ขั้นตอนการดำเนินคดีอาญา

ประเภทคดีอาญา


การแบ่งประเภทคดีอาญานั้นพิจารณาจากอำนาจในการดำเนินคดีอาญา ซึ่งพิจารณาจากผู้เสียหายเป็นสำคัญ โดยสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทดังนี้

1) คดีอาญาความผิดอันยอมความได้

ความผิดอันยอมความได้ หรือความผิดต่อส่วนตัว หมายถึงคดีอาญาประเภทซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายต่อเอกชนคนหนึ่งคนใดเป็นส่วนตัว มิได้ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐหรือสังคมเป็นและความผิดใดจะเป็นความผิด อาญาอันยอมความได้นั้น กฎหมายจะต้องระบุไว้ชัดเจนว่าเป็นความผิดอันยอมความได้ เช่น ความผิดฐานยักยอก ฉ้อโกง หมิ่นประมาท ทำให้เสียทรัพย์ อนาจาร ข่มขืนกระทำชำเรา ออกเช็คโดยเจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงิน เป็นต้น

ความผิดอาญาอันยอมความได้นี้เจ้าพนักงานของรัฐจะดำเนินคดีได้ก็ต่อเมื่อผู้ เสียหายร้องทุกข์ (แจ้งความ) ต่อเจ้าพนักงานตามกฎหมายเสียก่อน และต้องร้องทุกข์ภายในกำหนด 3 เดือน นับแต่วันที่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำผิด สำหรับคดีความผิดอันยอมความได้นี้ หากผู้เสียหายไม่ประสงค์จะดำเนินคดีกับผู้ต้องหาต่อไป ก็สามารถถอนคำร้องทุกข์ ถอนฟ้อง หรือยอมความได้ ซึ่งก็จะเป็นผลให้คดีดังกล่าวระงับไป

2) คดีอาญาความผิดอาญาอันยอมความไม่ได้

ความผิดอาญาอันยอมความไม่ได้ หรือความผิดอาญาแผ่นดิน หมายถึงคดีอาญาประเภทที่นอกจากจะทำให้เกิดความ เสียหายแก่ผู้เสียหายโดยตรงแล้ว ยังก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐและสังคมโดยส่วนรวมอีกด้วย ความผิดอาญานอกจากที่กฎหมายระบุไว้ชัดเจนว่าเป็นความผิดอันยอมความ ได้แล้ว จะเป็นความผิดอาญาแผ่นดินทั้งสิ้น

เช่น ความผิดฐานลักทรัพย์ วิ่งราวทรัพย์ ชิงทรัพย์ ปล้นทรัพย์ ทำร้ายร่างกาย ฆ่าคนอื่น วางเพลิงเผาทรัพย์ ขับรถประมาท เป็นต้น ซึ่งความผิดอาญาแผ่นดินนี้ แม้ผู้เสียหายไม่ติดใจดำเนินคดีกับผู้กระทำผิด ก็ไม่ทำให้คดีระงับ เจ้าพนักงานของรัฐก็สามารถดำเนิน คดีกับผู้กระทำผิดต่อไปได้ โดยที่ผู้เสียหายไม่จำเป็นต้องร้องทุกข์ก่อนแต่อย่างใด

2.3 คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา

คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา หมายถึง “คดีแพ่งที่ฟ้องบังคับตามสิทธิเรียกร้องอันมีมูลฐานความรับผิดเนื่องมาจากการกระทำความผิดทางอาญา” ซึ่งหมายความว่าการกระทำความผิดอาญาฐานใดฐานหนึ่งแก่ผู้เสียหาย เป็นเหตุให้เกิดความเสียหายผู้เสียหายจึงมีสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากการกระทำความผิดนั้น เช่น นายแดงขับรถชนนายดำ จนนายดำได้รับบาดเจ็บสาหัส ในคดีอาญานายแดงย่อมมีความผิดฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับบาดเจ็บสาหัส ส่วนในทางแพ่งการที่แดงขับรถชนดำด้วยความประมาทเป็นการละเมิดจำต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น จะเห็นได้ว่าสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนนั้นมีมูลมาจากการที่นายแดงกระทำความผิดต่อนายดำนั้นเอง

