมมาสัมพุทธัสสะ (๓ จบ )

บทขอขมาพระรัตนตรัยแบบที่ 1

อุกาสะ อุกาสะ อัจจะโยโนภันเต อัจจักคะมา ยะถาพาเล ยะถามูลเห ยะถาอะกุสะเล เยมะยัง กะรัมหา เอวัง ภัณเต มะยัง อัจจะโยโน ปะฏิคคัณหะถะ อายะติง สังวะเรยยามะ ฯ

บทขอขมาพระรัตนตรัยแบบที่ 2

วันทามิ พุทธัง สัพพะเมโทสัง ขะมะถะเม ภันเต

วันทามิ ธัมมัง สัพพะเมโทสัง ขะมะถะเม ภันเต

วันทามิ สังฆัง สัพพะเมโทสัง ขะมะถะเม ภันเต

บทนมัสการพุทธสถาน (อ้างอิงจากพระพุทธมนต์ ฉับปรับปรุง ๙๘๐ พระราชรัตนรังษี (วีรยุทธ์ วีรยุทฺโธ)

วันทามิ พุธธัง สัพพัง เม โทสัง จะมะถะ เม ภันเต

วันทามิ ธัมมัง สัพพัง เม โทสัง จะมะถะ เม ภันเต

วันทามิ สังฆัง สัพพัง เม โทสัง จะมะถะ เม ภันเต

วันทามิ อาราเม พัทธะเสมายัง โพธิรุกขัง เจติยัง สัพพัง เม โทสัง ขะมะถะ เม ภันเต

วันทามิ ภะคะวา โลกะนาถัง อะตีตัง เม โทสัง อะนาคะตัง เมโทสัง ปัจจุปปัณณัง เม โทสัง ขะมะถะ เม ภันเต

สาธุ สาธุ สาธุ อะนุโมทามิ

อิจเจวะมัจจันตะนะมัสสะเนยยัง นะมัสสะมาโน ระตะนัตตะยัง ยัง ปุญญาภิสันทัง วิปุลัง อะลัตถัง ตัสสานุภาเวนะ หะตันตะราโย

อามันตะยามิ โว ภิกขะเว ปะฏิเวทะยามิ โว ภิกขะเว ขะยะวะยะธัมมา สังขารา อัปปะมาเทนะ สัมปาเทถาติ

บทถวายพรพระ (อิติปิโสธงชัย)

อิติปิโส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทูอะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ สัตถา เทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ ฯ

สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสโกิ โอปะนะยโกิ ปัจจัตตังเวทิตัพโพ วิญญูหีติ ฯ

สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ยะทิทัง จัตตาริปุริสะยุคานิอัฏฐะปุริสะปุคคะลา เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเณยโย อัญชะลีกะระณีโยอะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ ฯ

อิติปิโสถอยหลัง

ติ วา คะ ภะ โธ พุท นัง สา นุส มะ วะ เท ถา สัต ถิ ระ สา มะ ทัม สะ ริ ปุ โร ตะ นุต อะ ทู วิ กะ โล โต คะ สุ โน ปัน สัม ณะ ระ จะ ชา วิช โธ พุท สัม มา สัม หัง ระ อะ วา คะ ภะ โส ปิ ติ อิ ฯ

บทอิติปิโสถอยหลังบูรพาจารย์ท่านว่ามีอานุภาพเหลือพรรณาป้องกันเหตุร้ายได้สารพัด และเป็นเมตตามหานิยม ซึ่งผู้เขียนเหตุว่าบทอิติปิโสย้ายรูปนี้เป็นบทที่ฝึกสตืและสร้างสมาธิเพิ่มกำลังจิตได้อย่างสูงเป็นประโยชน์ต่อท่านที่ต้องการขัดเกลาจิต

พระอิติปิโสเต็มที่

อิติปิโส ภะคะวา อะระหัง

อิติปิโส ภะคะวา สัมมาสัมพุทโธ

อิติปิโส ภะคะวา วิชชาจะระณะสัมปันโน

อิติปิโส ภะคะวา สุคะโต

อิติปิโส ภะคะวา โลกะวิทู

อิติปิโส ภะคะวา อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ

อิติปิโส ภะคะวา สัตถา เทวะมะนุสสานัง

อิติปิโส ภะคะวา พุทโธ

อิติปิโส ภะคะวา ภะคะวาติ

โบราณกล่าวว่าบทพระอิติปิโสเต็มที่ มีอานุภาพสุดจะพรรณา นิยมใช้ในการปลุกเสกพระเครื่อง และวัตถุมงคล โดยการบริกรรมให้ทำจิตเป็นสมาธิเมื่อจิตเป็นสมาธิให้ระลึกถึงคุณพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วจึงกล่าวพระคาถาบทนี้เมื่อจิตเป็นสมาธิมีกำลังเพียงพอ ปลุกเสกวัตถุใดย่อมเกิดพุทธคุณตามปรารถนา

พระคาถามงกุฏพระเจ้า หรือเรียกอีกชื่อว่า อิติปิโสเรือนเตี้ย


อิติปิโส วิเสเสอิ อิเสเสพุทธนาเมอิ อิเมนา พุทธตังโสอิ อิโสตังพุทธปิติอิ


พระคาถาบทนี้มีความศักดิ์สิทธิ์มากสามารถป้องกันภยันครายได้สารพัด และมีเมตตามหานิยมสูง ที่เรียกว่า อิติปิโสเรือนเตี้ย นั้นผู้เขียนอนุมานว่า เพราะอดีตกาลเล่าขานว่า พระคาถานี้มีฤทธานุภาพมากสามารถเสกของที่สูงให้เตี้ยลงได้ ซึ่งบทนี้ในการเดินทาง หรือเกิดเหตุใดที่ทำให้อารมณ์ไม่มั่นคงสั่นไหวให้ภาวนาพระคาถาบทนี้ 9 จบระลึกถึงพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะช่วยให้เกิดความมั่งคงและมงคลขึ้นได้

