การสวดมนต์

บทสวดมนต์ทำวัตรเช้า และทำวัตรเย็น

การทำวัตรคืออะไร

ก่อนที่เราจะทราบว่าการทำวัตรคืออะไร เราต้องทราบความหมายของคำว่า "วัตร" และคำว่า “สวดมนต์” กันก่อน คำว่า "วัตร" นั้น พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ฉบับ พ.ศ. ๒๕๕๔ ได้ให้ความหมายว่า วัตร แปลว่า กิจพึงกระทำ ดังนั้นคำว่า ทำวัตร อาจอธิบายได้ว่า คือ การทำงานที่ควรกระทำ หรือกระทำในสิ่งที่ควรปฏิบัติ สำหรับคำว่า สวดมนต์ มาจากคำสองคำ คือ “สวด” แปลว่า ว่าเป็นทำนองอย่างพระสวดมนต์ ตรงกับในภาษาบาลีว่า "สชฺฌาย” ซึ่งหมายถึง การสาธยาย หรือการท่อง และคำว่า “มนต์” มีความหมายว่า “คำศักดิ์สิทธิ์” เมื่อรวมกันจึงอาจสรุปได้ว่า การสวดมนต์ เป็นการกล่าวคำศักดิ์สิทธิ์ด้วยมีท่วงทำนองเช่นเดียวกับพระ หรือการท่องบ่นคำสักดิ์สิทธิ์ จึงมีการพบว่าการทำวัตร และการสวดมนต์เป็นคำที่มักนิยมใช้คู่กัน เช่น ทำวัตรสวดมนต์ และสวดมนต์ทำวัตรเช้า-เย็น เป็นต้น ซึ่งที่กล่าวมาคือความหมายของทำวัตร และสวดมนต์ กลับมาเข้าประเด็นว่า ทำวัตรคืออะไร เมื่อทราบนิยามแล้วจึงตอบได้ว่า การทำวัตร คือ การกระทำในสิ่งที่ควรปฏิบัติ นั่นคือ การกล่าวท่องคำศักดิ์สิทธิ์ อย่างมีท่วงทำนอง

เหตุใดเราควรทำวัตรสวดมนต์

เมื่อการทำวัตรสวดมนต์ คือ การกระทำในสิ่งที่ควรปฏิบัติ นั่นคือ การกล่าวท่องคำศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งแม้หลาย ๆ ท่านจะเข้าใจว่า สวดมนต์แล้วมีพลังมีความศักดิ์สิทธิ์ แต่แท้ที่จริงแล้วการทำวัตรสวดมนต์เป็นกุศโลบายเพื่อให้ผู้สวดได้สงบใจ ระลึกถึงพระศาสดาเป็นแบบอย่าง ศึกษาคำสอนของศาสนา และความจริงแท้ของชีวิตซ้ำ ๆ จนเกิดความรู้ความเข้าใจในแก่นของพระศาสนา และนำไปปฏิบัติ ดังนั้นการทำวัตรสวดมนต์จึงควรสวดโดยเข้าใจความหมาย เข้าใจคำแปล มิใช่สวดเพียงเพื่อแค่สวดให้จบ หรือแค่ความขลัง แต่เป็นการสวดที่มาจากใจที่สงบ และจิตที่พร้อมเรียนรู้ธรรม ซึ่งเป็นความจริงแท้ของชีวิตผ่านบทสวดที่ได้กล่าวย้ำจนเกิดความชำนาญ

ประโยชน์ของการสวดมนต์

มีผู้รู้ท่านกล่าวไว้ว่าการสวดมนต์แต่ละครั้งเปรียบเสมือนการที่ผู้สวดได้เข้าเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทั้งยังเป็นการระลึกถึงพระธรรมคำสอนของพระองค์ท่าน ซึ่งเป็นสัจธรรมสากลไม่ขึ้นกับกาลเวลา และยังเป็นการระลึกถึงการประพฤติปฎิบัติดีของพระสงฆ์ผู้เป็นนาบุญของโลกซึ่งไม่มีนาอื่นใดเทียบได้ จึงกล่าวได้ว่าการสวดมนต์มีคุณประโยชน์มากมาย ในที่นี้ผู้เขียนจึงได้สรุปประโยชน์ของการสวดมนต์ในพระพุทธศาสนาไว้ 10 ประการดังนี้

  1. ช่วยให้ผู้สวดเกิดความสงบทางใจ ซึ่งมีความสัมพันธ์กับการพัฒนาสุขภาพจิต และสุขภาพกาย
  2. ช่วยให้ผู้สวดเรียนรู้พุทธศาสนา หลักธรรม คำสอน ผ่านการสวดมนต์
  3. ช่วยเพิ่มสมาธิให้กับผู้ที่สวดมนต์อย่างสม่ำเสมอ เนื่องจากการสวดมนต์ทำให้เกิดสมาธิตั้งแต่ระดับขณิกสมาธิไปจนถึงอุปจารสมาธิ
  4. การสวดมนต์เป็นการสะสมกำลังจิต หรือความเข้มแข็งของจิต ซึ่งจิตที่มีกำลังมากจะเป็นจิตที่สามารถควบคุม ระงับ และกำจัดกิเลสได้ในที่สุด
  5. เป็นสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจ และเพิ่มความมั่นใจในการเผชิญปัญหาต่าง ๆ หรือเมื่อพบสถานการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ในชีวิต
  6. ช่วยเสริมสร้างความศรัทธาในศาสนาพุทธ และการทำความดีละเว้นการทำชั่วให้กับตัวบุคคล
  7. เป็นการสืบทอดศาสนาพุทธให้มั่นคงถาวรยิ่งขึ้น และสืบทอดพระศาสนาต่อชนรุ่นหลัง
  8. ช่วยให้บุคคลเกิดความละอายต่อบาปและเกรงกลัวต่อผลของการทำบาป และปรารถนาทำความดี ซึ่งกล่าวได้ว่าเป้นปัจจัยเชิงจิตวิทยาอันจะได้กล่าวในโอกาสต่อไป
  9. เมื่อสวดมนต์อย่างสม่ำเสมอจะช่วยให้บุคคลพัฒนาอารมณ์ในเชิงบวก รู้เท่าทันอารมณ์ของตน และปรับอารมณ์ของตนได้อย่างเหมาะสม ช่วยลดความขัดแย้งระหว่างบุคคล และเสริมสร้างและสนับสนุนสังคมที่ผาสุกได้
  10. นำมาซึ่งการเข้าใจในสัจธรรมของชีวิต และสรรพสิ่งอย่างแท้จริง

บทสวดที่ใช้ในการทำวัตรเช้า

ก่อนการสวดมนต์ควรตัดกังวลทั้งหลายก่อน จุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย (ตามสถานที่ที่เหมาะสม) ชายให้นั่งคุกเข่า เรียกว่านั่งท่าพรหมหรือท่าเทพบุตร หญิงนั่งคุกเข่าราบ คือนั่งทับฝ่าเท้าทั้งสอง เรียกว่าท่าเทพธิดา กราบสามครั้งระลึกถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์แล้วจึงกล่าวบทสวดเพื่อทำวัตรเช้าดังนี้

-อนึ่งในบทสวดภาคแปลที่มีเครื่อหมาย* คือ คำ์ที่ผู้เขียนได้จัดทำคำอธิบายไว้หลังจบบทสังเวคปริกิตตนปาฐะคาถา


คำบูชาพระรัตนตรัย

โย โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น พระองค์ใด, เป็นพระอรหันต์, ดับเพลิงกิเลส เพลิงทุกข์สิ้นเชิง, ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง

สวากขาโต เยนะ ภะคะวะตา ธัมโม

พระธรรม เป็นธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์ใด, ตรัสไว้ดีแล้ว

สุปะฏิปันโน ยัสสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ

พระสงฆ์สาวก,ของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์ใด, ปฏิบัติดีแล้ว

ตัมมะยัง ภะคะวันตัง สะธัมมัง สะสังฆัง อิเมหิ สักกาเรหิ ยะถาระหัง อาโร- ปิเตหิ อะภิปูชะยามะ

ข้าพเจ้าทั้งหลาย, ขอบูชาอย่างยิ่ง, ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น พร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์ ด้วยเครื่องสักการะทั้งหลายเหล่านี้, อันยกขึ้นตามสมควรแล้ว อย่างไร

สาธุ โน ภันเต ภะคะวา สุจิระปะรินิพพุโตปิ

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ, พระผู้มีพระภาคเจ้า แม้ปรินิพพานนานแล้ว, ทรงสร้างคุณอันสำเร็จประโยชน์ ไว้แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย

ปัจฉิมา ชะนะตานุกัมปะมานะสา

ทรงมีพระหฤทัยอนุเคราะห์แก่พวกข้าพเจ้า อันเป็นชนรุ่นหลัง

อิเม สักกาเร ทุคคะตะปัณณาการะภูเต ปะฏิคคัณหาตุ

ขอพระผู้มีพระภาคเจ้า จงรับเครื่องสักการะ อันเป็นบรรณาการ ของคนยาก-ทั้งหลายเหล่านี้

อัมหากัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ

เพื่อประโยชน์และความสุขแก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย ตลอดกาลนาน เทอญฯ


(การสวดแบบธรรมยุตพระเถระจะเริ่มจากที่นี่)

อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา

พระผู้มีพระภาคเจ้า, เป็นพระอรหันต์, ดับเพลิงกิเลส เพลิงทุกข์สิ้นเชิง, ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง

พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ (กราบ)

ข้าพเจ้าอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้า, ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน (กราบระลึกพระพุทธคุณ)

สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม

พระธรรมเป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้า, ตรัสไว้ดีแล้ว

ธัมมัง นะมัสสามิ (กราบ)

ข้าพเจ้านมัสการพระธรรม (กราบระลึกพระธรรมคุณ)

สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,

พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า, ปฏิบัติดีแล้ว

สังฆัง นะมามิ

ข้าพเจ้านอบน้อมพระสงฆ์ (กราบระลึกพระสังฆคุณ)

ปุพพะภาคะนะมะการะ

(ผู้สวดนำเริ่มว่า) (หันทะ มะยัง พุทธัสสะ ภะคะวะโต ปุพพะภาคะนะมะการัง กะโรมะ เส)

(ผู้สวดนำเริ่มว่า) (เชิญเถิด เราทั้งหลาย ทำความนอบน้อมอันเป็นส่วนเบื้องต้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าเถิด)

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ซึ่งเป็นผู้ไกลจากกิเลสตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ซึ่งเป็นผู้ไกลจากกิเลสตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ซึ่งเป็นผู้ไกลจากกิเลสตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง

พุทธาภิถุติ

(ผู้สวดนำเริ่มว่า) ( หันทะ มะยัง พุทธาภิถุติง กะโรมะ เส )

(ผู้สวดนำเริ่มว่า) (เชิญเถิด เราทั้งหลาย ทำความชมเชย เฉพาะพระพุทธเจ้าเถิด)

โย โส ตะถาคะโต อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ, วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู อนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ สัตถา เทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวา,

พระตถาคตเจ้านั้นพระองค์ใดเป็นผู้ไกลจากกิเลสเป็นผู้ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชา*และจรณะ* เป็นผู้ไปแล้วด้วยดี เป็นผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง เป็นผู้สามารถฝึกบุรุษที่สมควรฝึกได้อย่างไม่มีใครยิ่งกว่าเป็นครูผู้สอน ของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานด้วยธรรม เป็นผู้มีความจำเริญจำแนกธรรมสั่งสอนสัตว์

โย อิมัง สะเทวะกัง สะมาระกัง สะพรหมมะกัง, สัสสะมะณะพราหมะณิง ปะชัง สะเทวะมะนุสสัง สะยัง อะภิญญา สัจฉิกัตวา ปะเวเทสิ,

พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใด ได้ทรงทำความดับทุกข์ให้แจ้งด้วยพระปัญญาอันยิ่งเองแล้ว ทรงสอนโลกนี้พร้อมทั้งเทวดา มาร พรหม และหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ พร้อมทั้งเทวดาและมนุษย์ให้รู้ตาม

โย ธัมมัง เทเสสิ อาทิกัลยาณัง มัชเฌกัลยาณัง ปะริโยสานะกัลยาณัง สาตถัง สะพยัญชะนัง เกวะละปะริปุณณัง ปะริสุทธัง พรหมะจะริยัง ปะกาเสสิ ตะมะหัง ภะคะวันตัง อะภิปูชะยามิ ตะมะหัง ภะคะวันตัง สิระสา นะมามิ ฯ

(กราบระลึกพระพุทธคุณ)


ธัมมาภิถุติง

(ผู้สวดนำเริ่มว่า) (หันทะ มะยัง ธัมมาภิถุติง กะโรมะ เส)