สำนักงาน 12 เมษา ทนายความ

เลขที่ 410 หมู่ 13 ตำบลวังชะโอน

อำเภอบึงสามัคคี จังหวัดกำแพงเพชร

โทรศัพท์ 088-553-0722

การดำเนินคดีอาญา


กฎหมายอาญานั้นเมื่อความผิดอาญาได้เกิดขึ้นรัฐสามารถใช้อำนาจตามกฎหมายได้ทันที ไม่ต้องไปฟ้องคดีให้ศาลตัดสินก่อน เช่น นายแดงกำลังทำร้ายร่างกายนายดำอยู่ ตำรวจสามารถจับนายแดงได้ทันที่ ไม่ต้องไปฟ้องศาลก่อน แต่การจะลงโทษนายแดงตามกฎหมายได้นั้นต้องผ่านกระบวนการพิสูจน์ว่าผู้กระทำความผิดนั้นเป็นผู้ที่ได้กระทำความผิดจริงตามขั้นตอนตามกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาเสียก่อน โดยหลักการดำเนินคดีอาญานั้น ต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ต้องหาหรือจำเลยนั้นเป็นผู้บริสุทธิ์จนกว่าจะแน่ใจว่าจำเลยได้กระทำความผิดจริง ซึ่งมีขั้นตอนดังต่อไปนี้

(1) ชั้นก่อนฟ้องคดี

ก่อนที่คดีอาญาจะขึ้นสู่การพิจารณาของศาลต้องผ่านกระบวนหลายขั้นตอน โดยแต่ละขั้นตอนสร้างขึ้นมาเพื่อประโยชน์ในการสอบสวนและรวบรวมพยานหลักฐานทั้งพยานหลักฐาน เพื่อให้การดำเนินคดีกับผู้ต้องหาที่ถูกกล่าวหาว่าได้กระทำความผิดนั้นมีน้ำหนักน่าเชื่อได้ว่าผู้ต้องหากระทำความผิดจริง อันจะนำไปสู่การฟ้องร้องและพิจารณาลงโทษในอนาคต โดยการดำเนินคดีอาญาของไทยนั้น สามารถนำคดีอาญาไปสู่ศาลได้ 2 วิธี แยกพิจารณาดังนี้

1) การฟ้องคดีโดยผู้เสียหาย

ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาของไทย ได้กำหนดให้ผู้เสียหายในคดีอาญามีอำนาจในการฟ้องคดีอาญาต่อศาลด้วย[5] ซึ่งถือเป็นการให้สิทธิแก่ผู้เสียหายในการดำเนินคดีอาญาเองได้ โดยไม่ต้องพึ่งรัฐในการดำเนินคดีอาญาให้ โดยผู้เสียหายสามารถทำคำฟ้องไปยื่นต่อศาลที่มีเขตอำนาจเหนื่อคดีนั้นได้เลย แต่การฟ้องคดีอาญาโดยผู้เสียหายนั้น มีหลักเกณฑ์ที่ผู้เสียหายจะต้องคำนึงดังนี้

1.1) บุคคลนั้นจะต้องเป็นผู้เสียหายตามความหมายของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ม.2(4) "ผู้เสียหาย" หมายความถึงบุคคลผู้ได้รับความเสียหาย เนื่องจากการกระทำผิดฐานใดฐานหนึ่ง รวมทั้งบุคคลอื่นที่มีอำนาจ จัดการแทนได้ดั่งบัญญัติไว้ใน มาตรา 4 มาตรา 5 และ มาตรา 6 ดังนั้นผู้เสียหายในคดีอาญาจึงมีด้วยกัน 2 ประเภท คือ

(1) ผู้เสียหายที่แท้จริง

(2) ผู้ที่มีอำนาจจัดการแทนผู้เสียหาย

โดยการฟ้องคดีอาญาโดยผู้เสียหายนั้นกฎหมายกำหนดให้ศาลต้องไต่สวนมูลฟ้อง[6]ก่อนที่จะรับฟ้องไว้พิจารณาเสมอ ซึ่งแตกต่างจากคดีอาญาที่พนักงานอัยการเป็นผู้ฟ้องคดี (การฟ้องคดีอาญาโดยรัฐ) ที่ศาลไม่จำต้องไต่สวนมูลฟ้องก่อนศาลสามารถรับฟ้องไว้พิจารณาได้เลย อยู่ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 165 วรรคท้าย ในคดีราษฎรเป็นโจทก์ ศาลมีอำนาจไต่สวนมูลฟ้องลับหลังจำเลย ให้ศาลส่งสำเนาฟ้องแก่จำเลยรายตัวไป กับแจ้งวันนัดไต่สวนให้จำเลย ทราบจำเลยจะมาฟังการไต่สวนมูลฟ้อง โดยตั้งทนายให้ซักค้านพยาน โจทก์ด้วยหรือไม่ก็ได้ หรือจำเลยจะไม่มาแต่ตั้งทนายมาซักค้านพยาน โจทก์ก็ได้ ห้ามมิให้ศาลถามคำให้การจำเลย และก่อนที่ศาลประทับ ฟ้องมิให้ถือว่าจำเลยอยู่ในฐานะเช่นนั้น