พระอิติปิโสย้ายรูป

อิ ติ คะ วา โธ วิช กะ วิ

ปิ ภะ อะ พุท ชา โล ทู ระ

โส ระ สัม จะ โต อะ สา ถิ

หัง มา ระ คะ นุต มะ สัต นัง

สัม ณะ สุ ตะ ทัม ถา สา พุท

สัม โน โร สะ เท นุส โธ วา

ปัน ปุ ริ วะ มะ ภะ คะ ติ

พระอิติปิโสย้ายรูป โบราณาจารย์ ท่านกล่าวว่า ศักดานุภาพเหลือพรรณา ในอดีตกาลนิยมใช้เขียนอักขระลงแผ่นโลหะปลุกเสก ๑๐๘ คาบ ทำตะกรุดใช้ในการพรางตาในยามศึกสงคราม โดยมีตำนานเล่าขานว่า เมื่อศัตรูรุมล้อมให้ตั้งจิตเป็นสมาธิระลึกถึงคุณพระพุทธเจ้า กลั้นใจนั่งเอาตะกรุดปักลงดินขีดเป็นวงกลมขอให้พระแม่ธรณีช่วย เมื่อหายใจออกเก็บตะกรุดไว้กับตัวลุกเดินโดยบริกรรมคาถานี้ต่อไป ข้าศึกศัตรูจะมองวงกลมนั้นเห็นเป็นรูปจำลองของผู้บริกรรมยืนอยู่ทำให้รอดพ้นจากข้าศึกได้

และยังมีตำนานกล่าวไว้ว่า พระคาถาบทนี้มีความศักดิ์สิทธิ์นักถ้าจะล่องหนไปในที่แห่งหนใด ท่านว่าให้หลับตาบริกรรมพระอิติปิโสย้ายรูป กำหนดจิตเป็นสมาธิปรารถนาไปปรากฎตัว ณ แห่งหนใด ให้ภาวนาต่อเนื่องจนรู้สึกว่าตัวเบาดังนุ่น และเย็นเหมือนลมพัด เมื่อหายเย็นให้ลืมตาจะปรากฎ ณ ที่ที่ตั้งใจปรารถนาไว้ ถ้าต้องการกลับมาอยู่ ณ ที่แห่งเดิมให้บริกรรม พระอิติปิโสย้ายรูปถอยหลัง ตัวจะกลับมา ณ ที่เดิมซึ่งพระอิติปิโสย้ายรูปถอยหลังจะได้เขียนถึงในลำดับต่อไป

พระอิติปิโสย้ายรูปถอยหลัง

ติ วา พุท นัง ถิ ระ วิ กะ

คะ โธ สา สัต สา ทู โล วิช

ภะ นุส ถา มะ อะ โต ชา โธ

มะ เท ทัม นุต คะ จะ พุท วา

วะ สะ ตะ สุ ระ สัม อะ คะ

ริ โร โน ณะ มา ระ ภะ ติ

ปุ ปัน สัม สัม หัง โส ปิ อิ

พระอิติปิโสย้ายรูปถอยหลัง ดังที่กล่าวมาก่อนหน้านี้แล้วว่า พระคาถาบทนี้ใช้ล่องหนกลับที่เดิม นอกจากนี้ยังสามารถใช้ในการในการป้องกันเพลิงด้วยการให้ลมพัดกลับทางเดิมด้วยการตั้งจิตและบริกรรมได้อีกด้วย

พระอิติปิโสแปดทิศ (คัดลอกจากวิกิซอร์ซ)

ตั้งนะโม ๓ จบ


๑. อิ ระ ชา คะ ตะ ระ สา ( ឥ រ ចា គ ត្ត រ សា )

บทนี้ชื่อ กระทู้ ๗ แบก ประจำอยู่ทิศบูรพา (ทิศตะวันออก)

บทที่ 1 เสกเป่าแก้พิษสัตว์กัด ต่อยได้


๒. ติ หัง จะ โต โร ถิ นัง ( តិ ហំ ច តោ រោ ថិ នំ )

บทนี้ชื่อว่า ฝนแสนห่า ประจำอยู่ทิศอาคเณย์ (ทิศตะวันออกเฉียงใต้)

บทที่ 2 เสกทำน้ำมนต์ รดคนเจ็บไข้ได้ป่วย ผีเจ้าเข้าทรง


๓. ปิ สัม ระ โล ปุ สัต พุท ( បិ ស្ម័ រ លោ បុ ស្ត័ ពុ )

บทนี้ชื่อ นารายณ์เกลื่อนสมุทร ประจำอยู่ทิศทักษิณ (ทิศใต้)

บทที่ 3 เสกภาวนากันภูตผีปีศาจ เป่าพิษบาดแผล


๔. โส มา ณะ กะ ริ ถา โธ ( សោ មា ណ ក រិ ថា ទ្ធោ )

บทนี้ชื่อ นารายณ์ถอดจักร์ ประจำอยู่ทิศหรดี (ทิศตะวันตกเฉียงใต้)

บทที่ 4 เสกจดครบ 108 จบ ทำน้ำมนต์ ไล่ผีหรือ ให้คนท้องกิน จะคลอดลูกง่าย


๕. ภะ สัม สัม วิ สะ เท ภะ ( ភ ស្ម័ ស្ម័ វិ ស ទេ ភ )

บทนี้ชื่อ นารายณ์ขว้างจักร์ตรึงไตรภพ ประจำอยู่ทิศประจิม (ทิศตะวันตก)

