กาลโยค คือ วิชาการคำนวณ เวลาดี เวลาร้าย เพื่อใช้เป็นหลักส่วนหนึ่งในการดูฤกษ์ยาม ร่วมกับวิชาโหราศาสตร์ไทย

โดยการวันที่ดีที่ทำการมงคลได้ในเบื้องต้น วัน ยาม ฤกษ์ ราศึ และดิถีต้องไม่เป็นอุบาทว์ และโลกาวินาศ

แต่โดยทั่วไปถ้าไม่ใช่ผู้ที่ศึกษาวิชาโหราศาสตร์แล้วจะพิจารณาจาก "วัน" เป็นสำคัญ โดยไม่พิจารณาส่วนอื่น

โดยตัวเลขที่เขียนไว้ในตารางในส่วนของวันตัวเลขแทนด้วยวันต่าง ๆ ดังที่ได้แสดงไว้ในหัวข้อความหมายดาว คือ

1 = วันอาทิตย์

2 = วันจันทร์

3 = วันอังคาร

4 = วันพุธ

5 = วันพฤหัสบดี

6 = วันศุกร์

7 = วันเสาร์


ยาม

โดย 1 ยาม มีค่าเท่ากับ 1 ชั่วโมง 30 นาที

เริ่มนับตั้งแต่รุ่งเช้า (6:00 น.) ไปจนถึงย่ำค่ำ (18:00 น.) และนับหนึ่งใหม่จนถึงรุ่งเช้า

ภาคกลางวัน

ยามหนึ่ง 06:00-07:30

ยามสอง 07:30-09:00

ยามสาม 09:00-10:30

ยามสี่ 10:30-12:00

ยามห้า 12:00-13:30

ยามหก 13:30-15:00

ยามเจ็ด 15:00-16:30

ยามแปด 16:30-18:00

ภาคกลางคืน

ยามหนึ่ง 18:00-19:30

ยามสอง 19:30-21:00

ยามสาม 21:00-22:30

ยามสี่ 22:30-24:00

ยามห้า 00:00-01:30

ยามหก 01:30-03:00

ยามเจ็ด 03:00-04:30

ยามแปด 04:30-06:00

ราศี

สำหรับราศี ทางโหราศาสตร์ไทยให้ถือว่า ราศี 0 คือราศีเมษ ให้นับแต่ราศีเมษทีละ 1 ไปจนถึง 11 คือราศีมีน

ถ้าราศี 5 เป็น ธงชัย นั่นหมายถึง ราศีกันย์ เป็น ราศีธงชัย

ดิถี

สำหรับดิถี เริ่มนับจากขึ้น 1 ค่ำ เป็นดิถีที่ 1 ไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งถึง ขึ้น 15 ค่ำ นับเป็นดิถีที่ 15

จากนั้นนับแรม 1 ค่ำ ต่อ เป็นดิถีที่ 16 จนถึง แรม 15 ค่ำ ก็เป็นดิถีที่ 30

กาลโยค จุลศักราช 1382

ใช้ระหว่างวันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2563

ถึง 15 เมษายน พ.ศ. 2564