2) การฟ้องคดีอาญาโดยรัฐ

การฟ้องคดีอาญาโดยรัฐถือเป็นการดำเนินคดีอาญาโดยรัฐเป็นผู้ดำเนินคดีอาญาทั้งหมด เริ่มตั้งแต่การร้องทุกข์กล่าวโทษ เมื่อมีการร้องทุกขืกล่าวโทษแล้ว พนักงานสอบสวนจะเริ่มทำการสอบสวนความผิด โดยออกหมายเรียกให้ผู้ต้องหามาให้การ หากไม่มาตามหมายก็ต้องมีการออกหมายจับต่อไป ซึ่งการดำเนินคดีอาญาโดยรัฐ

2.1) ขั้นตอนการร้องทุกข์กล่าวโทษ

ในคดีอาญาความผิดต่อส่วนตัวหรือความผิดอันยอมความได้ ผู้เสียหายต้องไปร้องทุกข์[7]ต่อพนักงานสอบสวนภายในกำหนดเวลาสามเดือนนับแต่รู้ถึงความผิดและรู้ตัวผู้กระทำผิด มิฉะนั้นถือว่าคดีขาดอายุความ เพราะความผิดต่อส่วนตัวนี้ ความประสงค์ของผู้เสียหายถือเป็นเงื่อนไขในการดำเนินคดี หากผู้เสียหายไม่ร้องทุกข์พนักงานสอบสวนก็ไมสามารถดำเนินคดีอาญาได้

แต่หากความผิดนั้นเป็นความผิดอาญาแผ่นดิน หรือความผิดอันยอมความไม่ได้ ผู้เสียหายไม่จำต้องไปร้องทุกข์ก่อน หากมีการกล่าวโทษ[8]ต่อพนักงานสอบสวนก็สามารถดำเนินคดีอาญาได้เลย

2.2) ขั้นตอนการสอบสวนและรวบรวมพยานหลักฐาน

เมื่อมีการร้องทุกข์กล่าวโทษแล้วขั้นตอนต่อไปคือการสอบสวน ในการดำเนินคดีอาญาโดยรัฐนั้นกฎหมายห้ามไม่ให้พนักงานอัยการฟ้องคดีหากคดีนั้นไม่ได้มีการสอบสวนโดยชอบ ซึ่งแตกต่างจากการฟ้องคดีอาญาโดยเอกชนผู้เสียหายที่ไม่จำต้องมีการสอบสวนก่อน เอกชนผู้เสียหายสามารถฟ้องคดีต่อศาลได้ทันที แต่คดีอาญาที่ผู้เสียฟ้องเองนั้นต้องมีการไต่สวนมูลฟ้องเสมอทั้งนี้เพื่อเป็นการกลั่นกรองคดีที่จะเข้าสู่การพิจารณาคดีของศาล โดยผู้ที่มีอำนาจทำการสอบสวนคือพนักงานสอบสวน[9] การสอบสวนนั้นคือการที่พนักงานสอบสวนได้รวบรวมหลักฐานทุกชนิด เท่าที่สามารถจะทำได้ เพื่อประสงค์จะทราบข้อเท็จจริงและพฤติการณ์ต่างๆ อันเกี่ยวกับความผิดที่ถูกกล่าวหา เพื่อจะรู้ตัวผู้กระทำผิดและพิสูจน์ให้เห็นความผิดหรือความบริสุทธิ์ของผู้ต้องหา

