คือ การนำเอาเครื่องมือทางสถิติต่างๆ มาประยุกต์ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากกระบวนการผลิตหรือบริการ เพื่อระบุหาสาเหตุของปัญหาที่ทำให้เกิดความบกพร่องหรือความไม่สอดคล้องตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ และนำไปสู่การปรับปรุงแก้ไขกระบวนการนั้น ๆ ให้มีประสิทธิภาพและได้มาตรฐานมากยิ่งขึ้น
ทำไมต้องใช้วิธีทางสถิติ?
ความแม่นยำ: ข้อมูลเชิงสถิติช่วยให้เราตัดสินใจได้อย่างมีเหตุผลและเป็นกลางมากขึ้น
การมองเห็นภาพรวม: การนำเสนอข้อมูลในรูปแบบกราฟหรือแผนภูมิ ช่วยให้เห็นภาพของปัญหาได้ชัดเจนขึ้น
การค้นหาสาเหตุที่แท้จริง: วิธีทางสถิติช่วยให้เราสามารถเจาะลึกไปยังสาเหตุที่แท้จริงของปัญหาได้
การลดความผันแปร: เมื่อทราบสาเหตุของปัญหาแล้ว ก็สามารถดำเนินการแก้ไขเพื่อลดความผันแปรของกระบวนการได้
ขั้นตอนการใช้สถิติเพื่อพัฒนาคุณภาพ
กำหนดปัญหา: ระบุปัญหาที่ต้องการแก้ไขอย่างชัดเจน
เก็บรวบรวมข้อมูล: เก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับปัญหา
วิเคราะห์ข้อมูล: ใช้เครื่องมือทางสถิติวิเคราะห์ข้อมูล
หาสาเหตุ: ระบุสาเหตุที่แท้จริงของปัญหา
ดำเนินการแก้ไข: ดำเนินการแก้ไขปัญหาที่พบ
ตรวจสอบผลลัพธ์: ตรวจสอบผลลัพธ์หลังจากการแก้ไข
เครื่องมือคุณภาพ 7 ชนิด
(7 Quality Control Tools)
แผ่นตรวจสอบ (Check sheet)
วัตถุประสงค์: ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล
ประโยชน์: บันทึกข้อมูลได้ง่าย สามารถป้องกันการตกหล่นของข้อมูลเนื่องจากได้ถูกออกแบบมาอย่างเฉพาะเจาะจงกับงานนั้น ๆ เช่น รายการที่ต้องตรวจสอบ การยืนยัน การบันทึก และเพื่อหาสาเหตุของการเกิดของเสีย
วิธีจัดทำ:
กำหนดวัตถุประสงค์ของการตรวจสอบ
กำหนดประเภทของแผ่นตรวจสอบ
กำหนดหัวข้อของการตรวจสอบ
จัดทำแผ่นตรวจสอบ
บันทึกข้อมูลลงในแผ่นตรวจสอบ
สรุปผลที่ได้จากการตรวจสอบตามความจำเป็น
แผ่นตรวจสอบที่ดีต้องทำให้มีการเขียนน้อยที่สุด อาจเป็นการกรอกเครื่องหมายหรือตัวเลขลงในช่องว่างในแต่ละครั้ง
แผ่นตรวจสอบที่ดีจะช่วยค้นหาสาเหตุของความบกพร่องของชิ้นงานที่ตรวจสอบได้
แผนภูมิพาเรโต (Pareto Chart)
วัตถุประสงค์: ทำให้ปัญหาสำคัญที่ต้องแก้ไขมีความชัดเจนขึ้น
ประโยชน์: ทำให้รู้สัดส่วนของปัญหาเมื่อเทียบกับปัญหาทั้งหมด สามารถคาดการณ์ผลจากการแก้ไขปัญหาในแต่ละหัวข้อ
วิธีจัดทำ:
กำหนดหัวข้อแล้วทำการเก็บข้อมูล
เปรียบเทียบแต่ละหัวข้อโดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย
คำนวณจำนวนสะสม และคำนวณร้อยละสะสม