บทที่ 5 เสกพรมร่างคนไข้ ไล่ภูตผีปีศาจร้าย ดีนัก


๖. คะ พุท ปัน ทู ทัม วะ คะ ( គ ពុ ប្ន័ ទូ ទ្ម វ គ )

บทนี้ชื่อ นารายณ์พลิกแผ่นดิน ประจำอยู่ทิศพายัพ (ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ)

บทที่ 6 เสกทำน้ำมนต์ ป้องกันผีเจ้าเข้าทรง หรือถูกคุณกระทำชะงัดนัก


๗. วา โธ โน อะ มะ มะ วา ( វា ទ្ធោ នោ អ ម ម វា )

บทนี้ชื่อ ตวาดฟ้าป่าหิมพานต์ ประจำอยู่ทิศอุดร (ทิศเหนือ)

บทที่ 7 เสกด้าย หวาย มีด ข้าวสาร ขับไล่ผีบ้าน ผีป่าเวลาเดินทางดีนัก


๘. อะ วิช สุ นุต สา นุ ติ ( អ វិ សុ នុ សា នុ តិ )

บทนี้ชื่อ นารายณ์แปลงรูป ประจำอยู่ทิศอีสาน (ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ)

บทที่ 8 เสกเป่าตัวเองป้องกันตัวเองเวลาเดินทางออกจากบ้าน แคล้วคลาดได้

อุณหิสสะวิชะยะคาถา

(บทสวดเพื่อต่ออายุ รักษาโรคภัย ผู้สวดต้องประพฤติตนอยู่ในศีลธรรมอย่างมั่นคง)

อัตถิ อุณหิสสะ วิชะโย ธัมโม โลเก อะนุตตะโร

สัพพะสัตตะหิตัตถายะ ตัง ตวัง คัณหาหิ เทวะเต

ปะริวัชเช ราชะทัณเฑ อะมะนุสเสหิ ปาวะเก

พะยัคเฆ นาเค วิเส ภูเต อะกาละมะระเณนะ วา

สัพพัสมา มะระณา มุตโต ฐะเปตวา กาละมาริตัง

ตัสเสวะ อานุภาเวนะ โหตุ เทโว สุขี สะทา

สุทธะสีลัง สะมาทายะ ธัมมัง สุจะริตัง จะเร

ตัสเสวะ อานุภาเวนะ โหตุ เทโว สุขี สะทา

ลิกขิตัง จินติตัง ปูชัง ธาระณัง วาจะนัง คะรุง

ปะเรสัง เทสะนัง สุตวา ตัสสะ อายุ ปะวัฑฒะตีติ

คำแปล

เทวเต ดูกรเทวดาทั้งหลาย พระธรรมนี้ชื่อว่าอุณหิสสวิชัย เป็นยอดแห่งพระธรรมทั้งหลายเป็นประโยชน์แก่สัตว์ทั้งมวล ท่านจงเอาพระธรรมนี้เป็นที่พึ่ง อุตสาห์สวดบ่นสาธยายทุกเช้าค่ำ ย่อมห้ามเสียซึ่งภัยทั้งปวง อันจะเกิดขึ้นจากผีปิศาจหมู่พยัคฆะงูใหญ่น้อย และพญาเสนาอำมาตย์ทั้งหลายจะไม่ตาย ผู้ใดได้เขียนไว้ก็ดี ได้ฟังก็ดี ได้สวดมนต์ภาวนาอยู่ทุกวันก็ดี จะมีอายุยืน เทวเต ดูกรเทวดา ทั้งหลายท่านจงมีความสุขเถิด

นิยมสวดตามด้วยโอสถปริตร

สักกัตวา พุทธะรัตตะนัง โอสะถัง อุตตะมัง

วะรัง หิตัง เทวะมะนุสสานัง พุทธะเตเชนะ

โสตถินา นัสสันตุ ปัททะวา สัพเพ ทุกขา วูปะสะเมนตุ เมฯ


สักกัตวา ธัมมะรัตตะนัง โอสะถัง อุตตะมัง

วะรัง ปะริฬาหูปะสะมะนัง ธัมมะเตเชนะ โสตถินา

นัสสันตุ ปัททะวา สัพเพ ภะยา วูปะสะเมนตุ เมฯ


สักกัตวา สังฆะรัตตะนัง โอสะถัง อุตตะมัง

วะรัง อาหุเนยยัง ปาหุเนยยัง สังฆะเตเชนะ

โสตถินา นัสสันตุ ปัททะวา สัพเพ โรคา

วูปะสะเมนตุ เมฯ


เภสัชชัง เทวะมะนุสสานัง กะฏะกัง ติตติการะสัง

อัมพิลัง ละวะณัญเจวะ สัพพะพ์ยาธิง วินัสสะติ

เอกะท์วิติทินัง วาปิ ปัญจะสัตตะทินัง ตะถา

ยาวะ ทุกขา นะ สะเมนติ ชีวะทานัง กะโรตุ เต (เม)

ชีวะทานัง ทะทันตัสสะ อายุ วัณณัง สุขัง พะลัง

ชีวะทานานุภาเวนะ โหตุ เทโว สุขี สะทา

ชีวะทานังปิ ทัต์วานะ โอสะถัง อุตตะมัง วะรัง

สะรีระทุกขัง นาเสติ เภสัชชัง ทานะมุตตะมัง

ตัส์มา กะเรยยะ กัล์ยาณัง นิจะยัง สัมปะรายิกัง

ปุญญานิ ปะระโลกัส์มิง ปะติฏฐา โหนติ ปาณินัง.