การดำเนินการในชั้นสอบสวนนั้นพนักงานสอบสวนจะต้องทำการแจ้งข้อหาให้แก่ผู้ต้องหาได้ทราบว่าเขาทำผิดข้อหาอะไร และจะต้องแจ้งสิทธิต่าง ๆ ตามกฎหมายให้แก่ผู้ต้องหาทราบด้วยเช่นกัน เช่น สิทธิที่จะไม่ให้การใด ๆ เลยก็ได้ สิทธิในการมีทนายความหากผู้ต้องหาไม่มีทนายความรัฐก็ต้องจัดหาให้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย รวมถึงการได้รับการปล่อยชั่วคราวในระหว่างการสอบสวน ในกรณีที่มีความจำเป็นจะต้องควบคุมผู้ต้องหาไว้เพื่อทำการสอบสวนต้องเป็นกรณีที่มีความจำเป็นต่อการดำเนินคดี ทั้งนี้เพื่อให้ผู้ต้องหานั้นได้มีสิทธิในการต่อสู่คดีได้อย่างเต็มที่

เมื่อพนักงานสอบสวนทำการสอบสวนเสร็จ พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบต้องสรุปสำนวนการสอบสวนพร้อมทั้วความเห็นว่าควรสั่งฟ้องหรือไม่ฟ้องผู้ต้องหาไปยังพนักงานอัยการ เพื่อให้พนักงานอัยการสั่งคดีต่อไป

2.3) ขั้นตอนการสั่งคดีของพนักงานอัยการ

การสั่งคดีเป็นอำนาจหน้าที่ของพนักงานอัยการซึ่งทำหน้าที่ในฐานะที่เป็นทนายความแผ่นดิน ดำเนินคดีในชั้นศาลแทนรัฐ การสั่งคดี คือ การที่พนักงานอัยการใช้ดุลพินิจการสั่งคดีอาญาว่าคดีอาญาที่เกิดขึ้นนั้นมีมูลที่จะฟ้องร้องต่อศาลต่อไปหรือไม่ โดยพิจารณาจากสำนวนการสอบสวนที่พนักงายสอบสวนได้ส่งมา พร้อมพยานหลักฐานที่รวบรวมมาทั้งหมด หากพนักงานอัยกาเห็นว่าคดีอาญานั้นไม่มีมูลที่จะฟ้องร้อง(เห็นว่าผู้ต้องหาไม่ได้ทำผิด) พนักงานอัยการอาจมีคำสั่งไม่ฟ้องหรือสั่งให้พนักงานสอบสวนทำการสอบสวนเพิ่มเติมได้ หรือหากว่าพนักงานอัยการเห็นว่าตามสำนวนการสอบสวนและพยานหลักฐานนั้นเป็นที่เชื่อได้ว่าผู้ต้องหาได้กระทำผิดจริง ก็มีคำสั่งฟ้องคดีและนำตัวผู้ต้องหาไปส่งฟ้องยังศาลที่มีเขตอำนาจต่อไป[10]

เนื่องจากการสั่งคดีของพนักงานอัยการของไทยนั้นเป็นการสั่งคดีตามหลัก (Opportunity Principle) ซึ่งให้ดุลพินิจแก่พนักงายอัยการในการสั่งคดี แม้คดีนั้นปรากฎพยานหลักฐานชัดเจนว่าผู้ต้องหาได้กระทำความผิดจริง พนักงานอัยการก็อาจมีคำสั่งไม่ฟ้องผู้ต้องหาต่อศาลได้ เช่น พนักงานอัยการเห็นว่าผู้ต้องหาได้กระทำความผิดจริง แต่การฟ้องผู้ต้องหาต่อศาลจะไม่เป็นประโยชน์สาธารณะ ก็อาจมีคำสั่งไม่ฟ้องได้

2) ชั้นพิจารณาคดีและพิพากษา

เมื่อคดีที่พนักงานอัยการยื่นฟ้องผู้ต้องหาต่อศาลแล้ว หรือในคดีที่เอกชนผู้เสียหายยื่นฟ้องต่ศาลและศาลได้ไต่สวนมูลฟ้องแล้วเห็นว่าคดีมีมูล จึงมีประทับรับฟ้องไว้พิจารณา ถือได้ว่าคดีอาญานั้นเข้าสู่การพิจารณาของศาลแล้ว การพิจารณาคดีอาญาในศาลนั้นต้องเป็นไปตามประมวลกฎหมายวิธีพจารณาความอาญา โดยที่การค้นหาความจริงในคดีเป็นเรื่องของคู่ความ(โจทก์และจำเลย) โดยที่ศาลวางตัวเป็นกลางคอยทำหน้าที่ไม่ให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งผิดกติกา ซึ่งมีลักษณะเป็นการพิจารณาคดีในระบบกล่าวหา ซึ่งแยกขั้นตอนในชั้นศาลออกเป็น 2 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนของการพิจารณา(สืบพยาน) และขั้นตอนของการทำคำพิพากษา