(ผู้สวดนำเริ่มว่า) (เชิญเถิด เราทั้งหลาย ทำความชมเชยเฉพาะพระธรรมเถิด)

โย โส สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม

สันทิฏโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก

ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญูหิ

ตะมะหัง ธัมมัง อะภิปูชะยามิ ตะมะหัง ธัมมัง สิระสา นะมามิ

(กราบระลึกพระธรรมคุณ)

พระธรรมนั้นใด เป็นสิ่งที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสไว้ดีแล้ว

เป็นสิ่งที่ผู้ศึกษาและปฏิบัติพึงเห็นได้ด้วยตนเอง

เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้และให้ผลได้ไม่จำกัดกาล

เป็นสิ่งที่ควรกล่าวกับผู้อื่นว่า ท่านจงมาดูเถิด

เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว

เป็นสิ่งที่ผู้รู้ก็รู้ได้เฉพาะตน

ข้าพเจ้าบูชาอย่างยิ่ง เฉพาะพระธรรมนั้น

ข้าพเจ้านอบน้อมพระธรรมนั้น ด้วยเศียรเกล้า

(กราบระลึกพระธรรมคุณ)

สังฆาภิถุติ

(ผู้สวดนำเริ่มว่า) (หันทะ มะยัง สังฆาภิถุติง กะโรมะ เส)

โย โส สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ

อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ

ายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ

สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ

ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏะ ปุริสะปุคคะลา

เอสะภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ

อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเณยโย อัชะลิกะระณีโย

อะนุตตะรัง ปุกเขตตัง โลกัสสะ

ตะมะหัง สังฆัง อะภิปูชะยามิ

ตะมะหัง สังฆัง สิระสา นะมามิ

(กราบระลึกพระสังฆคุณ)

สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น หมู่ใด ปฏิบัติดีแล้ว

สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า หมู่ใด ปฏิบัติตรงแล้ว

สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า หมู่ใด ปฏิบัติเพื่อรู้ธรรมเป็นเครื่องออกจากทุกข์แล้ว

สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า หมู่ใด ปฏิบัติสมควรแล้ว

ได้แก่บุคคลเหล่านี้ คือ

คู่แห่งบุรุษสี่คู่ นับเรียงตัวบุรุษได้แปดบุรุษ* (อ่านคำอธิบายเพิ่มเติมหลังด้านล่างบทสังเวคปริกิตตนปาะ)

นั่นแหละ สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า

เป็นสงฆ์ควรแก่สักการะที่เขานำมาบูชา

เป็นสงฆ์ควรแก่สักการะที่เขาจัดไว้ต้อนรับ

เป็นผู้ควรรับทักษิณาทาน* (อ่านคำอธิบายเพิ่มเติมหลังด้านล่างบทสังเวคปริกิตตนปาะ)

นั่งพับเพียบ


รตนัตตยัปปณามคาถา

(ผู้สวดนำเริ่มว่า) (หันทะ มะยัง ระตะนัตตะยัปปะณามะคาถาโย เจวะ สังเวคะวัตถุปะริทีปะกะปาจะ ภะณามะ เส)

พุทโธ สุสุทโธ กะรุณามะหัณณะโว

โยจจันตะสุทธัพพะระาณะโลจะโน

โลกัสสะ ปาปูปะกิเลสะฆาตะโก

วันทามิ พุทธัง อะหะมาทะเรนะ ตัง

พระพุทธเจ้าผู้บริสุทธิ์ มีพระกรุณาดุจห้วงมหรรณพ

พระองค์ใด มีตาคือญาณอันประเสริฐหมดจดถึงที่สุด

เป็นผู้ฆ่าเสียซึ่งบาป และอุปกิเลสของโลก

ข้าพเจ้าไหว้พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น โดยใจเคารพเอื้อเฟื้อ

(น้อมจิตพนมมือยกจรดหน้าผากระลึกถึงพระพุทธเจ้า)


ธัมโม ปะทีโป วิยะ ตัสสะ สัตถุโน โย

มัคคะปากามะตะเภทะภินนะโก

โลกุตตะโร โย จะ ตะทัตถะทีปะโน

วันทามิ ธัมมัง อะหะมาทะเรนะ ตัง

พระธรรมของพระศาสดา สว่างรุ่งเรืองเปรียบดวงประทีป

จำแนกประเภท คือ มรรค ผล นิพพาน ส่วนใด

ซึ่งเป็นตัวโลกุตตระ และส่วนใดที่ชี้แนวแห่งโลกุตตระนั้น

ข้าพเจ้าไหว้พระธรรมนั้น โดยใจเคารพเอื้อเฟื้อ

(น้อมจิตพนมมือยกจรดหน้าผากระลึกถึงพระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสสอน)

สังโฆ สุเขตาภยะติเขตตะสัโต

โย ทิฏะสันโต สุคะตานุโพธะโก

โลลัปปะหีโน อะริโย สุเมธะโส

วันทามิ สังฆัง อะหะมาทะเรนะ ตัง

พระสงฆ์เป็นนาบุญอันยิ่งใหญ่กว่านาบุญอันดีทั้งหลาย

เป็นผู้เห็นพระนิพพาน, ตรัสรู้ตามพระสุคต หมู่ใด

เป็นผู้ละกิเลสเครื่องโลเล เป็นพระอริยเจ้า มีปัญญาดี

ข้าพเจ้าไหว้พระสงฆ์หมู่นั้น โดยใจเคารพเอื้อเฟื้อ

(น้อมจิตพนมมือยกจรดหน้าผากระลึกถึงพระสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้า)


อิจเจวะเมกันตะภิปูชะเนยยะกัง วัตถุตตะยัง

วันทะยะตาภิสังขะตัง ปุง มะยา ยัง

มะมะ สัพพุปัททะวา มา โหนตุ เว ตัสสะ ปะภาวะสิทธิยา

บุญใด ที่ข้าพเจ้าผู้ไหว้อยู่ซึ่งวัตถุสาม คือ พระรัตนตรัย

อันควรบูชายิ่ง โดยส่วนเดียว ได้กระทำแล้วเป็นอย่างยิ่งเช่นนี้นี้

ขออุปัททวะ (ความชั่ว) ทั้งหลาย จงอย่ามีแก่ข้าพเจ้าเลย

ด้วยอำนาจความสำเร็จอันเกิดจาก บุญนั้น


สังเวคปริกิตตนปาฐะคาถา

อิธะ ตะถาคะโต โลเก อุปปันโน

พระตถาคตเจ้าเกิดขึ้นแล้ว ในโลกนี้

อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ

เป็นผู้ไกลจากกิเลส ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง

ธัมโม จะ เทสีโต นิยยานิโก

และพระธรรมที่ทรงแสดง เป็นธรรมเครื่องออกจากทุกข์

อุปะสะมิโก ปะรินิพพานิโก สัมโพธะคามี

เป็นเครื่องสงบกิเลส เป็นไปเพื่อปรินิพพาน

สัมโพธะคามี สุคะตัปปะเวทิโต

เป็นไปเพื่อความรู้พร้อม เป็นธรรมที่พระสุคตประกาศ

มะยันตัง ธัมมัง สุต๎วา เอวัง ชานามะ

พวกเราเมื่อได้ฟังธรรมนั้นแล้ว จึงได้รู้อย่างนี้ว่า

ชาติปิ ทุกขา

แม้ความเกิดก็เป็นทุกข์

ชะราปิ ทุกขา

แม้ความแก่ก็เป็นทุกข์

มะระณัมปิ ทุกขัง

แม้ความตายก็เป็นทุกข์

โสกะปะริเทวะทุกขะโทมะนัสสุปายาสาปิ ทุกขา

แม้ความโศก ความร่ำไรรำพัน ความไม่สบายกาย ความไม่สบายใจ ความคับแค้นใจ ก็เป็นทุกข์

อัปปิเยหิ สัมปะโยโค ทุกโข

ความประสบกับสิ่งไม่เป็นที่รักที่พอใจก็เป็นทุกข์

ปิเยหิ วิปปะโยโค ทุกโข

ความพลัดพรากจากสิ่งเป็นที่รักที่พอใจก็เป็นทุกข์

ยัมปิจฉัง นะ ละภะติ ตัมปิ ทุกขัง

มีความปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้น นั่นก็เป็นทุกข์

สังขิตเตนะ ปัญจุปาทานักขันธา ทุกขา

ว่าโดยย่อ อุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ เป็นตัวทุกข์

เสยยะถีทัง

ได้แก่สิ่งเหล่านี้ คือ

รูปูปาทานักขันโธ

ขันธ์ อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น คือรูป

เวทะนูปาทานักขันโธ

ขันธ์ อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น คือเวทนา*

สัญญูปาทานักขันโธ,

ขันธ์ อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น คือสัญญา*

สังขารูปาทานักขันโธ

ขันธ์ อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น คือสังขาร*

วิญญาณูปาทานักขันโธ

ขันธ์ อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น คือวิญญาณ*

เยสัง ปะริญญายะ

เพื่อให้สาวกกำหนดรอบรู้อุปาทานขันธ์เหล่านี้เอง

ธะระมาโน โส ภะคะวา

จึงพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เมื่อยังทรงพระชนม์อยู่

เอวัง พะหุลัง สาวะเก วิเนติ

ย่อมทรงแนะนำสาวกทั้งหลาย เช่นนี้เป็นส่วนมาก

เอวัง ภาคา จะ ปะนัสสะ ภะคะวะโต สาวะเกสุ อะนุสาสะนี, พะหุลา ปะวัตตะติ,

อนึ่ง คำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น

ย่อมเป็นไปในสาวกทั้งหลาย ส่วนมาก มีส่วนคือการจำแนกอย่างนี้ว่า

รูปัง อะนิจจัง

รูปไม่เที่ยง

เวทะนา อะนิจจา

เวทนาไม่เที่ยง

สัญญา อะนิจจา

สัญญาไม่เที่ยง

สังขารา อะนิจจา

สังขารไม่เที่ยง

วิญญาณัง อะนิจจัง

วิญญาณไม่เที่ยง

รูปัง อะนัตตา

รูปไม่ใช่ตัวตน

เวทะนา อะนัตตา

เวทนาไม่ใช่ตัวตน

สัญญา อะนัตตา

สัญญาไม่ใช่ตัวตน

สังขารา อะนัตตา

สังขารไม่ใช่ตัวตน

วิญญาณัง อะนัตตา

วิญญาณไม่ใช่ตัวตน


สัพเพ สังขารา อะนิจจา

สังขารทั้งหลายทั้งปวง ไม่เที่ยง

สัพเพ ธัมมา อะนัตตาติ

ธรรมทั้งหลายทั้งปวง ไม่ใช่ตัวตน ดังนี้

เต (หญิงสวด ตา) มะยัง โอติณณาม๎หะ

พวกเราทั้งหลาย เป็นผู้ถูกครอบงำแล้ว

ชาติยา

โดยความเกิด

ชะรามะระเณนะ

โดยความแก่และความตาย

โสเกหิ ปะริเทเวหิ ทุกเขหิ โทมะนัสเสหิ อุปายาเสหิ

โดยความโศก ความร่ำไรรำพัน ความไม่สบายกาย ความไม่สบายใจ ความคับแค้นใจทั้งหลาย

ทุกโขติณณา

เป็นผู้ถูกความทุกข์หยั่งเอาแล้ว

ทุกขะปะเรตา

เป็นผู้มีความทุกข์เป็นเบื้องหน้าแล้ว

อัปเปวะนามิมัสสะ เกวะลัสสะ ทุกขักขันธัสสะ อันตะกิริยา ปัญญาเยถาติ

ทำไฉน การทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้, จะพึงปรากฏชัดแก่เราได้

(กราบ ๓ ครั้ง ระลึกคุณพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์)

---จบการทำวัตรเช้า---


*ถ้ามีเวลามีปฏิบัติได้ให้นั่งสมาธิหลังจบการทำวัตรเช้าประมาณ ๑๕ - ๒๐ นาที และกล่าวคำแผ่เมตตาดังนี้


บทแผ่เมตตา

(แผ่ให้สรรพสัตว์ทั้งหลาย)

สัพเพ สัตตา อะเวรา โหนตุ

อัพพะยาปัชฌา โหนตุ

อะนีฆา โหนตุ

สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ

สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง ที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วยกันทั้งสิ้น

จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้มีเวรแก่กันและกันเลย

จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้เบียดเบียนซึ่งกันและกันเลย

จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้มีความทุกข์กายทุกข์ใจเลย

จงมีความสุขกาย สุขใจ รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเทอญ


อรรถาธิบาย

*วิชชา คือ ความรู้แจ้ง เช่น วิชชา ๓ วิชชา ๘ ในพระพุทธศาสนา

อ้างอิงจาก พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๕


*จรณะ คือ ความประพฤติ ในพระพุทธศาสนาหมายความว่า ข้อปฏิบัติเป็นเครื่องบรรลุวิชชา

อ้างอิงจาก พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๕


ทักษิณาทาน คือ การให้ของทำบุญแก่ทักขิไณยบุคคล (บุคคลที่ควรค่าแก่การถวายทาน)

อ้างอิงจาก พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๕ และ Google Translate


*ไพเราะในเบื้องต้น ไพเราะในท่ามกลาง ไพเราะในที่สุด ในส่วนนี้มีผู้รู้ผู้ทรงภูมิท่านอธิบายไว้แตกต่างกัน ในที่นี้ผู้เขียนได้

สรุปตามความเข้าใจของผู้เขียนได้ว่า ไพเราะมีความหมายว่า น่าฟัง นั่นเพราะพระธรรมเป็นความดีเป็นความจริงไม่ขึ้นกับกาลเวลาจึงคุณประโยชน์ที่แท้จริงไม่มีโทษแก่ผู้ที่ได้รับฟัง อย่างไรก็ตามยังมีท่านผู้รู้และอรรถกถาที่อธิบายไว้ในความหมายต่าง ๆ ซึ่งผู้เขียนไม่ได้นำมาลงไว้ ณ ที่นี้


*คู่แห่งบุรุษสี่คู่ นับเรียงตัวบุรุษได้แปดบุรุษ คือ อริยบุคคล บุคคลผู้เป็นอริยะ,

ท่านผู้บรรลุธรรมวิเศษมีโสดาปัตติมรรค เป็นต้น มี ๔ คือ

๑. พระโสดาบัน

๒. พระสกทาคามี (หรือสกิทาคามี)

๓. พระอนาคามี

๔. พระอรหันต์ ;

แบ่งพิสดารเป็น ๘ คือ

พระผู้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติมรรค และพระผู้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล คู่ ๑,

พระผู้ตั้งอยู่ในสกทาคามิมรรค และพระผู้ตั้งอยู่ในสกทาคามิผล คู่ ๑,

พระผู้ตั้งอยู่ในอนาคามิมรรค และพระผู้ตั้งอยู่ในอนาคามิผล คู่ ๑,

พระผู้ตั้งอยู่ในอรหัตตมรรค และพระผู้ตั้งอยู่ในอรหัตตผล คู่ ๑

อ้างอิงจาก พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)


ขันธ์ หมายถึง ตัว หมู่ กอง พวก หมวด ส่วนหนึ่ง ๆ ของรูปกับนามที่แยกออกเป็น ๕ กอง คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ซึ่งเรียกว่า ขันธ์ ๕ ในทางพุทธศาสนาจึงหมายถึงร่างกายของมนุษย์ที่แยกร่างกายออกเป็นส่วนๆ

อ้างอิงจาก พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๕


*เวทนา หมายถึง ความรู้สึกทุกข์สุข โดยความหมายในพุทธศาสนา หมายถึง การการเสวยอารมณ์ ซึ่งสามารถจำแนกได้หลายลักษณะ อาทิ

เวทนา ๒ แบ่งการเสวยอารมณ์ ออกเป็นสองประเภท คือ

๑. กายิกเวทนา หมายถึง เวทนาทางกาย การเสวยอารมณ์ทางกาย ความรู้สึกทางกาย

๒. เจตสิกเวทนา หมายถึง เวทนาทางใจ การเสวยอารมณ์ทางใจ ความรู้สึกทางใจ

เวทนา ๓ แบ่งการเสวยอารมณ์ ความรู้สึก รสของอารมณ์ ออกเป็นสามประเภท คือ

๑. สุขเวทนา หมายถึง ความรู้สึกสุข สบาย ทางกายก็ตาม ทางใจก็ตาม

๒. ทุกขเวทนา หมายถึง ความรู้สึกทุกข์ ไม่สบาย ทางกายก็ตาม ทางใจก็ตาม

๓. อทุกขมเวทนา หมายถึง ความรู้สึกเฉยๆ จะสุขก็ไม่ใช่ ทุกข์ก็ไม่ใช่ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า อุเบกขาเวทนา

เวทนา ๖ แบ่ง การเสวยอารมณ์ ออกเป็นหกประเภท คือ

๑. จักษุสัมผัสชา เวทนา หมายถึง เวทนาอันเกิดจากสัมผัสทางตา

๒. โสตสัมผัสชา เวทนา หมายถึง เวทนาอันเกิดจากสัมผัสทางหู

๓. ฆานสัมผัสชา เวทนา หมายถึง เวทนาอันเกิดจากสัมผัสทางจมูก

๔. ชิวหาสัมผัสชา เวทนา หมายถึง เวทนาอันเกิดจากสัมผัสทางลิ้น

๕. กายสัมผัสชา เวทนา หมายถึง เวทนาอันเกิดจากสัมผัสทางกาย

๖. มโนสัมผัสชา เวทนา หมายถึง เวทนาอันเกิดจากสัมผัสทางใจ

อ้างอิงจาก พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๕ และ วิกิพิเดีย บทความ เวทนา


*สัญญา ในที่นี้มีความหมายว่า ความจำ เป็นขันธ์ ๑ ในขันธ์ ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ซึ่งสัญญาคือการจำได้หมายรู้ ซึ่งอาจจำแนกได้หลายลักษณะ อาทิ

สัญญา ๖ หมายถึง ความทรงจำมี ๖ คือ

๑. จักขุสัญญา สิ่งที่ทรงจำทางตา (ภาพ)

๒. โสตสัญญา (เสียง) สิ่งที่ทรงจำทางหู

๓. ฆานะสัญญา สิ่งที่ทรงจำทางจมูก (กลิ่น)

๔ .ชิวหาสัญญา สิ่งที่ทรงจำทางลิ้น (รสชาติ)

๕. กายสัญญา สิ่งที่ทรงจำทางกาย (ประสาทสัมผัส)

๖. มนสัญญา สิ่งที่ทรงจำทางใจ (มโนสิ่งทรงจำทางใจมี ๓ คือ จำเวทนา จำสัญญา และจำสังขาร ๓ ประการ กายสังขาร (การบังคับร่างกาย) วจีสังขาร (ความคิดตรึก ตรอง) และจิตตะสังขาร (อารมณ์ที่จรเข้ามาในใจ)

อ้างอิงจาก พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๕ และวิกิพิเดีย บทความ สัญญา (ศาสนาพุทธ)


*สังขาร ในที่นี้คือ ความคิด หรือสภาพที่ปรุงแต่งจิต ซึ่งเป็น ๑ ในขันธ์ ๕ อาทิ

อภิสังขาร 3 ได้แก่

๑. ปุญญาภิสังขาร สภาพที่ปรุงแต่งกรรมฝ่ายดี

๒. อปุญญาภิสังขาร สภาพที่ปรุงแต่กรรมฝ่ายชั่ว

๓. อาเนญชาภิสังขาร สภาพที่ปรุงแต่งภพอันมั่นคง ไม่หวั่นไหว

อ้างอิงจาก พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๕ และวิกิพิเดีย บทความ สังขาร


*วิญญาณ ความรับรู้ เช่น จักษุวิญญาณ คือ ความรับรู้ทางตา ซึ่งจำแนกได้เป็นวิญญาณ ๖ (ความรู้แจ้งอารมณ์ — consciousness; sense-awareness)

๑. จักขุวิญญาณ (ความรู้อารมณ์ทางตา รู้รูปด้วยตา, เห็น — eye-consciousness)

๒. โสตวิญญาณ (ความรู้อารมณ์ทางหู คือ รู้เสียงด้วยหู, ได้ยิน — ear-consciousness)

๓. ฆานวิญญาณ (ความรู้อารมณ์ทางจมูก คือ รู้กลิ่นด้วยจมูก, ได้กลิ่น — nose-consciousness)

๔. ชิวหาวิญญาณ (ความรู้อารมณ์ทางลิ้น คือ รู้รสด้วยลิ้น, รู้รส — tongue-consciousness)

๕. กายวิญญาณ (ความรู้อารมณ์ทางกาย คือ รู้โผฏฐัพพะด้วยกาย, รู้สึกสัมผัส — body-consciousness)

๖. มโนวิญญาณ (ความรู้อารมณ์ทางใจ คือ รู้ธรรมารมณ์ด้วยใจ, รู้ความนึกคิด — mind-consciousness)

อ้างอิงจาก พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๕ และพจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)





บทสวดที่ใช้ในการทำวัตรเย็น

ก่อนการสวดมนต์ทำวัตรเย็นนั้นควรปฏิบัติกิจทั้งหลายให้เรียบร้อย เมื่อเสร็จกิจทั้งหลายแล้วควรชำระล้างร่างกายให้สะอาดทั้งเพื่อความสะอาด แสดงถึงความเคารพ และเมื่อทำวัตรเสร็จจะได้พร้อมต่อการปฏิบัติสมาธิ และเข้านอนตามลำดับ ตัดกังวลทั้งหลายด้วยการสงบนิ่งกำหนดจิตเล็กน้อยก่อนสวดมนต์ จุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย (ตามสถานที่ที่เหมาะสม) ชายให้นั่งคุกเข่า เรียกว่านั่งท่าพรหมหรือท่าเทพบุตร หญิงนั่งคุกเข่าราบ คือนั่งทับฝ่าเท้าทั้งสอง เรียกว่าท่าเทพธิดา กราบสามครั้งระลึกถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์แล้วจึงกล่าวบทสวดเพื่อทำวัตรเย็นดังนี้

คำบูชาพระโดยพิสดาร

โย โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ,

สวากขาโต เยนะ ภะคะวะตา ธัมโม,

สุปะฏิปันโน ยัสสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,

ตัมมะยัง ภะคะวันตัง สะธัมมัง สะสังฆัง,

อิเมหิ สักกาเรหิ ยะถาระหัง อาโรปิเตหิ อะภิปูชะยามะ,

สาธุ โน ภันเต ภะคะวา สุจิระปะรินิพพุโตปิ,

ปัจฉิมาชะนะตานุกัมปะมานะสา,

อิเม สักกาเรทุคคะตะปัณณาการะภูเต ปะฏิคคัณหาตุ,

อัมหากัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ


พระผู้มีพระภาคเจ้านั้นพระองค์ใด, เป็นพระอรหันต์, ดับเพลิงกิเลสเพลิงทุกข์สิ้นเชิง, ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง

พระธรรมเป็นธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใด, ตรัสไว้ดีแล้ว

พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใด, ปฏิบัติดีแล้ว

ข้าพเจ้าทั้งหลาย, ขอบูชาอย่างยิ่งซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น, พร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์, ด้วยเครื่องสักการะทั้งหลายเหล่านี้, อันยกขึ้นตามสมควรแล้วอย่างไร

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ, พระผู้มีพระภาคเจ้าแม้ปรินิพพานนานแล้ว, ทรงสร้างคุณอันสำเร็จประโยชน์ไว้แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย

ทรงมีพระหฤทัยอนุเคราะห์แก่พวกข้าพเจ้าอันเป็นชนรุ่นหลัง

ขอพระผู้มีพระภาคเจ้า จงรับเครื่องสักการะอันเป็นบรรณาการของคนยากทั้งหลายเหล่านี้

เพื่อประโยชน์และความสุขแก่ข้าพเจ้าทั้งหลายตลอดกาลนานเทอญฯ


คำบูชาพระรัตนตรัย

อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา

พระผู้มีพระภาคเจ้า, เป็นพระอรหันต์, ดับเพลิงกิเลส เพลิงทุกข์สิ้นเชิง, ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง

พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ (กราบ)

ข้าพเจ้าอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้า, ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน (กราบระลึกพระพุทธคุณ)

สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม

พระธรรมเป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้า, ตรัสไว้ดีแล้ว

ธัมมัง นะมัสสามิ (กราบ)

ข้าพเจ้านมัสการพระธรรม (กราบระลึกพระธรรมคุณ)

สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,

พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า, ปฏิบัติดีแล้ว

สังฆัง นะมามิ

ข้าพเจ้านอบน้อมพระสงฆ์ (กราบระลึกพระสังฆคุณ)

ปุพพะภาคะนะมะการะ

(ผู้สวดนำเริ่มว่า) (หันทะ มะยัง พุทธัสสะ ภะคะวะโต ปุพพะภาคะนะมะการัง กะโรมะ เส)

(ผู้สวดนำเริ่มว่า) (เชิญเถิด เราทั้งหลาย ทำความนอบน้อมอันเป็นส่วนเบื้องต้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าเถิด)

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ซึ่งเป็นผู้ไกลจากกิเลสตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ซึ่งเป็นผู้ไกลจากกิเลสตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ซึ่งเป็นผู้ไกลจากกิเลสตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง

พุทธานุสสะติ

(ผู้สวดนำเริ่มว่า) (หันทะ มะยัง พุทธานุสสะตินะยัง กะโรมะ เส)

ตัง โข ปะนะ ภะคะวันตัง เอวัง กัลยาโณ กิตติสัทโท อัพภุคคะโต, อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ, วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู, อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ สัตถา เทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ

ก็กิตติศัพท์อันงามของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น, ได้ฟุ้งไปแล้วอย่างนี้ว่า เพราะเหตุอย่างนี้ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นผู้ไกลจากกิเลส เป็นผู้ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เป็นผู้ไปแล้วด้วยดี เป็นผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง เป็นผู้สามารถฝึกบุรุษที่สมควรฝึกได้อย่างไม่มีใครยิ่งกว่าเป็นครูผู้สอนของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานด้วยธรรม เป็นผู้มีความจำเริญจำแนกธรรมสั่งสอนสัตว์ ดังนี้


พุทธาภิคีติ

(ผู้สวดนำเริ่มว่า) (หันทะ มะยัง พุทธาภิคีติง กะโรมะ เส.)

