แก้ว

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Murraya paniculata (L.) Jack.

ชื่อวงศ์ : RUTACEAE

ชื่อสามัญ : Orang Jessamine, China Box Tree, Andaman Satinwood, Chinese Box-wood

ชื่ออื่นๆ : แก้ว, แก้วขาว (ภาคกลาง), แก้วขี้ไก่ (ยะลา), แก้วพริก, ตะไหลแก้ว (ภาคเหนือ)

ถิ่นกำเนิด : จีน, ญี่ปุ่น, เกาหลี, อินเดีย และภูมิภาคอินโดจีน

การขยายพันธุ์ : เพาะเมล็ด, ตอนกิ่ง

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

- ต้น ไม้พุ่มหรือไม้ต้นขนาดเล็ก สูงได้ถึง 10 ม. เรือนยอดเป็นพุ่มกลมทึบ สีเขียวเข้ม เปลือกต้น สีขาวเทาแตกเป็นร่องตามยาว

- ใบ ประกอบแบบขนนกปลายคี่ เรียงสลับ มีใบย่อย 5 - 9 ใบ เรียงสลับกันจากเล็กไปหาใหญ่ สีเขียวเข้มเป็นมัน ใบย่อยที่ปลายก้านใบรูปไข่ รูปรี หรือรูปไข่กลับ ปลายแหลม โคนแหลมหรือสอบ ขอบเป็นคลื่นหรือหยักมนตื้นๆ โคนใบเบี้ยวเล็กน้อย ใบมีต่อมน้ำมัน

- ดอก ช่อดอกสั้น ออกตามง่ามใบ ดอกสีขาว กลิ่นหอม กลีบเลี้ยง 5 กลีบ กลีบเลี้ยง ขนาดเล็ก ปลายมน กลีบดอกรูปขอบขนานแกมรูปไข่กลับ ยาวประมาณ 1.2 ซม. เรียงซ้อนเหลื่อม ฐานรองดอกรูปวงแหวน เกสรเพศผู้ 10 อัน ยาวไม่เท่ากัน ยาวประมาณกึ่งหนึ่งของกลีบดอก ก้านเกสรเพศผู้แบน รังไข่ติดเหนือวงกลีบ ก้านเกสรเพศเมียหนายาวประมาณ 0.7 ซม. ยอดเกสรรูปโล่ห์ ร่วงง่าย ดอกบานเต็มที่กว้าง 2-2.5 เซนติเมตร

- ฝัก/ผล รูปรีหรือรูปไข่ กว้าง 5-8 มม. ยาวประมาณ 1 ซม. ผลแก่สีแดงอมส้ม ต่อมน้ำมันเห็นได้ชัด

- เมล็ด รูปไข่ มีขนหนาและเหนียวหุ้มโดยรอบเมล็ด

ลักษณะวิสัย

ลำต้น

ใบ