1) การพิจารณาคดีอาญาในศาล

ในการพิจารณาคดีอาญานั้นมีหลักการที่สำคัญอยู่หลายประการดังนี้

การพิจารณาและสืบพยานในศาลจะต้องให้ทำโดยเปิดเผย หมายความว่า ประชาชนโดยทั่วไปสามารถเข้าไปฟังการพิจารณาคดีอาญาของศาลได้ ทั้งนี้เพื่อให้ประชาชนสามารถตรวจสอบการพิจารณาของศาลว่าเป็นไปโดยยุติธรรมหรือไม่ และการสืบพยานจะต้องกระทำต่อหน้าจำเลยด้วย ทั้งนี้เพื่อให้จำเลยสามารถต่อสู้คดีได้อย่างเต็มที่ เพราะหากจำเลยไม่ทราบว่าพยานการซัดทอดตนอย่างไร อาจทำให้เสียเปรียบในการสู้คดีได้ เว้นแต่ความผิดบางฐานคามผิดเท่านั้นที่ศาอาจมีคำสังให้พิจารณาเป็นการลับได้[11] เช่น คดีเกี่ยวกับความมั่นคงของรัฐ ความผิดเกี่ยวกับเพศที่ต้องรักษาไว้ซึ่งชื่อเสียงเกียรติยศของผู้เสียหาย เป็นต้น

สิทธิในการมีทนายความในชั้นศาล การดำเนินคดีอาญานั้นนอกจากจะมุ่งปราบปรามการกระทำความผิดแล้ว ยังต้องให้ความคุ้มครองสิทธิของผู้ต้องหาหรือจำเลยอีกด้วย ซึ่งในชั้นพิจารณาคดีของศาลก็เช่นเดียวกัน โดยกฎหมายได้คุ้มครองสิทธิของจำเลยไว้ “สิทธิในการมีทนายความ” เพราะถือว่าทนายความนั้นเป็นผู้ที่จะคอยมาพิทักษ์สิทธิของจำเลยให้การต่อสู้คดีในชั้นศาล เช่น การนำพยานมาหักล้างพยานหลักฐานของฝ่ายโจทก์ซึ่งรวมถึงการซักค้านด้วย การขอให้ศาลปล่อยชั่วคราวจำเลยในระหว่างการพิจารณา รวมถึงช่วยเหลือจำเลยในการอุทธรณ์ ฎีกาต่อไป[12]

การพิจาณาคดีที่จำเลยให้การรับสารภาพ หมายถึง คดีนั้นเมื่อศาลได้อ่านและอธิบายฟ้องให้จำเลยฟังแล้ว จำเลยให้การรับส ภาพว่าได้กระทำความผิดจริงตามฟ้อง ศาลอาจไม่ต้องพิจารณาสืบพยานในคดีนั้นอีกต่อไปอีกก็ได้ ซึ่งเป็นไปตาม บทบัญญัติในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 176 “ในชั้นพิจารณา ถ้าจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง ศาลจะพิพากษาโดยไม่สืบพยานหลักฐานต่อไปก็ได้ เว้นแต่คดีที่มีข้อหาในความผิดซึ่งจำเลยรับสารภาพนั้น กฎหมายกำหนดอัตราโทษอย่างต่ำไว้ให้จำคุกตั้งแต่ห้าปีขึ้นไปหรือโทษสถานที่หนักกว่านั้น ศาลต้องฟังพยานโจทก์จนกว่าจะพอใจว่าจำเลยได้กระทำผิดจริง

ในคดีที่มีจำเลยหลายคน และจำเลยบางคนรับสารภาพ เมื่อศาลเห็นสมควรจะสั่งจำหน่ายคดี สำหรับจำเลยที่ปฏิเสธเพื่อให้โจทก์ฟ้องจำเลยที่ปฏิเสธนั้นเป็นคดีใหม่ภายในเวลาที่ศาลกำหนดก็ได้”

