ขั้นตอนการดำเนินคดีแพ่ง

สำนักงาน 12 เมษา ทนายความ

เลขที่ 410 หมู่ 13 ตำบลวังชะโอน

อำเภอบึงสามัคคี จังหวัดกำแพงเพชร

โทรศัพท์ 088-553-0722

ประเภทของคดีแพ่ง


1) คดีมีทุนทรัพย์ คือ คดีที่มีคำขอปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ หมายความว่าคดีที่โจทก์ฟ้องจำเลยนั้น โจทก์มีคำขอในคำฟ้องให้จำเลยชดใช้เงินหรือทรัพย์สินจำนวนใดจำนวนหนึ่ง ซึ่งเงินหรือทรัพย์สินเช่นว่านั้น สามารถคำนวณออกมาเป็นตัวเงินได้ว่ามีจำนวนเท่าใด เช่น คดีพิพาทในเรื่องกรรมสิทธิ์เกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ เช่น ที่ดิน บ้าน คอนโด หรือสังริมทรัพย์ เช่น รถยนต์ โทรศัพท์มือถือ หรือคดีที่เรียกคืนทรัพย์หรือเงิน เช่น คดีฟ้องให้จำเลยชดใช้เงินกู้ หนี้จำนอง หนี้จำนำ เป็นต้น

2) คดีไม่มีทุนทรัพย์ คือ คดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ซึ่งหมายความว่าตามคำข้อของโจทก์นั้นไม่ได้ขอให้ศาลบังคับให้จำเลยชดใช้เงินหรือค่าเสียหายใด ๆแต่เป็นการฟ้องให้จำเลยกระทำหรือไม่ทำการอย่างใดอย่างหนึ่งที่โจทก์อ้างว่ากระทบสิทธิของโจทก์ เช่น คดีพิพาทกันเรื่องกรรมสิทธิ์แห่งทรัพย์สินซึ่งโต้แย้งกันเกี่ยวกับความเป็นเจ้าของในทรัพย์สิน คดีที่โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยให้ออกจากอสังหาริมทรัพย์ หรือเป็นคดีที่โจทก์ต้องการให้ศาลรับรองคุ้มครองสิทธิให้ เช่น คดีร้องขอแต่งตั้งผู้จัดการมรดก คดีร้องขอให้ศาลสั่งให้บุคคลใดเป็นคนไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถ เป็นต้น

3) คดีมโนสาเร่[2] คือ คดีแพ่งที่ฟ้องกันโดยมีทุนทรัพย์ไม่เกิน 300,000 บาท หรือคดีฟ้องขับไล่ผู้เช่า ผู้อาศัย ผู้ละเมิดบุกรุกเข้ามาในที่ดินอสังหาริมทรัพย์ที่มีค่าเช่า หรืออาจให้เช่าได้ไม่เกินเดือนละ 60,000 บาท ซึ่งเป็นอำนาจของผู้พิพากษาคนเดียวที่จะพิจารณาพิพากษา[3] และอยู่ในอำนาจของศาลแขวง ส่วนคดีขับไล่แม้จะเป็นคดีมโนสาเร่ ก็ต้องอาศัยผู้พิพากษาครบองค์คณะและอยู่ในอำนาจของศาลจังหวัดเพราะเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์

4) คดีไม่มีข้อยุ่งยาก[4] เป็นคดีที่ฟ้องขอให้ชำระเงินจำนวนที่แน่นอนตามด้วยตั๋วเงิน ซึ่งการรับรองหรือการชำระเงินตามตั๋วเงินนั้นได้ถูกปฏิเสธหรือตามสัญญาเป็น หนังสือ ซึ่งปรากฎในเบื้องต้นว่าเป็นสัญญาอันแท้จริง มีความสมบูรณ์และบังคับได้ตามกฎหมาย

ที่เรียกคดีประเภทนี้ว่าคดีไม่มีข้อยุ่งยาก เพราะคดีประเภทนี้เมื่อชั้นพิจารณาคดี ศาลสามารถพิจารณาจากพยานเอกสาร (Documentary Evidence) ที่ถูกต้องนั้นและสามารถพิพากษาได้เลย เพราะในทางแพ่งพยานเอกสารมีความสำคัญในการพิจารณามาก ไม่เหมือนกับคดีอาญาที่พยานบุคคลมีความสำคัญมากกว่าพยานเอกสาร

ขั้นตอนการดำเนินคดีแพ่ง

(1) ชั้นก่อนฟ้องคดี

เมื่อเกิดข้อพิพาททางแพ่งเกิดขึ้นมีการโต้แย้งสิทธิหรือจำเป็นจะต้องใช้สิทธิทางศาล บุคคลนั้นย่อมจะยื่นฟ้องคดีต่อศาลแพ่งที่มีอำนาจเหนือคดีนั้น เพื่อให้ศาลได้พิจารณาและพิพากษาข้อพาทเช่นว่านั้นให้ โดยขั้นตอนก่อนชั้นฟ้องคดี คือ ขั้นตอนที่โจทก์ (ในคดีที่มีข้อพิพาท) หรือผู้ร้อง (ในคดีที่ไม่มีข้อพาท) ต้องเตรียมคดีที่จะเข้าสู่ศาล โดยการยื่นฟ้องหรือยื่นคำร้องต่อศาล โดยการยื่นคำฟ้องหรือคำร้องดังกล่าวต้องเสียค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ที่กฎหมายกำหนดด้วย เช่น ในคดีที่มีทุนทรัพย์ต้องเสียค่าธรรมเนียมศาลตามจำนวนทุนทรัพย์ เป็นต้น

