พญาสัตบรรณ

ชื่อวิทยาศาสตร์ Alstonia scholaris (L.) R. Br.

ชื่อวงศ์ APOCYNACEAE

ชื่อสามัญ White Cheesewood

ชื่ออื่น ตีนเป็ด หัสบัน สัตบรรน จะบัน บะซา

ไม้ต้น ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูง 15 - 35 เมตร โคนต้นมักเป็นพูพอน

เปลือก สีเทาอ่อนหรือเทาอมเหลือง ค่อนข้างหนา

ใบ ใบเดี่ยวเรียงกันเป็นวง 4 - 7 ใบ แผ่นใบรูปมนแกมรูปไข่กลับ ปลายแหลมเป็นติ่งเล็กน้อยโคนสอบ เข้าหากันเป็นรูปลิ่ม ขอบใบเรียบ

ดอก ดอกเล็ก สีเขียวอมเหลือง หรืออมขาวออกเป็นกลุ่มในช่อซึ่งแยกกิ่งก้าน ออกจากจุดเดียวกันตามปลายกิ่ง

ผล เป็นฝักเรียว ยาว 10 - 20 เซ็นติเมตร เมล็ดแบบทรงบรรทัดแคบ ๆ ยาว ประมาณ 7มิลลิเมตร มีขนยาวอ่อนนุ่มปุกปุยติดอยู่เป็นกระจุกที่ปลายทั้งสองข้าง

นิเวศวิทยา ขึ้นกระจายอยู่ห่าง ๆ ในป่าดงดิบชื้นทางภาคใต้ และภาคตะวันออกเฉียงใต้ และริมลำห้วยในป่าเบญจพรรณทางภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ออกดอก ตุลาคม - ธันวาคม เริ่มติดฝักประมาณเดือนมกราคม เมล็ดแก่ประมาณเดือน มีนาคม

ขยายพันธุ์ โดยเมล็ด

ลักษณะวิสัย

ลำต้น

ใบ