2) การทำคำพิพากษา

เมื่อศาลได้พิจารณาและสืบพยานในคดีเสร็จสิ้นแล้ว ศาลต้องทำคำพิพากษาเพื่อชี้ขาดคดีว่าจะตัดสินประการใด หากเห็นว่าพยานหลักฐานของฝ่ายโจทก์มีน้ำหนักมากพอจนแน่ใจได้ว่าจำเลยได้กระทำความผิดจริงตามที่โจทก์ฟ้อง ศาลก็พิพากษาลงโทษจำเลย (ถือว่าโจทก์ชนะคดี) แต่หากว่าในคดีนั้นศาลเห็นว่าจำเลยไม่ได้กระทำความผิดตามฟ้องของโจทก์ หรือตามน้ำหนักพยานหลักฐานของฝ่ายโจทก์ยังเป็นที่สงสัยอยู่ว่าจำเยได้กระทำความผิดจริงหรือไม่ ยกความประโยชน์แห่งความสงสัยให้แก่จำเลย ศาลก็ต้องพิพากษายกฟ้อง[13] (ถือว่าจำเลยชนะคดี)


2.3 การยื่นอุทรณ์ ฎีกา

สำหรับคู่ความ (โจทก์หรือจำเลย) ที่ไม่พอใจในคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลชั้นต้น อาจอุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งดังกล่าวต่อศาลต่อศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาได้[14] ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้มี คำพิพากษาหรือคำสั่งนั้น โดยจะต้องยื่นอุทธรณ์ต่อศาลชั้นต้นที่มีคำพิพากษาหรือคำสั่ง ซึ่งในการอุทธรณ์หรือฎีกานั้นมีหลักการอยู่หลายประการที่คู่ความจะต้องปฏิบัติตาม เช่น

- การอุทธรณ์จะต้องเป็การอุทธรณ์ในปัญหาข้อกฎหมายหรือข้อเท็จจริง ซึ่งปัญหาเกี่ยวกับข้อกฎหมายนั้นคู่ความสามารถอุทธรณ์ไปยังศาลอุทธรณ์หรือฎีกาได้ทุกกรณี แต่ปัญหาข้อเท็จจริงนั้นคู่ความจะต้องพิจารณาตาม ม. 193 ทวิ[15] ในกรณีของการอุทธรณ์ และต้งพิจารณาตาม ม. 218[16]


2.4 ชั้นบังคับโทษ

เมื่อคดีถึงที่สุดแล้ว ให้บังคับคดีโดยไม่ชักช้า โดยที่ศาลชั้นต้นมีหน้าที่ต้องส่งสำนวนคดีที่พิพากษาให้ลงโทษประหาร ชีวิตหรือจำคุกตลอดชีวิต ไปยังศาลอุทธรณ์ในเมื่อไม่มีการอุทธรณ์ คำพิพากษานั้นและคำพิพากษาเช่นว่านี้จะยังไม่ถึงที่สุด เว้นแต่ ศาลอุทธรณ์จะได้พิพากษายืน

โดยที่โทษทางอาญา คือ สภาพบังคับของกฎหมายอาญา ตามมาตรา 18 ได้กำหนดโทษสำหรับผู้ทำความผิดอาญาไว้ 5 สถาน ซึ่งโทษแต่ละสถานก็มีวิธีการในการบังคับโทษที่แตกต่างกัน ดังนี้

1. โทษประหารชีวิต คือ การเอาผู้ที่ถูกศาลพิพากษาให้ประหารชีวิตไปให้ดำเนินการด้วยวิธีฉีดยาหรือสารพิษให้ตาย[17]

2. โทษจำคุก คือ การเอาตัวไปคุมขังไว้ในเรือนจำ ตามกำหนดเวลาที่ศาลพิพากษา[18] โดยที่อาจมีการร้องขอให้ศาลสั่งทุเลาโทษจำคุกไว้ก่อนได้ เช่น กรณีของจำเลยเป็นคนวิกลจริต อาจมีการร้องขอให้ศาลทุกเลาการจำคุกไว้ก่อน จนกว่าจำเลยจะหายจากอาการวิกลจริต[19]

3. โทษกักขัง คือ การเอาตัวไปกักขังไว้ในสถานที่กักขัง ซึ่งกำหนดไว้อันมิใช่เรือนจำ[20]

4. โทษปรับ คือ เป็นการบังคับเอาจากทรัพย์สินของผู้กระทำผิด และต้องโทษปรับตามคำพิพากษา

5. ริบทรัพย์สิน เช่น ทรัพย์ที่มีไว้เป็นความผิด ยาเสพติด ของหนีภาษี เป็นต้น หรือทรัพย์ที่มีไว้ใช้ในการกระทำความผิด เช่น ปืนหรือมีดของกลาง รถยนต์ที่เอาไว้ขนยาเสพติด เป็นต้น