บทบูชาพุทธสถานและสังเวชณียสถาน

สังเวชนียสถาน (Buddhist pilgrimage sites) แปลโดยสรุปความหมายถึง สถานที่ที่ทำให้เกิดความรู้สึกระลึกรู้ถึงพระพุทธเจ้า เกิดความแช่มชื่น เบิกบาน เกิดแรงบันดาลใจที่จะทำความดี เมื่อได้ไปพบเห็น ซึ่งชาวพุทธควรต้องเดินไปเพื่อศาสนกิจ หรือแสวงบุญ ซัก 1 ครั้งในชีวิต

สังเวชนียสถาน มี 4 แห่ง คือ

  1. สถานที่ประสูติ
  2. สถานที่ตรัสรู้
  3. สถานที่แสดงปฐมเทศนา
  4. สถานที่ปรินิพพาน

สังเวชนียสถาน 4 แห่งนี้ ท่านว่าเป็นสถานที่ควรไปเคารพสักการะ ควรไปแสวงบุญ เพื่อให้เกิดความสังเวชและเกิดพุทธานุสติ อันจักนำมาซึ่งบุญกุศลและความปลาบปลื้มแช่มชื่นใจ จากเนื้อความในมหาปรินิพพานสูตร แสดงให้เห็นว่าสังเวชนียสถานทั้งสี่นี้ได้เกิดขึ้นโดยคำแนะนำของพระพุทธองค์ ที่ได้ตรัสว่า ผู้ใดระลึกถึงพระองค์ พึงจาริกไปยังสังเวชนียสถานทั้งสี่นี้

ต่อมาภายหลังจึงเกิดการจาริกไปยังสถานที่ที่พระพุทธองค์ทรงแสดงปาฏิหาริย์เพิ่มขึ้นอีก 4 แห่ง นั่นคือ

  1. สถานที่เสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
  2. สถานที่แสดงยมกปาฏิหาริย์
  3. สถานที่ทรมานช้างนาฬคีรี
  4. สถานที่ทรมานพญาวานร

ในโอกาสนี้ อาจารย์จิรพัฒน์ อุ้มมนุษย์ชาติ จึงได้รวบรวมบทสวดมนต์และคำบูชา สังเวชนียสถาน และสถานที่สำคัญในพุทธศาสนา ณ ประเทศอินเดียและประเทศเนปาลไว้ ณ ที่นี้เพื่อท่านผู้สนใจปฎิบัติและค้นคว้าจะได้ใช้ภาวนา และสืบค้นข้อมูล โดยบทสวดทั้งหมดอ้างอิงจากหนังสือพระพุทธมนต์ ฉับปรับปรุง ๙๘๐ เขียนโดยพระราชรัตนรังษี (วีรยุทธ์ วีรยุทฺโธ) และวิกิซอร์ซเป็นสำคัญ

"จิตถึงเปรียบเสมือนกายถึง กำลังจิตบริสุทธิ์ตั้งมั่นเปรียบเสมือนได้สักการะสังเวชณียสถานอยู่เบื้องหน้า"

สถานที่ประสูติ ลุมพินีวัน (Lumbini)

ตั้งอยู่ ณ อำเภอไภรวา แคว้นอูธ ประเทศเนปาล

สถานที่ประสูติ ลุมพินีวัน (Lumbini)

ตั้งอยู่ ณ อำเภอไภรวา แคว้นอูธ ประเทศเนปาล









คำบูชาสถานที่ประสูติของพระพุทธองค์

วันทา มิ ภันเต ภะคะวา อิมัง สังเวชะนียัง ฐานัง, ยัตถาคะโตมหิ, สัทธัสสะ กุละปุตตัสสะ ทัสสะนียัง, อิธะ ลุมพินี วะเน ตะถาคะเตนะ มัชฌิเมสุ ชะนะปะเทสุ อะริยะเกสุ มะนุสเสสุ อุปปันนัง ฯ ภาสิตา จะ อาสะภิวาจา อัคโคหะมัสมิ โลกัสสะ เชฏโฐหะมัสมิ โลกัสสะ, เสฏโฐหะมัสมิ โลกัสสะ, อะยะมันติมา เม ชาติ, นัตถิทานิ ปุนัพภะโวติ ฯ สาธุ โน ภันเต, อิเมหิ สักกาเรหิ อะภิปูชะยามิ, สวากขาตัญจะ นะมามิ, มัยหัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ

คำแปล

ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เจริญ ข้าพระพุทธเจ้า ได้จาริกตามรอยบาทพระศาสดา มาถึงแล้ว ขอถวายอภิวาทสังเวชนียสถานที่กุลบุตร ผู้มีศรัทธา ควรทัสสนา(ควรเห็น) อันเป็นสถานที่ที่พระตถาคตเจ้า เสด็จอุบัติขึ้นแล้ว ในหมู่มนุษย์ชาวอริยกะ ในมัชฌิมชนบท ณ สวนลุมพินีนี้ และได้ตรัสอาสภิวาจาว่า “เราจะเป็นผู้เลิศที่สุดในโลก เราจะเป็นผู้เจริญที่สุดในโลก เราจะเป็นผู้ประเสริฐที่สุดในโลก การเกิดของเรานี้เป็นชาติ สุดท้าย บัดนี้จะไม่มีภพใหม่อีก”

ข้าแต่ พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระพุทธเจ้าขอบูชาโดยยิ่ง ด้วยเครื่องสักการะเหล่านี้ และขอน้อมระลึกถึงพระธรรมที่ทรงแสดงไว้ดีแล้ว ขอการบูชาสักการะในครั้งนี้ จงเป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขแก่ข้าพระพุทธเจ้า ตลอดกาลนาน เทอญ ฯ

สถานที่ตรัสรู้ ต้นพระศรีมหาโพธิ์

(The Mahabodhi Tree at the Sri Mahabodhi Temple in Bodh Gaya)

พุทธคยา อำเภอคยา รัฐพิหาร ประเทศอินเดีย








คำบูชาสถานที่ตรัสรู้

วันทา มิ ภันเต ภะคะวา อิมัง โพธิรุกขะเจติยัง, สังเวชะนียัง ฐานัง, ยัตถาคะโตมหิ, สัทธัสสะ กุละปุตตัสสะ ทัสสะนียัง, อิธะ คะยาสีเส, ตถาคะเตนะ สะเทวะเก โลเก สมาระเก สะพรัหมะเก สัสสะมะณะพราหมะณิยา ปะชายะ สะเทวะมะนุสสายะ อะนุตตะรัง สัมมาสัมโพธิง อะภิสัมพุทธังฯ สาธุ โน ภันเต อิเมหิ สักกาเรหิ อภิปูชะยามิ สวากขาตัญจะ นะมามิ มัยหัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะฯ

คำแปล

ข้าแต่พระผู้มีพระภาคผู้เจริญ ข้าพระพุทธเจ้า ได้จาริกตามรอยบาทพระศาสดา มาถึงแล้ว ขอถวายอภิวาท ต้นพระศรีมหาโพธิ์ และพระเจดีย์นี้ อันเป็นสังเวชนียสถานที่กุลบุตรผู้มีศรัทธา ควรมาเห็น เป็นสถานที่พระตถาคตเจ้า ตรัสรู้พร้อมเฉพาะแล้วซึ่งอนุตตระสัมมาสัมโพธิญาณ ในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณะพราหมณ์เทวดาและมนุษย์ ณ ตำบล คยาสีสะประเทศแห่งนี้ ฯ ข้า แต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระพุทธเจ้า ขอบูชาโดยยิ่ง ด้วยเครื่องสักการะเหล่านี้ และขอน้อมระลึกถึงพระธรรม ที่ทรงแสดงไว้ดีแล้ว ขออานุภาพแห่งการสักการะในครั้งนี้ จงเป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข แก่ข้าพระพุทธเจ้า ตลอดกาลนาน เทอญ ฯ

สถานที่แสดงปฐมเทศนา ธัมเมกขะสถูป (Dhamek Stupa)

สารนาถ (Sarnath) รัฐอุตตรประเทศ ประเทศอินเดีย





คำบูชาสถานที่แสดงปฐมเทศนา ธัมเมกขะสถูป

วันทา มิ ภันเต ภะคะวา อิมัง ธัมเมกขะเจติยัง สังเวชะนียัง ฐานัง, ยัตถาคะโตมหิ, สัทธัสสะ กุละปุตตัสสะ ทัสสะนียัง, อาสาฬะหะปุณณะมิยัง, อิธะ พาราณะสิยัง อิสิปะตะเน มิคะทาเย ตะถาคะเตนะ ปัญจะวัคคิยานัง ภิกขูนัง อะนุตตะรัง ธัมมะจักกัง ปะฐะมัง ปะวัตเตตวา จัตตาริ อะริยะสัจจานิ ปะกาสิตานิฯ สาธุ โน ภันเต, อิเมหิ สักกาเรหิ อะภิปูชะยามิ, สวากขาตัญจะ นะมามิ, มัยหัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะฯ

คำแปล

ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เจริญ ข้าพระพุทธเจ้าได้จาริกตามรอยบาทพระศาสดามาถึงแล้ว ขอถวายอภิวาท ธัมเมกขะสถูปนี้ อันเป็นสังเวชนียสถาน ที่กุลบุตรผู้มีศรัทธา ควรมาเห็น เป็นสถานที่พระตถาคตเจ้า ได้ยังพระธรรมจักรให้เป็นไปแก่พระภิกษุปัญจวัคคีย์ ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสีนี้ ในวันอาสาฬหปุณณมีฯ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระพุทธเจ้าขอบูชาโดยยิ่งด้วยเครื่องสักการะเหล่านี้ และขอน้อมระลึกถึงพระธรรมที่ทรงแสดงไว้ดีแล้ว ขออานุภาพแห่งการบูชาสักการะในครั้งนี้ จงเป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขแก่ข้าพระพุทธเจ้า ตลอดกาลนาน เทอญฯ

สถานที่เสด็จดับขันธปรินิพพาน

ตำบลมถากัวร์ อำเภอกุสินคร หรือกาเซีย หรือกาสยา (Kushinaga; Kasia; Kasaya) ในเขตจังหวัดเทวริยา (Devria; Devriya) รัฐอุตตรประเทศ ประเทศอินเดีย

พระพุทธรูปปางมหาปรินิพพานในพระวิหารแห่งมหาปรินิพพานสถูป

(Gautama Buddha's statue in Parinirvana)







คำบูชาพระพุทธปรินิพพาน

วันทามิ อิมัง พุทธะปะฏิมัง, อิมัสมิง กุสินารายัง สาละวะโนทเย พุทธัสสะ ภะคะวะโต ปรินิพพานัฏฐาเน. อะยัง วันทะนา อัมหากัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะฯ

คำแปล

ข้าพเจ้า ขอกราบไหว้พระพุทธปฏิมานี้ ณ สาลวโนทยาน ที่เมืองกุสินารานี้ อันเป็นสถานที่เสด็จดับขันธปรินิพพาน ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ขอการกราบไหว้นี้ จงเป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข ความเจริญ ของข้าพเจ้าทั้งหลาย เทอญ ฯ

มหาปรินิพพานวิหาร ภายในสาลวโนทยาน

(The Parinirvana Temple)







คำบูชาสถูปปรินิพพาน

วันทามิ อิมัง ปะรินิพพานะถูปัง , อิมัสมิง กุสินารายัง , สาละวะโนทะเย พุทธัสสะ ภะคะวะโต ปะรินิพพานัฎฐาเน ,อะยัง วันทะนา อัมหากัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ

คำแปล

ข้าพเจ้า ขอกราบไหว้สถูปเป็นที่ปรินิพพานนี้ ณ สาลวโนทยาน ที่เมืองกุสินารานี้ อันเป็นสถานที่เสด็จดับขันธปรินิพพาน ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ขอการกราบไหว้นี้ จงเป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข ความเจริญ ของข้าพเจ้าทั้งหลาย เทอญฯ

มกุฏพันธนเจดีย์ สถานที่ถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ

(Mukutbandhan-Chaitya/ Ramabhar Stupa)





คำบูชาสถานที่ถวายพระเพลิง

วันทามิ อิมัง เจติยัง, มะกุฏพันธะนะสัญญิตัง ทัสสะนียัง, สังเวชะนียัง พุทธัสสะ ภะคะวะโต สะรีรัสสะ ฌาปะนัฎฐานัง, อะยัง วันทะนา อัมหากัง ฑีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ

คำแปล

ข้าพเจ้าขอกราบไหว้พระเจดีย์อันมีชื่อว่า มกุฏพันธนเจดีย์ เป็นสถานที่ถวายพระเพลิงพุทธสรีระของพระผู้มีพระภาคเจ้า อันเป็นสถานที่ควรเห็นควรให้เกิดความสังเวช

ขอการกราบไวหนี้จงเป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข ความเจริญของข้าพเจ้าทั้งหลาย เทอญ

สถานที่เสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์

สังกัสสะ (Sankassa)





คำยูชาที่สถูปสังกัสสะนคร

วันทามิ ภันเต ภะคะวา อิมัง เทโวโรหะณะเจติยัฎฐานัง, ยัตถาคะโตมหิ, อิธะ โข ปะนะ ภะคะวา เทวะโลกะโต โอโรหะสิ, ตะทา ภะคะวา โลกะวิวะระณะปาฏิหาริยัง อะกาสิ ยะถา เทวะมะนุสสา อัญญะมัญญัง ปัสสิงสุ, อากาเส มะหาพรัหนา เจวะ สักโก เทวะราชา จะ สะปะริวาโร ภะคะวันตัง อุยโยเขสุง, ปะฐะวีตะเล จะตัสโส ปะริสา ภะคะวะโต ปัจจุคคะมะนัง อะกังสุ

สาธุ โน ภันเต, อิเมหิ สักกาเรหิ อะภิปูชะยามิ, สวากขาตัญจะ นะมามิ, มัยหัง ฑีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ

คำแปล

ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เจริญ ข้าพระพุทธเจ้า ได้มาถึงแล้วสังกัสสะเจดีย์ สถานที่พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จลงมาจากเทวโลก ณ ที่ตรงนี้แล พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงทำปาฏิหาริย์เปิดโลกทั้งสาม ให้เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายเห็นกันโดยทั่ว ในนภากาศ ท้าวมหาพรหม ท้าวสักกะเทวราช พร้อมด้วยเทพบริวาร ต่างเฝ้าส่งเสด็จพระพุทธเจ้า ส่วนภาคพื้นดิน พุทธบริษัท ๔ เฝ้ารับเสด็จพระพุทธเจ้า ณ สถานที่นี้

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระพุทธเจ้า ขอบูชาโดยยิ่งด้วยเครื่องสักการะเหล่านี้ และขอน้อมระลึกถึงพระธรรมที่ทรงแสดงไว้ดีแล้ว ขอการสักการะในครั้งนี้ จงเป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข แก่ข้าพระพุทธเจ้า ตลอดกาลนาน เทอญ

สถานที่แสดงยมกปาฏิหาริย์ หรือ “สถูปยมกปาฏิหาริย์”

เมืองสาวัตถี (ในภาษาบาลี) หรือ ศราวัสตี (ในภาษาสันสกฤต)

ปัจจุบันมีชื่อว่า สะเหถ-มะเหถ (Saheth-Maheth) ตั้งอยู่ในรัฐอุตตรประเทศ ประเทศอินเดีย







คำบูชาสถูปยมกปาฏิหาริย์

วันทามิ ภันเต ภะคะวา อิมัง ยะมะกะปาฏิหาริยะกะระณัฐฐานัง, ยัตถาคโตมหิ, อิธะ โข ปะนะ ภะคะวา อะเนกะวิธัง ยะมะกะปาฏิหาริยัง อะกาสิ ติตถิเย ทะมิตุง. ตะ โต โส ภะคะวา เทวะโลกัง คันตวา ตาวะติงสะกะวะเน ปัณฑุกัมพะละสิลาสะเน เตมาสัง วัสสูปะคะโต อะภิธัมมะปิฏะกัง เทเสนโต พุทธะมาตะรัง สะปะริวารัง โสตาปัตติผะเล ปะติฏฐาเปสิ.

สาธุ โน ภันเต, อิเมหิ สักกาเรหิ อะภิปูชะยามิ, สวากขาตัญจะ นะมามิ, มัยหัง ฑีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ.

คำแปล

ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เจริญ ข้าพระพุทธเจ้า ได้มาถึงแล้ว สถานที่ซึ่งพระภาคเจ้าได้ทรงแสดงยมกปาฏิหาริย์ เพื่อปราบเหล่าเดียรถีย์ผู้เป็นมิขฉาทิฏฐิ ครั้นแล้วจึงเสด็จไปเทวโลก ทรงจำพรรษา และแสดงอภิธรรมปิฎก โปรดพระพุทธมารดาพร้อมเทพบริวารให้ได้บรรลุโสดาปัตติผล ณ บัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระพุทธเจ้าขอบูชาโดยยิ่ง ด้วยเครื่องสักการะเหล่านี้ และขอน้อมระลึกถึงพระธรรมที่ทรงแสดงไว้ดีแล้ว ขอกราบบูชาสักการะในครั้งนี้ จงเป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข แก่ข้าพระพุทธเจ้าตลอดกาลนาญ เทอญ

พระคันธกุฎีบนยอดเขาคิชฌกูฏ

วัดเวฬุวันซึ่งเป็นวัดแห่งแรกในพระพุทธศาสนา ปัจจุบันตั้งอยู๋ในรัฐพิหาร ประเทศอินเดีย

คันธกุฎี หรือ พระมูลคันธกุฎี (Mulagandhakuti) แปลว่า กุฎีที่มีกลิ่นหอม เป็นชื่อเรียกสถานที่ประทับของพระพุทธเจ้าโดยเฉพาะ เรียกเต็มว่า "พระมูลคันธกุฎี" ในพุทธประวัติ







คำบูชาที่พระมูลคันธกุฎีบนยอดเขาคิชฌกูฏ

วันทามิ ภันเต ภะคะวา อิมัง ระมะณียัง ราชะคะเห ติชฌะกูเฏ มูละคันธะกุฏิง, ยัตถาคะโตมหิ. ยังอาคัมมะราชา พิมพิสาโร มะระณาสันนะกาเล พุทธารัมมะณัง ปีติง ภาเวสิ, ยัสสาวิทูเร ปุพเพ จะตุโลกะปาลาทีนัง ธัมโม จะ วินะโย จะ เทสิโต ปัญญัตโต

สาธุ โน ภันเต, อิเมหิ สักกาเรหิ อะภิปูชะยามิ, สวากขาตัญจะ นะมามิ, มัยหัง ฑีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ.