ความหมายของกระดาษทำการ
          กระดาษทำการ (Work Sheet or Working Papers) หมายถึง แบบฟอร์มหรือกระดาษร่างที่กิจการจัดทำขึ้น เพื่อเป็นเครื่องมือที่ช่วย ให้การจัดทำงบการเงินเป็นไปอย่างสะดวก  รวดเร็ว และ ไม่ผิดพลาด แต่กรณีที่เป็นกิจการขนาดเล็กและมีรายการไม่มากนักอาจไม่จำเป็น ต้องจัดทำกระดาษทำการก่อนทำงบการเงินก็ได้   โดยกระดาษทำการจะมีด้วยกันหลายชนิด เช่น ชนิด 6 ช่อง 8 ช่อง หรือ 10 ช่อง เป็นต้น

รูปแบบของกระดาษทำการชนิด 6 ช่อง

รูปแบบของกระดาษทำการชนิด 6 ช่อง ประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

             1.  ส่วนหัวของกระดาษทำการ มี  3  บรรทัด  ซึ่งประกอบด้วย

                             บรรทัดที่  1  ชื่อกิจการ

                             บรรทัดที่  2  คำว่า “กระดาษทำการ”

                             บรรทัดที่  3  สำหรับรอบระยะเวลาบัญชี

             2.  ช่องชื่อบัญชี

             3.  ช่องเลขที่บัญชี

             4.  ช่องงบทดลอง แบ่งออกเป็นด้านเดบิตและด้านเครดิต

             5.  ช่องงบกำไรขาดทุน แบ่งออกเป็นเดบิตและเครดิต

             6.  ช่องงบดุล แบ่งออกเป็นเดบิตและเครดิต

1.  เขียนหัวของกระดาษทำการ 3  บรรทัด

           2.  นำยอดคงเหลือของบัญชีแยกประเภท หรือลอกงบทดลองที่ได้จัดทำไว้แล้ว มาแสดงในกระดาษ  ทำการในช่องชื่อบัญชี  ช่องเลขที่บัญชี ช่องงบทดลอง แล้วรวมจำนวนเงินในช่องเดบิตและเครดิต ซึ่งทั้ง 2 ช่องจะต้องมียอดรวมเท่ากัน

            3.  นำจำนวนเงินในช่องงบทดลอง ช่องงบกำไรขาดทุน และงบดุล ดังนี้

                             -  บัญชีหมวดสินทรัพย์ นำไปลงในช่องงบดุล ด้านเดบิต

                             -  บัญชีหมวดหนี้สิน นำไปลงในช่องงบดุล ด้านเครดิต

                             -  บัญชีหมวดส่วนของเจ้าของ (ทุน) นำไปลงในช่องงบดุล ด้านเครดิต

                             -  บัญชีหมวดส่วนของเจ้าของ (ถอนใช้ส่วนตัว) นำไปลงในช่องงบดุล ด้านเดบิต

                             -  บัญชีหมวดรายได้ นำไปลงในช่องงบกำไรขาดทุน  ด้านเครดิต

                         -  บัญชีหมวดค่าใช้จ่าย นำไปลงในช่องงบกำไรขาดทุน  ด้านเดบิต

             4.  รวมจำนวนเงินในช่องเดบิตและเครดิตของงบกำไรขาดทุน และงบดุล

             5.  หาผลต่างระหว่างช่องเดบิตและเครดิตของงบกำไรขาดทุน

-  ถ้ายอดรวมด้านเครดิตมากกว่าด้านเดบิต  ผลต่างก็คือ  กำไรสุทธิ

ให้เขียนจำนวนเงินในช่องงบกำไรขาดทุนด้านเดบิต และในช่องงบดุลด้านเครดิต

-  ถ้ายอดรวมด้านเดบิตมากกว่าด้านเครดิต  ผลต่างก็คือ ขาดทุนสุทธิ

ให้เขียนจำนวนเงินในช่องงบกำไรขาดทุนด้านเครดิต และช่องงบดุลด้านเดบิต

             6.  รวมจำนวนเงินในช่องงบกำไรขาดทุนและงบดุล ด้านเดบิตและด้านเครดิต ซึ่งจะต้องมียอดเท่ากันเสมอ

ตัวอย่าง  กรณีมีกำไรสุทธิ 

ให้ทำ  กระดาษทำการ 6 ช่อง สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2552 

ตัวอย่าง  กรณีที่มีผลขาดทุนสุทธิ 

ให้ทำ :  กระดาษทำการ 6 ช่อง สำหรับระยะเวลา  1  ปี  สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2552

การจัดทำกระดาษทำการ 6 ช่อง เป็นดังนี้

ประโยชน์ของกระดาษทำการ

             1.  เพื่อให้ทราบผลการดำเนินงานของกิจการสำหรับระยะเวลาหนึ่งว่ามีกำไรหรือขาดทุนสุทธิเป็นจำนวนเงินเท่าใด

                2.  เพื่อให้ทราบฐานะทางการเงินของกิจการว่ามีสินทรัพย์  หนี้สิน  และทุน  เป็นจำนวนเงินเท่าใด

             3.  ช่วยให้กิจการจดทำงบการเงินได้สะดวกและรวดเร็วขึ้น

             4.  ช่วยในการตรวจสอบความถูกต้องของการจัดทำงบการเงิน

อ้างอิงจาก :  https://www.pw.ac.th/emedia/media/tech/accounting1/lesson7.php  เข้าถึงเมื่อ 11 ต.ค.67