อิมินา ชีวะทาเนนะ ตุมหากัง กิง ภะวิสสะติ

ทีฆายุนา สะทา โหนติ สุขิตา โหนติ สัพพะทา

ชีวะทานัง ทะทันตัสสะ อายุวัณณัง สุขัง พะลัง

ทีฆายุกา สะทา โหนตุ ชีวะทานัง มะหัปผะลัง

โย โส ทะทาติ สักกัจจัง สีละวันเตสุ ตาทิสุ

ปาณะทานัง วะรัง ทัต์วา ชีวะทานัง มะหัปผะลัง

เอวัง มะหิทธิกา เอสา ยะทิทัง ปุญญะสัมปะทา

ตัส์มา ธีรา ปะสังสันติ ปัณฑิตา กะตะปุญญะตัง

สุโข วิปาโก ปุญญานัง อะธิปปาโย สะมิชฌะติ

ขิปปัญจะ ปะริโยสาเน นิพพานัง อะธิคัจฉะติ

โย ภาชนะสะหัสเสหิ ปุระณัง วะระโภชะนัง

ทะเทยยะ เจ ปะริมาณัญเจ เอกะ ปัตตัมปิ นาละเภ

พุทธุปปาเท สารีปุตโต เย จัญเญ อัคคะสาวะกา

ปัตตะปูรานุภาเวนะ มาตาปิตา ปะมุจจะตีติ


ศึกษาเพิ่มเติมที่เว็บไซต์ http://84000.org/


เทวธรรม

หิริโอตตัปปะสัมปันนา สุกกะธัมมะสะมาหิตา

สัมโต สัปปุริสา โลเก เทวะธัมมาติ วุจจะเร ฯ

บทแปล

สัปบุรุษผู้สงบระงับ ประกอบด้วยหิริและโอตตัปปะ ตั้งมั่นอยู่ในธรรมอันขาว

ท่านเรียกว่า ผู้มีเทวธรรมในโลก

*หิริ คือ ความละอายแก่ใจ ความละอายต่อบาป โอตตัปปะ คือ ความเกรงกลัวต่อบาป

คาถาพระโมคคัลลาน์ดับไฟนรก

เถโร โมคคัลลาโน นะระกัตตัง โลหะกุมภี ทิสวา อัคคีปัตติ กัมปะติ

พระคาถาบทนี้ใช้ดับพิษไฟสารพัดหายสิ้น ไม่ร้อนไม่พอง

จากหนังสือมนต์พิธี พระครูอรุณธรรมรังษี (เอี่ยม สิริวณโณ) วันอรุณราชวราราม (คณะ ๓)

คาถาพระโมคคัลลาน์ต่อกระดูก

เถโร โมคคัลลาโน อันตะระธายิต์วา ภูมิสุขุมัง ปะระมาโน ภะคะวะโต อิทธิยา อัตตะโน สะรีเรมังสังโลหิตัง

คาถาบทนี้ใช้ภาวนาได้ทุก ๆ วัน วันละ ๑๐๘ คาบ กันสารพัดอันตรายทั้งปวง ใช้เสกปูนทาเป่าพ่นสารพัด

ถ้าจะคัดเลือดให้ภาวนา ๗ ที คัดเลือดหยุดไหลที

จากหนังสือมนต์พิธี พระครูอรุณธรรมรังษี (เอี่ยม สิริวณโณ) วันอรุณราชวราราม (คณะ ๓)

คาถาบูชาดวงชาตา

นะโม เม สัพพะเทวานัง สัพพะคะระหะ จะ เทวานัง

สุริยัญจะ ปะมุญจะถะ สะสิ ภุมโม จะ เทวานัง

วุโธ ลาภัง ภะวิสสะติ ชีโว สุกะโร จะ มะหาลาภัง

โสโร ราหูเกตุ จะ มะหาลาภัง สัพพะ ภะยัง วินาสสันติ

สัพพะ ทุกขัง วินาสสันติ สัพพะโรคัง วินาสสันติ

ลักขะณา อะหัง วันทามิ สัพพะทา สัพพะเทวา มัง ปาละยันตุ

สัพพะทา เอเตนะ มังคะละเตเชนะ สัพพะโสตถี ภะวันตุเมฯ


บทสวดนี้เป็นบทสวดของครูอาจารย์ตั้งแต่โบราณ ผู้เขียนมีความเข้าใจว่าเป็นบทที่ไหว้เทวดานพเคราะห์

ทั้ง 9 พระองค์ คือ พระอาทิตย์ พระจันทร์ พระอังคาร พระพุธ พระพฤหัสบดี พระศุกร์ พระเสาร์ พระราหู พระเกตุ

เพื่อขอความเป็นสิริมงคล โชคลาภ และขจัดปัญหาอุปสรรคอันตรายและความทุกข์ต่าง ๆ


โดยครูอาจารย์ท่านสอนว่าการสวดบทสวดนี้ควรผูกดวงชะตาของเจ้าชะตาที่เรียกว่า ดวงพิชัยสงคราม แล้วตั้งไว้ที่ฐานพระเพื่อบูชาดวงชะตา


พระคาถายันทุนเก้าชั้น (แก้เคล็ดเสริมดวงชะตา)

1. ยันทุนนิมิตตัง อะวะมังคัญจะโย "อาทิตย์" ทะโสโร ราหุจันโท ราหูราลักขณา ปาปัคคะโห ทุสสุปิณัง อะกันตัง พุทธานุภาเวนะ วินาสะเมนตุ


2. ยันทุนนิมิตตัง อะวะมังคัญจะโย "จันทร์" ทะโสโร ราหุจันโท ราหูราลักขณา ปาปัคคะโห ทุสสุปิณัง อะกันตัง ธัมมานุภาเวนะ วินาสะเมนตุ


3. ยันทุนนิมิตตัง อะวะมังคัญจะโย "อังคาร" ทะโสโร ราหุจันโท ราหูราลักขณา ปาปัคคะโห ทุสสุปิณัง อะกันตัง สังฆานุภาเวนะ วินาสะเมนตุ


