สินทรัพย์ (Assets) หมายถึง สิ่งที่มีตัวตน หรือไม่มีตัวตนอันมีมูลค่า ซึ่งบุคคลหรือกิจการเป็นเจ้าของหรือสามารถถือเอาประโยชน์
ได้จาก กรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ สังหาริมทรัพย์ สิทธิเรียกร้องมูลค่าที่ได้มา รายจ่ายที่เกิดสิทธิ และรายจ่ายของงวดบัญชีถัดไป
1. สินทรัพย์ที่เป็นตัวเงินหรือเทียบเท่าเงิน เช่น เงินสด และตั๋วเงินรับต่าง ๆ
2. สินทรัพย์ที่เป็นสิทธิเรียกร้อง เช่น ลูกหนี้
3. สินทรัพย์ที่มีตัวตน เช่น ที่ดิน อาคาร รถยนต์
4. สินทรัพย์ที่ไม่มีตัวตน เช่น สิทธิบัตร ลิขสิทธิ์ สัมปทาน
5. รายจ่ายที่จ่ายไปแล้วจะให้ประโยชน์ต่องวดบัญชีถัดไป ได้แก่ ค่าใช้จ่ายล่วงหน้าประเภทต่าง ๆ เช่น
ค่าโฆษณาจ่ายล่วงหน้า
สินทรัพย์สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่
1. สินทรัพย์หมุนเวียน (Current Assets) หมายถึง สินทรัพย์ที่มีสภาพคล่อง สามารถจะเปลี่ยนเป็นเงินสด เช่น เงินสด เงินฝากธนาคาร เป็นต้น หรือสินทรัพย์อื่นที่เปลี่ยนเป็นเงินสดได้เร็ว โดยปกติจะไม่เกิน 1 ปี เช่น ตั๋วเงินรับ ลูกหนี้การค้า สินค้าคงเหลือ เป็นต้น
2. สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน (Non – Current Assets) หมายถึง สินทรัพย์ที่ไม่สามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดได้โดยเร็วซึ่งมีระยะเวลามากกว่า 1 ปี เช่น เงินลงทุนระยะยาว เงินให้กู้ยืมระยะยาวและการลงทุนในหุ้นสามัญของบริษัทต่าง ๆ เป็นต้น สินทรัพย์ถาวร (Fixed Assets) หรือเป็นสินทรัพย์ที่มีตัวตน มีลักษณะการใช้งานที่คงทน และมีอายุการใช้งานนานเกินกว่า 1 ปี เช่น ที่ดิน อาคาร อุปกรณ์ รถยนต์ เป็นต้น สินทรัพย์ไม่มีตัวตน (Intangible Assets) หมายถึง สินทรัพย์ที่ไม่มีรูปร่างไม่สามารถจับต้องได้ทางกายภาพ แต่สามารถตีราคาให้มีมูลค่าเป็นเงินตรา และถือกรรมสิทธิ์ได้ เช่น เครื่องหมายการค้า สิทธิบัตร ลิขสิทธิ์ ค่าความนิยม เป็นต้น
หนี้สิน (Liability) หมายถึง ภาระผูกพันในปัจจุบันของกิจการที่ต้องจ่ายชำระคืนแก่บุคคลภายนอกในอนาคต ภาระผูกพันดังกล่าวเป็นผลของเหตุการณ์ในอดีตซึ่งการชำระภาระผูกพันนั้นคาดว่าจะส่งผลให้กิจการสูญเสียทรัพยากรที่มีประโยชน์เชิงเศรษฐกิจ เช่น เจ้าหนี้การค้า เงินกู้ เงินเบิกเกินบัญชี เจ้าหนี้จำนอง เป็นต้น หนี้สินแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่
1. หนี้สินหมุนเวียน (Current Liabilities) หมายถึง ภาระผูกพันที่กิจการต้องชำระคืนภายในระยะเวลา ไม่เกิน 1 ปี เช่น