นำตัวเลขที่ได้ไปเขียนเป็นกราฟแท่ง
พล็อตจุดของร้อยละสะสมตรงตำแหน่งขวาสุดของแท่งกราฟแต่ละแท่ง แล้วลากเส้นเชื่อมต่อกันเป็นกราฟเส้น
เขียนสเกลและหน่วยต่าง ๆ ลงในแผนภูมิ
หากพบว่าหัวข้ออื่น ๆ ในแนวแกนนอน มีปริมาณร้อยละสะสมมาก ให้พิจารณาแยกสาเหตุนั้นออกมา
ฮิสโทรแกรม (Histogram)
วัตถุประสงค์: ทำให้เห็นความแปรปรวนของข้อมูล
วิธีจัดทำ:
จัดเรียงข้อมูลทั้งหมด
หาค่าสูงสุดต่ำสุด แล้วหาค่าพิสัย (Range) โดยการนำค่าสูงสุดลบด้วยค่าต่ำสุด
แบ่งพิสัยที่รวมค่าสูงสุดและต่ำสุดไว้ออกเป็นประมาณ 7 - 20 ช่วง โดยกว้างช่วงละเท่า ๆ กัน โดยให้ h เป็นความกว้างแต่ละช่วง เรียกว่า ความกว้างของอันตรภาคชั้น
กำหนดขอบเขตของแต่ละช่วง
เขียนข้อมูลลงในตารางแจกแจงความถี่
สร้างฮิสโทรแกรมจากตารางแจกแจงความถี่
รูปแบบการกระจายของข้อมูล
กราฟ (Graph)
วัตถุประสงค์: ทำให้เห็นลูกษณะเฉพาะของข้อมูลได้ง่ายขึ้น
วิธีจัดทำ:
กำหนดวัตถุประสงค์การใช้งาน
กราฟแท่ง - ใช้สำหรับเปรียบเทียบปริมาณตัวเลข
กราฟเส้น - ใช้แสดงการเปลี่ยนแปลงตามเวลา
กราฟวงกลม - ใช้แสดงการเปรียบเทียบอัตราส่วนของแต่ละรายการ
กราฟแท่งแบบซ้อน - ใช้แสดงการเปรียบเทียบที่มีทั้งหัวข้อหลักและหัวข้อย่อย
กราฟเรดาร์ - ใช้แสดงความสมดุลระหว่างหัวข้อต่างๆ
เก็บรวบรวมข้อมูล
จัดทำกราฟ
จัดทำกราฟตามเกณฑ์
วิเคราะห์และสรุปผล
แผนภาพกระจาย (Scatter diagram)
วัตถุประสงค์: ทำให้เห็นความสัมพันธ์ของข้อมูลมีความชัดเจนขึ้น
ประโยชน์:
ทำให้เห็นความสัมพันธ์ที่มากน้อยระหว่างข้อมูล
ทำให้เห็นค่าที่ผิดปกติ
ทำให้เห็นว่ามีความจำเป็นต้องแยกข้อมูลหรือไม่
วิธีจัดทำ:
เก็บข้อมูลเป็นคู่ที่ต้องการวิเคราะห์ความสัมพันธ์
หาจุดสูงสุดและต่ำสุดของข้อมูล
กำหนดว่าจะให้ข้อมูลใดอยู่ในแกน X และแกน Y
กำหนดสเกลลงบนแกน
พล็อตกราฟ
ระบุชื่อกราฟ หน่วย และรายละเอียดที่เกี่ยวข้อง
แผนภูมิควบคุม (Control chart)
วัตถุประสงค์: เพื่อค้นหาสิ่งผิดปกติในกระบวนการผลิตที่ได้จัดทำเป็นมาตรฐานแล้ว จากการนำค่าเฉลี่ยและความกว้างของข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่นำมาตรวจสอบ จะทำให้หเ็นภาพของความผิดปกติได้ เหมาะกับข้อมูลที่ีค่าต่อเนื่อง หรือข้อมูลจากหน่วยวัด
วิธีจัดทำ:
เก็บรวบรวมข้อมูล ประมาณ 100 ตัว แบ่งเป็นกลุ่มย่อยขนาดกลุ่มละ 4 - 5 ข้อมูล จะได้จำนวนกลุ่มย่อย 20 - 25 กรุ๊ป
คำนวณค่าเฉลี่ย ของเฉพาะภายในกลุ่มย่อย
X̄ = (x1 + x2 + x3 +….+xn ) /n; n คือขนาดของกลุ่มย่อย
คำนวณค่าเฉลี่ยของค่าเฉลี่ย x̅̅