4. ยันทุนนิมิตตัง อะวะมังคัญจะโย "พุธ" ทะโสโร ราหุจันโท ราหูราลักขณา ปาปัคคะโห ทุสสุปิณัง อะกันตัง พุทธานุภาเวนะ วินาสะเมนตุ


5. ยันทุนนิมิตตัง อะวะมังคัญจะโย "เสาร์" ทะโสโร ราหุจันโท ราหูราลักขณา ปาปัคคะโห ทุสสุปิณัง อะกันตัง ธัมมานุภาเวนะ วินาสะเมนตุ


6. ยันทุนนิมิตตัง อะวะมังคัญจะโย "พฤหัส" ทะโสโร ราหุจันโท ราหูราลักขณา ปาปัคคะโห ทุสสุปิณัง อะกันตัง สังฆานุภาเวนะ วินาสะเมนตุ


7. ยันทุนนิมิตตัง อะวะมังคัญจะโย "ราหู" ทะโสโร ราหุจันโท ราหูราลักขณา ปาปัคคะโห ทุสสุปิณัง อะกันตัง พุทธานุภาเวนะ วินาสะเมนตุ


8. ยันทุนนิมิตตัง อะวะมังคัญจะโย "ศุกร์" ทะโสโร ราหุจันโท ราหูราลักขณา ปาปัคคะโห ทุสสุปิณัง อะกันตัง ธัมมานุภาเวนะ วินาสะเมนตุ


9. ยันทุนนิมิตตัง อะวะมังคัญจะโย "เกตุ" ทะโสโร ราหุจันโท ราหูราลักขณา ปาปัคคะโห ทุสสุปิณัง อะกันตัง สังฆานุภาเวนะ วินาสะเมนตุ


คาถายันทุนเก้าชั้นเป็นคาถาแก้เคราะห์เสริมดวงมีคำสวดคล้ายกับพระคาถาอภยปริตร แต่มีการภาวนาถึงดาวทั้งเก้าที่ส่งผลต่ออิทธิพลต่อลักขณาตามวิชาโหราศาสตร์

โดยพระคาถานี้ี้เป็นพระคาถาเก่าซึ่งท่าน พ.ต. ล้วน สิงหทัต ได้คัดลอกออกจากตำราสมุดข่อยเก่าที่ชำรุด และท่าน พ.ต. ล้วน สิงหทัต ท่านได้ปฏิบัติมาเป็นเวลากว่า 40 ปีและได้รับความสุขสบายตลอดมา

บทชัยมงคลคาถา (พาหุงมหากา)


นิยมสวดปุพพะภาคะนะมะการะก่อน

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ


และสวดบทถวายพรพระ (อิติปิโสธงชัย) ก่อนดังนี้

อิติปิโส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทูอะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ สัตถา เทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ ฯ

สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสโกิ โอปะนะยโกิ ปัจจัตตังเวทิตัพโพ วิญญูหีติ ฯ

สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ยะทิทัง จัตตาริปุริสะยุคานิอัฏฐะปุริสะปุคคะลา เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเณยโย อัญชะลีกะระณีโยอะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ ฯ


พาหุงแปดบท

พาหุงสะหัส สะมะภินิมมิตะสาวุธันตัง ครีเมขะลัง อุทิตะโฆ ระสะเสนะมารัง

ทานาทิธัมมะวิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ

มาราติเร กะมะภิยุชฌิตะสัพพะรัตติง โฆรัมปะนาฬะวะกะมักขะมะถัทธะยักขัง

ขันตีสุทันตะวิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ

นาฬาคิริง คะชะวะรัง อะติมัตตะภูตัง ทาวัคคิจักกะมะสะนีวะ สุทารุณันตัง

เมตตัมพุเสกะวิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ

อุกขิตตะขัคคะมะติหัตถะสุทารุณันตัง ธาวันติโยชะนะปะถังคุลิมาละวันตัง

อิทธีภิสังขะตะมะโน ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ

กัตตะวานะ กัฏฐะมุทะรัง อิวะ คัพภินียา จิญจายะ ทุฏฐะวะจะนัง ชะยะกายะมัชเฌ

สันเตนะ โสมะวิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ

สัจจัง วิหายะ มะติสัจจะกาวาทะเกตุง วาทาภิโรปิตะมะนัง อะติอันธะภูตัง

ปัญญาปะทีปะชะลิโต ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ

นันโทปะนันทะภุชะคัง วิพุธัง มะหิทธิง ปุตเตนะ เถระภุชะเคนะ ทะมาปะยันโต

อิทธูปะเทสะวิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ

ทุคคาหะทิฏฐิภุชะเคนะ สุทัฏฐะหัตถัง พรัหมัง วิสุทธิชุติมิทธิพะกาภิธานัง

ญาณาคะเทนะ วิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ

เอตาปิ พุทธะชะยะมังคะละอัฉฐะคาถา โย วาจะโน ทินะทิเน สะระเต มะตันที

หิตวานะเนกะวิวิธานิ จุปัททะวานิ โมกขัง สุขัง อะธิคะเมยยะ นะโร สะปัญโญ


และนิยมสวดตามด้วยบทชะยะปะริตตัง

มะหาการุณิโก นาโถ หิตายะ สัพพะปาณินัง ปูเรตวา ปาระมี สัพพา ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง

เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ โหตุ เต ชะยะมังคะลังฯ

ชะยันโต โพธิยา มูเล สักยานัง นันทิวัฑฒะโน เอวัง ตวัง วิชะโย โหหิ

ชะยัสสุ ชะยะมังคะเล อะปะราชิตะปัลลังเก สีเส ปะฐะวิโปกขะเร อะภิเสเก สัพพะ พุทธานัง อัคคัปปัตโต ปะโมทะติฯ

สุนักขัตตัง สุมังคะลัง สุปะภาตัง สุหุฏฐิตัง สุขะโณ สุมุหุตโต จะ สุยิฏฐัง พรัมหมะจาริสุ