เมื่อได้ยื่นฟ้องแล้วต้องส่งสำเนาหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องไห้จำเลย เพื่อให้จำเลยยื่นคำให้การแก้ต่างคดีภายใน 15 วัน หากจำเลยไม่ยื่นคำให้การภายในกำหนด ถือว่าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ ศาลก็อาจมีพารพิจารณาต่อไปได้โดยถือว่าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ

(2) ชั้นพิจารณาคดีและพิพากษา

การพิจารณาคดีแพ่งในศาลนั้นแยกการพิจารณาออกเป็น 2 ประเภทตามลักษณะความสำคัญของคดี ดังนี้

1) วิธีพิจารณาสามัญ เป็นการพิจารณาพิพากษาคดีที่มีความสำคัญ การฟ้องต้องทำเป็นหนังสือและจำเลยต้องยื่นคำให้การเป็นหนังสือ เมื่อจำเลยยื่นคำให้การแล้วศาลจะทำการกำหนดประเด็นข้อพิพาทแล้วหน้าที่นำสืบให้แก่โจทก์และจำเลย โดยที่แต่ละฝ่ายต้องยื่นบัญชีระบุพยานว่าจะนำพยานหลักบานใดบ้างมาสืบในศาล โดยการสืบพยานนั้นจะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งอย่างเคร่งครัด เพื่อไม่ให้เกิดความได้เปรียหรือเสียเปรียบในการต่อสู่คดีกัน การพิจารณาสามัญนี้เป็นการพิจารณาคดีมีความยุ่งยากซับซ้อนและมักจะใช้เวลาในการพิจารณาค่อนข้างนาน

2) วิธีพิจารณาวิสามัญ เป็นการพิจารณาพิพากษาคดีแบบรวบรัดและรวดเร็ว อาจฟ้องด้วยวาจาได้ เพราะเป็นการพิจารณาแบบไม่เต็มรูปแบบเหมือนกับการพิจารณาสามัญ ด้วยเหตุที่คดีแพ่งประเภทนี้นั้นเป็นคดีที่มีความสำคัญน้อย หรือเป็นคดีที่มีพยานหลักฐานชัดเจนไม่ต้องสืบพยานกันมากมาย เช่น คดีมโนสาเร่ และคดีไม่มีข้อยุ่งยาก

(3) ชั้นการยื่นอุทรณ์ ฎีกา

ศาลยุติธรรมที่มีอำนาจในการพิจารณาคดีแพ่งแบ่งออกเป็น 3 ชั้น คือ ศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ และศาลฎีกา เหตุที่ศาลต้องมี 3 ชั้น เพื่อให้คดีที่ศาลชั้นต้นได้ตัดสินแล้วคู่ความ โจทก์หรือจำเลยมีสิทธิในการที่จะยื่นอุทรณ์หรือฎีกาต่อศาลอุทธรณ์หรือต่อศาลฎีกาต่อไปได้ เพื่อให้ศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกานั้นได้มีโอกาสในการตรวจสอบการพิจารณาคดีพิพากษาของศาลชั้นต้นว่าถูกต้องหรือไม่ เช่น ในคดีที่โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากอสังหาริมทรัพย์ ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์ (หมายถึงคดีนี้จำเลยชนะคดี) โจทก์ต้องการที่จะอุทธรณ์คำพิพากษายกฟ้องของศาลชั้นต้นก็สามารถที่จะยื่นอุธรณ์คำพิพากษาของศาลชั้นต้นไปยังศาลอุธรณ์ได้ แต่การยื่นอุธรณ์หรือฎีกาที่ว่านี้ต้องต้องทำตามเงื่อนไขที่กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งกำหนดไว้ด้วย

(4) ชั้นบังคับคดี

คู่ความฝ่ายที่ชนะคดีตามคำพิพากษา เช่น ในคดีที่โจทกืฟ้องให้ศาลสั่งให้จำเลยชดใช้เงินกู้ตามสัญญากู้ยืมเงิน เมื่อศาลพิจารณาคดีแล้วเห็นว่าจำเลยผิดนัดไม่ยอมชำระหนี้จริง ศาลพิพากษาให้โจทก์ชนะคดีและสั่งให้จำเลยชดใช้เงินตามสัญญาแล้ว โจทก์ที่ชนะคดีสามารถดำเนินการบังคับคดีเพื่อให้มีการปฏิบัติไปตามคำพิพากษาได้ หากคู่ความฝ่ายที่แพ้คดีไม่ยอมปฏิบัติตามที่กำหนดไว้ในคำพิพากษา โดยอาจยึด อายัดทรัพย์ของลูกหนี้ของลูกหนี้ตามคำพิพากษามาขายทอดตลาดหรือจับกุม คุมขังลูกหนี้ตามคำพิพากษาได้ในกรณีไม่ยอมกระทำการตามที่กำหนดไว้ในคำพิพากษาชั้นบังคับคดี

สำนักงาน 12 เมษา ทนายความ

เลขที่ 410 หมู่ 13 ตำบลวังชะโอน

อำเภอบึงสามัคคี จังหวัดกำแพงเพชร

โทรศัพท์ 088-553-0722