x̅̅ = (X̄1 + X̄2 + X̄3 +….+X̄k ) /k; k คือจำนวนของกลุ่มย่อย
คำนวณหาค่าพิสัย R
R = xmax - xmin
คำนวณค่าเฉลี่ยของค่าพิสัย R̄
R̄ = (R1 + R2 + R3 +….+Rk ) /k; k คือจำนวนของกลุ่มย่อย
คำนวณค่าเพื่อสร้างเส้นแสดงขอบเขตควบคุม (Control Lines) ของทั้งแผนภูมิ และแผนภูมิ R โดยใช้สูตรต่อไปนี้
1) แผนภูมิ X̄
เส้นค่ากลาง (CL)
CL = x̅̅
เส้นขอบเขตควบคุมค่าสูง (UCL)
UCL = x̅̅ + A2R̄
เส้นขอบเขตควบคุมค่าต่ำ (LCL)
UCL = x̅̅ - A2R̄
2) แผนภูมิ R
เส้นค่ากลาง (CL)
CL = R̄
เส้นขอบเขตควบคุมค่าสูง (UCL)
UCL = D4R̄
เส้นขอบเขตควบคุมค่าต่ำ (LCL)
UCL = D3R̄
Nelson Rules
1 ตัวอย่างอยู่นอกเหนือการควบคุมอย่างมาก (2 ตัวอย่างในกรณีนี้)
มี "Bias" บางอย่างที่เกิดขึ้นมานานแล้ว
มีแนวโน้มเกิดขึ้น
การแกว่งขนาดนี้ไม่ใช่แค่ความผันผวนตามปกติ กฎนี้พิจารณาเฉพาะทิศทางเท่านั้น ตำแหน่งของค่าเฉลี่ย และขนาดของส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานไม่มีผล
มีแนวโน้มปานกลางว่าตัวอย่างจะอยู่นอกช่วงควบคุมปานกลาง
มีแนวโน้มอย่างมากที่ตัวอย่างจะหลุดจากการควบคุมเล็กน้อย
ด้วยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 1σ คาดว่าจะมีความผันแปรมากกว่านี้
การกระโดดข้ามแถบส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานแรกจากด้านบนลงด้านล่างนั้นไม่ค่อยเกิดขึ้นแบบสุ่ม
ผังก้างปลา (Control chart)
วัตถุประสงค์: เพื่อค้นหาสาเหตุของปัญหาที่เกิดขึ้น โดยรวบรวมสรุปความคิดเห็นจากผู้ทำกิจกรรมทั้งหมด
วิธีจัดทำ:
กำหนดหัวหน้ากลุ่ม
ให้ผู้ร่วมกิจกรรมเขียนสิ่งที่ตัวเองคิดว่าเป็นสาเหตุของความผิดปกติในหัวข้อที่กำหนด โดยเขียนลงในกระดาษ (1 แผ่นสำหรับ 1หัวข้อ)
เมื่อเขียนครบแล้วให้แต่ละคนพูดถึงความเห็นของตนเอง จากนั้นรวบรวมความเห็นที่เกี่ยวข้องกันจัดไว้ในกลุ่มเดียวกัน
แบ่งกลุ่มความเห็นที่คล้ายคลึงกันในระดับรายละเอียด ระดับกลาง และระดับภาพใหญ่ จากนั้นรวบรวมและเขียนหัวข้อของกลุ่มความเห็นในแต่ละระดับ
เขียนเส้นก้างปลาหลักในแนวนอนลงบนกระดาษโปสเตอร์ แล้วเขียนหัวข้อปัญหาไว้ด้านขวามือสุด
เขียนหัวข้อระดับภาพใหญ่ (สาเหตุระดับหนึ่ง) แล้วโยงให้ปลายลูกศรชี้ไปที่ก้างปลาหลัก
เขียนหัวข้อระดับกลาง (สาเหตุระดับสอง) แล้วโยงให้ปลายลูกศรชี้ไปที่ก้างปลาระดับหนึ่ง
เขียนหัวข้อระดับรายละเอียด (สาเหตุระดับสาม) แล้วโยงให้ปลายลูกศรชี้ไปที่ก้างปลาระดับสอง
ร่วมกันอภิปรายเพื่อค้นหาสาเหตุใหญ่ออกมา
เมื่อค้นพบสาเหตุแล้ว ให้ร่วมกันพิจารณามาตรการแก้ไข