ขลุ่ยในปัจจุบัน

ขลุ่ยไทยในปัจจุบันถูกพัฒนาไปไกลมากทั้งด้านการพัฒนาให้เข้ากับดนตรีสากลและพัฒนาระบบเสียง ให้ทนต่ออากาศที่เปลี่ยนแปลงในแต่ละช่วงปี ทนต่อความแห้งของเนื้อไม้ทำให้เสียงไม่เปลี่ยน โดยการพัฒนาเอาโลหะไปใส่ไว้ภายในตัวขลุ่ย ซึ่งทุกวันนี้ยังหาช่างทำยากอยู่ ตัวอย่างขลุ่ยเช่นเลานี้ และทำปากนกแก้วบน ทำให้ละอองความชื้นและน้ำลายไหลออกเองได้ อีกทั้งยังมี 3 ท่อน เพื่อให้สามารถปรับจูนเสียงเวลาเสียงเพี้ยน เพราะอากาศเปลี่ยนแปลงได้ด้วย

เครดิตภาพ ช่างวิรัตน์

ในสมัยก่อนกล่าวกันว่าขลุ่ยที่ทำจากไม้ไผ่จะได้เสียงดีที่สุด แต่ในปัจจุบันไม้เนื้อแข็งหรือพลาสติก ก็ทำให้ไพเราะเกือบจะเทียบเท่าไม้ไผ่แล้ว ถึงแม้ว่าไม้ไผ่จะเสียงดี แต่ข้อเสียของมันคือ ไม้มันไม่เสมอกัน โคนใหญ่ปลายเรียว คดบ้างงอบ้าง ทำให้เสียงตรงคีย์ยาก ไม่เหมือนไม้เนื้อแข็งที่สามารถเจาะแนวตรงได้ ทำให้ง่ายต่อการทำเสียงให้ตรงคีย์ ตรงจุดนี้ผมขอไม่บอกว่าช่างไหนดีกว่าช่างไหนนะครับ เพราะต่างคนต่างมีรสนิยมในช่างและเสียงที่ต่างกันไป คล้ายความนิยมในรสชาดอาหารนั่นแหละครับ

มาต่อที่การพัฒนาให้เสียงขลุ่ยมาเล่นรวมกับคีย์สากลได้นั้น จะมีขลุ่ยคีย์ A B BD C หรืออาจจะมีดัดแปลงมากกว่านั้น อันนี้แล้วแต่ความเหมาะสมของผู้ใช้

“ นักดนตรีที่มีความชำนาญ สามารถนำขลุ่ยไปเล่นได้ทุกแนวเพลง ”