ปะทักขิณัง กายะกัมมัง วาจากัมมัง ปะทักขิณัง ปะทักขิณัง มะโนกัมมัง

ปะณิธีเต ปะทักขิณา ปะทักขิณานิ กัตวานะ ละภันตัตเถ ปะทักขิเณฯ

พระคาถาชินบัญชรสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)


ปุตตะกาโมละเภปุตตัง ธะนะกาโมละเภธะนัง

อัตถิกาเยกายะญายะ เทวานังปิยะตังสุตตะวา

อิติปิโสภะคะวา ยะมะราชาโน ท้าวเวสสุวัณโณ

มรณังสุขัง อะระหังสุคะโต นะโมพุทธายะ


ชะยาสะนากะตา พุทธา เชตวา มารัง สะวาหะนัง

จะตุสัจจาสะภัง ระสัง เย ปิวิงสุ นะราสะภา


ตัณหังกะราทะโย พุทธา อัฏฐะวีสะติ นายะกา

สัพเพ ปะติฏฐิตา มัยหัง มัตถะเกเต มุนิสสะรา


สีเส ปะติฏฐิโต มัยหัง พุทโธ ธัมโม ทะวิโลจะเน

สังโฆ ปะติฏฐิโต มัยหัง อุเร สัพพะคุณากะโร


หะทะเย เม อะนุรุทโธ สารีปุตโต จะทักขิเณ

โกณฑัญโญ ปิฏฐิภาคัสมิง โมคคัลลาโน จะ วามะเก


ทักขิเณ สะวะเน มัยหัง อาสุง อานันทะ ราหุโล

กัสสะโป จะ มะหานาโม อุภาสุง วามะโสตะเก


เกสันเต ปิฏฐิภาคัสมิง สุริโย วะ ปะภังกะโร

นิสินโน สิริสัมปันโน โสภิโต มุนิปุงคะโว


กุมาระกัสสโป เถโร มะเหสี จิตตะ วาทะโก

โส มัยหัง วะทะเน นิจจัง ปะติฏฐาสิคุณากะโร


ปุณโณ อังคุลิมาโร จะ อุปาลี นันทะ สีวะลี

เถรา ปัญจะ อิเม ชาตา นะลาเต ติละกา มะมะ


เสสาสีติ มะหาเถรา วิชิตา ชินะสาวะกา

เอเตสีติ มะหาเถรา ชิตะวันโต ชิโนระสา

ชะลันตา สีละเตเชนะ อังคะมังเคสุ สัณฐิตา


ระตะนัง ปุระโต อาสิ ทักขิเณ เมตตะ สุตตะกัง

ธะชัคคัง ปัจฉะโต อาสิ วาเม อังคุลิมาละกัง


ขันธะโมระปะริตตัญจะ อาฏานาฏิยะ สุตตะกัง

อากาเส ฉะทะนัง อาสิ เสสา ปาการะสัณฐิตา


ชินา นานาวะระสังยุตตา สัตตัปปาการะ ลังกะตา

วาตะปิตตาทะสัญชาตา พาหิรัช ฌัตตุปัททะวา


อะเสสา วินะยัง ยันตุ อะนันตะชินะ เตชะสา

วะสะโต เม สะกิจเจนะ สะทา สัมพุทธะปัญชะเร


ชินะปัญชะระมัชฌัมหิ วิหะรันตัง มะฮี ตะเล

สะทา ปาเลนตุ มัง สัพเพ เต มะหาปุริสาสะภา


อิจเจวะมันโต สุคุตโต สุรักโข

ชินานุภาเวนะ ชิตุปัททะโว

ธัมมานุภาเวนะ ชิตาริสังโฆ

สังฆานุภาเวนะ ชิตันตะราโย

สัทธัมมานุภาวะปาลิโต จะรามิ ชินะ ปัญชะเรติ


คำแปล

พระพุทธเจ้าและพระนราสภาทั้งหลาย ผู้ประทับนั่งแล้วบนชัยบัลลังก์

ทรงพิชิตพระยามาราธิราชผู้พรั่งพร้อมด้วยเสนาราชพาหนะแล้ว เสวยอมตรสคือ

อริยะสัจธรรมทั้งสี่ประการ เป็นผู้นำสรรพสัตว์ให้ข้ามพ้นจากกิเลสและกองทุกข์


มี ๒๘ พระองค์คือ พระผู้ทรงพระนามว่า ตัณหังกรเป็นต้น พระพุทธเจ้าผู้จอมมุนีทั้งหมดนั้น