พุทธังวาระหันตะวะระตาทิคุณาภิยุตโต

พระพุทธเจ้าประกอบด้วยคุณ มีความประเสริฐแห่งอรหันตคุณ เป็นต้น

สุทธาภิญาณะกะรุณาหิ สะมาคะตัตโต

มีพระองค์อันประกอบด้วยพระญาณ และพระกรุณาอันบริสุทธิ์

โพเธสิ โย สุชะนะตัง กะมะลังวะ สูโร

พระองค์ใด ทรงกระทำชนที่ดีให้เบิกบาน ดุจอาทิตย์ทำบัวให้บาน

วันทามะหัง ตะมะระณัง สิระสา ชิเนนทัง

ข้าพเจ้าไหว้พระชินสีห์ ผู้ไม่มีกิเลส พระองค์นั้น ด้วยเศียรเกล้า

พุทโธ โย สัพพะปาณีนัง สะระณัง เขมะมุตตะมัง

พระพุทธเจ้าพระองค์ใด เป็นสรณะอันเกษมสูงสุด ของสัตว์ทั้งหลาย

ปาฐะมานุสสะติฏฐานัง วันทามิ ตัง สิเรนะหัง

ข้าพเจ้าไหว้พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงเป็นที่ตั้งแห่งความระลึก องค์ที่หนึ่ง ด้วยเศียรเกล้า

พุทธัสสาหัสฺมิ ทาโส(ทาสี)(*) วะ พุทโธ เม สามิกิสสะโร

ข้าพเจ้าเป็นทาสของพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าเป็นนาย มีอิสระเหนือข้าพเจ้า

พุทโธ ทุกขัสสะ มาตา จะ วิธาตา จะ หิตัสสะ เม

พระพุทธเจ้าเป็นเครื่องกำจัดทุกข์ และทรงไว้ซึ่งประโยชน์เกื้อกูลแก่ข้าพเจ้า

พุทธัสสาหัง นิยยาเทมิ สะรีรัญชีวิตัญจิทัง

ข้าพเจ้ามอบกายถวายชีวิตนี้ แด่พระพุทธเจ้า

วันทันโตหัง(ตีหัง) จะริสสามิ พุทธัสเสวะ สุโพธิตัง

ข้าพเจ้าผู้ไหว้อยู่จักประพฤติตาม ซึ่งความตรัสรู้ดีของพระพุทธเจ้า

นัตถิ เม สะระณัง อัญญัง พุทโธ เม สะระณัง วะรัง

ที่พึ่งอื่นของข้าพเจ้าไม่มี พระพุทธเจ้าเป็นที่อันประเสริฐของข้าพเจ้า

เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ วัฑเฒยยัง สัตถุสาสะเน

ด้วยการกล่าวคำสัจจ์นี้ ข้าพเจ้าพึงเจริญในพระศาสนาของพระศาสดา

พุทธัง เม วันทะมาเนนะ(มานายะ) ยัง ปุญญัง ปะสุตัง อิธะ

ข้าพเจ้าผู้ไหว้อยู่ซึ่งพระพุทธเจ้า ได้ขวนขวายบุญใดในบัดนี้

สัพเพปิ อันตะรายา เม มาเหสุง ตัสสะ เตชะสา

ขออันตรายทั้งปวงอย่าได้มีแก่ข้าพเจ้า ด้วยเดชแห่งบุญนั้น


(กราบแบบเบญจาตประดิษฐ์กล่าวบทสวดดังต่อไปนี้ในท่ากราบ)


กาเยนะ วาจายะ วะ เจตะสา วา, ด้วยกายก็ดี ด้วยวาจาก็ดี ด้วยใจก็ดี

พุทเธ กุกัมมัง ปะกะตัง มะยา ยัง, กรรมน่าติเตียนอันใดที่ข้าพเจ้ากระทำแล้วในพระพุทธเจ้า

พุทโธ ปะฏิคคัณหะตุ อัจจะยันตัง ขอพระพุทธเจ้าจงงดซึ่งโทษล่วงเกินอันนั้น

กาลันตะเร สังวะริตุง วะ พุทเธ เพื่อการสำรวมระวังในพระพุทธเจ้าในกาลต่อไป

(เมื่อกล่าวจบอยู่ในท่าอัญชลีเช่นเดีม)


ธัมมานุสสะติ

(ผู้สวดนำเริ่มว่า) (หันทะ มะยัง ธัมมานุสสะตินะยัง กะโรมะ เส.)

สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม, สันทิฏฐิโก, อะกาลิโก, เอหิปัสสิโก, โอปะนะยิโก, ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหี ติ

พระธรรม, เป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสไว้ดีแล้ว เป็นธรรมที่ผู้ศึกษาและปฏิบัติ พึงเห็นได้ด้วยตนเอง เป็นธรรมที่ปฏิบัติได้ และให้ผลได้ ไม่จำกัดกาล เป็นธรรมที่ควรกล่าวกับผู้อื่นว่า ท่านจงมาดูเถิด เป็นธรรมที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว เป็นธรรมที่ผู้รู้ก็รู้ได้เฉพาะตน ดังนี้

ธัมมาภิคีติ

(ผู้สวดนำเริ่มว่า) (หันทะ มะยัง ธัมมาภิคีติง กะโรมะ เส.)

สฺวากขาตะตาทิคุณะโยคะวะเสนะ เสยโย

พระธรรมเป็นธรรมที่ประเสริฐเพราะประกอบด้วยคุณ คือความที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ดีแล้ว เป็นต้น

โย มัคคะปากะปะริยัตติวิโมกขะเภโท

พระธรรมใดจำแนกเป็นมรรคผล ปริยัติ และนิพพาน

ธัมโม กุโลกะปะตะนา ตะทะธาริธารี

เป็นธรรมทรงไว้ซึ่งผู้ทรงธรรม จากการตกไปสู่โลกที่ชั่ว

วันทามะหัง ตะมะหะรัง วะระธัมมะเมตัง

ข้าพเจ้าไหว้พระธรรมอันประเสริฐนั้น อันเป็นเครื่องขจัดเสียซึ่งความมืด

ธัมโม โย สัพพะปาณีนัง สะระณัง เขมะมุตตะมัง

พระธรรมใดเป็นสรณะอันเกษมสูงสุดของสัตว์ทั้งหลาย

ทุติยานุสสะติฏฐานัง วันทามิ ตัง สิเรนะหัง

ข้าพเจ้าไหว้พระธรรมนั้น อันเป็นที่ตั้งแห่งความระลึก องค์ที่สอง ด้วยเศียรเกล้า

ธัมมัสสาหัสฺมิ ทาโส (ทาสี) วะ ธัมโม เม สามิกิสสะโร

ข้าพเจ้าเป็นทาสของพระธรรม พระธรรมเป็นใหญ่ มีอิสระเหนือข้าพเจ้า

ธัมโม ทุกขัสสะ ฆาตา จะ วิธาตา จะ หิตัสสะ เม

พระธรรมเป็นเครื่องกำจัดทุกข์ และทรงไว้ซึ่งประโยชน์เกื้อกูลแก่ข้าพเจ้า

ธัมมัสสาหัง นิยยาเทมิ สะรีรัญชีวิตัญจิทัง

ข้าพเจ้ามอบกายถวายชีวิตนี้แด่พระธรรม

วันทันโตหัง (ตีหัง) จะริสสามิ ธัมมัสเสวะ สุธัมมะตัง

ข้าพเจ้าผู้ไหว้อยู่จักประพฤติตาม ซึ่งความเป็นธรรมดีของพระธรรม

นัตถิ เม สะระณัง อัญญัง ธัมโม เม สะระณัง วะรัง

ที่พึ่งอื่นของข้าพเจ้าไม่มี พระธรรมเป็นที่พึ่งอันประเสริฐของข้าพเจ้า

เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ วัฑเฒยยัง สัตถุสาสะเน

ด้วยการกล่าวคำสัจจ์นี้ ข้าพเจ้าพึงเจริญในพระศาสนาของพระศาสดา

ธัมมัง เม วันทะมาเนนะ(มานายะ) ยัง ปุญญัง ปะสุตัง อิธะ

ข้าพเจ้าผู้ไหว้อยู่ซึ่งพระธรรม ได้ขวนขวายบุญใดในบัดนี้

สัพเพปิ อันตะรายา เม มาเหสุง ตัสสะ เตชะสา

ขออันตรายทั้งปวงอย่าได้มีแก่ข้าพเจ้า ด้วยเดชแห่งบุญนั้น


(กราบแบบเบญจาตประดิษฐ์กล่าวบทสวดดังต่อไปนี้ในท่ากราบ)


กาเยนะ วาจายะ วะ เจตะสา วา ด้วยกายก็ดี ด้วยวาจาก็ดี ด้วยใจก็ดี

ธัมเม กุกัมมัง ปะกะตัง มะยา ยัง กรรมน่าติเตียนอันใดที่ข้าพเจ้ากระทำล่วงเกินแล้วในพระธรรม

ธัมโม ปะฏิคคัณฺหะตุ อัจจะยันตัง ขอพระธรรมจงอดโทษล่วงเกินอันนั้น

กาลันตะเร สังวะริตุง วะ ธัมเม เพื่อสำรวมระวังในพระธรรมในกาลต่อไป

(เมื่อกล่าวจบอยู่ในท่าอัญชลีเช่นเดีม)

สังฆานุสสะติ

(ผู้สวดนำเริ่มว่า) (หันทะ มะยัง สังฆานุสสะตินะยัง กะโรมะ เส.)

สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ , อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ , ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ , สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ , ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา , เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ , อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเณยโย อัญชะลีกะระณีโย, อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ ฯ

สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น หมู่ใด, ปฏิบัติดีแล้ว สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใด, ปฏิบัติตรงแล้ว สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใด, ปฏิบัติเพื่อรู้ธรรมเป็นเครื่องออกจากทุกข์แล้ว สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใด, ปฏิบัติสมควรแล้ว ได้แก่บุคคลเหล่านี้คือ คู่แห่งบุรุษ ๔ คู่, นับเรียงตัวบุรุษ ได้ ๘ บุรุษ นั่นแหละ สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นสงฆ์ควรแก่สักการะที่เขานำมาบูชา เป็นสงฆ์ควรแก่สักการะที่เขาจัดไว้ต้อนรับ เป็นสงฆ์ควรรับทักษิณาทาน เป็นสงฆ์ที่บุคคลทั่วไปควรทำอัญชลี เป็นเนื้อนาบุญของโลก, ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า

สังฆาภิคีติ

(ผู้สวดนำเริ่มว่า) (หันทะ มะยัง สังฆาภิคีติง กะโรมะ เส.)

