หน่วยการเรียนที่ 10

หน่วยที่ 10 แรงงานสัมพันธ์และประกันสังคม


ความหมายของ “แรงงานสัมพันธ์” หมายถึง เรื่องที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง เริ่มตั้งแต่การรับลูกจ้างเข้าทำงานจนกระทั่งลูกจ้างออกจากงาน

สิทธิและหน้าที่ของนายจ้างและลูกจ้าง

กำหนดเวลาการทำงาน ตามที่กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกำหนด

  1. กำหนดให้ลูกจ้างทำงานไม่เกิน 8 ชั่วโมง และ 48 ชั่วโมงต่อสัปดาห์

  2. สำหรับงานอันตรายตามที่กำหนดในกฎกระทรวงให้ทำงานได้ไม่เกิน 7 ชั่วโมงต่อวัน และ42 ชั่วโมงต่อสัปดาห์

  3. ในวันที่มีการทำงาน ให้นายจ้างจัดให้ลูกจ้างมีเวลาพักติดต่อกันไม่น้อยกว่าวันละ 1 ชั่วโมง ภายใน 5 ชั่วโมงแรกของการทำงาน

  4. นายจ้างและลูกจ้างจะตกลงกันล่วงหน้าให้มีเวลาพักน้อยกว่าครั้งละ 1 ชั่วโมง ก็ได้แต่ต้องไม่ น้อยกว่าครั้งละ 20 นาที และเมื่อรวมกันแล้วต้องไม่น้อยกว่าวันละ 1 ชั่วโมง

  5. กรณีงานในหน้าที่มีลักษณะต้องทำติดต่อกันไป หรือเป็นงานฉุกเฉินโดยจะหยุดเสียมิได้ นายจ้างจะไม่จัดเวลาพักให้ลูกจ้างก็ได้ แต่ต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง

วันหยุดตามกฎหมายแรงงาน มี 3 ประเภท คือ วันหยุดประจำสัปดาห์ วันหยุดตามประเพณีและวันหยุดพักผ่อนประจำปี

กำหนดการลาตามกฎหมายแรงงาน มี 6 ประเภท ได้แก่ การลาป่วย การลาคลอด การลาเพื่อทำหมัน การลากิจ การลาเพื่อรับราชการทหาร และการลาเพื่อฝึกอบรม


ความหมายของค่าจ้าง คือ เงินที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกันจ่ายเป็นค่าตอบแทนในการทำงานตามสัญญาจ้างสำหรับระยะเวลาการทำงานปกติ เป็นรายชั่วโมง รายวัน รายสัปดาห์ หรือระยะเวลาอื่น หรือจ่ายให้โดยไม่คำนวณตามผลงานที่ลูกจ้างทำได้ในเวลาทำงานปกติของวันทำงาน และรวมถึงเงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างในวันหยุดและวันลาที่ลูกจ้างมิได้ทำงานแต่มีสิทธิได้รับตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน

ลูกจ้างจะได้รับเงินชดเชย ในกรณี

  • กรณีนายจ้างเลิกจ้างโดยลูกจ้างไม่มีความผิด

  • กรณีนายจ้างเลิกจ้างเพราะปรับปรุงหน่วยงาน

  • นายจ้างย้ายสถานประกอบการไปตั้งในสถานที่อื่นอันมีผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของลูกจ้าง

ตัวอย่างงานที่ห้ามไม่ให้แรงงานผู้หญิงทำ

  • งานเหมืองแร่หรืองานก่อสร้างที่ต้องทำใต้น้ำ ในถ้ำ ในอุโมงค์

  • งานที่ต้องทำบนนั่งร้านที่สูงกว่าพื้นดินตั้งแต่ 10 เมตรขึ้นไป

  • งานผลิตหรือขนส่งวัตถุระเบิดหรือวัตถุไวไฟ

ความหมายของแรงงานเด็ก หมายถึง แรงงานที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี การจ้างแรงงานเด็กห้ามนายจ้างทำการจ้างเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 15 ปี เป็นลูกจ้างโดยเด็ดขาด

กรณีนายจ้างฝ่าฝืนเกี่ยวกับการใช้แรงงาน มีบทลงโทษทางอาญา นายจ้างผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามต้องถูกปรับขั้นต่ำไม่เกิน 5,000 บาท หรือจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

กองทุนประกันสังคม คือ กองทุนที่จัดตั้งขึ้นเพื่อสร้างหลักประกันและความมั่นคงในการดำรงชีวิตให้แก่ประชาชน โดยการเฉลี่ยทุกข์ เฉลี่ยสุข ร่วมกันรับผิดชอบต่อสังคมด้วยการออมและเสียสละเพื่อส่วนรวมมีหลักการสำคัญที่มุ่งให้ประชาชนช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ช่วยเหลือตนเอง และครอบครัวในยามที่ไม้มีรายได้ รายได้ลดลงหรือมีรายจ่ายเพิ่มขึ้น โดยไม่เป็นภาระให้ผู้อื่นหรือสังคม การประกันสังคมจึงเป็นมาตรการหนึ่งซึ่งก่อให้เกิดความมั่นคงในชีวิต โดยให้ความคุ้มครองผู้ประกันตน 8 กรณี ได้แก่

  • กรณีเจ็บป่วย

  • กรณีคลอดบุตร

  • กรณีทุพพลภาพ

  • กรณีเสียชีวิต

  • กรณีสงเคราะห์ครอบครัว

  • กรณีชราภาพ

  • กรณีอุบัติเหตุและโรคอันเกิดจากการทำงาน

  • กรณีว่างงาน