ข้าพระพุทธเจ้าขออัญเชิญมาประดิษฐานเหนือเศียรเกล้า

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ประดิษฐานอยู่บนศีรษะ

พระธรรมอยู่ที่ดวงตาทั้งสอง

พระสงฆ์ผู้เป็นอากรบ่อเกิดแห่งสรรพคุณอยู่ที่อก


พระอนุรุทธะอยู่ที่ใจพระสารีบุตรอยู่เบื้องขวา

พระโมคคัลลาน์อยู่เบื้องซ้าย พระอัญญาโกณทัญญะอยู่เบื้องหลัง


พระอานนท์กับพระราหุลอยู่หูขวา

พระกัสสะปะกับพระมหานามะอยู่ที่หูซ้าย


มุนีผู้ประเสริฐคือพระโสภิตะผู้สมบูรณ์ด้วยสิริดังพระอาทิตย์ส่องแสง

อยู่ที่ทุกเส้นขน ตลอดร่างทั้งข้างหน้าและข้างหลัง


พระเถระกุมาระกัสสะปะผู้แสวงบุญทรงคุณอันวิเศษ

มีวาทะอันวิจิตรไพเราะอยู่ปากเป็นประจำ


พระปุณณะ พระอังคุลิมาล พระอุบาลี พระนันทะ และพระสีวะลี

พระเถระทั้ง ๕ นี้ จงปรากฏเกิดเป็นกระแจะจุณเจิมที่หน้าผาก


ส่วนพระอสีติมหาเถระที่เหลือผู้มีชัยและเป็นพระโอรส

เป็นพระสาวกของพระพุทธเจ้าผู้ทรงชัย แต่ละองค์ล้วน

รุ่งเรืองไพโรจน์ด้วยเดชแห่งศีลให้ดำรงอยู่ทั่วอวัยวะน้อยใหญ่


พระรัตนสูตรอยู่เบื้องหน้าพระเมตตาสูตรอยู่เบื้องขวา

พระอังคุลิมาลปริตรอยู่เบื้องซ้าย พระธชัคคะสูตรอยู่เบื้องหลัง


พระขันธปริตร พระโมรปริตร และพระอาฏานาฏิยสูตร

เป็นเครื่องกางกั้นดุจหลังคาอยู่บนนภากาศ


อนึ่งพระชินเจ้าทั้งหลาย นอกจากที่ได้กล่าวมาแล้วนี้

ผู้ประกอบพร้อมด้วยกำลังนานาชนิด มีศีลาทิคุณอันมั่นคง

สัตตะปราการเป็นอาภรณ์มาตั้งล้อมเป็นกำแพงคุ้มครองเจ็ดชั้น


ด้วยเดชานุภาพแห่งพระอนันตชินเจ้าไม่ว่าจะทำกิจการใดๆ

เมื่อข้าพระพุทธเจ้าเข้าอาศัยอยู่ในพระบัญชรแวดวงกรงล้อม

แห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ขอโรคอุปัทวะทุกข์ทั้งภายนอกและภายใน

อันเกิดแต่โรคร้าย คือ โรคลมและโรคดีเป็นต้น

เป็นสมุฏฐานจงกำจัดให้พินาศไปอย่าได้เหลือ


ขอพระมหาบุรุษผู้ทรงพระคุณอันล้ำเลิศทั้งปวงนั้น

จงอภิบาลข้าพระพุทธเจ้า ผู้อยู่ในภาคพื้น ท่ามกลางพระชินบัญชร

ข้าพระพุทธเจ้าได้รับการคุ้มครองปกปักรักษาภายในเป็นอันดีฉะนี้แล


ข้าพระพุทธเจ้าได้รับการอภิบาลด้วยคุณานุภาพแห่งสัทธรรม

จึงชนะเสียได้ซึ่งอุปัทวอันตรายใดๆ ด้วยอานุภาพแห่งพระชินะพุทธเจ้า

ชนะข้าศึกศัตรูด้วยอานุภาพแห่งพระธรรม ชนะอันตรายทั้งปวงด้วยอานุภาพ

แห่งพระสงฆ์ ขอข้าพระพุทธเจ้าจงได้ปฏิบัติ และรักษาดำเนินไปโดยสวัสดีเป็นนิจนิรันดรเทอญฯ

พระคาถาชินบัญชรสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)

ฉบับตรวจชำระ โดยท่านอาจารย์นาวาเอก ทองย้อย แสงสินชัย เปรียญธรรม ๙ ประโยค

ศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต (กิตติมศักดิ์)

พร้อมคำแปล


ชะยาสะนะคะตา พุทธา เชต๎วา มารัง สะวาหะนัง

จะตุสัจจาสะภัง ระสัง เย ปิวิงสุ นะราสะภา

พระพุทธเจ้าทั้งหลายเหล่าใด ประทับบนชัยบัลลังก์ ทรงเป็นบุคคลผู้องอาจ

พิชิตพญามาราธิราชผู้พรั่งพร้อมด้วยไพร่พลแล้ว เสวยอมตรส คืออริยสัจธรรมทั้งสี่ประการ

ตัณหังกะราทะโย พุทธา อัฏฐะวีสะติ นายะกา

สัพเพ ปะติฏฐิตา มัยหัง มัตถะเก เต มุนิสสะรา

พระพุทธเจ้าผู้นำสรรพสัตว์ ให้ข้ามพ้นจากกิเลสและกองทุกข์มียี่สิบแปดพระองค์ มีพระตัณหังกรเป็นต้น

ขออัญเชิญพระจอมมุนีทั้งหมดนั้นมาประดิษฐานเหนือกระหม่อมของข้าพเจ้า


สีเส ปะติฏฐิโต มัยหัง พุทโธ ธัมโม ท๎วิโลจะเน

สังโฆ ปะติฏฐิโต มัยหัง อุเร สัพพะคุณากะโร

ขออัญเชิญสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประดิษฐานที่ศีรษะ ขออัญเชิญพระธรรมประดิษฐานที่ดวงตาทั้งสอง