สัทธัมมะโช สุปะฏิปัตติคุณาทิยุตโต

พระสงฆ์ที่เกิดโดยพระสัทธรรม ประกอบด้วยคุณ มีความปฏิบัติดีเป็นต้น

โยฏฐัพพิโธ อะริยะปุคคะละสังฆะเสฏโฐ

เป็นหมู่แห่งพระอริยบุคคลผู้ประเสริฐแปดจำพวก

สีลาทิธัมมะปะวะราสะยะกายะจิตโต

มีกายและจิตอันอาศัยธรรม มีศีลเป็นต้น อันบวร

วันทามะหัง ตะมะริยานะคะณัง สุสุทธัง

ข้าพเจ้าไหว้หมู่แห่งพระอริยเจ้าเหล่านั้น ผู้บริสุทธิ์ด้วยดี

สังโฆ โย สัพพะปาณีนัง สะระณัง เขมะมุตตะมัง

พระสงฆ์ หมู่ใด เป็นสรณะอันเกษมสูงสุดของสัตว์ทั้งหลาย

ตะติยานุสสะติฏฐานัง วันทามิ ตัง สิเรนะหัง

ข้าพเจ้าไหว้พระสงฆ์หมู่นั้น ผู้เป็นที่ตั้งแห่งความระลึก องค์ที่สาม ด้วยเศียรเกล้า

สังฆัสสาหัสฺมิ ทาโส (ทาสี) วะ สังโฆ เม สามิกิสสะโร

ข้าพเจ้าเป็นทาสของพระสงฆ์ พระสงฆ์เป็นใหญ่ มีอิสระเหนือข้าพเจ้า

สังโฆ ทุกขัสสะ ฆาตา จะ วิธาตา จะ หิตัสสะ เม

พระสงฆ์เป็นเครื่องกำจัดทุกข์ และทรงไว้ซึ่งประโยชน์เกื้อกูลแก่ข้าพเจ้า

สังฆัสสาหัง นิยยาเทมิ สะรีรัญชีวิตัญจิทัง

ข้าพเจ้ามอบกายถวายชีวิตนี้แด่พระสงฆ์

วันทันโตหัง (ตีหัง) จะริสสามิ สังฆัสโสปะฏิปันนะตัง

ข้าพเจ้าผู้ไหว้อยู่จักประพฤติตาม ซึ่งความเป็นผู้ปฏิบัติดีของพระสงฆ์

นัตถิ เม สะระณัง อัญญัง สังโฆ เม สะระณัง วะรัง

ที่พึ่งอื่นของข้าพเจ้าไม่มี พระสงฆ์เป็นที่พึ่งอันประเสริฐของข้าพเจ้า

เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ วัฑเฒยยัง สัตถุสาสะเน

ด้วยการกล่าวคำสัจจ์นี้ ข้าพเจ้าพึงเจริญในพระศาสนาของพระศาสดา

สังฆัง เม วันทะมาเนนะ(มานายะ) ยัง ปุญญัง ปะสุตัง อิธะ

ข้าพเจ้าผู้ไหว้อยู่ซึ่งพระสงฆ์ ได้ขวนขวายบุญใดในบัดนี้

สัพเพปิ อันตะรายา เม มาเหสุง ตัสสะ เตชะสา

ขออันตรายทั้งปวงอย่าได้มีแก่ข้าพเจ้า ด้วยเดชแห่งบุญนั้น


(กราบแบบเบญจาตประดิษฐ์กล่าวบทสวดดังต่อไปนี้ในท่ากราบ)


กาเยนะ วาจายะ วะ เจตะสา วา ด้วยกายก็ดี ด้วยวาจาก็ดี ด้วยใจก็ดี

สังเฆ กุกัมมัง ปะกะตัง มะยา ยัง กรรมน่าติเตียนอันใดที่ข้าพเจ้ากระทำล่วงเกินแล้วในพระสงฆ์

สังโฆ ปะฏิคคัณฺหะตุ อัจจะยันตัง ขอพระสงฆ์จงอดโทษล่วงเกินอันนั้น

กาลันตะเร สังวะริตุง วะ สังเฆ เพื่อสำรวมระวังในพระสงฆ์ในกาลต่อไป

(เมื่อกล่าวจบอยู่ในท่าอัญชลีเช่นเดีม)

อะภิณหะปัจจะเวกขะณะปาฐะ


(ผู้สวดนำเริ่มว่า) (หันทะ มะยัง อะภิณหะปัจจะเวกขะณะปาฐัง ภะณามะ เส.)


ชะราธัมโมมหิ ชะรัง อะนะตีโต

เรามีความแก่เป็นธรรมดา ยังไม่ล่วงพ้นความแก่ไปได้

พยาธิธัมโมมหิ พยาธิง อะนะตีโต

เรามีความเจ็บเป็นธรรมดา ยังไม่ล่วงพ้นความเจ็บไปได้

มะระณะธัมโมมหิ มะระณัง อะนะตีโต

เรามีความตายเป็นธรรมดา ยังไม่ล่วงพ้นความตายไปได้

สัพเพหิ เม ปิเยหิ มะนาเปหิ นานาภาโว วินาภาโว

เราจะต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจ ด้วยกันหมดทั้งสิ้น

กัมมัสสะโกมหิ กัมมะทายาโท

เรามีกรรมเป็นของตน เป็นทายาทแห่งกรรม

กัมมะโยนิ กัมมะพันธุ

มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์

กัมมะปะฏิสะระโณ

มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย

ยัง กัมมัง กะริสสามิ

เราทำกรรมใดไว้

กัลยาณัง วา ปาปะกัง วา

ดีหรือชั่วก็ตาม

ตัสสะ ทายาโทภะวิสสามิ

เราจะต้องเป็นผู้รับผลของกรรมนั้น


(จบการทำวัตรเย็น)

หลังจากจบบท อะภิณหะปัจจะเวกขะณะปาฐะ ในการทำวัตรเย็นจะมีการสวดพระปริตรเจ็ดตำนาน

หรือสิบสองตำนานตามโดยเริ่มจากบทชุมนุมเทวดาดังนี้

(ในที่นี้ผู้เขียนไม่ได้จัดทำบทขัดและบทแปลพระปริตรเนื่องจากมีเนื้อความยาว ซึ่งจะทำให้มีเนื้อหาที่ยาวเกรงว่าท่านผู้สนใจจะไม่สะดวกในการสวด)


ชุมนุมเทวดา

(นิยมสวด ทำนองสรรพัชญ)

สวดเจ็ดตำนาน

คือ มงคลสูตร / รัตนสูตร / กรณียเมตตสูตร/ ขันธปริตร/ ธชัคคสูตร/ อาฏานาฏิยปริตร/ อังคุลิมาลปริตร

ใช้บทชุมนุมเทวดา ดังนี้

สะรัชชัง สะเสนัง สะพันธุง นะรินทัง ปะริตตานุภาโว

สะทา รักขะตูติ ผะริตวานะ เมตตัง สะเมตตา ภะทันตา

อะวิกขิตตะจิตตา ปะริตตัง ภะณันตุ ฯ

สัคเค กาเม จะ รูเป คิริสิขะระตะเฏ จันตะลิกเข วิมาเน ทีเป รัฏเ จะ คาเม ตะรุวะนะคะหะเน เคหะวัตถุมหิ เขตเต

ภุมมา จายันตุ เทวา ชะละถะละวิสะเม ยักขะคันธัพพะนาคา ติฏนตา สันติเก ยัง มุนิวะระวะจะนัง สาธะโว เม สุณันตุ ฯ

ธัมมัสสะวะนะกาโล อะยัมภะทันตา

ธัมมัสสะวะนะกาโล อะยัมภะทันตา

ธัมมัสสะวะนะกาโล อะยัมภะทันตา ฯ


ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ผู้มีเมตตา จงแผ่ไมตรีจิต ด้วยคิดว่า ขออนุภาพพระปริตร จงรักษาพระราชาผู้เป็นเจ้าแห่งนรชน

พร้อมด้วยราชสมบัติ พร้อมด้วยพระราชวงค์ พร้อมด้วยเสนาอามาตย์ แล้วอย่ามีจิตฟุ้งซ่าน ตั้งใจสวดพระปริตร ฯ

ข้าพเจ้าขออัญเชิญเหล่าเทวดา ซึ่งสถิตอยู่ในสวรรค์ชั้นกามภพก็ดี รูปภพก็ดี และภุมเทวาซึ่งสถิตอยู่ในวิมาน หรือยอดเขา แลหุบผาก็ดี ในอากาศก็ดี ในเกาะก็ดี ในแว่นแคว้นก็ดี ในบ้านก็ดี ในต้นพฤกษาแลป่าชัฎก็ดี ในเรือนก็ดี ในที่ไร่นาก็ดี ยักษ์ คนธรรพ์ แลนาค ซึ่งสถิตอยู่ในน้ำแล บนบก แลในที่อันไม่เรียบก็ดี ซึ่งอยู่ในที่ใกล้เคียง จงมาประชุมพร้อมกันในสถานที่นี้ คำใดเป็นคำของพระมุนีผู้ประเสริฐ ท่านสัตบุรุษทั้งหลาย จงสดับคำนั้นแห่งข้าพเจ้า,

ดูก่อนท่านผู้เจริญทั้งหลาย กาลนี้เป็นกาลฟังธรรม

ดูก่อนท่านผู้เจริญทั้งหลาย กาลนี้เป็นกาลฟังธรรม

ดูก่อนท่านผู้เจริญทั้งหลาย กาลนี้เป็นกาลฟังธรรม


สวดสิบสองตำนานใช้บทชุมนุมเทวดา ดังนี้

สะมันตา จักกะวาเฬสุ อัต์ราคัจฉัจตุ เทวะตา สัทธัมมัง มุนิราชัสสะ สุณันตุ สัคคะโมกขะทัง

สัคเค กาเม จะ รูเป คิริสิขะระตะเฏ จันตะลิกเข วิมาเน ทีเป รัฏเ จะ คาเม ตะรุวะนะคะหะเน เคหะวัตถุมหิ เขตเต

ภุมมา จายันตุ เทวา ชะละถะละวิสะเม ยักขะคันธัพพะนาคา ติฏนตา สันติเก ยัง มุนิวะระวะจะนัง สาธะโว เม สุณันตุ ฯ

ธัมมัสสะวะนะกาโล อะยัมภะทันตา

ธัมมัสสะวะนะกาโล อะยัมภะทันตา

ธัมมัสสะวะนะกาโล อะยัมภะทันตา ฯ


เทพยดาในรอบจักรวาลทั้งหลาย จงมาประชุมพร้อมกันในสถานที่นี้ จงฟังซึ่งพระสัทธรรม อันให้สวรรค์แลนิพพานเป็นที่สุด ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้เป็นเจ้าแห่งมุนี ข้าพเจ้าขออัญเชิญเหล่าเทวดา ซึ่งสถิตอยู่ในสวรรค์ชั้นกามภพก็ดี รูปภพก็ดี และภุมเทวาซึ่งสถิตอยู่ในวิมาน หรือยอดเขา แลหุบผาก็ดี ในอากาศก็ดี ในเกาะก็ดี ในแว่นแคว้นก็ดี ในบ้านก็ดี ในต้นพฤกษาแลป่าชัฎก็ดี ในเรือนก็ดี ในที่ไร่นาก็ดี ยักษ์ คนธรรพ์ แลนาค ซึ่งสถิตอยู่ในน้ำแล บนบก แลในที่อันไม่เรียบก็ดี ซึ่งอยู่ในที่ใกล้เคียง จงมาประชุมพร้อมกันในสถานที่นี้ คำใดเป็นคำของพระมุนีผู้ประเสริฐ ท่านสัตบุรุษทั้งหลาย จงสดับคำนั้นแห่งข้าพเจ้า,

ดูก่อนท่านผู้เจริญทั้งหลาย กาลนี้เป็นกาลฟังธรรม

ดูก่อนท่านผู้เจริญทั้งหลาย กาลนี้เป็นกาลฟังธรรม

ดูก่อนท่านผู้เจริญทั้งหลาย กาลนี้เป็นกาลฟังธรรม


ปุพพภาคนมการ

(ไม่มีการกล่าวนำ)

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ


ไตรสรณคมน์

พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ

ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ

สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ

ข้าพเจ้าขอถือเอาพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งที่ระลึก

ข้าพเจ้าขอถือเอาพระธรรมเป็นที่พึ่งที่ระลึก

ข้าพเจ้าขอถือเอาพระสงฆ์เป็นที่พึ่งที่ระลึก

ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ

ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ

ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ

แม้ครั้งที่สอง ข้าพเจ้าขอถือเอาพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งที่ระลึก

แม้ครั้งที่สอง ข้าพเจ้าขอถือเอาพระธรรมเป็นที่พึ่งที่ระลึก

แม้ครั้งที่สอง ข้าพเจ้าขอถือเอาพระสงฆ์เป็นที่พึ่งที่ระลึก

ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ

ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ

ตะติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ

แม้ครั้งที่สาม ข้าพเจ้าขอถือเอาพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งที่ระลึก

แม้ครั้งที่สาม ข้าพเจ้าขอถือเอาพระธรรมเป็นที่พึ่งที่ระลึก

แม้ครั้งที่สาม ข้าพเจ้าขอถือเอาพระสงฆ์เป็นที่พึ่งที่ระลึก


สัมพุทเธ

สัมพุทเธ อัฏะวีสัจะ ท๎วาทะสัจะ สะหัสสะเก ปัจะสะตะสะหัสสานิ นะมามิ สิระสา อะหัง

เตสัง ธัมมัจะ สังฆัจะ อาทะเรนะ นะมามิหัง นะมะการานุภาเวนะ หันต๎วา สัพเพ อุปัททะเว