เจ้าหนี้การค้า เงินเบิกเกินบัญชีธนาคาร เงินกู้ยืมจากธนาคารระยะสั้น ตั๋วเงินจ่าย เป็นต้น
2. หนี้สินไม่หมุนเวียน (Non – Current Liabilities) หมายถึง หนี้สินซึ่งมีระยะเวลาการชำระคืนเกินกว่า 1 ปี หรือเกินกว่ารอบระยะเวลาการดำเนิน งานตามปกติของกิจการ เช่น เงินกู้ระยะยาว หุ้นกู้ พันธบัตรเงินกู้ เป็นต้น
ส่วนของเจ้าของ (Owner’s equity) หมายถึง ส่วนได้เสียคงเหลือในสินทรัพย์ของกิจการหลังจากหักหนี้สิน ทั้งสินออกแล้ว กรรมสิทธิ์ที่เจ้าของกิจการมีในสินทรัพย์ เรียกว่า สินทรัพย์สุทธิ (สินทรัพย์ – หนี้สิน) ส่วนของเจ้าของกิจการแบ่งได้ 3 ประเภท
1.กิจการเจ้าของคนเดียว
2.ห้างหุ้นส่วน
3.บริษัทจำกัด
ตัวอย่างที่ 1 ส่วนของเจ้าของหรือทุน (กรณีไม่มีหนี้สิน) เช่น นางสาวแพรวา มีสินทรัพย์ส่วนตัว ดังนี้
เงินสด 50,000 บาท
เครื่องประดับ 25,000 บาท
รถยนต์ 350,000 บาท
อาคารพาณิชย์ 2,000,000 บาท
รวมสินทรัพย์ 2,425,000 บาท
ตัวอย่างที่ 2 ส่วนของเจ้าของหรือทุน (กรณีมีหนี้สิน) เช่น นางสาวมินตรา มีสินทรัพย์และหนี้สิน ดังนี้
เงินสด 60,000 บาท
เงินฝากธนาคาร 40,000 บาท
อาคารพาณิยช์ 2,000,000 บาท
รวมสินทรัพย์ 2,100,000 บาท
หัก เจ้าหนี้การค้า 80,000 บาท
ตั๋วเงินจ่าย 45,000 บาท
สินทรัพย์สุทธิ 1,975,000 บาท
**กรรมสิทธิ์ที่เจ้าของกิจการมีในสินทรัพย์ เรียกว่า สินทรัพย์สุทธิ (สินทรัพย์ - หนี้สิน)
สมการบัญชี(Accounting Equation) เป็นหัวใจสำคัญของการเริ่มต้นเรียนบัญชีและเป็นหลักการของ
การจัดทำงบการเงิน(Financial Statement)
**จะเห็นได้ว่าเป็นสมการที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง
สินทรัพย์ หนี้สิน และส่วนของเจ้าของ (ทุน) นั่นเอง**
งบดุล (Balance Sheet)
งบดุล หมายถึง รายงานที่แสดงฐานะทางการเงินของกิจการ ณ วันใดวันหนึ่งซึ่งประกอบด้วย สินทรัพย์ หนี้สิน และส่วนของเจ้าของ ซึ่ง องค์ประกอบเหล่านี้อาศัยความสัมพันธ์ของสมการบัญชี
ประเภทของงบดุล
1.งบดุลแบบบัญชี (Accounting Form) งบดุลแบบบัญชีใช้แบบฟอร์มคล้ายกับบัญชีแยกประเภทซึ่งมีลักษณะคล้ายตัว T แบ่งออกเป็น 2 ด้าน ทางด้านซ้ายมือ จะแสดงรายการของสินทรัพย์ ส่วนด้านขวามือจะแสดงรายการของหนี้สินและส่วนของเจ้าของ
ตัวอย่าง งบดุลแบบบัญชี
2.งบดุลแบบรายงาน (Report Form)
ตัวอย่าง งบดุลแบบรายงาน
อ้างอิงจาก : https://www.pw.ac.th/emedia/media/tech/accounting1/lesson2.php เข้าถึงเมื่อ 11 ต.ค.67