ขออัญเชิญพระสงฆ์ผู้เป็นอากรบ่อเกิดแห่งความดีทุกประการประดิษฐานที่อุระของข้าพเจ้า


หะทะเย เม อะนุรุทโธ สารีปุตโต จะ ทักขิเณ

โกณฑัญโญ ปุพพะภาคัส์มิง โมคคัลลาโน จะ วามะเก

ขอเชิญพระอนุรุทธะประดิษฐานอยู่ที่หัวใจพระสารีบุตรอยู่ที่แขนเบื้องขวา

พระโมคคัลลาน์อยู่ที่แขนเบื้องซ้าย พระอัญญาโกณฑัญญะอยู่เบื้องหน้า

ทักขิเณ สะวะเน มัยหัง อาสุง อานันทะราหุลา

กัสสะโป จะ มะหานาโม อุภาสุง วามะโสตะเก

ขอเชิญพระอานนท์กับพระราหุลประดิษฐานที่หูเบื้องขวา

พระมหากัสสปะกับพระมหานามะทั้งคู่อยู่ที่หูเบื้องซ้ายของข้าพเจ้า


เกสะโต ปิฏฐิภาคัส์มิง สุริโย วะ ปะภังกะโร

นิสินโน สิริสัมปันโน โสภิโต มุนิปุงคะโว

ขอเชิญพระโสภิตะยอดมุนี ผู้มีแสงสว่างเพียงดังดวงอาทิตย์ สมบูรณ์ด้วยสิริ

จงสถิตอยู่ที่ส่วนเบื้องหลังจากเส้นผมคือที่ท้ายทอยของข้าพเจ้า


กุมาระกัสสะโป เถโร มะเหสี จิตตะวาทะโก

โส มัยหัง วะทะเน นิจจัง ปะติฏฐาสิ คุณากะโร

ขอเชิญพระกุมารกัสสปเถระ ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ มีคำพูดอันวิจิตรไพเราะ เป็นบ่อเกิดแห่งคุณธรรม

ประดิษฐานอยู่เป็นประจำที่ปากของข้าพเจ้า


ปุณโณ อังคุลิมาโล จะ อุปาลินันทะสีวะลี

เถรา ปัญจะ อิเม ชาตา นะลาเฏ ติละกา มะมะ

ขอเชิญพระปุณณะ พระองคุลิมาล พระอุบาลีพระนันทะ แลพระสีวลี

พระเถระทั้ง ๕ องค์นี้จงปรากฏเกิดเป็นดิลกรอยเจิมที่หน้าผากของข้าพเจ้า

เสสาสีติ มะหาเถรา วิชิตา ชินะสาวะกา

เอเตสีติ มะหาเถรา ชิตะวันโต ชิโนระสา

ชะลันตา สีละเตเชนะ อังคะมังเคสุ สัณฐิตา

ขอเชิญพระอสีติมหาเถระที่เหลือ ผู้ชนะกิเลสแล้ว เป็นพระสาวกของพระชินเจ้า

พระมหาเถระทั้ง ๘๐ เหล่านี้ล้วนชนะกิเลสแล้วเป็นโอรสของพระชินเจ้า รุ่งเรืองด้วยเดชแห่งศีล

จงประดิษฐานที่อวัยวะน้อยใหญ่ของข้าพเจ้า

ระตะนัง ปุระโต อาสิ ทักขิเณ เมตตะสุตตะกัง

ธะชัคคัง ปัจฉะโต อาสิ วาเม อังคุลิมาละกัง

ขออัญเชิญพระรัตนสูตรปรากฏ ณ เบื้องหน้า พระเมตตสูตรปรากฏ ณ เบื้องขวา

พระธชัคคสูตรปรากฏ ณ เบื้องหลัง พระอังคุลิมาลสูตรปรากฏ ณ เบื้องซ้าย

ขันธะโมระปะริตตัญจะ อาฏานาฏิยะสุตตะกัง

อากาเส ฉะทะนัง อาสิ เสสา ปาการะสัณฐิตา

ขออัญเชิญพระขันธปริตร พระโมรปริตร และพระอาฏานาฏิยสูตร

ปรากฏเป็นเครื่องกางกั้นในนภากาศ ขอเชิญพระปริตรและพระสูตรที่เหลือปรากฏเป็นปราการ

ชินาณาวะระสังยุตตา สัตตัปปาการะลังกะตา

วาตะปิตตาทิสัญชาตา พาหิรัชัตตุปัททะวา

อะเสสา วินะยัง ยันตุ อะนันตะชินะเตชะสา

ขออัญเชิญพระปริตรและพระสูตร อันประกอบด้วยอำนาจอันประเสริฐของพระชินเจ้า

ประดับเป็นกำแพงเจ็ดชั้น โรคภัย อุปัทวะทั้งภายนอกทั้งภายในอันเกิดแต่เหตุมีโรคลมและโรคดีเป็นต้น

จงถึงความหมดสิ้นไปมิได้เหลือด้วยเดชานุภาพแห่งพระอนันตชินเจ้า


วะสะโต เม สะกิจเจนะ สะทา สัมพุทธะปัญชะเร

ชินะปัญชะระมัชฌัมหิ วิหะรันตัง มะหีตะเล

สะทา ปาเลนตุ มัง สัพเพ เต มะหาปุริสาสะภา

เมื่อข้าพเจ้ากระทำกิจของตนอยู่ในพระบัญชรของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกเมื่อ

ขอพระมหาบุรุษผู้องอาจทุกพระองค์เหล่านั้นโปรดคุ้มครองข้าพเจ้าผู้อยู่ ณ พื้นแผ่นดิน

อันเป็นท่ามกลางแห่งบัญชรของพระชินเจ้าในกาลทุกเมื่อเถิด


อิจเจวะมันโต สุคุตโต สุรักโข ชินานุภาเวนะ ชิตูปัททะโว

ธัมมานุภาเวนะ ชิตาริสังโฆ สังฆานุภาเวนะ ชิตันตะราโย

สัทธัมมานุภาวะปาลิโต จะรามิ ชินะปัญชะเรติ

ข้าพเจ้าได้รับการคุ้มครองปกปักรักษาภายในเป็นอันดีฉะนี้แล มีอุปัทวะอันชนะแล้ว ด้วยอานุภาพแห่งพระชินเจ้า

มีหมู่ข้าศึกอันชนะแล้ว ด้วยอานุภาพแห่งพระธรรมเจ้า มีอันตรายอันชนะแล้ว ด้วยอานุภาพแห่งพระสังฆเจ้า

เป็นผู้อันอานุภาพแห่งพระสัทธรรมปกป้องแล้วดำเนินชีวิตอยู่ในบัญชรของพระชินเจ้า ดังนี้แล