อะเนกา อันตะรายาปิ วินัสสันตุ อะเสสะโต ฯ สัมพุทเธ ปัจะปัา สัจะ จะตุวีสะติสะหัสสะเก

ทะสะสะตะสะหัสสานิ นะมามิ สิระสา อะหัง เตสัง ธัมมัจะ สังฆัจะ อาทะเรนะ นะมามิหัง

นะมะการานุภาเวนะ หันต๎วา สัพเพ อุปัททะเว อะเนกา อันตะรายาปิ วินัสสันตุ อะเสสะโต ฯ

สัมพุทเธ นะวุตตะระสะเต อัฏะจัตตาฬีสะสะหัสสะเก วีสะติสะตะสะหัสสานิ นะมามิ สิระสา อะหัง

เตสัง ธัมมัจะ สังฆัจะ อาทะเรนะ นะมามิหัง นะมะการานุภาเวนะ หันต๎วา สัพเพ อุปัททะเว

อะเนกา อันตะรายาปิ วินัสสันตุ อะเสสะโต ฯ


นโมการอัฏฐกะ

นะโม อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ มะเหสิโน

นะโม อุตตะมะธัมมัสสะ สวากขาตัสเสวะ เตนิธะ

นะโม มะหาสังฆัสสาปิ ระตะนัตตะยัสสะ สาธุกัง

นะโม โอมาตยารัทธัสสะ ยาวะ พรัหมะเวสะนา

นะโม โอมะกาตี ตัสสะ ตัสสะวัตถุตตะยัสสะปิ

นะโม การัปปะภาเวนะ วิคัจฉันตุ อุปัททะวา

นะโม การานุภาเวนะ สุวัตถิ โหตุ สัพพะทา

นะโม การัสสะ เตเชนะ วิธิมหิ โหมิ เตชะวา ฯ


มังคะละสุตตัง (มงคลสูตร หรือมงคลปริตร)


เอวัมเม สุตัง ฯ เอกัง สะมะยัง ภะคะวา สาวัตถิยัง วิหะระติ เชตะวะเน อะนาถะปิณฑิกัสสะ อาราเม ฯ อะถะโข อัะตะรา เทวะตา อะภิกกันตายะ รัตติยา อะภิกกันตะวัณณา เกวะละกัปปัง เชตะวะนัง โอภาเสตวา เยนะ ภะคะวา เตนุปะสังกะมิตวา ภะคะวันตัง อะภิวาเทตวา เอกะมันตัง อัฏาสิ ฯ เอกะมันตัง ตา โข สา เทวะตา ภะคะวันตัง คาถายะ อัชฌะภาสิ

พะหู เทวา มะนุสสา จะ มังคะลานิ อะจินตะยุง

อากังขะมานา โสตถานัง พรูหิ มังคะละมุตตะมัง ฯ

อะเสวะนา จะ พาลานัง ปัณฑิตานัจะ เสวะนา

ปูชา จะ ปูชะนียานัง เอตัมมังคะละมุตตะมัง ฯ

ปะฏิรูปะเทสะวาโส จะ ปุพเพ จะ กะตะปุะตา

อัตตะสัมมาปะณิธิ จะ เอตัมมังคะละมุตตะมัง ฯ

พาหุสัจจัจะ สิปปัจะ วินะโย จะ สุสิกขิโต

สุภาสิตา จะ ยา วาจา เอตัมมังคะละมุตตะมัง

มาตาปิตุอุปัฏานัง ปุตตะ ทารัสสะ สังคะโห

อะนากุลา จะ กัมมันตา เอตัมมังคะละมุตตะมัง ฯ

ทานัญจะ ธัมมะจะริยา จะ ญาตะกานัจะ สังคะโห

อะนะวัชชานิ กัมมานิ เอตัมมังคะละมุตตะมัง ฯ

อาระตี วิระติ ปาปา มัชชะปานา จะ สังยะโม

อัปปะมาโท จะ ธัมเมสุ เอตัมมังคะละมุตตะมัง ฯ

คาระโว จะ นิวาโต จะ สันตุฏ จะ กะตัญุตา

กาเลนะ ธัมมัสสะวะนัง เอตัมมังคะละมุตตะมัง ฯ

ขันตี จะ โสวะจัสสะตา สะมะณานัจะ ทัสสะนัง

กาเลนนะ ธัมมะสากัจฉา เอตัมมังคะละมุตตะมัง ฯ

ตะโป จะ พรัหมะจะริยัจะ อะริยะสัจจานะ ทัสสะนัง

นิพานะสัจฉิกิริยา จะ เอตัมมังคะละมุตตะมัง ฯ

ผุฏสสะ โลกะธัมเมหิ จิตตัง ยัสสะ นะ กัมปะติ

อะโสกัง วิระชัง เขมัง เอตัมมังคะละมุตตะมัง ฯ

เอตาทิสานิ กัตะวานะ สัพพัตถะมะปะราชิตา

สัพพัตถะ โสตถิง คัจฉันติ ตันเตสัง มังคะละมุตตะมันติ ฯ

ระตะนะสุตตัง (รัตนปริตร)


ยานีธะ ภูตานิ สะมาคะตานิ ภุมมานิ วา ยานิวะอันตะลิกเข

สัพเพ วะ ภูตา สุมะนา ภะวันตุ อะโถปิ สักกัจจะ สุณันตุ ภาสิตัง

ตัสะมา หิ ภูตา นิสาเมถะ สัพเพ เมตตัง กะโรถะ มานุสิยา ปะชายะ

ทิวา จะ รัตโต จะ หะรันติ เย พะลิง ตัสะมา หิ เน รักขะถะ อัปปะมัตตา ฯ

ยังกิญจิ วิตตัง อิธะ วา หุรัง วา สัคเคสุ วา ยัง ระตะนัง ปะณีตัง

นะ โน สะมัง อัตถิ ตะถาคะเตนะ อิทัมปิ พุทเธ ระตะนัง ปะณีตัง

เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ

ขะยัง วิราคัง อะมะตัง ปะณีตัง ยะทัชฌะคา สักยะมุนี สะมาหิโต

นะ เตนะ ธัมเมนะ สะมัตถิ กิญจิ อิทัมปิ ธัมเม ระตะนัง ปะณีตัง

เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ

ยัมพุทธะเสฏโฐ ปะริวัณณะยี สุจิง สะมาธิมานันตะริกัญญะมาหุ

สะมาธินา เตนะ สะโมนะ วิชชะติ อิทัมปิ ธัมเม ระตะนังปะณีตัง

เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิโหตุ ฯ

เย ปุคคะลา อัฏฐะ สะตัง ปะสัฏฐา จัตตาริ เอตานิ ยุคานิ โหนติ

เต ทักขิเณยยา สุคะตัสสะ สาวะกา เอเตสุ ทินนานิ มะหัปผะลานิ

อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ

เย สุปปะยุตตา มะนะสา ทัฬเหนะ นิกกามิโน โคตะมะสาสะนัมหิ

เต ปัตติปัตตา อะมะตัง วิคัยหะ ลัทธา มุธา นิพพุติง ภุญชะมานา

อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ*(ถ้าสวดแบบย่อให้ข้ามไปสวดที่... ขีณัง ปุราณัง )

ยะถินทะขีโล ปะฐะวิง สิโต สิยา จะตุพภิ วาเตภิ อะสัมปะกัมปิโย

ตะถูปะมัง สัปปุริสัง วะทามิ โย อะริยะสัจจานิ อะเวจจะ ปัสสะติ

อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ

เย อะริยะสัจจานิ วิภาวะยันติ คัมภีระปัญเญนะ สุเทสิตานิ

กิญจาปิ เต โหนติ ภุสัปปะมัตตา นะ เต ภะวัง อัฏฐะมะมาทิยันติ

อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ

สะหาวัสสะ ทัสสะนะสัมปะทายะ ตะยัสสุ ธัมมา ชะหิตา ภะวันติ

สักกายะทิฏฐิ วิจิกิจฉิตัญจะ สีลัพพะตัง วาปิ ยะทัตถิ กิญจิ

จะตูหะปาเยหิ จะ วิปปะมุตโต ฉะ จาภิฐานานิ อะภัพโพ กาตุง

อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ

กิญจาปิ โส กัมมัง กะโรติ ปาปะกัง กาเยนะ วาจายุทะ เจตะสา วา

อะภัพโพ โส ตัสสะ ปะฏิจฉะทายะ อะภัพพะตา ทิฏฐะปะทัสสะ วุตตา

อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ

วะนัปปะคุมเพ ยะถา ผุสสิตัคเค คิมหานะมาเส ปะฐะมัสะมิง คิมเห

ตะถูปะมัง ธัมมะวะรัง อะเทสะยิ นิพพานะคามิง ปะระมัง หิตายะ

อิทัมปิ พุทเธ ระตะนัง ปะณีตัง เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ

วะโร วะรัญญู วะระโท วะราหะโร อะนุตตะโร ธัมมะวะรัง อะเทสะยิ

อิทัมปิ พุทเธ ระตะนัง ปะณีตัง เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ

*ขีณัง ปุราณัง นะวัง นัตถิ สัมภะวัง วิรัตตะจิตตายะติเก ภะวัสะมิง๒

เต ขีณะพีชา อะวิรุฬหิฉันทา นิพพันติ ธีรา ยะถายัมปะทีโป

อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ

ยานีธะ ภูตานิ สะมาคะตานิ ภุมมานิ วา ยานิวะ อันตะลิกเข

ตะถาคะตัง เทวะมะนุสสะปูชิตัง พุทธัง นะมัสสามะ สุวัตถิ โหตุ ฯ

ยานีธะ ภูตานิ สะมาคะตานิ ภุมมานิ วา ยานิวะ อันตะลิกเข

ตะถาคะตัง เทวะมะนุสสะปูชิตัง ธัมมัง นะมัสสามะ สุวัตถิ โหตุ ฯ

ยานีธะ ภูตานิ สะมาคะตานิ ภุมมานิ วา ยานิวะ อันตะลิกเข

ตะถาคะตัง เทวะมะนุสสะปูชิตัง สังฆัง นะมัสสามะ สุวัตถิ โหตุ ฯ


กะระณียะเมตตะสุตตัง (กรณียเมตตสูตร)


กะระณียะมัตถะกุสะเลนะ ยันตัง สันตัง ปะทัง อะภิสะเมจจะ

สักโก อุชู จะ สุหุชู จะ สุวะโจ จัสสะ มุทุ อะนะติมานิ

สันตุสสะโก จะ สุภะโร จะ อัปปะกิจโจ จะ สัลละหุกะวุตติ

สันตินทริโย จะ นิปะโก จะ อัปปะคัพโภ กุเลสุ อะนะนุคิทโธ

นะ จะ ขุททัง สะมาจะเร กิญจิ เยนะ วิญญู ปะเร อุปะวะเทยยุง

สุขิโน วา เขมิโน โหนตุ สัพเพ สัตตา ภะวันตุ สุขิตัตตา

เย เกจิ ปาณะภูตัตถิ ตะสา วา ถาวะรา วา อะนะวะเสสา

ทีฆา วา เย มะหันตา วา มัชฌิมา รัสสะกา อะณุกะถูลา

ทิฏฐา วา เย จะ อะทิฏฐา เย จะ ทูเร วะสันติ อะวิทูเร

ภูตา วา สัมภะเวสี วา สัพเพ สัตตา ภะวันตุ สุขิตัตตา

นะ ปะโร ปะรัง นิกุพเพถะ นาติมัญเญถะ กัตถะจิ นัง กิญจิ

พยาโรสะนา ปะฏีฆะสัญญา นาญญะมัญญัสสะ ทุกขะมิจเฉยยะ

มาตา ยะถา นิยัง ปุตตัง อายุสา เอกะปุตตะมะนุรักเข

เอวัมปิ สัพพะภูเตสุ มานะสัมภาวะเย อะปะริมาณัง

เมตตัญจะ สัพพะโลกัสมิง มานะสัมภาวะเย อะปะริมาณัง

อุทธัง อะโธ จะ ติริยัญจะ อะสัมพาธัง อะเวรัง อะสะปัตตัง

ติฏฐัญจะรัง นิสินโน วา สะยาโน วา ยาวะตัสสะ วิคะตะมิทโธ

เอตัง สะติง อะธิฏเฐยยะ พรัหมะเมตัง วิหารัง อิธะมาหุ

ทิฏฐิญจะ อะนุปะคัมมะ สีละวา ทัสสะเนนะ สัมปันโน

กาเมสุ วิเนยยะ เคธัง นะ หิ ชาตุ คัพภะเสยยัง ปุนะเรตีติฯ


ขันธะปะริตตะคาถา (ขันะะปริตร)


วิรูปักเขหิ เม เมตตัง เมตตัง เอราปะเถหิ เม

ฉัพยาปุตเตหิ เม เมตตัง เมตตัง กัณหาโคตะมะเกหิ จะ

อะปาทะเกหิ เม เมตตัง เมตตัง ทิปาทะเกหิ เม

จะตุปปะเทหิ เม เมตตัง เมตตัง พะหุปปะเทหิ เม

มา มัง อะปาทะโก หิงสิ มา มัง หิงสิ ทิปาทะโก

มา มัง จะตุปปะโท หิงสิ มา มัง หิงสิ พะหุปปะโท

สัพเพ สัตตา สัพเพ ปาณา สัพเพ ภูตา จะ เกวะลา

สัพเพ ภัทรานิ ปัสสันตุ มา กิญจิ ปาปะมาคะมา

อัปปะมาโณ พุทโธ อัปปะมาโณ ธัมโม อัปปะมาโณ สังโฆ ปะมาณะวันตานิ สิริงสะปานิ อะหิ วิจฉิกา สะตะปะที อุณณานาภี สะระพู มูสิกา กะตา เม รักขา กะตา เม ปะริตตา ปะฏิกกะมันตุ ภูตานิ โสหัง นะโม ภะคะวะโต นะโม สัตตันนัง สัมมาสัมพุทธานัง ฯ


ฉัททันตปริตร


วะธิสสะเมนันติ ปะรามะสันโต กาสาวะมัททักขิ ธะชัง อิสีนัง

ทุกเขนะ ผุฏฐัสสุทะปาทิ สัญญา อะระหัทธะโช สัพภิ อะวัชฌะรูโป

สัลเลนะ วิทโธ พยะถิโตปิ สันโต กาสาวะวัตถัมหิ มะนัง นะ ทุสสะยิ

สะเจ อิมัง นาคะวะเรนะ สัจจัง มา มัง วะเน พาละมิคา อะคัญฉุนติฯ


โมระปริตตัง (โมรปริตร)


อุเทตะยัง จักขุมา เอกะราชา หะริสสะวัณโณ ปะถะวิปปะภาโส

ตัง ตัง นะมัสสามิ หะริสสะวัณณัง ปะถะวิปปะภาสัง ตะยัชชะ คุตตา วิหะเรมุ ทิวะสัง

เย พราหมะณา เวทะคู สัพพะธัมเม เต เม นะโม เต จะ มัง ปาละยันตุ

นะมัตถุ พุทธานัง นะมัตถุ โพธิยา นะโม วิมุตตานัง นะโม วิมุตติยา

อิมัง โส ปะริตตัง กัตวา โมโร จะระติ เอสะนา ฯ

อะเปตะยัง จักขุมา เอกะราชา หะริสสะวัณโณ ปะถะวิปปะภาโส

ตัง ตัง นะมัสสามิ หะริสสะวัณณัง ปะถะวิปปะภาสัง ตะยัชชะ คุตตา วิหะเรมุ รัตติง

เย พราหมะณา เวทะคู สัพพะธัมเม เต เม นะโม เต จะ มัง ปาละยันตุ

นะมัตถุ พุทธานัง นะมัตถุ โพธิยา นะโม วิมุตตานัง นะโม วิมุตติยา

อิมัง โส ปะริตตัง กัตวา โมโร วาสะมะกัปปะยิ ฯ


วัฏฏะกะปริตตัง (วัฏฏกปริตร)


อัตถิ โลเก สีละคุโณ สัจจัง โสเจยยะนุททะยา

เตนะ สัจเจนะ กาหามิ สัจจะกิริยะมะนุตตะรัง

อาวัชชิตวา ธัมมะพะลัง สะริตวา ปุพพะเก ชิเน

สัจจะพะละมะวัส สายะ สัจจะกิริยะมะกาสะหัง

สันติ ปักขา อะปัตตะนา สันติปาทา อะวัญจะนา

มาตา ปิตา จะ นิกขันตา ชาตะ เวทะ ปะฏิกกะมะ

สะหะ สัจเจ กะเต มัยหัง มะหาปัช ชะลิโต สิขี

วัชเชสิ โสฬะสะกะรีสานิ อุทะกัง ปัตวา ยะถา สิขี

สัจเจนะ เม สะโม นัตถิ เอสา เม สัจจะปาระมีติฯ


ธะชัคคะสุตตัง (ธชัคคปริตร)


เอวัม เม สุตังฯ เอกัง สะมะยัง ภะคะวา สาวัตถิยัง วิหะระติ เชตะวะเน อะนาถะปิณฑิกัสสะ อาราเม ฯ ตัตระ โข ภะคะวา ภิกขู อามันเตสิ ภิกขะโวติ ฯ ภะทันเตติ เต ภิกขู ภะคะวะโต ปัจจัสโสสุง ฯ ภะคะวา เอตะทะโวจะฯ


ภูตะปุพพัง ภิกขะเว เทวาสุระสังคาโม สะมุปัพยุฬ โห อะโหสิ ฯ อะถะโข ภิกขะเว สักโก เทวานะมินโท เทเว ตาวะติงเส อามันเตสิ สะเจ มาริสา เทวานัง สังคา มะคะตานัง อุปปัชเชยยะ ภะยัง วา ฉัมภิตัตตัง วา โลมะหังโส วา มะเมวะ ตัสมิง สะมะเย ธะชัคคัง อุลโลเกยยาถะ มะมัง หิ โว ธะชัคคัง อุลโลกะยะตัง ยัมภะวิสสะติ ภะยัง วา ฉัมภิตัตตัง วา โลมะหังโส วา โส ปิหิยยิสสะติ โน เจ เม ธะชัคคัง อุลโลเกยยาถะ


อะถะ ปะชาปะติสสะ เทวะราชัสสะ ธะชัคคัง อุลโลเกย ยาถะ ปะชาปะติสสะ หิโว เทวะราชัสสะ ธะชัคคัง อุลโลกะยะตัง ยัมภะวิสสะติ ภะยัง วา ฉัมภิตัตตัง วา โลมะหังโส วา โส ปะหิยยิสสะติ โน เจ ปะชาปะติสสะ เทวะราชัสสะ ธะชัคคัง อุลโลเกยยาถะ


อะถะ วะรุณัสสะ หิโว เทวะราชัสสะ ธะชัคคัง อุลโลกะยะตัง ยัมภะวิสสะติ ภะยัง วา ฉัมภิตัตตัง วา โลมะหังโส วา โส ปะหิยยิส สะติ โน เจ วะรุณัสสะ เทวะราชัสสะ ธะชัคคัง อุลโลเกยยาถะ


อะถะ อีสานัสสะ หิโว เทวะ ราชัสสะ ธะชัคคัง อุลโลกะยะตัง ยัมภะวิสสะติ ภะยัง วา ฉัมภิตัตตัง วา โลมะหังโส วา โส ปะหิยยิสสะตีติ ฯ


ตัง โข ปะนะ ภิกขะเว สักกัสสะ วา เทวานะมินทัสสะ ธะชัคคัง อุลโลกะยะตัง ปะชาปะติสสะ วา เทวะราชัสสะ ธะชัคคัง อุลโลกะยะตัง วะรุณัสสะ วา เทวะราชัสสะ ธะชัคคัง อุลโลกะยะตัง อีสานัสสะ วา เทวะราชัสสะ ธะชัคคัง อุลโลกะยะตัง ยัมภะวิสสะติ ภะยัง วา ฉัมภิตัตตัง วา โลมะหังโส วาโส ปะหิยเยถาปิ โนปิ ปะหิยเยถะ ตัง กิสสะเหตุ สักโก หิ ภิกขะเว เทวานะมินโท อะวีตะราโค อะวีตะโทโส อะวีตะโมโห ภิรุ ฉัมภี อุตราสี ปะลายีติ ฯ

อะหัญจะ โข ภิกขะเว เอวัง วะทามิ สะเจ ตุมหากัง ภิกขะเว อะรัญญะคะตานัง วา รุกขะมูละคะตานัง วา สุญญาคาระคะตานัง วา อุปปัชเชยยะ ภะยัง วา ฉัมภิตัตตัง วา โลมะหังโส วา มะเมวะ ตัสมิง สะมะเย อะนุสสะเรยยาถะ


อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ สัตถา เทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ มะมัง หิ โว ภิกขะเว อะนุสสะระตัง ยัมภะวิสสะติ ภะยัง วา ฉัมภิตัตตัง วา โลมะหังโส วา โส ปะหิยยิสสะติ โน เจ มัง อะนุสสะเรยยาถะ อะถะ ธัมมัง อะนุสสะเรยยาถะ


สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหีติ ธัมมัง หิโว ภิกขะเว อะนุสสะระตัง ยัมภะวิสสะติ ภะยัง วา ฉัมภิตัตตัง วา โลมะหังโส วา โส ปะหิยยิสสะติ โน เจ ธัมมัง อะนุสสะเรยยาถะ อะถะ สังฆัง อะนุสสะเรยยาถะ


สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเณยโย อัญชะลีกะระณะโย อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ


สังฆัง หิ โว ภิกขะเว อะนุสสะระตัง ยัมภะวิสสะติ ภะยัง วา ฉัมภิตัตตัง วา โลมะหังโส วา โส ปะหิยยิสสะติ ตัง กิสสะ เหตุ ตะถาคะโต หิ ภิกขะเว อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วีตะราโค วีตะโทโส วีตะโมโห อะภิรุ อัจฉัมภี อะนุตราสี อะปะลายีติฯ อิทะมะโวจะ ภะคะวา อิทัง วัตวานะ สุคะโต อะถาปะรัง เอตะทะโวจะ สัตถา


อะรัญเญ รุกขะมูเล วา สุญญาคาเร วะ ภิกขะโว

อะนุสสะเรถะ สัมพุทธัง ภะยัง ตุมหากะ โน สิยา

โน เจ พุทธัง สะเรยยาถะ โลกะเชฏฐัง นะราสะภัง

อะถะ ธัมมัง สะเรยยาถะ นิยยานิกัง สุเทสิตัง

โน เจ ธัมมัง สะเรยยาถะ นิยยานิกัง สุเทสิตัง

อะถะ สังฆัง สะเรยยาถะ ปุญญักเขตตัง อะนุตตะรัง

เอวัมพุทธัง สะรันตานัง ธัมมัง สังฆัญจะ ภิกขะโว

ภะยัง วา ฉัมภิตัตตัง วา โลมะหังโส นะ เหสสะตีติ ฯ


อาฏานาฏิยะปะริตตัง (อาฏานาฏิยปริตร)


วิปัสสิสสะ นะมัตถุ จักขุมันตัสสะ สิรีมะโต

สิขิสสะปิ นะมัตถุ สัพพะภูตานุกัมปิ โน

เวสสะภุสสะ นะมัตถุ นหาตะกัสสะ ตะปัสสิโน

นะมัตถุ กะกุสันธัสสะ มาระเสนัปปะมัททิโน

โกนาคะมะนัสสะ นะมัตถุ พราหมะณัสสะ วุสีมะโต

กัสสะปัสสะ นะมัตถุ วิปปะมุตตัสสะ สัพพะธิ

อังคีระสัสสะ นะมัตถุ สักยะปุตตัสสะ สิรีมะโต

โย อิมัง ธัมมะมะเทเสสิ สัพพะทุกขาปะนูทะนัง

เย จาปิ นิพพุตา โลเก ยะถาภูตัง วิปัสสิสุง

เต ชะนา อะปิสุณา มะหันตา วีตะสาระทา

หิตัง เทวะมะนุสสานัง ยัง นะมัสสันติ โคตะมัง

วิชชาจะระณะสัมปันนัง มะหันตัง วีตะสาระทัง ฯ

(วิชชาจะระณะสัมปันนัง พุทธัง วันทามะ โคตะมันติ)


นะโม เม สัพพะพุทธานัง อุปปันนานัง มะเหสินัง

ตัณหังกะโร มะหาวีโร เมธังกะโร มะหายะโส

สะระณังกะโร โลกะหิโต ทีปังกะโร ชุตินธะโร

โกณฑัญโญ ชะนะปาโมกโข มังคะโล ปุริสาสะโภ

สุมะโน สุมะโน ธีโร เรวะโต ระติวัฑฒะโน

โสภีโต คุณะสัมปันโน อะโนมะทัสสี ชะนุตตะโม

ปะทุโม โลกะปัชโชโต นาระโท วะระสาระถี

ปะทุมุตตะโร สัตตะสาโร สุเมโธ อัปปะฏิปุคคะโล

สุชาโต สัพพะโลกัคโค ปิยะทัสสี นะราสะโภ

อัตถะทัสสี การุณิโก ธัมมะทัสสี ตะโมนุโท

สิทธัตโถ อะสะโม โลเก ติสโส จะ วะทะตัง วะโร

ปุสโส จะ วะระโท พุทโธ วิปัสสี จะ อะนูปะโม

สิขี สัพพะหิโต สัตถา เวสสะภู สุขะทายะโก

กะกุสันโธ สัตถะวาโห โกนาคะมะโน ระณัญชะโห

กัสสะโป สิริสัมปันโน โคตะโม สักยะปุงคะโว ฯ


เอเต จัญเญ จะ สัมพุทธา อะเนกะสะตะโกฏะโย

สัพเพ พุทธา อะสะมะสะมา สัพเพ พุทธา มะหิทธิกา

สัพเพ ทะสะพะลูเปตา เวสารัชเชหุปาคะตา

สัพเพ เต ปะฏิชานันติ อาสะภัณฐานะมุตตะมัง

สีหะนาทัง นะทันเต เต ปะริสาสุ วิสาระทา

พรัหมะจักกัง ปะวัตเตนติ โลเก อัปปะฏิวัตติยัง

อุเปตา พุทธะธัมเมหิ อัฏฐาระสะหิ นายะกา

ทวัตติงสะลักขะณู เปตา- สีตยานุพยัญชะนาธะรา

พยามัปปะภายะ สุปปะภา สัพเพ เต มุนิกุญชะรา

พุทธา สัพพัญญุโน เอเต สัพเพ ขีณาสะวา ชินา

มะหัปปะภา มะหาเตชา มะหาปัญญา มะหัพพะลา

มะหาการุณิกา ธีรา สัพเพสานัง สุขาวะหา

ทีปา นาถา ปะติฏฐา จะ ตาณา เลณา จะ ปาณินัง

คะตี พันธู มะหัสสาสา สะระณา จะ หิเตสิโน

สะเทวะกัสสะ โลกัสสะ สัพเพ เอเต ปะรายะนา

เตสาหัง สิระสา ปาเท วันทามิ ปุริสุตตะเม

วะจะสา มะนะสา เจวะ วันทาเมเต ตะถาคะเต

สะยะเน อาสะเน ฐาเน คะมะเน จาปิ สัพพะทา

สะทา สุเขนะ รักขันตุ พุทธา สันติกะรา ตุวัง

เตหิ ตวัง รักขิโต สันโต มุตโต สัพพะภะเยนะ จะ

สัพพะโรคะวินิมุตโต สัพพะสันตาปะวัชชิโต

สัพพะเวระมะติกกันโต นิพพุโต จะ ตุวัง ภะวะ ฯ

เตสัง สัจเจนะ สีเลนะ ขันติเมตตาพะเลนะ จะ

เตปิ ตุมเห อะนุรักขันตุ อาโรคเยนะ สุเขนะ จะ ฯ

ปุรัตถิมัสมิง ทิสาภาเค สันติ ภูตา มะหิทธิกา

เตปิ ตุมเห อะนุรักขันตุ อะโรคเยนะ สุเขนะ จะ

ทักขิณัสมิง ทิสาภาเค สันติ เทวา มะหิทธิกา

เตปิ ตุมเห อะนุรักขันตุ อาโรคเยนะ สุเขนะ จะ

ปัจฉิมัสมิง ทิสาภาเค สันติ นาคา มะหิทธิกา

เตปิ ตุมเห อะนุรักขันตุ อาโรคเยนะ สุเขนะ จะ

อุตตะรัสมิง ทิสาภาเค สันติ ยักขา มะหิทธิกา

เตปิ ตุมเห อะนุรักขันตุ อาโรคเยนะ สุเขนะ จะ

ปุรัตถิเมนะ ธะตะรัฏโฐ ทักขิเณนะ วิรุฬหะโก

ปัจฉิเมนะ วิรูปักโข กุเวโร อุตตะรัง ทิสัง

จัตตาโร เต มะหาราชา โลกะปาลา ยะสัสสิโน

เตปิ ตุมเห อะนุรักขันตุ อาโรคเยนะ สุเขนะ จะ

อากาสัฏฐา จะ ภุมมัฏฐา เทวา นาคา มะหิทธิกา

เตปิ ตุมเห อะนุรักขันตุ อาโรคเยนะ สุเขนะ จะ


นัตถิ เม สะระณัง อัญญัง พุทโธ เม สะระณัง วะรัง

เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ โหตุ เต ชะยะมังคะลัง

นัตถิ เม สะระณัง อัญญัง ธัมโม เม สะระณัง วะรัง

เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ โหตุ เต ชะยะมังคะลัง

นัตถิ เม สะระณัง อัญญัง สังโฆ เม สะระณังวะรัง

เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ โหตุ เต ชะยะมังคะลัง ฯ


ยังกิญจิ ระตะนัง โลเก วิชชะติ วิวิธัง ปุถุ

ระตะนัง พุทธะสะมัง นัตถิ ตัสมา โสตถี ภะวันตุ เต

ยังกิญจิ ระตะนัง โลเก วิชชะติ วิวิธัง ปุถุ

ระตะนัง ธัมมะสะมัง นัตถิ ตัสมา โสตถี ภะวันตุ เต

ยังกิญจิ ระตะนัง โลเก วิชชะติ วิวิธัง ปุถุ

ระตะนัง สังฆะสะมัง นัตถิ ตัส๎มา โสตถี ภะวันตุ เต ฯ


สักกัตวา พุทธะระตะนัง โอสะถัง อุตตะมัง วะรัง

หิตัง เทวะมะนุสสานัง พุทธะเตเชนะ โสตถินา

นัสสันตุปัททะวา สัพเพ ทุกขา วูปะสะเมนตุ เต

สักกัตวา ธัมมะระตะนัง โอสะถัง อุตตะมัง วะรัง

ปะริฬาหูปะสะมะนัง ธัมมะเตเชนะ โสตถินา

นัสสันตุปัททะวา สัพเพ ภะยา วูปะสะเมนตุ เต

สักกัตวา สังฆะระตะนัง โอสะถัง อุตตะมัง วะรัง

อาหุเนยยัง ปาหุเนยยัง สังฆะเตเชนะ โสตถินา

นัสสันตุปัททะวา สัพเพ โรคา วูปะสะเมนตุ เต ฯ


สัพพีติโย วิวัชชันตุ สัพพะโรโค วินัสสะตุ

มา เต ภะวัตวันตะราโย สุขีทีฆายุโก ภะวะ

อะภิวาทะนะสีลิสสะ นิจจัง วุฑฒาปะจายิโน

จัตตาโร ธัมมา วัฑฒันติ อายุ วัณโณ สุขัง พะลัง ฯ


อังคุลิมาละปะริตตัง (องคุลิมาลสูตร, อังคุลิมาลปริตร)


ยะโตหัง ภะคินี อะริยายะ ชาติยา ชาโต นาภิชานามิ

สัญจิจจะ ปาณัง ชีวิตา โวโรเปตา ฯ เตนะ สัจเจนะ โสตถิ เต โหตุ โสตถิ คัพภัสสะ ฯ

ยะโตหัง ภะคินี อะริยายะ ชาติยา ชาโต นาภิชานามิ

สัญจิจจะ ปาณัง ชีวิตา โวโรเปตา ฯ เตนะ สัจเจนะ โสตถิ เต โหตุ โสตถิ คัพภัสสะ ฯ

ยะโตหัง ภะคินี อะริยายะ ชาติยา ชาโต นาภิชานามิ

สัญจิจจะ ปาณัง ชีวิตา โวโรเปตา ฯ เตนะ สัจเจนะ โสตถิ เต โหตุ โสตถิ คัพภัสสะ ฯ


โพชฌังคะปริตตัง (โพชฌงคสูตร, โพชฌังคปริต)


โพชฌังโคสะติสังขาโต ธัมมานัง วิจะโย ตะถา

วิริยัมปีติปัสสัทธิ โพชฌังคา จะตะถาปะเร

สะมาธุเปกขะโพชฌังคา สัตเต เต สัพพะทัสสินา

มุนินา สัมมะทักขาตา ภาวิตา พะหุลีกะตา

สังวัตตันติ อะภิญญายะ นิพพานายะ จะ โพธิยา

เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ โสตถิ เต โหตุ สัพพะทา ฯ

เอกัสะมิง สะมะเย นาโถ โมคคัลลานัญจะ กัสสะปัง

คิลาเน ทุกขิเต ทิสะวา โพชฌังเค สัตตะ เทสะยิ

เต จะ ตัง อะภินันทิตะวาโรคา มุจจิงสุ ตังขะเณ

เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ โสตถิ เต โหตุ สัพพะทา ฯ

เอกะทา ธัมมะราชาปิ เคลัญเญนาภิปีฬโต

จุนทัตเถเรนะ ตัญเญวะ ภะณาเปตะวานะ สาทะรัง

สัมโมทิตะวา จะ อาพาธา ตัมหา วุฏฐาสิ ฐานะโส

เอเตนะ สัจจะวัชเชนะโสตถิ เต โหตุ สัพพะทา ฯ

ปะหีนา เต จะ อาพาธา ติณณันนัมปิ มะเหสินัง

มัคคาหะตะกิเลสาวะ ปัตตานุปปัตติธัมมะตัง

เอเตนะ สัจจะวัชเชนะโสตถิ เต โหตุ สัพพะทา ฯ


อะภะยะปริตตัง (อภยปริตร)


ยันทุนนิมิตตัง อะวะมังคะลัญจะ โย จามะนาโป สะกุณัสสะ สัทโท

ปาปัคคะโห ทุสสุปินัง อะกันตัง พุทธานุภาเวนะ วินาสะเมนตุ ฯ

ยันทุนนิมิตตัง อะวะมังคะลัญจะ โย จามะนาโป สะกุณัสสะ สัทโท

ปาปัคคะโห ทุสสุปินัง อะกันตัง ธัมมานุภาเวนะ วินาสะเมนตุ ฯ

ยันทุนนิมิตตัง อะวะมังคะลัญจะ โย จามะนาโป สะกุณัสสะ สัทโท

ปาปัคคะโห ทุสสุปินัง อะกันตัง สังฆานุภาเวนะ วินาสะเมนตุ ฯ


เทวะตาอุยโยชะนะคาถา


ทุกขัปปัตตา จะ นิททุกขา ภะยัปปัตตา จะ นิพภะยา

โสกัปปัตตา จะ นิสโสกา โหนตุ สัพเพปิ ปาณิโน

เอตตาวะตา จะ อัมเหหิ สัมภะตัง ปุญญะสัมปะทัง

สัพเพ เทวานุโมทันตุ สัพพะสัมปัตติสิทธิยา

ทานัง ทะทันตุ สัทธายะ สีลัง รักขันตุ สัพพะทา

ภาวะนาภิระตา โหนตุ คัจฉันตุ เทวะตา คะตาฯ

สัพเพ พุทธา พะลัปปัตตา ปัจเจกานัญจะ ยัง พะลัง

อะระหันตานัญจะ เตเชนะ รักขัง พันธามิ สัพพะโส ฯ


ชะยะปะริตตัง


มะหาการุณิโก นาโถ หิตายะ สัพพะปาณินัง ปูเรตวา

ปาระมี สัพพา ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง

เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ โหตุ เต ชะยะมังคะลัง ฯ

ชะยันโต โพธิยา มูเล สักยานัง นันทิวัฑฒะโน

เอวัง ตวัง วิชะโย โหหิ ชะยัสสุ ชะยะมังคะเล

อะปะราชิตะปัลลังเก สีเส ปะฐะวิวโปกขะเร

อะภิเสเก สัพพะพุทธานัง อัคคัปปัตโต ปะโมทะติ

สุนักขัตตัง สุมังคะลัง สุปะภาตัง สุหุฏฐิตัง

สุกขะโณ สุมุหุตโต จะ สุยิฏฐัง พรัหมะจาริสุ

ปะทักขิณัง กายะกัมมัง วาจากัมมัง ปะทักขิณัง

ปะทักขิณัง มะโนกัมมัง ปะณิธีเต ปะทักขิณา

ปะทักขิณานิ กัตวานะละ ภันตัตเถ ปะทักขิเณ ฯ

โส อัตถะลัทโธ สุขิโต วิรุฬโห พุทธะสาสะเน

อะโรโค สุขิโต โหหิ สะหะ สัพเพหิ ญาติภิ

สา อัตถะลัทธา สุขิตา วิรุฬหา พุทธะสาสะเน

อะโรคา สุขิตา โหหิ สะหะ สัพเพหิ ญาติภิ

เต อัตถะลัทธา สุขิตา วิรุฬหา พุทธะสาสะเน

อะโรคา สุขิตา โหถะ สะหะ สัพเพหิ ญาติภิ ฯ


ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา สัพพะพุทธานุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เต* (เม) ฯ

ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา สัพพะธัมมานุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เต* (เม) ฯ

ภะวะตุสัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา สัพพะสังฆานุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เต* (เม) ฯ

*ใช้เมเพื่อให้พรกับตน


จบบทสวดพระปริตรและการทำวัตรเย็น